ชนชั้นกลางสู้ๆๆๆครับ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1496591383
มาตรการต้อนบุคคลธรรมดาจดทะเบียนบริษัทเข้าระบบภาษีโอละพ่อ ช็อกคลัง-มหาดไทยออกกฎหมายใหม่ 5 ฉบับเปิดช่องกลุ่มทุน ตระกูลดัง แลนด์ลอร์ด แห่ตั้งบริษัทรับโอนที่ดิน ทรัพย์สิน ได้สิทธิยกเว้นทั้งภาษีรายได้ มูลค่าเพิ่ม ธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ แถมลดภาระจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สรรพากรรับมาตรการมี "รูรั่ว" เร่งแก้กฎปิดช่องโหว่
แหล่งข่าวจากวงการธุรกิจเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่รัฐบาลได้ทยอยออกมาตรการยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียม จูงใจให้ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยที่ดำเนินงานในรูปบุคคลธรรมดาหันมาประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล โดยพุ่งเป้าดึงผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เข้ามาอยู่ในระบบฐานภาษี เพื่อให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะมีข้อมูลในมือสำหรับจัดทำนโยบายและมาตรการสนับสนุนช่วยเหลือได้ตรงจุด
มาตรการอุ้ม SMEs โอละพ่อ
ล่าสุดแม้จะได้รับการตอบรับจากประกอบธุรกิจหลากหลายสาขา จากที่เดิมเคยประกอบธุรกิจในนามบุคคลธรรมดาพากันยื่นขอจัดตั้งเป็นนิติบุคคล อาทิ บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ฯลฯ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามากขึ้น แต่ปรากฏว่าระเบียบกฎหมายที่ออกมาภายใต้นโยบายนี้กำลังเป็นที่จับตามอง และถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง เพราะมีช่องโหว่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ กลุ่มทุนยักษ์เข้ามาใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการลดหย่อน ยกเว้นภาษี และค่าธรรมเนียม ซึ่งจะสร้างปัญหาตามมาเพราะรัฐจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมได้น้อยลง
ขณะที่ผู้ประกอบการรายเล็กรายย่อยหรือ SMEs จริง ๆ ยังยื่นขอจดทะเบียนตั้งนิติบุคคลไม่มากนัก เพราะภาครัฐอ่อนประชาสัมพันธ์ SMEs จึงไม่ทราบข่าวคราวมาตรการใหม่ หลายรายอาจยังลังเลใจ หรือบางรายทราบเรื่อง แต่เมื่อยื่นขอจัดตั้งบริษัทแล้วไปขอใช้สิทธิตามมาตรการนี้ ปรากฏว่ากลับเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเองที่ยังไม่ทราบรายละเอียดมาตรการ
ช็อก กม.ใหม่ 5 ฉบับเอื้อทุนยักษ์
แหล่งข่าวกล่าวว่า เท่าที่ทราบมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจอยู่แล้ว จัดตั้งนิติบุคคลขึ้นดำเนินกิจการแทนการประกอบกิจการรูปแบบเดิมหลากหลายมาตรการนั้น ที่ถูกมองว่าเอื้อกับกลุ่มทุนรายใหญ่ ตระกูลดัง แลนด์ลอร์ด มีอย่างน้อย 5 ฉบับ เช่น ยกเว้นภาษีรายได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ในกรณีขาย หรือโอน อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งทรัพย์สินอื่น จากเดิมที่ถืออยู่ในนามบุคคลธรรมดาไปอยู่ในบริษัทนิติบุคคลที่ตั้งใหม่ทำให้กลุ่มทุนยักษ์ ตระกูลดัง แลนด์ลอร์ดหลายรายที่ก่อนหน้านี้ถือครองที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์สินในนามส่วนตัว แห่ยื่นขอจัดตั้งนิติบุคคลในรูปบริษัทจำนวนมาก บางรายตั้งบริษัทใหม่หลายร้อยบริษัท ที่น่าสังเกตคือทุนจดทะเบียนจะไม่สูงนัก เช่น ทุนประเดิม 1 แสนบาท เป็นต้น ขณะที่กลุ่มตระกูลสิริวัฒนภักดี ภายใต้การนำของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งอยู่ระหว่างปรับโครงสร้างการบริหารจัดการพอร์ตที่ดิน ทรัพย์สิน ซึ่งมีจำอยู่จำนวนมาก และกระจายในหลายจังหวัดทั่วประเทศ น่าจะได้อานิสงส์จากมาตรการดังกล่าวด้วย
