ผมได้อ่านเฟสของ อ.อามีน ลอนา โต๊ะครูวะฮะบียะฮ์ กับดูยูทูปของกลุ่มไทยซาลาฟี่ ที่นำโดย อ.อิสฮาก พงษ์มณี เหตุและผลที่พากันสนับสนุน
ซาอุดิอาระเบีย สรุปความตามที่ผมเข้าใจคือ ซาอุดิอาระเบียเป็น ประเทศเตาฮีด เดียวของโลก ที่เหล่ามุสลิมทั้งหลายต้องปกป้อง
แล้วประเทศเตาฮีดคืออะไร เพราะเท่าที่คนนอกศาสนาอิสลามอย่างผมศึกษามา คือการแบ่งเตาฮีดเป็น 3 ส่วน เป็นญาณวิทยาของมุสลิมกลุ่มหนึ่งเท่านั้นเองและพึ่งมีมาไม่กี่ร้อยปีหลังๆนี่เอง มุสลิมกลุ่มอื่นๆ ก็แบ่งแตกต่างกันไป หรือบางกลุ่มไม่แบ่งเลย เอาอัลกุรอ่านและฮะดิษ เป็นหลัก (ผมไม่ค่อยเห็นด้วยที่พวกโต๊ะครูวะฮะบีย์เที่เที่ยวถามมุสลิมว่ารู้จักเตาฮีดใหม มีกี่ประเภท ตอบอย่างอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 3 ผิดต้องเรียนใหม่กับกลุ่มตนเอง)
อิสลามในเชิงญาณวิทยา พอแบ่งหมวดหมู่องค์ความรู้ทางศาสนาอิสลามต่างกัน มันก็จะต่างกันในความเข้าใจและการปฏิบัติไปเรื่อย แต่ถ้ายึดอัลกรุอ่านและฮะดิษ ความต่างพวกเขาพวกเราจะน้อยลงหรือเปล่า จริงอยู่ระบบฮะดิษของชีอะฮ์กับซุนนะห์มีต่างกันแต่อัลกรุอ่านก็ยังยึดถือเล่มเดียวกัน การสังเคราะห์หลักก็ไม่น่าจะแตกต่างกันมาก แต่ว่าการจัดหมวดหมู่และการเน้นหลักในองค์ความรู้จากอัลกรุอ่านอาจจะต่างกันตามสังคมและพื้นที่ (หรือเปล่า)
ตานี้ผมจึงสงสัยว่า "ประเทศเตาฮีด" มีเกณฑ์ตัดสินอย่างไร ถือว่าคำนี้เป็นบิดอะหรือไม่อย่างไร (เพราะนี่เป็นการมองรัฐในแนวทางศาสนา) ถ้าเล่าที่มาได้ก็ดี
ขอบคุณครับ
ปล. พุทธกับอิสลาม มีการจัดการคัมภีร์คล้ายกันคือมีระบบท่องจำและสอบทานรวมหมู่ แต่พุทธไม่มีการสืบสายสอบทานเป็นตัวบุคคลแต่เน้นคณะ หรือสังฆะ นั่นเอง กลไกต่างกัน และพุทธก็มีปัญหาคล้ายกับอิสลาม คือตัวคัมภีร์หลักของเถรวาท ทุกนิกายยอมรับหมด แต่การจัดหมวดหมู่ ตัฟซี อรรถกถาฏีกาแตกต่างกันไป จึงมีการจัดหมวดหมู่กฏหรือพระวินัยแตกต่างบ้างตั้งแต่ 5 ข้อถึง ประมาณ40ข้อ แล้วแต่นิกายมีผลทำให้ ลงสวดท่องจำกฏพระวินัยด้วยกันไม่ได้ เพราะนับไม่เหมือนกัน และพระวินัยใช้กับพระสงฆ์ ปัญหาจึงไม่หนักเท่าอิสลาม สำหรับอิสลามผมไม่แน่ใจแต่เท่าที่ฟังจากพวกโต๊ะครูแก่ๆคณะเก่า ก็พอจับเค้าลางว่าคล้ายๆกันกับพุทธ คือชีอะฮ์ สุนหนี่ก็อยู่ร่วมๆกัน แต่ศาสนกิจก็แยกกันไป เพราะอย่างไรก็ถือคัมภีร์หลักเล่มเดียวกัน
