ทำไมไฮโดรเจนกับออกซิเจนจึงไม่ทำปฏิกิริยากันในอากาศแล้วเป็นน้ำ

ที่เรียนมาสมัยประถมมัธยมจะมีเนื้อหาที่บอกว่าในอากาศมีปริมาณไนโตรเจน  กี่ % ไฮโดรเจน กี่% ออกซิเจนกี่ %
อยากถามว่าทำไมออกซิเจนจึงไม่รวมตัวกับไฮโดรเจนเกิดเป็น H2O
หรือมันทำปฏิกิริยากันแล้วทำให้มีมวลมากขึ้นจึงตกลงพื้น  แล้วก็ระเหยไป
ถ้าไม่เข้าใจคำถามขออภัยนะคะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
คือว่า  หากเราจะรวม Hydrogen กับ Oxygen ที่มีอยู่ในอากาศ  กลายเป็นน้ำ

เราจะต้องทำสิ่งหนึ่งครับ คือ จะต้องใช้พลังงานในการสลาย Covalent bond
ที่ยึดโมเลกุลของ hydrogen , oxygen  วิธีที่ง่ายสุดคือการจุดไฟเข้าไปใน
ส่วนผสมของแก้ส hydrogen + oxygen .... เมื่อมันเผาไหม้หมดแล้ว  เราก็จะได้ น้ำ ครับ
โดยจะต้องใช้ hydrogen 2 ส่วน   oxygen 1 ส่วน

แต่ในอากาศปกติ  เมื่อแก้ส hydrogen , oxygen มาอยู่ใกล้กัน  ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย
เพราะไม่มีพลังงานเพื่อสลาย Covalent bond  มันก็ยังคงเป็นแก้สแยกกันแบบนั้นไปตลอดครับ
และที่สำคัญ คือ  ในอากาศปกติ  hydrogen จะมีน้อย (อย่างเหลือเชื่อ) คือมีแค่ 0.000053 %  เท่านั้น
น้อยกว่า oxygen ถึง 400,000 เท่า !!!

ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์แก้ส  มักจะมี น้ำ ในปริมาณมากเสมอครับ
นั่นเป็นเพราะดาวเคราะห์แก้สมี hydrogen มหาศาล  และมี oxygen ด้วย  
ทำให้มีการรวม Hydrogen กับ Oxygen ด้วยความดันสูง  ซึ่งเป็นปฏิกิริยา
ทางเคมีแบบหนึ่งที่จะทำลายพันธะ  และสร้างน้ำจากแก้สทั้งสองได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่