ก่อนอื่นขอแนะนำตัวว่า จขกท. ไม่ได้เป็นคนที่เรียนเก่งมากนะครับ เกรดก็ลุ่มๆ ดอนๆ เฉียดโปร ก็หลายครั้ง แต่บางครั้งการเรียนระดับมหาวิทยาลัย ก็เหมือนเป็นการฝึกการเอาตัวรอดครับ
มาทำความรู้จักกับการเรียนข้ามมหาวิทยาลัยหน่อยครับ ว่าทำไมถึงต้องมีการเรียนข้ามมหาวิทยาลัย
จากการประชุมความร่วมมือของอธิการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ได้ออกหนังสือ และตั้งกฎเป็นความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยปิดของรัฐ ภายใต้ข้อกำหนดดังนี้ครับ
1.คือคุณต้องติด F ก่อน เป็นทุนเดิม หรืออาจจะดร๊อปไว้ แต่ไม่รอเวลาถึงปีการศึกษาหน้าค่อยแก้ไม่ไหว
2.วิชาที่ต้องการลงเรียนข้ามมหาวิทยาลัย ต้องไม่มีเปิดในสาขาอื่น หรือคณะอื่นในมหาวิทยาลัยคุณ (เรียนข้ามคณะ ข้ามสาขา ทำเรื่องง่ายกว่านะ)
3.คุณต้องการที่จะรีบเรียนจบในภาคการศึกษาถัดไป
4.วิชาที่คุณจะไปลงมหาวิทยาลัยอื่น ต้องมีเนื้อหาที่คล้ายเหมือนกัน 70-80 % ขึ้นไป
5.วิชาที่จะไปลงข้ามมหาวิทยาลัย ต้องเปิดในเทอมถัดไป หรือเทอมที่ต้องการลงด้วย
6.สำหรับนักศึกษาชั้นปี สุดท้าย เช่น จะลงในปี 4 เทอม 2 หรือผ่านปี 4 ไปแล้ว แต่ต้องการจบในปี 5 เทอม 1 หรือมากกว่านั้นก็สามารถขอเรียนข้ามฯ ได้
7.วิชาที่คุณติด F มาอาจจะปิดไปแล้ว ทำให้ทำเรื่องเรียนข้ามได้ง่าย
เมื่อเข้าใจแล้ว ก็มาดุขั้นตอนการดำเนินการครับ
1.เมื่อรู้ว่าตัวเอง ติด F ในปี 4 เทอม 1 หรือ เป็นวิชาที่ติด F วิชาอื่นมานาน ส่วนใหญ่จะเป็นวิชาเฉพาะสาขา ต้องไปสำรวจก่อนว่าในเทอมหน้า มีสาขา คณะ ไหนที่เปิดวิชาเดียวกันหรือคล้ายกัน ถ้ามีสามารถทำเรื่องเรียนข้ามสาขา ข้ามคณะได้ (วิธีนี้จะง่ายสุดนะ เพราะทำเรื่องแค่นี่วิชาการคณะ)
2.เมื่อสำรวจแล้วว่า ไม่มีคณะ สาขา ไหนเปิดวิชาเดียวกัน ที่ติด F ก็ ไปสำรวจมหาวิทยาลัย เป้าหมาย อาจจะเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถเดินทางไปเรียนได้สะดวก หรือมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ที่มีคณะเดียวกับที่เรียน เช่น ผมเรียนสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ลาดกระบัง ขอ ไปเรียน สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ธรรมศาสตร์ ได้ จากนั้นก็ไปดูรายวิชาที่เราตก ว่าเทอมนั้น มีเปิดไหม ถ้ามี ก็รีบปริ้นรายละเอียดรายวิชา ถ้าไม่มีก็ต้องไปหาดุที่มหาวิทยาลัยอื่น
3.เมื่อได้มหาวิทยาลัย สาขา วิชาเป้าหมายที่จะไปลงแล้ว ก็ปริ้นรายละเอียด รายวิชาของ ม.ธรรมศาสตร์ (สมมติ) และปริ้นรายละเอียดรายวิชาของ ลาดกระบัง (สมมติ) ไปขอแบบฟอร์มที่ วิชาการคณะวิศวกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง เพื่อนำแบบฟอร์มนั้น ไปให้หัวหน้าภาค วิศวคอมพิวเตอร์ ที่เราเรียนอยุ่เซ็นรับรอง จากนั้นนำแบบฟอร์ม ไปยื่นให้ ฝ่ายวิชาการคณะ ทำเรื่องให้
4.กระบวนการ >>>>>> วิชาการคณะทำเรื่องถึงคณะบดี คณบดีเซ็น ส่งเรื่องไปยัง สำนักทะเบียน สำนักทะเบียนตรวจสอบ และส่งเรื่องให้ อธิการเซ็นเป็นจดหมาย เราจะส่งจดหมายเอง หรือ ให้ทางสำนักทะเบียนส่งให้ก็ได้ แต่ส่งเองเร็วกว่า
