หวัดดีฮะ
หลังจากมีข่าวดี๊ ข่าวดี ว่า ลิเวอร์พูลมีลุ้นได้ตัว อ็อกเหล็ก แชมเบอร์เลน เพราะอาร์เซนอลตั้งท่าจะไม่มี(โควต้า) ต่อสัญญา ผมก็เลยไปคุ้ยกฏเจ้าปัญหาของ EPL มาดู
ที่ดีใจสุดๆเลยคือแฟนบอล(ทีมผมเองเนี่ยแหละ) จะได้เลิกเพ้อหาเจ้าของใหม่ซักที เพราะ EPL ปิดประตูใส่หน้าตามยูฟ่าไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเป็นสาวก เจ๊กัลกาดอท เอ๊ย เจ๊ลินดา ต่อไปด้วยกันซะดีๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตั่วเจ๊ งามซะขนาดนี้ ยังแปรพักตร์ พวกแกนี่แย่จริงๆ
สำหรับกฏ FFP ของ EPL แบ่งออกเป็นสองส่วนครับ คือ ส่วนว่าด้วยกำไร และ ส่วนว่าด้วยความพอเพียง
มาดูส่วนแรกก่อน EPL กำหนดให้พิจารณาเป็นรอบ รอบละสามปี คือปีที่กำลังจะเริ่มแข่ง(เรียกว่า T) ปีที่พึ่งจบไป และปีก่อนหน้านั้น(T-1, T-2)
1. สโมสรได้รับอนุญาติให้ขาดทุนได้ปีละไม่เกิน 35 ล้านปอนด์ ถ้าอยู่ใน EPL หรือ 13 ล้านปอนด์ ถ้าอยู่ในแชมเปี้ยนชิป
2. รวมกันสามปีขาดทุนได้ไม่เกิน 15 ล้านปอนด์ ไม่เช่นนั้นเจ้าของต้องจ่ายส่วนต่างที่เรียกคืนไม่ได้ (Irrevocable Injection)
ดูตัวอย่างดีกว่าครับ สมมุติว่าของเชลซีงบเป็นแบบนี้
จะเห็นว่าปีที่แล้ว เชลซีขาดทุน รวมปีโน้น กับปีที่แล้ว ติดลบประมาณ 5 ล้าน ยังไม่ผิดกฏ
แต่ปีที่กำลังจะแข่ง เชลซี "คาดว่า" จะขาดทุนเต็มเหนี่ยวเลยที่ 35 ล้าน รวมแล้วขาดทุน 40 ล้าน
การคาดว่าของเชลซีมาจากไหน
เชลซีประเมินตรงนี้จาก รายรับจากลิขสิทธิ์ สัญญาถ่ายทอด เงินรางวัลที่คาดว่าจะได้รับ เงินซื้อขายนักเตะ และ เงินเดือน
ทั้งหมดนี้ต้องส่งหลักฐานให้ EPL พิจารณาครับ
พอ EPL เห็นแบบนี้ปั๊ป สิ่งที่ เชลซีต้องทำก็คือ เสี่ยหมีต้องเซนต์เช็คให้สโมสรทันที 40-15 = 25 ล้านปอนด์ ไม่เช่นนั้นก็จะถือว่าผิดกฏ
อย่างไรก็ตาม ถ้าเสี่ยหมีจะทำซูเปอร์เมกะโปรเจ็กซ์ ซื้อเนร์มา โรนัลโด้ แถมด้วยเดเกอา มาเล่นด้วยกันซักสามร้อยล้าน แล้วเซ็นต์เช็คแกร๊กเดียว เสี่ยหมีทำไม่ได้ครับ เพราะจะทำให้ยอดขาดทุนทะลุเกิน 105 ล้านในรอบสามปี ผิดกฏ จริงๆแค่บอกว่าปีนี้จะขาดทุน 40 ล้านก็ผิดกฏแล้ว(max 35 ล้านขาดตัว) มีเงินก็ห้ามถลุงใช้ครับ
ผิดกฏแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
EPL มอบอำนาจการตัดสินให้ Fair play Panel ซึ่งมีอำนาจคลอบคลุมตั้งแต่ปรับ ตัดแต้ม ห้ามซื้อขายผู้เล่น รวมถึงริบสิทธิการแข่งขันครับ แน่นอนว่าไม่เคยมีใครตก(ก็กฏพึ่งมา) ก็เลยไม่มีใครรู้ว่าซวยจริงๆจะออกมายังไง
