เป็นยุคที่ยายเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น สิ่งที่ยายจะเล่านี้อยู่บนพื้นฐาน life style ของยายเอง อาจจะไม่หวือหวาสักเท่าไร (เพราะยายแก่ตั้งแต่เด็ก เข้าใจตรงกัน นะ ) เราจะเริ่มต้นตั้งแต่ก้าวเท้าออกจากบ้านกันเรย
การเดินทาง หลักๆ คือ
1) รถเมล์ ขสมก. (หน่วยงานที่ได้ ISO เพราะการมีมาตรฐาน สม่ำเสมอ ตลอดมา ... แซวเล่น แหะแหะ) ยายขึ้นตั้งแต่สมัย 2.50 บาท (สีน้ำเงิน) 3.50 (สีแดง) ได้ละมัง ถ้าจำไม่ผิดนะ รถแอร์สีน้ำเงินนี้น่าจะ 6 บาท
แต่ไม่ค่อยมีหรอก นาน ๆ จะมาสักที สาย ปอ.10 ดอนเมือง - พระประแดง จำได้ว่าจะไปทีนี้รอ 30 นาที นี้ถือว่าเร็วอะ รถมินิบัสนี้ถ้าจำไม่ผิดก็ยังไม่ค่อยมีนะ จะเป็นรุ่นสีเขียวประตูด้านหน้าหลังถอดออกไม่ต้องปิดเพราะกระเป๋ารถเมล์สมัยยายนะการได้โหนรถเมล์แบบผลุบเข้าผลุบออกตรงประตูนี้ ก่อนถึงป้ายรถยังไม่จอดดีก็กระโดดลงมาเรียกผู้โดยสารก่อน ตอนรถจะออกจากป้ายก็ไม่ขึ้นนะ วิ่งตามแทด แทด ไปกระโดดเกาะประตูด้านหลัง แบบเค้าว่ามันเท่มั่กๆ จะไปไหนแต่ละทีต้องเผื่อเวลากันพอสมควร
รถไม่ติดก็จริงแต่ป้ายรถเมล์ซึ่งจะมีเฉพาะจุดที่เป็นตลาดหรือชุมชนเท่านั้นและจำนวนรถก็น้อยต้องใช้เวลารอประมาณหนึ่ง อีกประเภท คือ รถประจำทางวิ่งระหว่างจังหวัด สำหรับยายคุณลุงคุณป้าจะพานั่งรถสีส้ม สาย กทม-บางลี่ กลับไปหาคุณตาคุณยาย ต้องไปขึ้นรถที่ท่าพระ ตั้งแต่เช้ามาก กว่าจะไปถึงก็บ่าย ซึ่งคุณป้าเล่าว่ายายไปทำวีรกรรมไว้บนรถครั้งหนึ่งโดยการฉี่ไว้ที่บริเวณพื้นที่นั่งด้านท้ายรถ เวลารถลงสะพานก็ไหลไปเจิ่งด้านหน้าเป็นสาย ผู้โดยสารที่นั่งซีกด้านซ้ายรองเท้าเปียกกันทั่วหน้า สาเหตุก็มาจาก รถโดยสารนี้เค้าจะจอดที่จุดๆหนึ่ง และจะมีแม่ค้า พ่อค้านำน้ำหวานสีๆใส่ถุงใส่น้ำแข็ง ผูกด้วยเชือกฟาง ผลไม้ทั้งสดทั้งดอง ลูกอมแบ่งใส่ถุงพลาสติก และพวกไก่ย่างใส่ถาดแบกขึ้นมาขายด้วยนะ ยายจะได้โอกาสกินน้ำหวานก็เวลาแบบนี้แหละ 😊 กินแล้วก็เลยปวดฉี่ แหะแหะ
2) รถสองแถวแดง เล็กใหญ่ เริ่มได้ใช้บริการเมื่อสมัยเรียนมหาลัย สืบเนื่องจากการเสาะแสวงหาหนทางมาหาลุงหมีน้อยที่บ้านบ่อย ๆ อย่างว่า คิดจาจีบเค้าก็ต้องเช้าถึงเย็นถึงอะนะ ส่วนรถสองแถวแบบที่เรียกว่ารถกระป๋อง นี้ลองใช้บริการจริงจรังเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว เพราะต้องนั่งเข้าซอยที่เอกมัยในบางเวลาที่นั่ง BTS มาทำงานช่วงแรก ๆ เพื่อคำนวณหาค่าใช้จ่ายและค่าเสียเวลาเพื่อเปรียบเทียบกับการขับรถยนต์มาทำงาน พบว่า ราคาใกล้เคียงกันจ้า จึงตัดสินใจใช้รถยนต์ดีกว่า ขากลับรับเพื่อนๆ ติดรถออกมาได้ด้วย
