กระแสโซเชียลฯชายแดนใต้รุมวิจารณ์เสาไฟโซลาร์เซลล์พันล้าน

https://www.isranews.org/south-news/other-news/57066-critic_57066.html

ปัญหาในโครงการติดตั้งเสาไฟโซลาร์เซลล์ จำนวนกว่า 14,000 จุดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้งบประมาณถึงกว่า 1 พันล้านบาท แต่กลับมีปัญหาติดๆ ดับๆ เป็นโครงการหนึ่งที่ถูกวิจารณ์จากคนพื้นที่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หรือ โซเชียลมีเดียมากที่สุด



"ศูนย์ข่าวอิศรา" รวบรวมความเห็นที่น่าสนใจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการชี้เป้าเสาไฟในพื้นที่ที่มีปัญหา ชำรุดใช้การไม่ได้ เช่น...

          "ม.4 ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ใช้ได้ไม่กี่วันดับครับ ตั้งแต่ดับมาเป็นปี ยังไม่ได้ซ่อมสักที"

          "แถวรือเสาะก็มีครับ แต่สว่างแบบกระพริบๆ จะดับก็ไม่ดับ"

          "แถวบ้านผมใช้คุ้มครับ เสาละแสน ใช้ 7 วันเสียครับ ตอนนี้เป็นปีแล้วไม่ได้ซ่อมสักที"

          "ปีที่แล้วแถวบ้านผมมีมาติดให้ แต่ใช่ได้ไม่ถึงเดือนก็กลายเป็นไฟกระพริบ และตอนนี้ดับสนิทไม่เหลือแสงให้เห็นแม้แต่ต้นเดียว ขอบคุณสำหรับเสาไฟโหลๆ ที่มอบให้มาครับ"

          "แถว อ.กาบัง จ.ยะลา ก็เสียหมดแล้วครับ ถ้าเปลี่ยนจากโซลาร์เซลล์เป็นไฟฟ้าแทนน่าจะดี เพราะแถวบ้านไฟฟ้ายังไม่มีเลย"

          นอกจากนั้นก็มีการแสดงความเห็นเรื่องที่ ศอ.บต.อ้างว่าสาเหตุที่เสาไฟโซลาร์เซลล์ชำรุดใช้งานไม่ได้ เป็นเพราะแบตเตอรี่ถูกขโมย ซึ่งกระแสในโซเชียลฯไม่ค่อยเชื่อคำชี้แจงนี้...

          "แบตเตอรี่อยู่บนเสาไฟ อยู่สูงจากพื้น 3.5 –4 เมตร ยังขโมยกันได้"

          "ไม่ใช่แบตเตอรี่ถูกขโมย แต่แบตไม่มีคุณภาพ หน้าบ้านผมต้นหนึ่งเสีย ไฟไม่มาเลย"

          "ไม่ต้องแถ แถวบ้านไฟไม่เคยติดเลยสักครั้ง เป็นปีแล้ว ฝากบอกโจรเลย ขโมยไปทั้งเสาเลย ไม่ต้องเลือกเฉพาะแบตเตอรี่"

          อีกประเด็นหนึ่งที่แสดงความเห็นกันมาก คือกรณีที่ ศอ.บต.อ้างว่าอากาศชื้น ทำให้ไฟติดๆ ดับๆ เพราะแบตเตอรี่เก็บไฟได้น้อย...

          "โซลาร์เซลล์ถูกออกแบบและใช้วัสดุที่ทนทานเพื่อให้มีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 20 ปี สินค้าที่ได้มาตรฐาน มอก.ไม่ว่าจะผลิตในไทย จีน หรืออินเดีย จะผ่านการทดสอบให้กันน้ำ กันความชื้น และความร้อนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการอ้างว่าใช้งานไม่ได้เพราะบ้านเราความชื้นสูง จึงเป็นเรื่องตลกที่น่าอับอายอย่างยิ่ง ลองถามคนการไฟฟ้าหรือกระทรวงพลังงานดูสิครับ"

