อ้างถึง
https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%95&action=edit§ion=1
ผงชูรสหรือ สารชูรส( flavour enhancers) เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ใส่เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “บี่เจ็ง” ภาษาจีนกลาง เรียกว่า "เว่ยจิง"
สารชูรสที่ใช้กันมานานได้แก่กรดกลูตามิกและเกลือของมัน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่พบได้ในอาหารหลายชนิดในธรรมชาติ กรดกลูตามิกในธรรมชาติ พบมากใน น้ำปลา, ผลมะเม่า, บล็อกโคลี่, กะหล่ำปลี, ถั่วชนิดต่างๆ ข้าวสาลี และเมล็ดธัญพืชต่างๆ
ผงชูรสไม่มีรสชาติของตัวเอง แต่กระตุ้นการทำงานของต่อมรับรสอุมะมิ และทำให้ผู้ทานผงชูรสรู้สึกถึงรสชาติอาหารที่ดีขึ้น
ที่มาเริ่มจากในปี พ.ศ.2451(ค.ศ.1908) ศาสตราจารย์ ดร.คิคุนาเอะ อิเคดะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียล ประเทศญี่ปุ่น ค้นพบว่าผลึกสีน้ำตาลที่สกัดจากสาหร่ายทะเลที่ชื่อว่าคอมบุ((Japonica laminaria)) คือ กรดกลูตามิก และเมื่อลองชิมพบว่ามีรสใกล้เคียงกับซุปสาหร่ายทะเล ซึ่งเป็นอาหารประจำวันของชาวญี่ปุ่นที่บริโภคกันมาหลายร้อยปี จึงตั้งชื่อรสชาติของกรดกลูตามิกที่สกัดได้ว่า "อูมามิ" (สรุปคือ อูมามิ มาจาก กรดกลูตามิก) หลังจากนั้นได้จดสิทธิบัตรการผลิตกรดกลูตามิกในปริมาณมากๆ
อีกปีถัดมา พ.ศ.2542 ผงชูรสก็มีจำหน่ายในชื่อ อายิโนะโมะโต๊ะ (Ajinomoto หมายถึง แก่นแท้ของรสชาติ) ซึ่งโด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้
ในประเทศไทยใช้แป้งมันสำปะหลังและกากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบหลัก โดยปัจจุบันสามารถผลิตกรดกลูตามิค โดยการหมักเชื้อจุลินทรีย์ มีหลักการทั่วไปเช่นเดียวกับการนำเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ในการผลิตอาหารและยา เช่น น้ำส้มสายชู ซีอิ้ว น้ำปลา เบียร์ ไวน์ ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
กระบวนการผลิตในปัจจุบันเริ่มจากใช้ขบวนการย่อยสลายแป้งมันสำปะหลังทางเคมี โดยใช้กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟูริกจนได้สารละลายน้ำตาลกลูโคส จากนั้นผ่านกระบวนการหมักโดยใช้ยูเรียและเชื้อจุลินทรีย์จนได้แอมโมเนียกลูตาเมต ส่งผ่านกระบวนการทางเคมีต่อโดยใช้กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก จนได้เป็นกรดกลูตามิก และผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีโดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ จะได้สารละลายผงชูรสหยาบ นำไปผ่านขบวนการฟอกสีโดยใช้สารฟอกสี จนเป็นสารละลายผงชูรสใส แล้วผ่านขั้นตอนสุดท้ายด้วยการทำให้ตกผลึกจนกลายเป็นผลึกผงชูรส
ลักษณะของผงชูรส
1. เป็นเกล็ดสีขาวค่อนข้างใส ไม่สะท้อนแสง
2. เกล็ดมีลักษณะปลายทั้งสองข้างใหญ่ ตรงกลางคอดรูปกระดูกหรือเป็นลิ่ม
3. ปลายมีลักษณะข้างหนึ่งใหญ่ อีกข้างหนึ่งเล็ก
สำหรับ
ผงชูรสนั้น สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
1.
ผงชูรสแท้ เป็นผงชูรสที่มีสารโมโนโซเดียมกลูทาเมต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 98 โดยน้ำหนัก
คือ ผงชูรส 100 กรัม จะมีโมโนโซเดียมกลูทาเมตอยู่ไม่น้อยกว่า 98 กรัม ส่วนอีก 2 กรัม ที่เหลือจะเป็น สารอื่น เช่น เกลือ น้ำตาล พริกไทย ฯลฯ ผสมอยู่ก็ได้
2.