5.เมื่อนำจดหมายไปยื่นที่สำนักงานอธิการม.ธรรมศาสตร์แล้ว ระหว่างรอการดำเนินงาน ให้เราเข้าเรียนตามปรกติได้เลย โดยแจ้งอาจารย์ประจำวิชาให้ทราบ ว่าเราขอเรียนข้ามมหาวิทยาลัย แล้วก็ตั้งใจเรียนตามปรกติ พอสำนักทะเบียนดำเนินการเสร็จจะเรียกเราไปชำระค่าหน่วยกิจ และได้รหัสนักศึกษามา
6.เมื่อเรียนจนจบเทอม ย้ำว่ามาเรียนที่ใหม่อาจจะอยากกว่าที่เดิม และอาจติด F ได้ ฉะนั้นมาที่ใหม่ก็ต้องตั้งใจเรียนนะ สมมติว่าเรียนผ่าน ทางคณะจะทำหนังสือแจ้งเกรดของเรา โดยเราจะนำไปยื่นที่สำนักทะเบียนลาดกระบังเอง หรือจะให้ส่งไปรษณีย์ให้ก็ได้
7.เมื่อเรื่องมาถึงสำนักทะเบียนที่ลาดกระบังก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้อง เมื่อเกรดที่เราไปเรียนข้ามมหาวิทยาลัย ขึ้น เราจึงทำเรื่องขอเรียนจบ และรับปริญญาได้ นะ
ประสบการณ์ส่วนตัว
ติด F วิชา Database ที่ลาดกระบัง 2 รอบ กับอาจารย์คนเดียวกัน ครั้งแรกปี 4 เทอม 1 ครั้งที่ 2 ปี 4 ซัมเมอร์ คิดในใจว่าอาจารย์เค้าคงไม่ชอบหน้าเราแน่
เลยไปขอเรียนข้ามมหาวิทยาลัย ที่ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต บอกตรงๆ ว่าเรียนยากกว่าเดิมอีก เรียนหลักสูตรอินเตอร์ แบบเรียนจากต่างประเทศ แต่อาจารย์บรรยายไทยให้ฟังประมาณ 90 นาที อีก 90 นาทีก็ให้ศึกษาเองและะทำแบบฝึกหัด มีทำโปรเจค ก็ทำเองไม่ได้ก๊อบใคร สอบปลายภาคให้เอาหนังสือเข้าไปได้ แต่ข้อสอบก็ยาก แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยเกรด D เรียนจบพอดี
ยังไงก็เป็นกำลังใจให้น้องๆ นะครับ ที่กำลังจะเรียนจบ เรียนจบเป็นแค่ก้าวแรกของการทำงานครับ
วิธีเรียนข้ามมหาวิทยาลัย สำหรับ ติด F รีบจบ ติด F หลายครั้ง วิชาปิดไปแล้ว
มาทำความรู้จักกับการเรียนข้ามมหาวิทยาลัยหน่อยครับ ว่าทำไมถึงต้องมีการเรียนข้ามมหาวิทยาลัย
จากการประชุมความร่วมมือของอธิการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ได้ออกหนังสือ และตั้งกฎเป็นความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยปิดของรัฐ ภายใต้ข้อกำหนดดังนี้ครับ
1.คือคุณต้องติด F ก่อน เป็นทุนเดิม หรืออาจจะดร๊อปไว้ แต่ไม่รอเวลาถึงปีการศึกษาหน้าค่อยแก้ไม่ไหว
2.วิชาที่ต้องการลงเรียนข้ามมหาวิทยาลัย ต้องไม่มีเปิดในสาขาอื่น หรือคณะอื่นในมหาวิทยาลัยคุณ (เรียนข้ามคณะ ข้ามสาขา ทำเรื่องง่ายกว่านะ)
3.คุณต้องการที่จะรีบเรียนจบในภาคการศึกษาถัดไป
4.วิชาที่คุณจะไปลงมหาวิทยาลัยอื่น ต้องมีเนื้อหาที่คล้ายเหมือนกัน 70-80 % ขึ้นไป
5.วิชาที่จะไปลงข้ามมหาวิทยาลัย ต้องเปิดในเทอมถัดไป หรือเทอมที่ต้องการลงด้วย
6.สำหรับนักศึกษาชั้นปี สุดท้าย เช่น จะลงในปี 4 เทอม 2 หรือผ่านปี 4 ไปแล้ว แต่ต้องการจบในปี 5 เทอม 1 หรือมากกว่านั้นก็สามารถขอเรียนข้ามฯ ได้
7.วิชาที่คุณติด F มาอาจจะปิดไปแล้ว ทำให้ทำเรื่องเรียนข้ามได้ง่าย
เมื่อเข้าใจแล้ว ก็มาดุขั้นตอนการดำเนินการครับ
1.เมื่อรู้ว่าตัวเอง ติด F ในปี 4 เทอม 1 หรือ เป็นวิชาที่ติด F วิชาอื่นมานาน ส่วนใหญ่จะเป็นวิชาเฉพาะสาขา ต้องไปสำรวจก่อนว่าในเทอมหน้า มีสาขา คณะ ไหนที่เปิดวิชาเดียวกันหรือคล้ายกัน ถ้ามีสามารถทำเรื่องเรียนข้ามสาขา ข้ามคณะได้ (วิธีนี้จะง่ายสุดนะ เพราะทำเรื่องแค่นี่วิชาการคณะ)