สรรพากรปล่อยผีเว้นภาษียกแผง
โดยเฉพาะมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ เมื่อ 9 ส.ค. 2559 ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กับประกาศรวม 4 ฉบับ ได้แก่ 1.พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 269) มีผลบังคับใช้เมื่อ 28 ม.ค. 2560 สาระสำคัญคือปรับอัตราค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินการคำนวณภาษีเงินได้บุคคธรรมดา จากเดิมให้หักได้ 60-85% เหลือ 60% จูงใจให้บุคคลธรรมดาจัดตั้งนิติบุคคลประกอบธุรกิจ 2.พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) มีผลบังคับใช้ 28 ม.ค. 2560 สาระสำคัญ 2.1 ให้บุคคลธรรมดาที่จำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สิน สินค้า บริการ ฯลฯ ให้นิติบุคคลที่ตั้งใหม่ โดยรับค่าตอบแทนเป็นหุ้นสามัญ ระหว่าง 10 ส.ค. 2559-31 ธ.ค. 2560 ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าอากรแสตมป์ 2.2 ให้นิติบุคคล SMEs ที่ตั้งขึ้นระหว่าง 10 ส.ค. 2559-31 ธ.ค. 2560 ได้สิทธิหักรายได้เพิ่มอีก 1 เท่า สำหรับค่าจัดตั้งนิติบุคคล ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี
แลนด์ลอร์ดส้มหล่นหลายต่อ
โดยส่วนที่ให้บุคคลธรรมดาที่จำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สิน สินค้า บริการ ฯลฯ ให้นิติบุคคลที่ตั้งใหม่ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และค่าอากรแสตมป์ จะทำให้เจ้าของที่ดินที่ปัจจุบันถือครองในนามบุคคลธรรมดาเห็นช่องทางโอนทรัพย์สิน ที่ดินเข้าบริษัทที่ตั้งใหม่ เพราะจะได้ประโยชน์หลายต่อ เช่น นาย ก.เคยซื้อที่ดินมาราคา 100 ล้านบาท จะโอนเข้าบริษัทตีเป็นทุน 1 พันล้านบาทสามารถทำได้เลิย เพราะได้รับยกเว้นภาษี อากรแสตมป์ทั้งหมด จากนั้นเวลาบริษัทขายที่ดินหากขาย 1.1 พันล้านบาท มีกำไรส่วนต่าง 100 ล้านบาท กรมสรรพากรจะจัดเก็บภาษีโดยคิดจากมูลค่าส่วนต่าง 100 ล้านบาท หรือหากขายเป็นหุ้นก็ได้ แต่ต้องกำหนดราคาขายไม่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี หรือบุ๊กแวลู ในกรณีนี้คือ 1 พันล้านบาท เป็นต้น
เว้นค่าธรรมเนียมโอนอสังหาฯ
3.ประกาศกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย ลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีโอนอสังหาฯ หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เพื่อชำระค่าหุ้นให้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 10 ส.ค. 2559-31 ธ.ค. 2560 จากปกติ 2% เหลือ 0.01%
4.ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีโอนห้องชุด ของผู้ถือหุ้นเพื่อชำระค่าหุ้นให้แก่นิติบคคลหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 10 ส.ค. 2559-31 ธ.ค. 2560 จากปกติ 2% เหลือ 0.01%
ขายที่ดินเจอบี้ภาษีรายได้ใหม่