3) แท็กซี่ ก็น้อยนะ ไม่มีมิตเตอร์ ตอนนั้น ตกลงราคากันเอาเหมือนสามล้อยังงี้ แต่คนขับแท็กซี่สมัยนั้นถือว่าเป็นอาชีพสร้างรายได้เหมือนกันนะ เพราะข้างบ้านยาย เค้าเป็นคนอีสานอยู่หมู่บ้านเดียวกัน มาเช่าบ้านอยู่ด้วยกันเพื่อขับแท็กซี่โดยเฉพาะ เวลาหน้านาก็กลับบ้านไปทำนาแล้วก็กลับมาขับรถต่อได้เงินเป็นกอบเป็นกำอยู่ ส่งลูกเรียนจบปริญญากันได้เลยนะ คงเพราะจำนวนรถและจำนวนโจรไม่มากเหมือนทุกวันนี้ ส่วนคนที่จะนั่งแท็กซี่ก็ต้องมีตังค์ประมาณหนึ่ง หรือไม่ก็เป็นแม่ค้านัดไปรับ-ส่งกันเป็นประจำ ไม่อีกทีก็ต้องมีธุระดึกดื่นกันจริงๆ จึงจะได้ใช้บริการ
4) วินมอเตอร์ไซด์ เอ...ยายจำได้เลาๆ ว่ามีพี่วินไม่มากเหมือนกัน ยายเหมาเอาว่า คนแถวบ้านยายนี้ค่อนข้างขยันเดินนะ ไปตลาดหรือไปไหนๆ พอจะเดินได้ก็เดินกันนะ ไม่ก็ขึ้นรถเมล์แล้วเดินต่อเอา ยายเดินไปตลาดซื้อกับข้าวให้คุณป้าทุกวัน ระยะทางไปกลับก็สัก 30 นาทีได้ ย่างเข้าวัยรุ่นก็มีจักรยานตราตุ๊กเข้ ที่มีตระกร้าข้างหน้าอะ ก็เลิกเดิน ปั่นสนุกเรย! คุณลุงคุณป้าใช้ไปซื้อของนี้ใช้ง่ายเลย แต่เวลาปั่นจักรยานนี้มีอุปสรรคสำคัญอยู่ 1 อย่าง บ้านด้านหน้าที่ยายต้องปั่นผ่านตอนเข้าออกอะเค้าเลี้ยงหมาไว้ 1 ตัว ดุมากกก หมาเจ้ากรรมก็ชอบไล่จักรยานจัง ปั่นทีนี้จะเข้าพงหญ้า ไม่ก็เฉียดคลองน้ำทิ้งไปหลายที 555 ไม่รู้ว่าไม่ชอบจักรยานหรือไม่ชอบยายส่วนตัว ส่วนเรื่องมอเตอร์ไซด์ ตอนนั้น ส่วนใหญ่มีแต่รุ่นที่เป็นแบบของผู้ชายที่มันมีคลัช มีเกียร์ และการเข้าถึงก็ยากนะกว่าที่บ้านของยายจะซื้อได้นี้ก็ยายโตชั้นประถมแล้วอะ (ที่สำคัญคนไหนรุ่นเดียวกะยายให้ไปขอดูที่น่องขาด้านหลังที่ข้างซ้ายหรือขวา จะต้องมีรอยท่อไอเสียมอเตอร์ไซด์ 90++% ) ยายจำครั้งแรกที่ฉลองการนั่งรถมอเตอร์ไซด์ครั้งแรกได้ คุณลุงพาขี่มอเตอร์ไซด์ไปเที่ยวสวนสัตว์เขาดิน ยายสนุกมาก แต่ยายได้ของแถมมาด้วย คือ ขากลับยายนั่งหลับเกาะหลังลุง พอถึงบ้านอีตอนขาลงก็งัวเงีย ปกติก็ลงฝั่งซ้าย งวดนี้ลงทางขวาจ๊ะ น่องขวาเลยได้รอยแผลเป็นฝากมาจนถึงทุกวันนี้ สมัยนี้ ปีหนึ่ง ๆ ออกใหม่เป็นสิบๆรุ่น จะซื้อก็ง่ายดาย ฟรีดาวน์ ผ่อนกันนานจนรถพัง ร้านขายมอเตอร์ไซด์จำนวนน้อยกว่า 7elevn หน่อยนึง แถมทั้งทองแถมทีวี...อีกหน่อยคงแจกฟรี จนเด็กประถม-ม.ต้นสมัยนี้ขี่มอเตอร์ไซด์ไปโรงเรียนกันแล้วอะ
5) รถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับทางบ้านยายตอนนั้น ถือว่า ซื้อยากมากกกกก กระทั่งช่วงยายอยู่ชั้นประถมปลายได้มัง คุณลุงคุณป้าของยายทำอาชีพรับเหมาก่อสร้างมีรายได้ดีขึ้นก็เลยสามารถซื้อรถกระบะ ยี่ห้อ DATSUN สีฟ้าแปร๋น มือสอง มาติดหลังคาแล้วก็ขับตุเลงๆกันไป ส่วนใหญ่จะไปหาคุณตาคุณยายที่บางลี่ สมัยนั้นถนนยังเข้าไม่ถึงบ้านริมคลอง ต้องจอดที่ริมฝั่งคลองหนึ่งแล้วเดินลงไปที่ท่าน้ำ หรือบีบแตร ตะโกนเรียกให้คุณตาพายเรือมารับ ส่วนหน้าน้ำหลากน้ำท่วมทางหมดต้องจอดรถไว้ที่ตลาดและนั่งเรือหางยาวประจำทาง หรือเหมาเรือหางยาวเร็วเข้าไปในคลอง(ยายเรียกว่า เรือลูกสาวกำนัน เพราะ คุณจารุณีสมัยเล่นเรื่องลูกสาวกำนันใช้เป็นพาหนะหลักในการเข้าฉากแสดง เท่มั่กๆ ) การนั่งเรือประจำทางเข้าไปนี้ทำให้ยายพบกับต้นไส้กรอก ! ยายมั่นใจว่า ไส้กรอกที่เค้าขายกันในห้าง เค้าปลูกกันแบบนี้เอง ยายพยายามจะเก็บไปให้คุณป้าทอดให้กินแต่มันเอื้มไม่ถึง...โชคดีของยาย จนเรียน ม.ต้น ยายถึงได้รู้ว่า ไส้กรอกมันทำมาจากเนื้อหมู และจนจบมหาวิทยาลัย ยายจึงได้รู้ว่า ต้นไส้กรอกของยาย คือ ต้นธูปฤาษี ทุกวันนี้ยายก็ยังเรียกต้นไส้กรอกอยู่นะ 😝 ยายว่าการมีรถยนต์สมัยนั้นสนุกมากๆ เพราะจะไปไหนกันแต่ละทีไปกันเต็มคันรถ ตะโกนชวนบ้านนู้นบ้านนี้ไปเที่ยวพร้อมๆ กัน เตรียมเสบียงใส่รถไปด้วย ยายจำได้ว่า การได้ไปเล่นน้ำทะเลที่บางแสนตอนนั้นสนุกมากกกกก ทั้งที่การเดินทางก็ไม่สะดวกเท่านี้ รถก็ไม่มีแอร์ แต่ทำไมมันสนุกอะ คงจะเหมือนที่เค้าพูดกันบ่อยๆใช่มั้ย ว่า “การเดินทางนั้นไม่ได้สำคัญที่จุดหมายปลายทาง แต่ระหว่างทางต่างหากที่จะให้คุณค่าบางอย่างกับตัวเรา”
6) ) เรือประจำทางในกทม. พวกคลองแสนแสบอะไรนี้ ยายไม่มีประสบการณ์นะ จนทุกวันนี้ยายก็ยังไม่เคยนั่งเรยอะ ส่วนเรือธงส้ม ธงฟ้า แบบวัดราชสิงขร - ท่าน้ำนนท์นี้ ยายเพิ่งจะมาได้นั่งเมื่อ 5-6 ปีก่อนเองอะ แบบว่า วิถีชีวิตเพิ่งจาเปลี่ยน มันทำให้ยายหลงรัก แม่น้ำเจ้าพระยาและวิถีชีวิตริมสองฝั่งเลยนะ อย่าว่างั้นงี้ ยายรู้สึกเหมือนได้เติมพลังงานชีวิตอันเหี่ยวเฉาจากการทำงานจันทร์-ศุกร์ หน้าคอมพิวเตอร์ ยายอยากให้ลองกันนะ คิดดูเวลาลมพัดแล้วน้ำมันกระเซ็นโดนหน้าบาง ๆ มันสดชื่นไปถึงหัวใจเลยอะ ปล.