จากข่าวไทยบันเทิง ไทยพีบีเอส (25 มิ.ย. 57)
http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4
วรรณกรรมนอกจากจะเป็นพื้นที่งานของศิลปะแล้ว
ยังมีหน้าที่สำคัญในการบอกเล่าและสะท้อนภาพสังคม
จึงเป็นอีกครั้งที่นิตยสารช่อการะเกด นิตยสารรวมเรื่องสั้นที่เคยเปิดและปิดตัวไปแล้วถึง 3 ยุคสมัย
ต้องกลับมาทำหน้าที่รับใช้สังคมอีกครั้งในยุคที่ 4
สุชาติ สวัสดิ์ศรี ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการนิตยสารช่อการะเกด
ยังหวังให้งานวรรณกรรมทำหน้าที่บันทึกและสะท้อนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างลึกซึ้ง
โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่บ้านเมืองยังคงมีความขัดแย้ง
งานเขียนจึงเป็นพื้นที่แสดงออกทางความคิดเห็นอย่างสันติ
เจ้าของฉายาสิงห์สนามหลวง จึงเตรียมกลับมาทำหน้าที่บรรณาธิการ คัดสรรเรื่องสั้นคุณภาพ
ชุบชีวิตนิตยสารวรรณกรรมเต็มรูปแบบ "ช่อการะเกด" อีกครั้งในยุคที่ 4
โดยเตรียมปรับเปลี่ยนแนวทางด้านการตลาด สาเหตุสำคัญที่เคยทำให้ช่อการะเกดต้องปิดตัวลง
ด้วยการจำกัดจำนวนการจัดพิมพ์ให้ใกล้เคียงกับความต้องการ
"จนกว่าเราจะพบกันอีก" คือพาดหัวฉบับ ปิดฉากยุคที่ 3 ของช่อการะเกด ในปี 2554
แม้จะได้กลุ่มคนทำหนังสือรุ่นใหม่ อย่าง 2 ศิษย์เก่าช่อการะเกด "วชิระ บัวสนธ์ และสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ"
มาดูแลด้านธุรกิจและการผลิต แต่ก็วางตลาดได้เพียง 3 ปี การปิดตัวแต่ละครั้งส่งผลกระทบทั้งในวงการนักเขียน
ซึ่งขาดพื้นที่สำหรับสร้างนักเขียนหน้าใหม่ในระบบบรรณาธิการ ที่ต้องผ่านการเคี่ยวกรำของสุชาติ สวัสดิ์ศรี
จนทำให้ช่อการะเกดเป็นเสมือนสถาบันผลิตนักเขียนคุณภาพ
ขณะที่ตลาดหนังสือ ก็ปราศจากงานวรรณกรรมรวมเล่มระดับคุณภาพสำหรับคอวรรณกรรมตัวจริง
ปัญหาที่ช่อการะเกดประสบส่วนหนึ่งมาจากความนิยมในงานวรรณกรรมที่มีอยู่ในวงจำกัด
หากคนในแวดวงน้ำหมึกมองว่า
สังคมไทยปัจจุบันที่เต็มไปด้วยข้อถกเถียงของแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมือง
เป็นสถานการณ์ที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดกลุ่มนักอ่านรุ่นใหม่และผลงานวรรณกรรมสะท้อนสังคมเติบโต
....................................................