2.เมื่อสำรวจแล้วว่า ไม่มีคณะ สาขา ไหนเปิดวิชาเดียวกัน ที่ติด F ก็ ไปสำรวจมหาวิทยาลัย เป้าหมาย อาจจะเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถเดินทางไปเรียนได้สะดวก หรือมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ที่มีคณะเดียวกับที่เรียน เช่น ผมเรียนสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ลาดกระบัง ขอ ไปเรียน สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ธรรมศาสตร์ ได้ จากนั้นก็ไปดูรายวิชาที่เราตก ว่าเทอมนั้น มีเปิดไหม ถ้ามี ก็รีบปริ้นรายละเอียดรายวิชา ถ้าไม่มีก็ต้องไปหาดุที่มหาวิทยาลัยอื่น
3.เมื่อได้มหาวิทยาลัย สาขา วิชาเป้าหมายที่จะไปลงแล้ว ก็ปริ้นรายละเอียด รายวิชาของ ม.ธรรมศาสตร์ (สมมติ) และปริ้นรายละเอียดรายวิชาของ ลาดกระบัง (สมมติ) ไปขอแบบฟอร์มที่ วิชาการคณะวิศวกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง เพื่อนำแบบฟอร์มนั้น ไปให้หัวหน้าภาค วิศวคอมพิวเตอร์ ที่เราเรียนอยุ่เซ็นรับรอง จากนั้นนำแบบฟอร์ม ไปยื่นให้ ฝ่ายวิชาการคณะ ทำเรื่องให้
4.กระบวนการ >>>>>> วิชาการคณะทำเรื่องถึงคณะบดี คณบดีเซ็น ส่งเรื่องไปยัง สำนักทะเบียน สำนักทะเบียนตรวจสอบ และส่งเรื่องให้ อธิการเซ็นเป็นจดหมาย เราจะส่งจดหมายเอง หรือ ให้ทางสำนักทะเบียนส่งให้ก็ได้ แต่ส่งเองเร็วกว่า
5.เมื่อนำจดหมายไปยื่นที่สำนักงานอธิการม.ธรรมศาสตร์แล้ว ระหว่างรอการดำเนินงาน ให้เราเข้าเรียนตามปรกติได้เลย โดยแจ้งอาจารย์ประจำวิชาให้ทราบ ว่าเราขอเรียนข้ามมหาวิทยาลัย แล้วก็ตั้งใจเรียนตามปรกติ พอสำนักทะเบียนดำเนินการเสร็จจะเรียกเราไปชำระค่าหน่วยกิจ และได้รหัสนักศึกษามา
6.เมื่อเรียนจนจบเทอม ย้ำว่ามาเรียนที่ใหม่อาจจะอยากกว่าที่เดิม และอาจติด F ได้ ฉะนั้นมาที่ใหม่ก็ต้องตั้งใจเรียนนะ สมมติว่าเรียนผ่าน ทางคณะจะทำหนังสือแจ้งเกรดของเรา โดยเราจะนำไปยื่นที่สำนักทะเบียนลาดกระบังเอง หรือจะให้ส่งไปรษณีย์ให้ก็ได้
7.เมื่อเรื่องมาถึงสำนักทะเบียนที่ลาดกระบังก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้อง เมื่อเกรดที่เราไปเรียนข้ามมหาวิทยาลัย ขึ้น เราจึงทำเรื่องขอเรียนจบ และรับปริญญาได้ นะ
ประสบการณ์ส่วนตัว
ติด F วิชา Database ที่ลาดกระบัง 2 รอบ กับอาจารย์คนเดียวกัน ครั้งแรกปี 4 เทอม 1 ครั้งที่ 2 ปี 4 ซัมเมอร์ คิดในใจว่าอาจารย์เค้าคงไม่ชอบหน้าเราแน่
เลยไปขอเรียนข้ามมหาวิทยาลัย ที่ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต บอกตรงๆ ว่าเรียนยากกว่าเดิมอีก เรียนหลักสูตรอินเตอร์ แบบเรียนจากต่างประเทศ แต่อาจารย์บรรยายไทยให้ฟังประมาณ 90 นาที อีก 90 นาทีก็ให้ศึกษาเองและะทำแบบฝึกหัด มีทำโปรเจค ก็ทำเองไม่ได้ก๊อบใคร สอบปลายภาคให้เอาหนังสือเข้าไปได้ แต่ข้อสอบก็ยาก แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยเกรด D เรียนจบพอดี
ยังไงก็เป็นกำลังใจให้น้องๆ นะครับ ที่กำลังจะเรียนจบ เรียนจบเป็นแค่ก้าวแรกของการทำงานครับ