ผมไม่เข้าใจครับ ว่าเข้าแถว ไปทำไม?

คือผมยืนเข้าแถวมาตั้งแต่อนุบาล แล้วครับ แล้วผมก็สังเกตเห็นว่าเพื่อนๆผม เด็กใน รร. ก็ไม่อยากเข้าแถวกัน และผมก็เห็น ผู้ใหญ่ ที่ออกมาทำงานแล้ว ไม่มีคนไหนยืนเข้าแถวแบบนักเรียน เลย เวลาไป ทำงานเลย หรือ และผมก็ ได้ยินมาว่า เพื่อให้นักเรียนมี ระเบียบ อันนี้ผมไม่ข้อแย้งนะ ครับ แต่ ว่า อันนี้มันอยู่ที่คนจริงๆ ไอ้การมีระเบียบ เนี่ย ดู อย่างประเทศอื่น ที่ไม่มีการเข้าแถวก่อนเรียนยังเป็นประเทศ ที่มีระเบียบได้ ละ เป็นประเทศที่เจริญได้ แล้วเข้าแถวเคารพธงชาติ ผมเห็น ทำไม มีแต่เด็ก ใน รร. อย่างอนุบาล-ยัน ม.ปลาย ละครับ ที่เคารพธงชาติ ส่วนคนที่เรียนมหาลัย - ยัน วัยทำงานแล้ว คือไม่เคารพธงชาติตอน 8.00 หรอคับ  ผมว่าอันนี้มันก็ไม่เกี่ยวนะว่าไม่ได้เคารพธงชาติแล้วคือไม่รักชาติ ไม่งั้นคนที่ไม่ได้เคารพธงชาติ ตอน 8.00 คือไม่รักชาติหรอ ครับ ?
แล้วตกลงเราเข้าแถวไปเพื่ออะไร ล่ะ ครับ ?  สิ่งที่วัดคุณค่าของเด็ก คืออะไร ล่ะครับ คนที่อยู่ในกฏ ที่เค้าตั้งไว้ หรอครับ ? ผมว่ามันไม่ค่อยแฟร์สำหรับทุกๆคนนะครับ เพราะเด็กต่างครอบครัว ต่างพ่อ แม่ เค้าก็ต่างกันละ มีความต้องการต่างกัน นิสัย ต่างกัน สนใจเรื่องต่างๆ ต่างกัน
ผมเคยได้ยินมาว่า ประเทศในเอเชียเรา เช่น ญี่ปุ่น อย่างนี้ ไม่มีการ เข้าแถวเคารพ ธงชาติ (ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่านะครับ แต่ เคยเห็นเค้าพูดๆกัน)
แต่เป็น ประเทศที่มีระเบียบ มาก ผมจึงเริ่มสนใจการศึกษาของประเทศนี้นิดๆนะครับ  ว่าเค้าสอนเด็กยังไง? ทั้งที่ๆ ไม่ได้มีกฏเยอะแยะแบบของไทยเราแต่เด็กของประเทศเค้าดันมีคุณภาพ มีความเป็นระเบียบมากกว่าของเรา    เลยอยากจะมาถามเพื่อนๆในพันทิพน่ะครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 19
คำถามที่ 1 ทำไมมีแต่เด็กใน รร. อย่างอนุบาล-ยัน ม.ปลาย ละครับที่เคารพธงชาติ
รูปแบบการพัฒนาวินัยของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานล้วนอิงแนวคิดนักจิตวิทยา ที่มีอิทธิพลเรื่องนี้คือ โคลเบิร์ก (Kolberg) ที่ระบุว่าผู้ที่อยู่ช่วงอายุ 10-20 ปี สามารถที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์สังคมเพราะรู้ว่าเป็นกฎเกณฑ์ ทำตามความคาดหวังของสังคมและจิตใจของผู้อื่น โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ตนเอง การเข้าแถวคือกฏเกณฑ์อย่างหนึ่ง
คำถามที่ 2  ประเทศที่มีระเบียบมาก เค้าสอนเด็กยังไง? ทั้งที่ๆ ไม่ได้มีกฏเยอะแยะแบบของไทยเรา
การพัฒนาวินัยไม่ใช่บทบาทโรงเรียนเพียงอย่างเดียว แต่สังคมปะกิตช่วยขัดเกลาและสร้างวินัยให้สมาชิกของสังคมให้เกิดปทัสถาน ระเบียบ และวัฒนธรรม บทบาทนี้เป็นของสถาบันการศึกษา ครอบครัว ศาสนา ระบอบการปกครอง สื่อมวลชน แม้กระทั่งเพื่อน สังคมใดมีวินัยคนในสังคมก็ย่อมมีวินัยตามไปด้วย โดยไม่ผลักภาระไปให้สถาบันการศึกษาฝ่ายเดียว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่