ถ้าใครโดยสารเรือด่วนธงสีส้มในวันหยุด แล้วเห็นผู้หญิงนั่งหน้าบานๆ พร้อมกับยิ้มให้กับภาพทิวทัศน์ของแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดทาง นั้นแหละยายเอง 😲 ตอนนี้ถือเป็นงานอดิเรกของยายอย่างหนึ่งเรยอะ ถ้ายายจะไปธุระที่ไหน นั่งเรือด่วนได้ยายก็จะจอดรถ เพื่อที่จะพยายามใช้บริการนะ และเวลาเพื่อนต่างชาติของยายมานะ ยายก็จะพาเค้านั่งเรือธงส้มเที่ยว (แบบเป็นทริปต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองกันเรยอะ)
6) BTS / MRT ยุค 90 ยังไม่มีจ้า ยายเข้าม.ปลายเค้าเพิ่งจะเริ่มตอกเสาเข็มรถไฟฟ้า สายแรกของประเทศไทย ที่หน้าสยาม ยายได้ใช้จริงจังก็ตอนมหาลัยสมัยจีบกะลุงเค้าใหม่ ๆ นั่งจากสะพานตากสินไปลงหมอชิต นั่งสบายมาก โล่งงงง ซึ่งต้องขอโทษเพื่อนเดินทางทั้งหลายในยุคปัจจุบันด้วยที่แนบสนิทกันตั้งแต่ต้นสายจนกระทั่งลงกันเลยทีเดียว
Blog ต่อไป เรามาคุยเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวกันมั้ง ว่า ยุคยายวัยสะรุ่น นะ ยายมีที่ชอบ ที่ชอบ ที่ไหนบ้าง 😊
วิถีชีวิต ของ เด็กฝั่งธนยุคปี 2533 - Part การเดินทาง
การเดินทาง หลักๆ คือ
1) รถเมล์ ขสมก. (หน่วยงานที่ได้ ISO เพราะการมีมาตรฐาน สม่ำเสมอ ตลอดมา ... แซวเล่น แหะแหะ) ยายขึ้นตั้งแต่สมัย 2.50 บาท (สีน้ำเงิน) 3.50 (สีแดง) ได้ละมัง ถ้าจำไม่ผิดนะ รถแอร์สีน้ำเงินนี้น่าจะ 6 บาท
แต่ไม่ค่อยมีหรอก นาน ๆ จะมาสักที สาย ปอ.10 ดอนเมือง - พระประแดง จำได้ว่าจะไปทีนี้รอ 30 นาที นี้ถือว่าเร็วอะ รถมินิบัสนี้ถ้าจำไม่ผิดก็ยังไม่ค่อยมีนะ จะเป็นรุ่นสีเขียวประตูด้านหน้าหลังถอดออกไม่ต้องปิดเพราะกระเป๋ารถเมล์สมัยยายนะการได้โหนรถเมล์แบบผลุบเข้าผลุบออกตรงประตูนี้ ก่อนถึงป้ายรถยังไม่จอดดีก็กระโดดลงมาเรียกผู้โดยสารก่อน ตอนรถจะออกจากป้ายก็ไม่ขึ้นนะ วิ่งตามแทด แทด ไปกระโดดเกาะประตูด้านหลัง แบบเค้าว่ามันเท่มั่กๆ จะไปไหนแต่ละทีต้องเผื่อเวลากันพอสมควร
