บุษยมาส กับ ๑๐๐ วรรณกรรมฉ่ำรัก
[ บทสัมภาษณ์จากคอลัมน์ "นัดพบนักเขียน"
ใน all magazine (น่าจะ) ฉบับเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ]
เรื่องโดย ภัชภิชา ฤกษ์สิรินุกูล
http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/1238/--.aspx
.................................
บุษยมาส เป็นนามปากกาของนักเขียนชั้นครูที่มีชื่อเสียงด้านการประพันธ์เรื่องรักหวานซึ้งในแวดวงวรรณกรรมมาช้านาน ซึ่งได้สร้างสรรค์ผลงานออกมามากกว่าร้อยเรื่อง อาทิ สลักจิต หนึ่งในทรวง ยอดชีวัน ดงผู้ดี สกุลกา ทับเทวา ในม่านเมฆ การเป็นนักเขียนที่ชอบเก็บตัวและมีชื่อจริงว่า สมนึก สูตะบุตร ทำให้มีคนคาดเดาไปต่าง ๆ นานาว่า นักเขียนท่านนี้เป็นชายหรือหญิง ทำไมจึงเขียนเรื่องรักได้หวานหยดย้อย ปัจจุบันยังเขียนหนังสืออยู่หรือไม่ หากเขียน เขียนเรื่องใด...
ออล แม็กกาซีน นำคำตอบมาฝากผู้อ่านทุกท่านแล้ว
all : ทำไมจึงใช้นามปากกาว่า ‘บุษยมาส’ คะ ?
บุษยมาส : ‘บุษยมาส’ แปลว่า เดือนสอง เพราะเกิดเดือนสอง ก็เลยใช้ชื่อนี้ค่ะ บางคนไปเขียน ‘มาศ’ ซึ่งแปลว่า ทอง ป้าไม่ยอมเป็นทองเนื้อสองหรอก (หัวเราะ)
all : เส้นทางชีวิตของนักเขียนในอดีตเป็นอย่างไรคะ ?
บุษยมาส : เมื่อก่อนนี้การเป็นนักเขียนเป็นเรื่องยาก ส่งเรื่องไปที่สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่เขาก็โยนทิ้ง จนกระทั่งเปิดโอกาสให้ส่งเรื่องประกวดถึงกล้า ป้าส่งเรื่อง รักฉากสุดท้าย ประกวดรางวัลของ นารีนาถ แล้วก็ได้พิมพ์ลงนิตยสาร ดีใจมาก ตอนนั้น นารีนาถ กับ แสนสุข เป็นนิตยสารในเครือเดียวกัน พอ นารีนาถ ปิดตัวไปแล้วก็ส่งเรื่องไปที่ แสนสุข ชื่อเรื่อง ปลายทางของสลี ก็ได้ลงและได้รับรางวัลชนะเลิศ ตั้งแต่นั้นก็มีกำลังใจในการเขียนเรื่องสั้น ต่อมาได้เขียนเรื่องสั้นขนาดยาว วิษณุเลือกคู่ เรื่องยาว หมอกสวาท ส่งไป ๑๐ ตอนให้เขาอ่านก่อน เขาบอกใช้ได้ก็ได้ลง ด้วยความอยากลง เขียนฟรีก็เอา
all : ทราบว่าบุษยมาสดังเป็นพลุแตกจากเรื่อง ‘สลักจิต’ ?
บุษยมาส : สลักจิต เขียนในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นนิยายเรื่องที่สองต่อจาก หมอกสวาท ป้าส่งเรื่องไปให้ เพลินจิตต์รายสัปดาห์ อ่านก่อน แล้วก็ได้ลงเป็นตอน ๆ มารวมเล่มทีหลัง ครูแก้ว อัจฉริยะกุล นำไปทำละครก็เลยยิ่งดัง
all : ดังแล้วจึงได้เขียนเรื่องส่งอีกหลายที่ ?