          "ไม่เชื่อครับ ระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ที่ราคาขนาดนั้น สามารถทำงานได้ภายใต้สภาวะอากาศชื้นระดับประเทศไทยได้สบาย  ตอนนี้มีงานอยู่ที่ไบเทค ไปสอบถามได้เลย ที่มาเลเซียกับสิงคโปร์ก็ทำงานได้"

          "ร้องไห้มีภาพไฟโซลาร์เซลล์) ได้มาจากงานไบเทคบางนา ชุดหนึ่งไม่เกิน 30,000 บาท นี่คือราคาขายปลีกนะ ซื้อเยอะๆ หลักพันต้นนี่ลดได้อีก ค่าดำเนินการติดตั้งอีกหมื่นบาทต่อต้นนี่ก็หรูแล้ว แต่ภาคใต้ก็อาจจะเพิ่มอีกหน่อย ปัญหาเรื่องความชื้นนี่ไม่ใช่เลย"

          "มันเกี่ยวกันตรงไหน ผมเป็นวิศวกรไฟฟ้าครับ คอนเฟิร์มว่ามันไม่เกี่ยว"

          "บ้านผมติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบถูกๆ แผงละสองพันกว่าบาท แบตเตอรี่ก็ใช้ลูกละพันกว่าบาท ใช้มา 5 ปียังไม่เคยมีปัญหา ของ ศอ.บต.รวมยกชุดต้นเท่าไหร่ครับปัญหาถึงมีมากขนาดนี้"

          "ไม่เชื่อ ถ้าเป็นก็ต้องเป็นทั้งหมด และเป็นแค่ไฟฟ้ากระแสตรง 12 V ระบบกลางแจ้งก็ต้องซีลให้เรียบร้อย นอกจากมันห่วย ผมซื้อชุดเล็กๆ ตากแดดตากฝนไม่เห็นเป็นไรเลย"

          "โซลาร์เซลล์ทำงานตามความเข้มแสง ไม่ได้ใช้ความชื้นเป็นเชื้อเพลิงซักหน่อย อ้างว่าฝนตก อากาศปิด ความเข้มแสงไม่พอก็พอจะแถได้"

          "สเป็คไม่ถึงมากกว่าครับ"

          สำหรับความเห็นอื่นๆ ที่น่าสนใจก็เช่น...

          "จะไม่ตรวจสอบ ไม่ดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น แค่รอให้เงียบ จุ๊ๆๆ"

          "เอามาติดรอบทำเนียบ นายกฯจะได้รู้ ไม่ต้องรายงาน แล้วจะรู้ว่าชาวบ้านเขาคิดอย่างไรที่กลางคืนมืดสนิท"

          "จ่ายเงินเรียบร้อย เอกสารบอกส่งของเรียบร้อย แต่คนในพื้นที่ไม่เห็นของ"

          "โซลาร์เซลล์ยังมีอีกเยอะที่ใช้ไม่ได้ ยังไม่ทันได้ใช้เลยก็ซ่อมซะแล้ว ไม่ประกันการใช้งานหรือ"


**ข่าวก่อนหน้าบางส่วนครับ

นายกฯสั่ง ศอ.บต.แจงเสาไฟโซลาร์เซลล์พันล้าน - อบต.มึนไม่ได้สักต้น!
https://www.isranews.org/south-news/other-news/56883-report.html
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สำรวจตลาด-พิสูจน์ราคาเสาไฟโซลาร์เซลล์พันล้าน!
https://www.isranews.org/south-news/documentary/56019-banmoh.html

-----------------------------------------------------------------------------------

ลองไปค้นราคาใน web บางเจ้ามาดู ติดตั้งทางใต้ราคาคงต้องสูงกว่าปกติน่าจะบวกค่าเสี่ยงภัย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

***หวังว่าจะมีการตรวจสอบหาความชัดเจนนะครับ เพราะนอกจากเรื่องราคา คุณภาพ และเหมือนบางแห่งจะยังไม่มีการติดตั้งอีก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่