คำเตือน: ‘มัมมี่’..ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับ ‘ธัมมี่’
“มีชีวิตนี้ ย่อมมีชีวิตหน้า
เวียนว่ายตายเกิดในภพนี้..ไม่จบสิ้น”
- บทสวดส่งวิญญาณชาวไอยคุปต์ –
ความเชื่อโบราณของอียิปต์โบราณ หรือไอยคุปต์ เชื่อกันว่า ผู้ใดที่ตายลง วิญญาณจะออกจากร่างไปใช้ชีวิตในภพหน้าเพียงชั่วคราว และจะกลับมาในวันหนึ่ง.. ชาวอียิปต์จึงมีพิธีกรรมสำหรับการรักษาศพของผู้ตายให้คงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดเพื่อรอดวงวิญญาณของเจ้าของร่างกลับมาใช้ชีวิตในภพนี้อีกครั้ง ศพที่ผ่านพิธีกรรมนั้น เรียกว่า ‘มัมมี่’
พิธีกรรมมัมมี่เป็นกระบวนการที่มีความประณีตและละเอียดอ่อนที่สุดในการประกอบพิธี นอกจากร่างที่ต้องเก็บรักษาแล้ว อวัยวะภายในก็เช่นกันที่ต้องผ่าออกมา แล้วแยกเก็บไว้ในโหลคนละโหล ซึ่งแต่ละโหลก็จะมีวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกันออกไปอีก เพื่อรักษาคงไว้ให้นานที่สุดไม่ให้สึกสลายไปตามสภาพ ยกเว้นแต่หัวใจ หรือที่ชาวอียิปต์เรียกว่า ‘อิบ’ เพราะเชื่อว่าหัวใจคือศูนย์กลางของดวงวิญญาณที่ผู้ตายต้องนำไปใช้ในดินแดนแห่งการพิพากษา เพื่อที่ ‘อานูบิส’ เทพแห่งความตายจะพิพากษาว่าควรได้ไปสวรรค์ หรือนรก โดยชั่งน้ำหนักหัวใจ กับขนนกจากปีกของ ‘มาอัท’ เทพแห่งความจริง หากหัวใจเบากว่าขนนก ถือเป็นหัวใจบริสุทธิ์ อานูบิสจะสรรเสริญ และเปิดทางให้ไปสวรรค์ แต่ถ้าหัวใจหนักกว่าขนนก จะถือว่าเป็นวิญญาณที่แปดเปื้อน อานูบิสจะโยนหัวใจให้ ‘อัมมิท’ อสูรที่มีหน้าที่คอยกินหัวใจของดวงวิญญาณที่แปดเปื้อน ส่วนวิญญาณจะถูกส่งไปนรก
(ซ้าย) อานูบิส เทพแห่งความตาย (ขวา) อัมมิท อสูรจอมเขมือบหัวใจ
มัมมี่จะแตกต่างกันออกไปอีกในแต่ละชนชั้น ด้วยความประณีตละเอียดอ่อนที่ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายจากการประกอบพิธี ชนชั้นปกครอง เช่น กษัตริย์ที่เรียกด้วยคำว่า ‘ฟาโรห์’ ,ตำแหน่งมเหสี ,ตำแหน่งปุโรหิต ฯลฯ จะได้รับการทำมัมมี่ที่หรูหรา แยกเก็บอวัยวะ และสวดขอพรจากเทพเจ้าหลากหลายองค์ ส่วนชนชั้นกลาง หรือคนฐานะรองลงมาจากชนชั้นปกครอง ไปจนถึงฐานะปานกลาง จะผ่าออกเฉพาะหัวใจ แต่จะฉีดสารละลายเข้าไปในร่างกายเพื่อละลายอวัยวะภายใน เพื่อค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีที่ถูกลง ก่อนจะเก็บหัวใจไว้กับศพตามเดิม ส่วนชนชั้นล่าง หรือชนชั้นแรงงาน และทาส จะไม่มีโอกาสได้ทำมัมมี่เลย มีเพียงแค่การแกะสลักหุ่นไม้ที่เลียนแบบลักษณะเด่นๆ ของผู้ตายไว้
พิธีกรรมทำมัมมี่เรียกได้ว่าเป็นใบเบิกทางให้แก่วงการแพทย์ตั้งแต่ยุคนั้นเป็นต้นมา แนวคิดนี้ถูกต่อยอดไปสู่การชันสูตรศพ หรือการผ่าสำรวจอวัยวะภายในอย่างละเอียดที่สุด