ในลิ้งก์มีรายละเอียดเพิ่มเติมสัมภาษณ์ สุชาติ สวัสดิ์ศรี, รัศมี เผ่าเหลืองทอง,
เวียง วชิระ และวินทร์ เลียววาริณ ด้วย เชิญดูกันได้
นักเขียนเรื่องสั้นเตรียมเรื่องสั้นที่ดีที่สุดไว้ส่งได้
นักอ่านก็เตรียมเงินไว้อุดหนุนกันนะ
เห็นว่าจะพิมพ์จำนวนจำกัด ดูลู่ทางความเป็นไปได้สัก ๒ - ๓ เล่ม
หวังว่าจะอยู่นานๆ นะครับ
การกลับมาของนิตยสาร "ช่อการะเกด" ยุคที่ 4
http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4
วรรณกรรมนอกจากจะเป็นพื้นที่งานของศิลปะแล้ว
ยังมีหน้าที่สำคัญในการบอกเล่าและสะท้อนภาพสังคม
จึงเป็นอีกครั้งที่นิตยสารช่อการะเกด นิตยสารรวมเรื่องสั้นที่เคยเปิดและปิดตัวไปแล้วถึง 3 ยุคสมัย
ต้องกลับมาทำหน้าที่รับใช้สังคมอีกครั้งในยุคที่ 4
สุชาติ สวัสดิ์ศรี ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการนิตยสารช่อการะเกด
ยังหวังให้งานวรรณกรรมทำหน้าที่บันทึกและสะท้อนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างลึกซึ้ง
โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่บ้านเมืองยังคงมีความขัดแย้ง
งานเขียนจึงเป็นพื้นที่แสดงออกทางความคิดเห็นอย่างสันติ
เจ้าของฉายาสิงห์สนามหลวง จึงเตรียมกลับมาทำหน้าที่บรรณาธิการ คัดสรรเรื่องสั้นคุณภาพ
ชุบชีวิตนิตยสารวรรณกรรมเต็มรูปแบบ "ช่อการะเกด" อีกครั้งในยุคที่ 4
โดยเตรียมปรับเปลี่ยนแนวทางด้านการตลาด สาเหตุสำคัญที่เคยทำให้ช่อการะเกดต้องปิดตัวลง
ด้วยการจำกัดจำนวนการจัดพิมพ์ให้ใกล้เคียงกับความต้องการ
"จนกว่าเราจะพบกันอีก" คือพาดหัวฉบับ ปิดฉากยุคที่ 3 ของช่อการะเกด ในปี 2554
แม้จะได้กลุ่มคนทำหนังสือรุ่นใหม่ อย่าง 2 ศิษย์เก่าช่อการะเกด "วชิระ บัวสนธ์ และสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ"
มาดูแลด้านธุรกิจและการผลิต แต่ก็วางตลาดได้เพียง 3 ปี การปิดตัวแต่ละครั้งส่งผลกระทบทั้งในวงการนักเขียน
ซึ่งขาดพื้นที่สำหรับสร้างนักเขียนหน้าใหม่ในระบบบรรณาธิการ ที่ต้องผ่านการเคี่ยวกรำของสุชาติ สวัสดิ์ศรี
จนทำให้ช่อการะเกดเป็นเสมือนสถาบันผลิตนักเขียนคุณภาพ
ขณะที่ตลาดหนังสือ ก็ปราศจากงานวรรณกรรมรวมเล่มระดับคุณภาพสำหรับคอวรรณกรรมตัวจริง
ปัญหาที่ช่อการะเกดประสบส่วนหนึ่งมาจากความนิยมในงานวรรณกรรมที่มีอยู่ในวงจำกัด
หากคนในแวดวงน้ำหมึกมองว่า
สังคมไทยปัจจุบันที่เต็มไปด้วยข้อถกเถียงของแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมือง
เป็นสถานการณ์ที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดกลุ่มนักอ่านรุ่นใหม่และผลงานวรรณกรรมสะท้อนสังคมเติบโต
....................................................
ในลิ้งก์มีรายละเอียดเพิ่มเติมสัมภาษณ์ สุชาติ สวัสดิ์ศรี, รัศมี เผ่าเหลืองทอง,
เวียง วชิระ และวินทร์ เลียววาริณ ด้วย เชิญดูกันได้
นักเขียนเรื่องสั้นเตรียมเรื่องสั้นที่ดีที่สุดไว้ส่งได้
นักอ่านก็เตรียมเงินไว้อุดหนุนกันนะ
เห็นว่าจะพิมพ์จำนวนจำกัด ดูลู่ทางความเป็นไปได้สัก ๒ - ๓ เล่ม
หวังว่าจะอยู่นานๆ นะครับ