และ 5.มติ ครม.เมื่อ 18 ต.ค. 2559 อนุมัติในหลักการร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เกี่ยวกับการกำหนดฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาฯ ตามมาตรา 49 ทวิ ตามที่คลังเสนอ จากเดิมคำนวณภาษีเงินได้การโอนอสังหาฯ โดยคิดจากราคาประเมินทุนทรัพย์ เป็นคิดจากราคาประเมินทุนทรัพย์ กับราคาขาย อย่างใดอย่างหนึ่งที่สูงกว่า จูงใจให้ผู้ประกอบการที่มีการซื้อขายอสังหาฯ ประกอบธุรกิจในรูปบริษัทแทนการเป็นบุคคลธรรมดา
ลดภาระจ่ายค่าภาษีที่ดิน
ไม่นับรวมกรณีโอนที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างจากบุคคลธรรมดาไปอยู่ในรูปบริษัทแทน เพื่อลดภาระจากที่หากมีที่ดินในมืออยู่จำนวนมากโดยเฉพาะที่ดินประเภทพาณิชยกรรม ที่ดินว่างเปล่า ซึ่งหากเจ้าของที่ดินถือครองที่ดินในนามบุคคลธรรมดาจะมีภาระภาษีในระดับที่สูง แต่หากถือครองในรูปนิติบุคคลภาระภาษีจะน้อยกว่า แถมยังได้รับประโยชน์จากมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล เพราะหากจัดตั้งบริษัทใหม่และโดยที่ดินทรัพย์สินภายในเงื่อนระยะเวลาที่กำหนด จะได้อานิสงส์ทั้งจากการยกเว้นภาษีและการลดค่าโอน
"เจริญ" ลุยตั้งบริษัทใหม่ไม่หยุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมากลุ่มเจ้าสัวเจริญได้ทยอยจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่มากกว่า 400 บริษัท โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายนที่มีการจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่มากกว่า 370 บริษัท และเดือนกุมภาพันธ์อีกประมาณ 40 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจัดตั้งบริษัทเพื่อบริหารจัดการที่ดินทั่วประเทศ
และล่าสุดจากการตรวจสอบการจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มธุรกิจในเครือข่ายของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี มีการจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่อีกประมาณ 40 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทที่เป็นกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้า อาทิ บริษัท ทรัพย์ เอเชีย ทีค 1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ เอเชีย ทีค 2 จำกัด บริษัท ทรัพย์ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า ประตูน้ำ 1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า ประตูน้ำ 2 จำกัด บริษัท ทรัพย์ พันธุ์พิทย์พลาซ่า งามวงศ์วาน จำกัด บริษัท ทรัพย์ ตลาดตะวันนา 1 จำกัด เป็นต้น โดยมีกรรมการเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน ประกอบด้วย นายธนฑิต เจริญจันทร์ นายณภัทร เจริญกุล น.ส.นงนุช สุธีกุล และ น.ส.สุภัทรา ฟุ้งจตุพร
จัดกรุ๊ปโรงแรม-ออฟฟิศ
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มธุรกิจโรงแรม อาทิ บริษัท ทรัพย์ เลอ เมอริเดียน โฮเทล แบงค็อก จำกัด บริษัท ทรัพย์ บันยันทรี เกาะสมุย จำกัด บริษัท ทรัพย์ เชอราตัน เกาะสมุย จำกัด บริษัท ทรัพย์ เดอะ เมโทรโพล ภูเก็ต 1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ ควีนส์ปาร์ค แบงค็อก 1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ วนาเบลล์ เอ ลักซ์ซูรี่ สมุย เป็นต้น มีกรรมการประกอบด้วย นายนิชันท์ โกรเว่อร์ นายชโลทร ศรีสมวงษ์ นายจรันต์ อินคะมนต์ น.ส.ชวนชื่น ลิมปเสนีย์และกลุ่มอาคารสำนักงาน อาทิ บริษัท ทรัพย์ อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ อาคารสำนักงาน 208-1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ อาคารซีดับเบิลยู ทาวเวอร์ 1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ อาคารอินเตอร์ลิ้งค์ บางนา จำกัด เป็นต้น ซึ่งมีกรรมการประกอบด้วย นายเอกอธิป รัตนอารี นายชโลทร ศรีสมวงษ์ นางอรุณรุ่ง ตันเกียรติชัย และนายธราดล ไพรัชเวทย์