ประเทศเตาฮีดคืออะไร
ซาอุดิอาระเบีย สรุปความตามที่ผมเข้าใจคือ ซาอุดิอาระเบียเป็น ประเทศเตาฮีด เดียวของโลก ที่เหล่ามุสลิมทั้งหลายต้องปกป้อง
แล้วประเทศเตาฮีดคืออะไร เพราะเท่าที่คนนอกศาสนาอิสลามอย่างผมศึกษามา คือการแบ่งเตาฮีดเป็น 3 ส่วน เป็นญาณวิทยาของมุสลิมกลุ่มหนึ่งเท่านั้นเองและพึ่งมีมาไม่กี่ร้อยปีหลังๆนี่เอง มุสลิมกลุ่มอื่นๆ ก็แบ่งแตกต่างกันไป หรือบางกลุ่มไม่แบ่งเลย เอาอัลกุรอ่านและฮะดิษ เป็นหลัก (ผมไม่ค่อยเห็นด้วยที่พวกโต๊ะครูวะฮะบีย์เที่เที่ยวถามมุสลิมว่ารู้จักเตาฮีดใหม มีกี่ประเภท ตอบอย่างอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 3 ผิดต้องเรียนใหม่กับกลุ่มตนเอง)
อิสลามในเชิงญาณวิทยา พอแบ่งหมวดหมู่องค์ความรู้ทางศาสนาอิสลามต่างกัน มันก็จะต่างกันในความเข้าใจและการปฏิบัติไปเรื่อย แต่ถ้ายึดอัลกรุอ่านและฮะดิษ ความต่างพวกเขาพวกเราจะน้อยลงหรือเปล่า จริงอยู่ระบบฮะดิษของชีอะฮ์กับซุนนะห์มีต่างกันแต่อัลกรุอ่านก็ยังยึดถือเล่มเดียวกัน การสังเคราะห์หลักก็ไม่น่าจะแตกต่างกันมาก แต่ว่าการจัดหมวดหมู่และการเน้นหลักในองค์ความรู้จากอัลกรุอ่านอาจจะต่างกันตามสังคมและพื้นที่ (หรือเปล่า)
ตานี้ผมจึงสงสัยว่า "ประเทศเตาฮีด" มีเกณฑ์ตัดสินอย่างไร ถือว่าคำนี้เป็นบิดอะหรือไม่อย่างไร (เพราะนี่เป็นการมองรัฐในแนวทางศาสนา) ถ้าเล่าที่มาได้ก็ดี
ขอบคุณครับ
ปล. พุทธกับอิสลาม มีการจัดการคัมภีร์คล้ายกันคือมีระบบท่องจำและสอบทานรวมหมู่ แต่พุทธไม่มีการสืบสายสอบทานเป็นตัวบุคคลแต่เน้นคณะ หรือสังฆะ นั่นเอง กลไกต่างกัน และพุทธก็มีปัญหาคล้ายกับอิสลาม คือตัวคัมภีร์หลักของเถรวาท ทุกนิกายยอมรับหมด แต่การจัดหมวดหมู่ ตัฟซี อรรถกถาฏีกาแตกต่างกันไป จึงมีการจัดหมวดหมู่กฏหรือพระวินัยแตกต่างบ้างตั้งแต่ 5 ข้อถึง ประมาณ40ข้อ แล้วแต่นิกายมีผลทำให้ ลงสวดท่องจำกฏพระวินัยด้วยกันไม่ได้ เพราะนับไม่เหมือนกัน และพระวินัยใช้กับพระสงฆ์ ปัญหาจึงไม่หนักเท่าอิสลาม สำหรับอิสลามผมไม่แน่ใจแต่เท่าที่ฟังจากพวกโต๊ะครูแก่ๆคณะเก่า ก็พอจับเค้าลางว่าคล้ายๆกันกับพุทธ คือชีอะฮ์ สุนหนี่ก็อยู่ร่วมๆกัน แต่ศาสนกิจก็แยกกันไป เพราะอย่างไรก็ถือคัมภีร์หลักเล่มเดียวกัน