รถไม่ติดก็จริงแต่ป้ายรถเมล์ซึ่งจะมีเฉพาะจุดที่เป็นตลาดหรือชุมชนเท่านั้นและจำนวนรถก็น้อยต้องใช้เวลารอประมาณหนึ่ง อีกประเภท คือ รถประจำทางวิ่งระหว่างจังหวัด สำหรับยายคุณลุงคุณป้าจะพานั่งรถสีส้ม สาย กทม-บางลี่ กลับไปหาคุณตาคุณยาย ต้องไปขึ้นรถที่ท่าพระ ตั้งแต่เช้ามาก กว่าจะไปถึงก็บ่าย ซึ่งคุณป้าเล่าว่ายายไปทำวีรกรรมไว้บนรถครั้งหนึ่งโดยการฉี่ไว้ที่บริเวณพื้นที่นั่งด้านท้ายรถ เวลารถลงสะพานก็ไหลไปเจิ่งด้านหน้าเป็นสาย ผู้โดยสารที่นั่งซีกด้านซ้ายรองเท้าเปียกกันทั่วหน้า สาเหตุก็มาจาก รถโดยสารนี้เค้าจะจอดที่จุดๆหนึ่ง และจะมีแม่ค้า พ่อค้านำน้ำหวานสีๆใส่ถุงใส่น้ำแข็ง ผูกด้วยเชือกฟาง ผลไม้ทั้งสดทั้งดอง ลูกอมแบ่งใส่ถุงพลาสติก และพวกไก่ย่างใส่ถาดแบกขึ้นมาขายด้วยนะ ยายจะได้โอกาสกินน้ำหวานก็เวลาแบบนี้แหละ 😊 กินแล้วก็เลยปวดฉี่ แหะแหะ
2) รถสองแถวแดง เล็กใหญ่ เริ่มได้ใช้บริการเมื่อสมัยเรียนมหาลัย สืบเนื่องจากการเสาะแสวงหาหนทางมาหาลุงหมีน้อยที่บ้านบ่อย ๆ อย่างว่า คิดจาจีบเค้าก็ต้องเช้าถึงเย็นถึงอะนะ ส่วนรถสองแถวแบบที่เรียกว่ารถกระป๋อง นี้ลองใช้บริการจริงจรังเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว เพราะต้องนั่งเข้าซอยที่เอกมัยในบางเวลาที่นั่ง BTS มาทำงานช่วงแรก ๆ เพื่อคำนวณหาค่าใช้จ่ายและค่าเสียเวลาเพื่อเปรียบเทียบกับการขับรถยนต์มาทำงาน พบว่า ราคาใกล้เคียงกันจ้า จึงตัดสินใจใช้รถยนต์ดีกว่า ขากลับรับเพื่อนๆ ติดรถออกมาได้ด้วย
3) แท็กซี่ ก็น้อยนะ ไม่มีมิตเตอร์ ตอนนั้น ตกลงราคากันเอาเหมือนสามล้อยังงี้ แต่คนขับแท็กซี่สมัยนั้นถือว่าเป็นอาชีพสร้างรายได้เหมือนกันนะ เพราะข้างบ้านยาย เค้าเป็นคนอีสานอยู่หมู่บ้านเดียวกัน มาเช่าบ้านอยู่ด้วยกันเพื่อขับแท็กซี่โดยเฉพาะ เวลาหน้านาก็กลับบ้านไปทำนาแล้วก็กลับมาขับรถต่อได้เงินเป็นกอบเป็นกำอยู่ ส่งลูกเรียนจบปริญญากันได้เลยนะ คงเพราะจำนวนรถและจำนวนโจรไม่มากเหมือนทุกวันนี้ ส่วนคนที่จะนั่งแท็กซี่ก็ต้องมีตังค์ประมาณหนึ่ง หรือไม่ก็เป็นแม่ค้านัดไปรับ-ส่งกันเป็นประจำ ไม่อีกทีก็ต้องมีธุระดึกดื่นกันจริงๆ จึงจะได้ใช้บริการ
4) วินมอเตอร์ไซด์ เอ...