โดยบริษัททั้งหมดดังกล่าวตั้งอยู่ที่เดียวกัน คือ เลขที่ 1 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น 52 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
อธิบดีสรรพากรปัดอุ้มเจ้าสัว
นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงกรณีมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบกิจการในรูปแบบนิติบุคคล ทำให้เกิดช่องโหว่ให้นายทุนหลบเลี่ยงภาษี ว่า กรมสรรพากรมีเจตนาที่จะส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจเปลี่ยนไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นสำคัญ เป็นการมุ่งช่วยเหลือรายย่อย ไม่ใช่ไปช่วยเจ้าสัวอย่างที่มีการกล่าวอ้าง
"ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ บุคคลธรรมดาที่มีที่ดินจะไปตั้งบริษัทแล้วโอนหรือขาย เรามีเขียนล็อกไว้ ว่าต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีการทำการค้ามาอยู่แล้ว ฉะนั้นที่มีคนมาบอกว่าจะไปช่วยพวกเจ้าสัวนายทุน มันไม่ใช่" นายประสงค์กล่าว
กรมสรรพากรออกมาตรการดังกล่าวตั้งแต่กลางปี 2559 โดยเริ่มจากส่งเสริมให้ร้านค้าทองเข้าสู่ระบบ เนื่องจากมีข้อดีมากกว่า ซึ่งหลังจากเดินหน้ามาตรการไประยะหนึ่ง ก็พบประเด็นปัญหาต่าง ๆ อาทิ เรื่องการโอนทรัพย์สินหรือสินค้าจากบุคคลธรรมดามายังนิติบุคคล จะมีภาระภาษีซึ่งเมื่อกรมต้องการส่งเสริมก็ต้องยกเว้นภาษีส่วนนี้ แต่ยืนยันว่าทางกรมมีการออกประกาศกำหนดล็อกขั้นตอนเอาไว้อยู่ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่าง
"พอเราดึงร้านทองเข้าระบบโดยจัดตั้งเป็นนิติบุคคล ก็ทำให้สามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น นอกจากนี้มาตรการส่งเสริมให้จัดตั้งนิติบุคคลยังจะช่วยลดหนี้ครัวเรือนลงไปได้ 15% เปลี่ยนไปเป็นหนี้การค้า เพราะเดิมกู้ในนามบุคคลธรรมดาก็เปลี่ยนเป็นกู้ในนามนิติบุคคลซึ่งได้ดอกเบี้ยถูกกว่า" อธิบดีกรมสรรพากรกล่าว
รับมี "รูรั่ว" เร่งแก้ปิดช่องโหว่
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากรกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ที่ออกตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 ที่เป็นมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบกิจการในรูปแบบนิติบุคคล มีช่องโหว่อยู่จริง ที่อาจทำให้มีคนหาประโยชน์ในการโอนทรัพย์สินจากบุคคลธรรมดามาตั้งบริษัทแล้วขาย เพื่อไม่ต้องเสียภาษี โดยแม้จะเขียนไว้ว่า บุคคลธรรมดาที่โอนทรัพย์สินไปนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นต้องประกอบธุรกิจต่อเนื่อง คือเป็นผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลด้วย แต่ไม่ได้กำหนดที่ตัวทรัพย์สินว่าต้องเป็นทรัพย์สินที่เคยใช้ในการประกอบกิจการอยู่แต่เดิม ดังนั้นจึงอาจมีการเอาทรัพย์สินอื่นมารวม พอโอนเรียบร้อยแล้วก็ขายทิ้ง
