การส่งสินค้า ขาด หรือ เกิน ดีกว่ากัน?

หากจะถามถึงเรื่องของการส่งสินค้าว่า ขาด หรือ เกิน ดีกว่ากัน?

ส่วนใหญ่แล้วมักจะตอบว่า เกินดีกว่า เพราะมูลค่าสินค้าต่อชิ้นไม่ได้เยอะมาก เมื่อเที่ยบกับการที่ต้องมีค่าขนส่งเพื่อนำสินค้าชิ้นเล็กๆไปส่งให้อีกรอบ และการที่มันเกินไปก็ยังสามารถตัดออกจาก Order ต่อไปได้ด้วย ซึ่งนั่นเป็นคำตอบที่ถูกต้องสำหรับอุตสาหกรรมส่วนใหญ่

แต่สำหรับ อุตสาหกรรมAutomotive แล้ว การที่โรงประกอบ มีชิ้นส่วนเกินมาเพียง 1 ชิ้นนั้น ทำให้เกิดความเสียหายทั้งกระบวนการ เพราะนั่นหมายถึงว่า อาจจะมีรถซักคันที่ใส่ส่วนประกอบได้ไม่ครบ สิ่งที่ทำต่อมาคือ การที่ต้องรื้อรถทุกคันในล็อตนั้น ออกมาตรวจสอบทั้งหมด เป็นผลกระทบในวงกว้าง แล้วเมื่อเหตุมาจากการส่งสินค้าเกิน จึงเป็นสิ่งที่ Vendor ต้องรับผิดชอบ ซึ่งนั่น เป็นมูลค่ามหาศาลเลยทีเดียว

แล้วจะทำอย่างไรหากการตรวจนับชิ้นส่วนประกอบเล็กๆนั้นทำได้ยาก และเสียเวลาในการทำงานเป็นอย่างมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้มที่จะต้องทำการนับทีละชิ้น และถึงแม้ว่านับแล้ว ก็ยังพลาดได้อีก


เรื่องนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง แล้วก็มี Solutions มาตอบโจทย์ได้ จริงๆแล้วเคยได้ยินว่ามีที่ญี่ปุ่นทำนะคะ ถ้าต้องจ้างคนญี่ปุ่นเข้ามาทำให้ในไทยนี่ ลงทุนเยอะมากเลยค่ะ เพราะไหนจะการเดินทาง ไหนจะล่ามแปลภาษา ไหนจะระยะเวลาที่เพิ่มมากขึ้นด้วย และถือว่าเป็นการลดความเสี่ยงได้อย่างมาก มูลค่า Solutions นี้จะต้องลงทุนสูงตามไปด้วย

แต่ข่าวดีก็คือ ตอนนี้มีบริษัทของคนไทย ที่ทำ Soluitons นี้ขึ้นมาทำได้จริงแล้วค่ะ

ลองมาอ่านที่ทางคนไทยเราได้ทำเองนะคะ ว่าที่มาของการทำ Solutions ตัวนี้ เกิดมาจากอะไร

"ปัญหานี้เกิดขึ้นกับลูกค้าของบริษัทผู้พัฒนาระบบแห่งนั้นเช่นกัน นั่นทำให้ลูกค้ามาปรึกษาเพื่อหา Solutions ในการช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้อีกระดับ
แล้วเราก็ได้คิดค้น ระบบชั่งน้ำหนัก ขึ้นมา
จากการลงทุนทำระบบด้วยจำนวนเงินระดับหนึ่ง เพื่อลดความเสี่ยงของตัวเอง กลายเป็นการ สร้างความน่าเชื่อถือ ของระดับการตรวจสอบในจำนวนชิ้นส่วนที่แม่นยำมากขึ้น กลับทำให้ ได้รับOrderตามมาอีกจำนวนมาก ซึ่งเรียกได้ว่า คุ้มยิ่งกว่าคุ้มตั้งแต่ยังใช้ได้ไม่ถึงครึ่งปีด้วยซ้ำ
และสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทพัฒนาซอฟแวร์ตัวนี้ตระหนักได้ว่ายังมีบริษัทที่เป็น Tier 1, Tier 2 อีกหลายบริษัท ที่ยังต้องแบกรับความเสี่ยงนี้ เราจึงได้ถอดนวัตกรรมนั้นออกมา เพื่อให้ใช้สำหรับที่อื่นได้ด้วย"

Credit : http://www.ppcc.co.th/การส่งสินค้าว่า-ขาด-หรือ/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่