การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นการแก้ปัญหาให้คนใช้แรงงานได้จริงไหม?????

โดยส่วนตัวคิดว่า ทฤษฎีการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในการแก้ปัญหาเรื่องค่าครองชีพคนใช้แรงงานไม่ได้ผล เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม สามารถผลิตสินค้าได้เอง
สมัยปัจจุบันไม่เหมือนสมัยก่อน แค่รัฐบาลประกาศจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ราคาค่าครองชีพขึ้นไปรอก่อนเรียบร้อยแล้ว  โดยอ้างว่าต้นทุนแรงงานสูงขึ้น จากข้าว มื้อล่ะ 30 บ. เป็น 35 บ. พอมีข่าวจะประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 300 บ. เป็น 310 บ.  เท่ากับ 1 วัน ค่าแรงเพิ่มมา 10 บ.  แต่ค่าข้าว เพิ่มขึ้นมามื้อล่ะ 5 บาท ถ้าซื้อกิน 3 มื้อ ปกติ เท่ากับเพิ่มมา 15 บ.แล้ว และอาจจะมีค่าเดินทางที่อาจจะปรับขึ้นตามและสิ่งของใช้จ่ายที่จะปรับขึ้นตามมา เพราะผู้ขายสมัยนี้ก็ทันข่าวสารทุกอย่าง จากที่ได้เพิ่มค่าแรงมา 10 บ. สรุปคือ 10 บ.นั้นไม่เหลืออะไรเลย แล้วถ้าครอบครัวนั้นมี 3 คน พ่อ-แม่ ลูก โดยที่พ่อทำงานแค่คนเดียวเท่ากับค่าครองชีพคนใช้แรงงานติดลบเพิ่มขึ้น ฉะนั้นคิดว่าการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำไม่ใช่แนวทางแก้ไขที่เหมาะกับประเทศเรา  
แนวทางที่ควรจะแก้ไขที่คิดว่าน่าจะได้ผล
1.หลังจากนี้ไม่ควรประกาศเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำมากกว่านี้ในการแก้ไขปัญหาคนใช้แรงงาน  
2.ควรจะปล่อยให้ค่าแรงเป็นไปตามกลไกของตลาดแรงงาน หรือความต้องการในแรงงานนั้นเป็นตัวกำหนดค่าแรง อุปสงค์ อุปทานการจ้างงานมากกว่า (สำหรับคนที่เป็นแรงงานถ้าอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ เมื่ออยู่มากกว่า 1 ปี มีฝีมือหรือประสบการณ์ในงานนั้นๆโดยส่วนใหญ่ก็จะได้ปรับค่าแรงงานขึ้นอยู่แล้ว)
3.ควรควบคุมราคาสินค้าไม่ให้ขึ้นราคาสินค้าที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตให้ขึ้นราคาง่ายเกินไป เพราะโดยส่วนใหญ่เมื่อขึ้นราคาค่าข้าวแล้ว ก็จะไม่กลับมาราคาเดิมได้อีก เช่น ก๋วยเตี๋ยวถ้าขึ้นราคาจาก 20 บ.เป็น 25 บ.แล้วก็จะไม่กลับมาที่ราคา 20 บ.อีก  ถึงค่าแก็สจะราคาถูกลง
4.ควรผ่อนปรนเรื่องผังเมืองอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีวัตถุดิบสินค้าหรืออุตสาหกรรมที่อยุ่ในจังหวัดนั้นๆ   เพื่อลดการย้ายถิ่นฐานเข้ามากระจุกตัว เช่น ถ้ามีโรงงานที่ผลิตลิ้นจี่กระป๋อง ในภาคเหนือก็ควรสามารถตั้งโรงงานได้ทางภาคเหนือมากขึ้น
   4.1 เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งของวัตถุดิบลิ้นจี่ของโรงงาน
   4.2 แรงงานไม่ต้องย้ายถิ่นฐานมาอยู่โรงงานในกทม.  คนแรงงานนั้นก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเช่าห้อง ในเขตอุตสาหกรรมสมุทรปราการหรืออื่นๆ
         คนแรงงานนั้นก็อยู่ใกล้กลับครอบครัวมากขึ้นไม่ต้องห่างจากครอบครัวหลายๆเดือน ค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าที่พักหรือค่าเดินทางลดลงคนแรงงานก็อาจจะเหลือเงินในการใช้จ่ายมากขึ้น
   4.3 ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นผลผลิตของจังหวัดนั้นๆ เช่นมีนโยบายจูงใจ โดยอุตสาหกรรมจังหวัดเป็นคนช่วยกำกับดูแลและส่งเสริม
5. รัฐควรส่งเสริมเรื่องสินค้าอุปโภค บริโภคธงฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะควรจะจัดบริเวนที่มีขายสินค้าธงฟ้าทุกศุกร์-เสาร์ให้ใกล้กลับอุตสาหกรรมโรงงานหรือมีที่เฉพาะให้ขาย ทุกเสาร์-อาทิตย์ โดยให้สินค้าอุปโภค บริโภคก็ขอความร่วมมือจากบริษัทต่างๆ มาขายในราคาพิเศษให้กับคนใช้แรงงาน ไม่ใช่ไปขายแต่ในเมืองทอง
โดยส่วนตัวคิดว่าการแก้ปัญหาแรงงานโดยการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ไม่ใช่ทางแก้ไขปัญหารายได้ไม่พอใช้กับค่าใช้จ่ายได้
ปล.ใครมีความคิดเห็นอื่นๆช่วยมาแชร์เพิ่มเติมเป็นแนวทางอื่นๆด้วยครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่