แห่ตั้งบริษัทโยกทรัพย์สิน เจ้าสัวสบช่องหลบภาษี...จากประชาชาติครับ
มาตรการต้อนบุคคลธรรมดาจดทะเบียนบริษัทเข้าระบบภาษีโอละพ่อ ช็อกคลัง-มหาดไทยออกกฎหมายใหม่ 5 ฉบับเปิดช่องกลุ่มทุน ตระกูลดัง แลนด์ลอร์ด แห่ตั้งบริษัทรับโอนที่ดิน ทรัพย์สิน ได้สิทธิยกเว้นทั้งภาษีรายได้ มูลค่าเพิ่ม ธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ แถมลดภาระจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สรรพากรรับมาตรการมี "รูรั่ว" เร่งแก้กฎปิดช่องโหว่
แหล่งข่าวจากวงการธุรกิจเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่รัฐบาลได้ทยอยออกมาตรการยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียม จูงใจให้ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยที่ดำเนินงานในรูปบุคคลธรรมดาหันมาประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล โดยพุ่งเป้าดึงผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เข้ามาอยู่ในระบบฐานภาษี เพื่อให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะมีข้อมูลในมือสำหรับจัดทำนโยบายและมาตรการสนับสนุนช่วยเหลือได้ตรงจุด
มาตรการอุ้ม SMEs โอละพ่อ
ล่าสุดแม้จะได้รับการตอบรับจากประกอบธุรกิจหลากหลายสาขา จากที่เดิมเคยประกอบธุรกิจในนามบุคคลธรรมดาพากันยื่นขอจัดตั้งเป็นนิติบุคคล อาทิ บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ฯลฯ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามากขึ้น แต่ปรากฏว่าระเบียบกฎหมายที่ออกมาภายใต้นโยบายนี้กำลังเป็นที่จับตามอง และถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง เพราะมีช่องโหว่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ กลุ่มทุนยักษ์เข้ามาใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการลดหย่อน ยกเว้นภาษี และค่าธรรมเนียม ซึ่งจะสร้างปัญหาตามมาเพราะรัฐจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมได้น้อยลง
ขณะที่ผู้ประกอบการรายเล็กรายย่อยหรือ SMEs จริง ๆ ยังยื่นขอจดทะเบียนตั้งนิติบุคคลไม่มากนัก เพราะภาครัฐอ่อนประชาสัมพันธ์ SMEs จึงไม่ทราบข่าวคราวมาตรการใหม่ หลายรายอาจยังลังเลใจ หรือบางรายทราบเรื่อง แต่เมื่อยื่นขอจัดตั้งบริษัทแล้วไปขอใช้สิทธิตามมาตรการนี้ ปรากฏว่ากลับเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเองที่ยังไม่ทราบรายละเอียดมาตรการ
ช็อก กม.ใหม่ 5 ฉบับเอื้อทุนยักษ์
แหล่งข่าวกล่าวว่า เท่าที่ทราบมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจอยู่แล้ว จัดตั้งนิติบุคคลขึ้นดำเนินกิจการแทนการประกอบกิจการรูปแบบเดิมหลากหลายมาตรการนั้น ที่ถูกมองว่าเอื้อกับกลุ่มทุนรายใหญ่ ตระกูลดัง แลนด์ลอร์ด มีอย่างน้อย 5 ฉบับ เช่น ยกเว้นภาษีรายได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ในกรณีขาย หรือโอน อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งทรัพย์สินอื่น จากเดิมที่ถืออยู่ในนามบุคคลธรรมดาไปอยู่ในบริษัทนิติบุคคลที่ตั้งใหม่ทำให้กลุ่มทุนยักษ์ ตระกูลดัง แลนด์ลอร์ดหลายรายที่ก่อนหน้านี้ถือครองที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์สินในนามส่วนตัว แห่ยื่นขอจัดตั้งนิติบุคคลในรูปบริษัทจำนวนมาก บางรายตั้งบริษัทใหม่หลายร้อยบริษัท ที่น่าสังเกตคือทุนจดทะเบียนจะไม่สูงนัก เช่น ทุนประเดิม 1 แสนบาท เป็นต้น ขณะที่กลุ่มตระกูลสิริวัฒนภักดี ภายใต้การนำของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งอยู่ระหว่างปรับโครงสร้างการบริหารจัดการพอร์ตที่ดิน ทรัพย์สิน ซึ่งมีจำอยู่จำนวนมาก และกระจายในหลายจังหวัดทั่วประเทศ น่าจะได้อานิสงส์จากมาตรการดังกล่าวด้วย