แต่นอกจาก ‘มัมมี่’ จะหมายถึงศพที่ผ่านพิธีกรรมเพื่อการรักษาสภาพร่างกายแล้ว ยังหมายถึงซากศพที่ลุกขึ้นมาเดินดินอีกครั้งคล้ายกับซอมบี้ แต่จะมาในลักษณะของศพเดินได้ที่มีผ้าลินินพันอยู่รอบตัว มีความแข็งแกร่ง ดุร้าย แต่เชื่องช้า โดยความเชื่อของศพเดินได้นี้ยังมีที่มาไม่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจต่อยอดมาจากจินตนาการของผู้คนในสมัยหนึ่งที่ทราบถึงพิธีกรรมทำมัมมี่ จนกลายเป็นแนวคิดชวนขนลุกว่า การกระทำต่อร่างกายของผู้ตายแบบนั้น อาจไม่ได้ทำให้วิญญาณของผู้ตายไปสู่สุขติได้ แต่จะกลับมาด้วยความอาฆาตแค้นเสียมากกว่า
ถึงแม้ว่าอียิปต์จะเป็นดินแดนที่เปี่ยมไปด้วยวิทยาการทางการแพทย์ แต่หลักความเชื่อก็ดูจะโอนเอียงไปทางไสยศาสตร์เสียมากกว่า ด้วยความที่อียิปต์ในยุคนั้นยังไม่มีการมาถึงของศาสนาหลักๆ ของโลกอย่าง พุทธ คริสต์ หรืออิสลาม ฯลฯ ความเชื่อในทวยเทพและโลกหลังความตาย จึงดูเป็นสิ่งที่ค่อนข้างผิดเพี้ยนจากความเป็นอยู่ของคนทั่วไปในสากลโลก ซึ่งความรู้สึกผิดเพี้ยนดังกล่าวก็นำไปสู่การต่อยอดถึงแนวคิดที่ว่า พรจากเทพผู้ปกปักษ์รักษาร่างที่ไร้ชีวิต จะกลายมาเป็นคำสาปแก่ผู้ที่ย่างกรายเข้าไปยังที่เก็บศพที่มีการประกอบพิธีกรรมทำมัมมี่
“มรณะจักโบยบินมาสังหารสู่ผู้บังอาจรังควานสันติสุขแห่งองค์ฟาโรห์”
ข้อความดังกล่าวถูกสลักไว้ในสุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมน โดยนักบวชชาวอียิปต์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งข้อความดังกล่าวมันก็สำแดงฤทธิ์ขึ้นมาจริงๆ เมื่อทั้งกลุ่มนักสำรวจ หรือหัวขโมยที่รู้ถึงความสมบูรณ์แบบแห่งสุสาน จากการที่มันเปี่ยมไปด้วยขุมทรัพย์ และโบราณวัตถุมากมาย จึงหวังเดินทางเข้าไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง ส่วนหัวขโมยก็หวังรวยทางลัดจากทรัพย์สมบัติแห่งฟาโรห์ แต่เมื่อกลับออกมา ผู้คนเหล่านั้นจู่ๆ ก็ล้มตายลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ไม่มีแม้แต่รอยขีดข่วน บางคนก็ตายคาที่โดยที่ยังไม่ทันได้กลับออกมา
ไม่นานนักหลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับคำสาปที่ทำให้ผู้ย่างกรายตายอย่างปริศนานั้นว่า ในสุสานอาจเต็มไปด้วยเชื้อโรค หรือเชื้อรา ที่ก่อตัวขึ้นจากความชื้น และความเย็นในสุสาน ซึ่งเชื้อนั้นอยู่มานานจนมีฤทธิ์แรงพอที่จะลุกลามสู่สมองผู้ที่สัมผัสมันได้อย่างรวดเร็วจนผู้ย่างกรายถึงแก่ความตายแทบจะทันที
แต่ไม่ว่าจะด้วยเชื้อโรค..หรือคำสาปจริงๆ
มันก็ได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนกลุ่มหนึ่ง..
