ที่ความดัน 1 บรรยากาศ ทำไมไอน้ำถึงมีปริมาตรมากกว่าน้ำถึงพันกว่าเท่าล่ะครับ ใครพออธิบายให้ฟังได้บ้างครับว่าเพราะอะไร

อยากทราบว่าเพราะอะไรถึงเป็นเช่นนี้ สงสัยครับ

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
คือเรื่องนี้  จะต้องเริ่มจากคุณสมบัติของแก้ส  ตามกฏของชาร์ลส์ ครับ  คือ  V1/T1 = V2/T2

และ  แก้สทุกชนิด 1 โมล  จะมีปริมาตร = 22.4 ลูกบาศก์เซนติเมตร (ที่ 273 Kelvin  และที่ความดัน 1 ATM)
ซึ่งไอน้ำก็เช่นกัน  เพราะไอน้ำคือแก้สอย่างหนึ่ง (น้ำในสถานะแก้ส)  ดังนั้น  เมื่อน้ำกลายเป็นไอที่ 100 องศา C
เราก็นำลงแทนค่าในสูตรข้างต้น  ก็จะได้ว่า  22.4/273 = V/(100+273)  .... V = 30.6 ลิตร

ขณะที่น้ำ  1  โมล  จะมีปริมาตร  18.015 ลูกบาศก์เซนติเมตร

ดังนั้น  น้ำที่กลายเป็นไอจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้น = 30.6 ลิตร/18.015 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1,700 เท่า


หรือหากอธิบายภาษาชาวบ้าน  ก็คือ  เมื่อน้ำได้รับความร้อนจนเปลี่ยนสถานะเป็นไอ
โมเลกุลของน้ำจะขยายตัวออกห่างกัน  ทำให้จำนวนโมเลกุลต่อ 1 ปริมาตร  น้อยลงมาก
นั่นก็คือ  น้ำ 1 cc  เมื่อร้อน 100 องศา C เป็นไอน้ำ  โมเลกุลน้ำจะขยายตัวออกห่างกัน
จนมีปริมาตร (ประมาณ) 1,600 - 1,700 cc (1.6 - 1.7 ลิตร)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่