สรรพากรปล่อยผีเว้นภาษียกแผง
โดยเฉพาะมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ เมื่อ 9 ส.ค. 2559 ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กับประกาศรวม 4 ฉบับ ได้แก่ 1.พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 269) มีผลบังคับใช้เมื่อ 28 ม.ค. 2560 สาระสำคัญคือปรับอัตราค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินการคำนวณภาษีเงินได้บุคคธรรมดา จากเดิมให้หักได้ 60-85% เหลือ 60% จูงใจให้บุคคลธรรมดาจัดตั้งนิติบุคคลประกอบธุรกิจ 2.พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) มีผลบังคับใช้ 28 ม.ค. 2560 สาระสำคัญ 2.1 ให้บุคคลธรรมดาที่จำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สิน สินค้า บริการ ฯลฯ ให้นิติบุคคลที่ตั้งใหม่ โดยรับค่าตอบแทนเป็นหุ้นสามัญ ระหว่าง 10 ส.ค. 2559-31 ธ.ค. 2560 ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าอากรแสตมป์ 2.2 ให้นิติบุคคล SMEs ที่ตั้งขึ้นระหว่าง 10 ส.ค. 2559-31 ธ.ค. 2560 ได้สิทธิหักรายได้เพิ่มอีก 1 เท่า สำหรับค่าจัดตั้งนิติบุคคล ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี
แลนด์ลอร์ดส้มหล่นหลายต่อ
โดยส่วนที่ให้บุคคลธรรมดาที่จำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สิน สินค้า บริการ ฯลฯ ให้นิติบุคคลที่ตั้งใหม่ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และค่าอากรแสตมป์ จะทำให้เจ้าของที่ดินที่ปัจจุบันถือครองในนามบุคคลธรรมดาเห็นช่องทางโอนทรัพย์สิน ที่ดินเข้าบริษัทที่ตั้งใหม่ เพราะจะได้ประโยชน์หลายต่อ เช่น นาย ก.เคยซื้อที่ดินมาราคา 100 ล้านบาท จะโอนเข้าบริษัทตีเป็นทุน 1 พันล้านบาทสามารถทำได้เลิย เพราะได้รับยกเว้นภาษี อากรแสตมป์ทั้งหมด จากนั้นเวลาบริษัทขายที่ดินหากขาย 1.1 พันล้านบาท มีกำไรส่วนต่าง 100 ล้านบาท กรมสรรพากรจะจัดเก็บภาษีโดยคิดจากมูลค่าส่วนต่าง 100 ล้านบาท หรือหากขายเป็นหุ้นก็ได้ แต่ต้องกำหนดราคาขายไม่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี หรือบุ๊กแวลู ในกรณีนี้คือ 1 พันล้านบาท เป็นต้น
เว้นค่าธรรมเนียมโอนอสังหาฯ
3.ประกาศกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย ลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีโอนอสังหาฯ หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เพื่อชำระค่าหุ้นให้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 10 ส.ค. 2559-31 ธ.ค. 2560 จากปกติ 2% เหลือ 0.01%
4.ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีโอนห้องชุด ของผู้ถือหุ้นเพื่อชำระค่าหุ้นให้แก่นิติบคคลหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 10 ส.ค. 2559-31 ธ.ค. 2560 จากปกติ 2% เหลือ 0.01%
ขายที่ดินเจอบี้ภาษีรายได้ใหม่