ส่วนที่สองคือ กฏว่าด้วยความพอเพียง มีน้อยใช้น้อยครับ เรียกว่า Short Term Cost Control (STCC) อาเซนอลมีปัญหากับกฏข้อนี้แหละ
STCC กล่าวว่า
1. สโมสรที่มีเงินเดือนนักเตะเกินกว่า 67 ล้านปอนด์ต้องมีค่าเหนื่อยนักเตะไม่เพิ่มเกินกว่าที่กำหนด
1.1 7 ล้านปอนด์จากปีล่าสุด
หรือ
1.2 19 ล้านปอนด์ จากปี 2012/13
ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น สโมสรต้องชี้แจงได้ว่า สโมสรมีรายได้เพิ่มขึ้นพอจ่าย(Own revenue increase)
รายได้เพิ่มขึ้นเช่น
1. ได้สปอนเซอร์ใหม่
2. เอาค่าขายนักเตะมาโปะ
3. ได้รายได้จากสนามเพิ่ม(เพิ่มเก้าอี้ ขึ้นค่าตั๋ว ฯลฯ)
ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ให้นับรวมลิขสิทธิ์ถ่ายทอดของ EPL
อนึ่ง 7 ล้านปอนด์ปี ประมาณ 1.4 แสนปอนด์ต่อสัปดาห์ครับ เอาจริงๆก็ไม่เยอะเนอะ จ่ายคีย์แมนคนเดียวก็หมดแล้ว
http://www.financialfairplay.co.uk/latest-news/-profit-and-sustainability-ffp-tests-in-championship-2016-17
http://www.financialfairplay.co.uk/latest-news/premier-league-update-their-ffp-rules
http://www.financialfairplay.co.uk/latest-news/2015-16-premier-league-profit-sustainabiltyrules
พอกันทีกับเจ้าบุญทุ่ม กับกฏ EPL Financial Fairplay
หลังจากมีข่าวดี๊ ข่าวดี ว่า ลิเวอร์พูลมีลุ้นได้ตัว อ็อกเหล็ก แชมเบอร์เลน เพราะอาร์เซนอลตั้งท่าจะไม่มี(โควต้า) ต่อสัญญา ผมก็เลยไปคุ้ยกฏเจ้าปัญหาของ EPL มาดู
ที่ดีใจสุดๆเลยคือแฟนบอล(ทีมผมเองเนี่ยแหละ) จะได้เลิกเพ้อหาเจ้าของใหม่ซักที เพราะ EPL ปิดประตูใส่หน้าตามยูฟ่าไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเป็นสาวก เจ๊กัลกาดอท เอ๊ย เจ๊ลินดา ต่อไปด้วยกันซะดีๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับกฏ FFP ของ EPL แบ่งออกเป็นสองส่วนครับ คือ ส่วนว่าด้วยกำไร และ ส่วนว่าด้วยความพอเพียง
มาดูส่วนแรกก่อน EPL กำหนดให้พิจารณาเป็นรอบ รอบละสามปี คือปีที่กำลังจะเริ่มแข่ง(เรียกว่า T) ปีที่พึ่งจบไป และปีก่อนหน้านั้น(T-1, T-2)
1. สโมสรได้รับอนุญาติให้ขาดทุนได้ปีละไม่เกิน 35 ล้านปอนด์ ถ้าอยู่ใน EPL หรือ 13 ล้านปอนด์ ถ้าอยู่ในแชมเปี้ยนชิป
2. รวมกันสามปีขาดทุนได้ไม่เกิน 15 ล้านปอนด์ ไม่เช่นนั้นเจ้าของต้องจ่ายส่วนต่างที่เรียกคืนไม่ได้ (Irrevocable Injection)
ดูตัวอย่างดีกว่าครับ สมมุติว่าของเชลซีงบเป็นแบบนี้