บุษยมาส : แรก ๆ เขียนส่ง ๗ สำนักพิมพ์ ไม่ได้เขียนรวดเดียวจบนะ จะเขียนทีละตอน ส่งทีละเรื่อง ส่วนเรื่อง ทับเทวา นี่เขียนลงในนิตยสาร ‘บางกอก’ เป็นเรื่องแรก และป้ายังเขียนให้ บางกอก มาตลอด
all : รู้ตัวว่าอยากเป็นนักเขียนตั้งแต่เมื่อไหร่คะ ?
บุษยมาส : ป้ารู้ตัวตั้งแต่สิบขวบว่าอยากเป็นนักเขียน เรียนจบ ป้าได้ทำงานเป็นครูสอนเด็กประถม สอนหลายวิชาเลย ยกเว้นวิชาพละ ต่อมาลาออกจากครู ไปรับราชการในกระทรวงพาณิชย์ ในที่สุดก็ตัดสินใจลาออกเพราะอยากเป็นนักเขียนอาชีพ ตอนแรกเพื่อน ๆ ก็ไม่เห็นด้วย แต่อยากทำงานเขียนให้ได้เต็มที่ ก็ต้องลาออก
all : รักที่จะเขียนและก็ชอบเขียนเรื่องรัก ?
บุษยมาส : ใช่ค่ะ เขียนร้อยกว่าเรื่อง ที่ชอบเขียนเพราะคุณแม่ชอบอ่านหนังสือ ท่านให้เราอ่านนิยาย คุณยายเป็นคนโบราณ ไม่ชอบให้อ่าน บอกว่าเป็นหนังสือประโลมโลกย์ ให้อ่านแต่พระราชนิพนธ์เรื่อง สังข์ทอง อิเหนา แต่คุณแม่บอกว่าไม่เป็นไร ตอนนั้นชอบอ่านงานเขียนของ ‘พี่เล็ก - ก.สุรางคนางค์’ อ่านงานของ ‘ดอกไม้สด’ อ่านเรื่องตลก พล นิกร กิมหงวน อ่าน ขุนศึก ของ ‘ไม้ เมืองเดิม’ อ่านงานของ ‘ยาขอบ’ อ่าน ‘พี่เลียว’ (อรวรรณ - เลียว ศรีเสวก) อ่านมาเรื่อย
(มีต่อ)
บุษยมาส กับ ๑๐๐ วรรณกรรมฉ่ำรัก
[ บทสัมภาษณ์จากคอลัมน์ "นัดพบนักเขียน"
ใน all magazine (น่าจะ) ฉบับเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ]
เรื่องโดย ภัชภิชา ฤกษ์สิรินุกูล
http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/1238/--.aspx
.................................
บุษยมาส เป็นนามปากกาของนักเขียนชั้นครูที่มีชื่อเสียงด้านการประพันธ์เรื่องรักหวานซึ้งในแวดวงวรรณกรรมมาช้านาน ซึ่งได้สร้างสรรค์ผลงานออกมามากกว่าร้อยเรื่อง อาทิ สลักจิต หนึ่งในทรวง ยอดชีวัน ดงผู้ดี สกุลกา ทับเทวา ในม่านเมฆ การเป็นนักเขียนที่ชอบเก็บตัวและมีชื่อจริงว่า สมนึก สูตะบุตร ทำให้มีคนคาดเดาไปต่าง ๆ นานาว่า นักเขียนท่านนี้เป็นชายหรือหญิง ทำไมจึงเขียนเรื่องรักได้หวานหยดย้อย ปัจจุบันยังเขียนหนังสืออยู่หรือไม่ หากเขียน เขียนเรื่องใด...
ออล แม็กกาซีน นำคำตอบมาฝากผู้อ่านทุกท่านแล้ว
all : ทำไมจึงใช้นามปากกาว่า ‘บุษยมาส’ คะ ?
บุษยมาส : ‘บุษยมาส’ แปลว่า เดือนสอง เพราะเกิดเดือนสอง ก็เลยใช้ชื่อนี้ค่ะ บางคนไปเขียน ‘มาศ’ ซึ่งแปลว่า ทอง ป้าไม่ยอมเป็นทองเนื้อสองหรอก (หัวเราะ)
all : เส้นทางชีวิตของนักเขียนในอดีตเป็นอย่างไรคะ ?