และ 5.มติ ครม.เมื่อ 18 ต.ค. 2559 อนุมัติในหลักการร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เกี่ยวกับการกำหนดฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาฯ ตามมาตรา 49 ทวิ ตามที่คลังเสนอ จากเดิมคำนวณภาษีเงินได้การโอนอสังหาฯ โดยคิดจากราคาประเมินทุนทรัพย์ เป็นคิดจากราคาประเมินทุนทรัพย์ กับราคาขาย อย่างใดอย่างหนึ่งที่สูงกว่า จูงใจให้ผู้ประกอบการที่มีการซื้อขายอสังหาฯ ประกอบธุรกิจในรูปบริษัทแทนการเป็นบุคคลธรรมดา
ลดภาระจ่ายค่าภาษีที่ดิน
ไม่นับรวมกรณีโอนที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างจากบุคคลธรรมดาไปอยู่ในรูปบริษัทแทน เพื่อลดภาระจากที่หากมีที่ดินในมืออยู่จำนวนมากโดยเฉพาะที่ดินประเภทพาณิชยกรรม ที่ดินว่างเปล่า ซึ่งหากเจ้าของที่ดินถือครองที่ดินในนามบุคคลธรรมดาจะมีภาระภาษีในระดับที่สูง แต่หากถือครองในรูปนิติบุคคลภาระภาษีจะน้อยกว่า แถมยังได้รับประโยชน์จากมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล เพราะหากจัดตั้งบริษัทใหม่และโดยที่ดินทรัพย์สินภายในเงื่อนระยะเวลาที่กำหนด จะได้อานิสงส์ทั้งจากการยกเว้นภาษีและการลดค่าโอน
"เจริญ" ลุยตั้งบริษัทใหม่ไม่หยุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมากลุ่มเจ้าสัวเจริญได้ทยอยจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่มากกว่า 400 บริษัท โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายนที่มีการจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่มากกว่า 370 บริษัท และเดือนกุมภาพันธ์อีกประมาณ 40 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจัดตั้งบริษัทเพื่อบริหารจัดการที่ดินทั่วประเทศ
และล่าสุดจากการตรวจสอบการจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มธุรกิจในเครือข่ายของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี มีการจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่อีกประมาณ 40 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทที่เป็นกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้า อาทิ บริษัท ทรัพย์ เอเชีย ทีค 1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ เอเชีย ทีค 2 จำกัด บริษัท ทรัพย์ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า ประตูน้ำ 1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า ประตูน้ำ 2 จำกัด บริษัท ทรัพย์ พันธุ์พิทย์พลาซ่า งามวงศ์วาน จำกัด บริษัท ทรัพย์ ตลาดตะวันนา 1 จำกัด เป็นต้น โดยมีกรรมการเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน ประกอบด้วย นายธนฑิต เจริญจันทร์ นายณภัทร เจริญกุล น.ส.นงนุช สุธีกุล และ น.ส.สุภัทรา ฟุ้งจตุพร
จัดกรุ๊ปโรงแรม-ออฟฟิศ
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มธุรกิจโรงแรม อาทิ บริษัท ทรัพย์ เลอ เมอริเดียน โฮเทล แบงค็อก จำกัด บริษัท ทรัพย์ บันยันทรี เกาะสมุย จำกัด บริษัท ทรัพย์ เชอราตัน เกาะสมุย จำกัด บริษัท ทรัพย์ เดอะ เมโทรโพล ภูเก็ต 1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ ควีนส์ปาร์ค แบงค็อก 1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ วนาเบลล์ เอ ลักซ์ซูรี่ สมุย เป็นต้น มีกรรมการประกอบด้วย นายนิชันท์ โกรเว่อร์ นายชโลทร ศรีสมวงษ์ นายจรันต์ อินคะมนต์ น.ส.ชวนชื่น ลิมปเสนีย์และกลุ่มอาคารสำนักงาน อาทิ บริษัท ทรัพย์ อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ อาคารสำนักงาน 208-1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ อาคารซีดับเบิลยู ทาวเวอร์ 1 จำกัด บริษัท ทรัพย์ อาคารอินเตอร์ลิ้งค์ บางนา จำกัด เป็นต้น ซึ่งมีกรรมการประกอบด้วย นายเอกอธิป รัตนอารี นายชโลทร ศรีสมวงษ์ นางอรุณรุ่ง ตันเกียรติชัย และนายธราดล ไพรัชเวทย์