ยายจำได้เลาๆ ว่ามีพี่วินไม่มากเหมือนกัน ยายเหมาเอาว่า คนแถวบ้านยายนี้ค่อนข้างขยันเดินนะ ไปตลาดหรือไปไหนๆ พอจะเดินได้ก็เดินกันนะ ไม่ก็ขึ้นรถเมล์แล้วเดินต่อเอา ยายเดินไปตลาดซื้อกับข้าวให้คุณป้าทุกวัน ระยะทางไปกลับก็สัก 30 นาทีได้ ย่างเข้าวัยรุ่นก็มีจักรยานตราตุ๊กเข้ ที่มีตระกร้าข้างหน้าอะ ก็เลิกเดิน ปั่นสนุกเรย! คุณลุงคุณป้าใช้ไปซื้อของนี้ใช้ง่ายเลย แต่เวลาปั่นจักรยานนี้มีอุปสรรคสำคัญอยู่ 1 อย่าง บ้านด้านหน้าที่ยายต้องปั่นผ่านตอนเข้าออกอะเค้าเลี้ยงหมาไว้ 1 ตัว ดุมากกก หมาเจ้ากรรมก็ชอบไล่จักรยานจัง ปั่นทีนี้จะเข้าพงหญ้า ไม่ก็เฉียดคลองน้ำทิ้งไปหลายที 555 ไม่รู้ว่าไม่ชอบจักรยานหรือไม่ชอบยายส่วนตัว ส่วนเรื่องมอเตอร์ไซด์ ตอนนั้น ส่วนใหญ่มีแต่รุ่นที่เป็นแบบของผู้ชายที่มันมีคลัช มีเกียร์ และการเข้าถึงก็ยากนะกว่าที่บ้านของยายจะซื้อได้นี้ก็ยายโตชั้นประถมแล้วอะ (ที่สำคัญคนไหนรุ่นเดียวกะยายให้ไปขอดูที่น่องขาด้านหลังที่ข้างซ้ายหรือขวา จะต้องมีรอยท่อไอเสียมอเตอร์ไซด์ 90++% ) ยายจำครั้งแรกที่ฉลองการนั่งรถมอเตอร์ไซด์ครั้งแรกได้ คุณลุงพาขี่มอเตอร์ไซด์ไปเที่ยวสวนสัตว์เขาดิน ยายสนุกมาก แต่ยายได้ของแถมมาด้วย คือ ขากลับยายนั่งหลับเกาะหลังลุง พอถึงบ้านอีตอนขาลงก็งัวเงีย ปกติก็ลงฝั่งซ้าย งวดนี้ลงทางขวาจ๊ะ น่องขวาเลยได้รอยแผลเป็นฝากมาจนถึงทุกวันนี้ สมัยนี้ ปีหนึ่ง ๆ ออกใหม่เป็นสิบๆรุ่น จะซื้อก็ง่ายดาย ฟรีดาวน์ ผ่อนกันนานจนรถพัง ร้านขายมอเตอร์ไซด์จำนวนน้อยกว่า 7elevn หน่อยนึง แถมทั้งทองแถมทีวี...อีกหน่อยคงแจกฟรี จนเด็กประถม-ม.ต้นสมัยนี้ขี่มอเตอร์ไซด์ไปโรงเรียนกันแล้วอะ
5) รถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับทางบ้านยายตอนนั้น ถือว่า ซื้อยากมากกกกก กระทั่งช่วงยายอยู่ชั้นประถมปลายได้มัง คุณลุงคุณป้าของยายทำอาชีพรับเหมาก่อสร้างมีรายได้ดีขึ้นก็เลยสามารถซื้อรถกระบะ ยี่ห้อ DATSUN สีฟ้าแปร๋น มือสอง มาติดหลังคาแล้วก็ขับตุเลงๆกันไป ส่วนใหญ่จะไปหาคุณตาคุณยายที่บางลี่ สมัยนั้นถนนยังเข้าไม่ถึงบ้านริมคลอง ต้องจอดที่ริมฝั่งคลองหนึ่งแล้วเดินลงไปที่ท่าน้ำ หรือบีบแตร ตะโกนเรียกให้คุณตาพายเรือมารับ ส่วนหน้าน้ำหลากน้ำท่วมทางหมดต้องจอดรถไว้ที่ตลาดและนั่งเรือหางยาวประจำทาง หรือเหมาเรือหางยาวเร็วเข้าไปในคลอง(ยายเรียกว่า เรือลูกสาวกำนัน เพราะ คุณจารุณีสมัยเล่นเรื่องลูกสาวกำนันใช้เป็นพาหนะหลักในการเข้าฉากแสดง เท่มั่กๆ ) การนั่งเรือประจำทางเข้าไปนี้ทำให้ยายพบกับต้นไส้กรอก ! ยายมั่นใจว่า ไส้กรอกที่เค้าขายกันในห้าง เค้าปลูกกันแบบนี้เอง ยายพยายามจะเก็บไปให้คุณป้าทอดให้กินแต่มันเอื้มไม่ถึง...โชคดีของยาย จนเรียน ม.