บุษยมาส : เมื่อก่อนนี้การเป็นนักเขียนเป็นเรื่องยาก ส่งเรื่องไปที่สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่เขาก็โยนทิ้ง จนกระทั่งเปิดโอกาสให้ส่งเรื่องประกวดถึงกล้า ป้าส่งเรื่อง รักฉากสุดท้าย ประกวดรางวัลของ นารีนาถ แล้วก็ได้พิมพ์ลงนิตยสาร ดีใจมาก ตอนนั้น นารีนาถ กับ แสนสุข เป็นนิตยสารในเครือเดียวกัน พอ นารีนาถ ปิดตัวไปแล้วก็ส่งเรื่องไปที่ แสนสุข ชื่อเรื่อง ปลายทางของสลี ก็ได้ลงและได้รับรางวัลชนะเลิศ ตั้งแต่นั้นก็มีกำลังใจในการเขียนเรื่องสั้น ต่อมาได้เขียนเรื่องสั้นขนาดยาว วิษณุเลือกคู่ เรื่องยาว หมอกสวาท ส่งไป ๑๐ ตอนให้เขาอ่านก่อน เขาบอกใช้ได้ก็ได้ลง ด้วยความอยากลง เขียนฟรีก็เอา
all : ทราบว่าบุษยมาสดังเป็นพลุแตกจากเรื่อง ‘สลักจิต’ ?
บุษยมาส : สลักจิต เขียนในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นนิยายเรื่องที่สองต่อจาก หมอกสวาท ป้าส่งเรื่องไปให้ เพลินจิตต์รายสัปดาห์ อ่านก่อน แล้วก็ได้ลงเป็นตอน ๆ มารวมเล่มทีหลัง ครูแก้ว อัจฉริยะกุล นำไปทำละครก็เลยยิ่งดัง
all : ดังแล้วจึงได้เขียนเรื่องส่งอีกหลายที่ ?
บุษยมาส : แรก ๆ เขียนส่ง ๗ สำนักพิมพ์ ไม่ได้เขียนรวดเดียวจบนะ จะเขียนทีละตอน ส่งทีละเรื่อง ส่วนเรื่อง ทับเทวา นี่เขียนลงในนิตยสาร ‘บางกอก’ เป็นเรื่องแรก และป้ายังเขียนให้ บางกอก มาตลอด
all : รู้ตัวว่าอยากเป็นนักเขียนตั้งแต่เมื่อไหร่คะ ?
บุษยมาส : ป้ารู้ตัวตั้งแต่สิบขวบว่าอยากเป็นนักเขียน เรียนจบ ป้าได้ทำงานเป็นครูสอนเด็กประถม สอนหลายวิชาเลย ยกเว้นวิชาพละ ต่อมาลาออกจากครู ไปรับราชการในกระทรวงพาณิชย์ ในที่สุดก็ตัดสินใจลาออกเพราะอยากเป็นนักเขียนอาชีพ ตอนแรกเพื่อน ๆ ก็ไม่เห็นด้วย แต่อยากทำงานเขียนให้ได้เต็มที่ ก็ต้องลาออก
all : รักที่จะเขียนและก็ชอบเขียนเรื่องรัก ?
บุษยมาส : ใช่ค่ะ เขียนร้อยกว่าเรื่อง ที่ชอบเขียนเพราะคุณแม่ชอบอ่านหนังสือ ท่านให้เราอ่านนิยาย คุณยายเป็นคนโบราณ ไม่ชอบให้อ่าน บอกว่าเป็นหนังสือประโลมโลกย์ ให้อ่านแต่พระราชนิพนธ์เรื่อง สังข์ทอง อิเหนา แต่คุณแม่บอกว่าไม่เป็นไร ตอนนั้นชอบอ่านงานเขียนของ ‘พี่เล็ก - ก.สุรางคนางค์’ อ่านงานของ ‘ดอกไม้สด’ อ่านเรื่องตลก พล นิกร กิมหงวน อ่าน ขุนศึก ของ ‘ไม้ เมืองเดิม’ อ่านงานของ ‘ยาขอบ’ อ่าน ‘พี่เลียว’ (อรวรรณ - เลียว ศรีเสวก) อ่านมาเรื่อย
(มีต่อ)