คนกลุ่มนั้นได้สร้างตำนานอมตะแห่งวงการภาพยนตร์
ที่ถูกต่อยอดมาอย่างไม่รู้จุดสิ้นสุดกว่า 85 ปี
THE MUMMY | คำสาป..แรงบันดาลใจ..เปิดจักรวาลทมิฬ และรีวิวหนัง | DEVA HELLBLAZER
เวียนว่ายตายเกิดในภพนี้..ไม่จบสิ้น”
- บทสวดส่งวิญญาณชาวไอยคุปต์ –
ความเชื่อโบราณของอียิปต์โบราณ หรือไอยคุปต์ เชื่อกันว่า ผู้ใดที่ตายลง วิญญาณจะออกจากร่างไปใช้ชีวิตในภพหน้าเพียงชั่วคราว และจะกลับมาในวันหนึ่ง.. ชาวอียิปต์จึงมีพิธีกรรมสำหรับการรักษาศพของผู้ตายให้คงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดเพื่อรอดวงวิญญาณของเจ้าของร่างกลับมาใช้ชีวิตในภพนี้อีกครั้ง ศพที่ผ่านพิธีกรรมนั้น เรียกว่า ‘มัมมี่’
พิธีกรรมมัมมี่เป็นกระบวนการที่มีความประณีตและละเอียดอ่อนที่สุดในการประกอบพิธี นอกจากร่างที่ต้องเก็บรักษาแล้ว อวัยวะภายในก็เช่นกันที่ต้องผ่าออกมา แล้วแยกเก็บไว้ในโหลคนละโหล ซึ่งแต่ละโหลก็จะมีวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกันออกไปอีก เพื่อรักษาคงไว้ให้นานที่สุดไม่ให้สึกสลายไปตามสภาพ ยกเว้นแต่หัวใจ หรือที่ชาวอียิปต์เรียกว่า ‘อิบ’ เพราะเชื่อว่าหัวใจคือศูนย์กลางของดวงวิญญาณที่ผู้ตายต้องนำไปใช้ในดินแดนแห่งการพิพากษา เพื่อที่ ‘อานูบิส’ เทพแห่งความตายจะพิพากษาว่าควรได้ไปสวรรค์ หรือนรก โดยชั่งน้ำหนักหัวใจ กับขนนกจากปีกของ ‘มาอัท’ เทพแห่งความจริง หากหัวใจเบากว่าขนนก ถือเป็นหัวใจบริสุทธิ์ อานูบิสจะสรรเสริญ และเปิดทางให้ไปสวรรค์ แต่ถ้าหัวใจหนักกว่าขนนก จะถือว่าเป็นวิญญาณที่แปดเปื้อน อานูบิสจะโยนหัวใจให้ ‘อัมมิท’ อสูรที่มีหน้าที่คอยกินหัวใจของดวงวิญญาณที่แปดเปื้อน ส่วนวิญญาณจะถูกส่งไปนรก
มัมมี่จะแตกต่างกันออกไปอีกในแต่ละชนชั้น ด้วยความประณีตละเอียดอ่อนที่ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายจากการประกอบพิธี ชนชั้นปกครอง เช่น กษัตริย์ที่เรียกด้วยคำว่า ‘ฟาโรห์’ ,ตำแหน่งมเหสี ,ตำแหน่งปุโรหิต ฯลฯ จะได้รับการทำมัมมี่ที่หรูหรา แยกเก็บอวัยวะ และสวดขอพรจากเทพเจ้าหลากหลายองค์ ส่วนชนชั้นกลาง หรือคนฐานะรองลงมาจากชนชั้นปกครอง ไปจนถึงฐานะปานกลาง จะผ่าออกเฉพาะหัวใจ แต่จะฉีดสารละลายเข้าไปในร่างกายเพื่อละลายอวัยวะภายใน เพื่อค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีที่ถูกลง ก่อนจะเก็บหัวใจไว้กับศพตามเดิม ส่วนชนชั้นล่าง หรือชนชั้นแรงงาน และทาส จะไม่มีโอกาสได้ทำมัมมี่เลย มีเพียงแค่การแกะสลักหุ่นไม้ที่เลียนแบบลักษณะเด่นๆ ของผู้ตายไว้
พิธีกรรมทำมัมมี่เรียกได้ว่าเป็นใบเบิกทางให้แก่วงการแพทย์ตั้งแต่ยุคนั้นเป็นต้นมา แนวคิดนี้ถูกต่อยอดไปสู่การชันสูตรศพ หรือการผ่าสำรวจอวัยวะภายในอย่างละเอียดที่สุด