โดยบริษัททั้งหมดดังกล่าวตั้งอยู่ที่เดียวกัน คือ เลขที่ 1 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น 52 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
อธิบดีสรรพากรปัดอุ้มเจ้าสัว
นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงกรณีมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบกิจการในรูปแบบนิติบุคคล ทำให้เกิดช่องโหว่ให้นายทุนหลบเลี่ยงภาษี ว่า กรมสรรพากรมีเจตนาที่จะส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจเปลี่ยนไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นสำคัญ เป็นการมุ่งช่วยเหลือรายย่อย ไม่ใช่ไปช่วยเจ้าสัวอย่างที่มีการกล่าวอ้าง
"ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ บุคคลธรรมดาที่มีที่ดินจะไปตั้งบริษัทแล้วโอนหรือขาย เรามีเขียนล็อกไว้ ว่าต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีการทำการค้ามาอยู่แล้ว ฉะนั้นที่มีคนมาบอกว่าจะไปช่วยพวกเจ้าสัวนายทุน มันไม่ใช่" นายประสงค์กล่าว
กรมสรรพากรออกมาตรการดังกล่าวตั้งแต่กลางปี 2559 โดยเริ่มจากส่งเสริมให้ร้านค้าทองเข้าสู่ระบบ เนื่องจากมีข้อดีมากกว่า ซึ่งหลังจากเดินหน้ามาตรการไประยะหนึ่ง ก็พบประเด็นปัญหาต่าง ๆ อาทิ เรื่องการโอนทรัพย์สินหรือสินค้าจากบุคคลธรรมดามายังนิติบุคคล จะมีภาระภาษีซึ่งเมื่อกรมต้องการส่งเสริมก็ต้องยกเว้นภาษีส่วนนี้ แต่ยืนยันว่าทางกรมมีการออกประกาศกำหนดล็อกขั้นตอนเอาไว้อยู่ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่าง
"พอเราดึงร้านทองเข้าระบบโดยจัดตั้งเป็นนิติบุคคล ก็ทำให้สามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น นอกจากนี้มาตรการส่งเสริมให้จัดตั้งนิติบุคคลยังจะช่วยลดหนี้ครัวเรือนลงไปได้ 15% เปลี่ยนไปเป็นหนี้การค้า เพราะเดิมกู้ในนามบุคคลธรรมดาก็เปลี่ยนเป็นกู้ในนามนิติบุคคลซึ่งได้ดอกเบี้ยถูกกว่า" อธิบดีกรมสรรพากรกล่าว
รับมี "รูรั่ว" เร่งแก้ปิดช่องโหว่
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากรกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ที่ออกตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 ที่เป็นมาตรการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบกิจการในรูปแบบนิติบุคคล มีช่องโหว่อยู่จริง ที่อาจทำให้มีคนหาประโยชน์ในการโอนทรัพย์สินจากบุคคลธรรมดามาตั้งบริษัทแล้วขาย เพื่อไม่ต้องเสียภาษี โดยแม้จะเขียนไว้ว่า บุคคลธรรมดาที่โอนทรัพย์สินไปนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นต้องประกอบธุรกิจต่อเนื่อง คือเป็นผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลด้วย แต่ไม่ได้กำหนดที่ตัวทรัพย์สินว่าต้องเป็นทรัพย์สินที่เคยใช้ในการประกอบกิจการอยู่แต่เดิม ดังนั้นจึงอาจมีการเอาทรัพย์สินอื่นมารวม พอโอนเรียบร้อยแล้วก็ขายทิ้ง