ต้น ยายถึงได้รู้ว่า ไส้กรอกมันทำมาจากเนื้อหมู และจนจบมหาวิทยาลัย ยายจึงได้รู้ว่า ต้นไส้กรอกของยาย คือ ต้นธูปฤาษี ทุกวันนี้ยายก็ยังเรียกต้นไส้กรอกอยู่นะ 😝 ยายว่าการมีรถยนต์สมัยนั้นสนุกมากๆ เพราะจะไปไหนกันแต่ละทีไปกันเต็มคันรถ ตะโกนชวนบ้านนู้นบ้านนี้ไปเที่ยวพร้อมๆ กัน เตรียมเสบียงใส่รถไปด้วย ยายจำได้ว่า การได้ไปเล่นน้ำทะเลที่บางแสนตอนนั้นสนุกมากกกกก ทั้งที่การเดินทางก็ไม่สะดวกเท่านี้ รถก็ไม่มีแอร์ แต่ทำไมมันสนุกอะ คงจะเหมือนที่เค้าพูดกันบ่อยๆใช่มั้ย ว่า “การเดินทางนั้นไม่ได้สำคัญที่จุดหมายปลายทาง แต่ระหว่างทางต่างหากที่จะให้คุณค่าบางอย่างกับตัวเรา”
6) ) เรือประจำทางในกทม. พวกคลองแสนแสบอะไรนี้ ยายไม่มีประสบการณ์นะ จนทุกวันนี้ยายก็ยังไม่เคยนั่งเรยอะ ส่วนเรือธงส้ม ธงฟ้า แบบวัดราชสิงขร - ท่าน้ำนนท์นี้ ยายเพิ่งจะมาได้นั่งเมื่อ 5-6 ปีก่อนเองอะ แบบว่า วิถีชีวิตเพิ่งจาเปลี่ยน มันทำให้ยายหลงรัก แม่น้ำเจ้าพระยาและวิถีชีวิตริมสองฝั่งเลยนะ อย่าว่างั้นงี้ ยายรู้สึกเหมือนได้เติมพลังงานชีวิตอันเหี่ยวเฉาจากการทำงานจันทร์-ศุกร์ หน้าคอมพิวเตอร์ ยายอยากให้ลองกันนะ คิดดูเวลาลมพัดแล้วน้ำมันกระเซ็นโดนหน้าบาง ๆ มันสดชื่นไปถึงหัวใจเลยอะ ปล.ถ้าใครโดยสารเรือด่วนธงสีส้มในวันหยุด แล้วเห็นผู้หญิงนั่งหน้าบานๆ พร้อมกับยิ้มให้กับภาพทิวทัศน์ของแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดทาง นั้นแหละยายเอง 😲 ตอนนี้ถือเป็นงานอดิเรกของยายอย่างหนึ่งเรยอะ ถ้ายายจะไปธุระที่ไหน นั่งเรือด่วนได้ยายก็จะจอดรถ เพื่อที่จะพยายามใช้บริการนะ และเวลาเพื่อนต่างชาติของยายมานะ ยายก็จะพาเค้านั่งเรือธงส้มเที่ยว (แบบเป็นทริปต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองกันเรยอะ)
6) BTS / MRT ยุค 90 ยังไม่มีจ้า ยายเข้าม.ปลายเค้าเพิ่งจะเริ่มตอกเสาเข็มรถไฟฟ้า สายแรกของประเทศไทย ที่หน้าสยาม ยายได้ใช้จริงจังก็ตอนมหาลัยสมัยจีบกะลุงเค้าใหม่ ๆ นั่งจากสะพานตากสินไปลงหมอชิต นั่งสบายมาก โล่งงงง ซึ่งต้องขอโทษเพื่อนเดินทางทั้งหลายในยุคปัจจุบันด้วยที่แนบสนิทกันตั้งแต่ต้นสายจนกระทั่งลงกันเลยทีเดียว
Blog ต่อไป เรามาคุยเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวกันมั้ง ว่า ยุคยายวัยสะรุ่น นะ ยายมีที่ชอบ ที่ชอบ ที่ไหนบ้าง 😊