แต่นอกจาก ‘มัมมี่’ จะหมายถึงศพที่ผ่านพิธีกรรมเพื่อการรักษาสภาพร่างกายแล้ว ยังหมายถึงซากศพที่ลุกขึ้นมาเดินดินอีกครั้งคล้ายกับซอมบี้ แต่จะมาในลักษณะของศพเดินได้ที่มีผ้าลินินพันอยู่รอบตัว มีความแข็งแกร่ง ดุร้าย แต่เชื่องช้า โดยความเชื่อของศพเดินได้นี้ยังมีที่มาไม่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจต่อยอดมาจากจินตนาการของผู้คนในสมัยหนึ่งที่ทราบถึงพิธีกรรมทำมัมมี่ จนกลายเป็นแนวคิดชวนขนลุกว่า การกระทำต่อร่างกายของผู้ตายแบบนั้น อาจไม่ได้ทำให้วิญญาณของผู้ตายไปสู่สุขติได้ แต่จะกลับมาด้วยความอาฆาตแค้นเสียมากกว่า
ถึงแม้ว่าอียิปต์จะเป็นดินแดนที่เปี่ยมไปด้วยวิทยาการทางการแพทย์ แต่หลักความเชื่อก็ดูจะโอนเอียงไปทางไสยศาสตร์เสียมากกว่า ด้วยความที่อียิปต์ในยุคนั้นยังไม่มีการมาถึงของศาสนาหลักๆ ของโลกอย่าง พุทธ คริสต์ หรืออิสลาม ฯลฯ ความเชื่อในทวยเทพและโลกหลังความตาย จึงดูเป็นสิ่งที่ค่อนข้างผิดเพี้ยนจากความเป็นอยู่ของคนทั่วไปในสากลโลก ซึ่งความรู้สึกผิดเพี้ยนดังกล่าวก็นำไปสู่การต่อยอดถึงแนวคิดที่ว่า พรจากเทพผู้ปกปักษ์รักษาร่างที่ไร้ชีวิต จะกลายมาเป็นคำสาปแก่ผู้ที่ย่างกรายเข้าไปยังที่เก็บศพที่มีการประกอบพิธีกรรมทำมัมมี่
ข้อความดังกล่าวถูกสลักไว้ในสุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมน โดยนักบวชชาวอียิปต์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งข้อความดังกล่าวมันก็สำแดงฤทธิ์ขึ้นมาจริงๆ เมื่อทั้งกลุ่มนักสำรวจ หรือหัวขโมยที่รู้ถึงความสมบูรณ์แบบแห่งสุสาน จากการที่มันเปี่ยมไปด้วยขุมทรัพย์ และโบราณวัตถุมากมาย จึงหวังเดินทางเข้าไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง ส่วนหัวขโมยก็หวังรวยทางลัดจากทรัพย์สมบัติแห่งฟาโรห์ แต่เมื่อกลับออกมา ผู้คนเหล่านั้นจู่ๆ ก็ล้มตายลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ไม่มีแม้แต่รอยขีดข่วน บางคนก็ตายคาที่โดยที่ยังไม่ทันได้กลับออกมา
ไม่นานนักหลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับคำสาปที่ทำให้ผู้ย่างกรายตายอย่างปริศนานั้นว่า ในสุสานอาจเต็มไปด้วยเชื้อโรค หรือเชื้อรา ที่ก่อตัวขึ้นจากความชื้น และความเย็นในสุสาน ซึ่งเชื้อนั้นอยู่มานานจนมีฤทธิ์แรงพอที่จะลุกลามสู่สมองผู้ที่สัมผัสมันได้อย่างรวดเร็วจนผู้ย่างกรายถึงแก่ความตายแทบจะทันที
มันก็ได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนกลุ่มหนึ่ง..
คนกลุ่มนั้นได้สร้างตำนานอมตะแห่งวงการภาพยนตร์
ที่ถูกต่อยอดมาอย่างไม่รู้จุดสิ้นสุดกว่า 85 ปี