จะเห็นว่าปีที่แล้ว เชลซีขาดทุน รวมปีโน้น กับปีที่แล้ว ติดลบประมาณ 5 ล้าน ยังไม่ผิดกฏ
แต่ปีที่กำลังจะแข่ง เชลซี "คาดว่า" จะขาดทุนเต็มเหนี่ยวเลยที่ 35 ล้าน รวมแล้วขาดทุน 40 ล้าน
การคาดว่าของเชลซีมาจากไหน
เชลซีประเมินตรงนี้จาก รายรับจากลิขสิทธิ์ สัญญาถ่ายทอด เงินรางวัลที่คาดว่าจะได้รับ เงินซื้อขายนักเตะ และ เงินเดือน
ทั้งหมดนี้ต้องส่งหลักฐานให้ EPL พิจารณาครับ
พอ EPL เห็นแบบนี้ปั๊ป สิ่งที่ เชลซีต้องทำก็คือ เสี่ยหมีต้องเซนต์เช็คให้สโมสรทันที 40-15 = 25 ล้านปอนด์ ไม่เช่นนั้นก็จะถือว่าผิดกฏ
อย่างไรก็ตาม ถ้าเสี่ยหมีจะทำซูเปอร์เมกะโปรเจ็กซ์ ซื้อเนร์มา โรนัลโด้ แถมด้วยเดเกอา มาเล่นด้วยกันซักสามร้อยล้าน แล้วเซ็นต์เช็คแกร๊กเดียว เสี่ยหมีทำไม่ได้ครับ เพราะจะทำให้ยอดขาดทุนทะลุเกิน 105 ล้านในรอบสามปี ผิดกฏ จริงๆแค่บอกว่าปีนี้จะขาดทุน 40 ล้านก็ผิดกฏแล้ว(max 35 ล้านขาดตัว) มีเงินก็ห้ามถลุงใช้ครับ
ผิดกฏแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
EPL มอบอำนาจการตัดสินให้ Fair play Panel ซึ่งมีอำนาจคลอบคลุมตั้งแต่ปรับ ตัดแต้ม ห้ามซื้อขายผู้เล่น รวมถึงริบสิทธิการแข่งขันครับ แน่นอนว่าไม่เคยมีใครตก(ก็กฏพึ่งมา) ก็เลยไม่มีใครรู้ว่าซวยจริงๆจะออกมายังไง
ส่วนที่สองคือ กฏว่าด้วยความพอเพียง มีน้อยใช้น้อยครับ เรียกว่า Short Term Cost Control (STCC) อาเซนอลมีปัญหากับกฏข้อนี้แหละ
STCC กล่าวว่า
1. สโมสรที่มีเงินเดือนนักเตะเกินกว่า 67 ล้านปอนด์ต้องมีค่าเหนื่อยนักเตะไม่เพิ่มเกินกว่าที่กำหนด
1.1 7 ล้านปอนด์จากปีล่าสุด
หรือ
1.2 19 ล้านปอนด์ จากปี 2012/13
ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น สโมสรต้องชี้แจงได้ว่า สโมสรมีรายได้เพิ่มขึ้นพอจ่าย(Own revenue increase)
รายได้เพิ่มขึ้นเช่น
1. ได้สปอนเซอร์ใหม่
2. เอาค่าขายนักเตะมาโปะ
3. ได้รายได้จากสนามเพิ่ม(เพิ่มเก้าอี้ ขึ้นค่าตั๋ว ฯลฯ)
ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ให้นับรวมลิขสิทธิ์ถ่ายทอดของ EPL
อนึ่ง 7 ล้านปอนด์ปี ประมาณ 1.4 แสนปอนด์ต่อสัปดาห์ครับ เอาจริงๆก็ไม่เยอะเนอะ จ่ายคีย์แมนคนเดียวก็หมดแล้ว
http://www.financialfairplay.co.uk/latest-news/-profit-and-sustainability-ffp-tests-in-championship-2016-17
http://www.financialfairplay.co.uk/latest-news/premier-league-update-their-ffp-rules
http://www.financialfairplay.co.uk/latest-news/2015-16-premier-league-profit-sustainabiltyrules