ผงชูรสผสม เป็นผงชูรสที่มีโมโนโซเดียมกลูทาเมตร้อยละ 50 – 98 โดยน้ำหนัก ส่วนผสมที่จะเพิ่มจนถึง 100 กรัม จะต้องเป็นสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้
ผงชูรสไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการ ถึงแม้จะเกี่ยวข้องกับกรดกลูตามิค ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ไม่มีความจำเป็น เพราะร่างกายผลิตเองได้ จึงไม่มีคุณค่าทางอาหารแต่อย่างใดทั้งสิ้น
กรดกลูตามิก จัดอยู่ในกลุ่มกรดอะมิโนไม่จำเป็น แต่มีความสำคัญต่อร่างกาย โดยทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทที่ออกฤทธิ์แบบกระตุ้น มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้และจดจำของสมอง มีหน้าที่หลักคือ เป็นเชื้อเพลิงให้กับสมอง มีความสามารถในการจัดการกับแอมโมเนียส่วนเกินซึ่งจะยับยั้งการทำงานขั้นสูงของสมอง
พิษภัยและอันตรายของผงชูรสอาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เกิดจากโซเดียมและส่วนที่เกิดจากตัวผงชูรสแท้ๆ
1.โซเดียมในผงชูรส มาจากโซดาไฟเป็นองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกับเกลือแกง แต่อันตรายมากกว่าเกลือแกงตรงที่ว่าเกลือแกงใช้เพียงนิดเดียว ก็รู้สึกว่ามีรสเค็ม แต่ผงชูรสใส่มากเท่าไรก็ไม่รู้สึกตัวว่ามีปริมาณโซเดียมมากเท่าไร
ถ้ากินเข้าไปเยอะๆ แล้วเป็นไง การรับประทานโซเดียมมาก ไตทำงานหนัก คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 10 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 1 ใน 6 ของประชากรทั้งประเทศ (คนไทยรับประทานโซเดียมถึง 7,000 มก./วัน,กระทรวงสาธารณสุขไทย แนะให้ทานเกลือไม่เกิน 2,300 มก. หรือ 1 ช้อนชา/วัน,
ถ้าเป็นโรค เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง ไม่ควรเกิน 2,000 มก./วัน,
ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ควรเกิน 1,500 มก./วัน)
2.ผงชูรส อาจจะมีอาการชาและร้อนวูบวาบที่ปาก ลิ้น ใบหน้า โหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก บางคนมีผื่นแดงเกิดขึ้นตามตัว แน่นหน้าอก หัวใจเต้นช้าลง หายใจไม่สะดวก เป็นต้น บางคนขนานนามโรคแพ้ผงชูรสว่า “ไชนีสเรสทัวรองซินโดม”(Chinese Restaurant Syndrome) หรือ “โรคภัตตาคารจีน” เพราะร้านอาหารจีนมักใช้ผงชูรสกันมาก แต่จากอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีการศึกษาวิจัยทางวิชาการใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าการบริโภคผงชูรสในอาหารจะมีผลต่อทางชีวเคมี หรือทางจุลกายวิภาค เช่นการเกิดกลุ่มอาการภัตตาคารจีนตามที่ขนานนามกัน
สำหรับประเทศไทย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 95 พ.ศ. 2528 กำหนดว่า หากมีการใช้ผงชูรสในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป จะต้องระบุในฉลากด้วยว่า ใช้วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร โมโนโซเดียม กลูตาเมท เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค(แต่ไม่ได้จำกัดปริมาณไว้ ในประกาศ เขียนแค่ว่า ปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งไม่รู้เท่าไหร่)
ผมดูไปหลายรายการ พบว่า มีอาหารหลายอย่าง ที่เราคิดว่ามันไม่น่ามี MSG แต่มีประกาศให้ใส่ได้ เช่น นมข้น นมผง ไอติมหวานเย็น ลูกกวาด กาแฟ เบียร์ เหล้า เป็นต้น
เดี๋ยวว่าจะไปหาฉลากมาอ่านดูว่า มีผสมในยี่ห้อไหนบ้าง
ผงชูรส ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร แต่แค่มันทำให้อาหารอร่อย เราก็(น่าจะ)ติดมันซะแล้ว
กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ไม่กินโซเดียมเกิน 2000 มิลลิกรัม/วัน
ผงชูรส 1 ช้อนชา มีโซเดียมราว 500 มิลลิกรัม แปลว่าใส่ผงชูรสได้ไม่เกิน 4 ช้อนชา/วัน แต่ในความเป็นจริง เรากินอาหารอย่างอื่นที่มีโซเดียมอยู่แล้ว ดังนั้นใส่ผงชูรสได้ไม่ถึง 4 ช้อนชาแน่นอน
ถ้าให้ดี การใช้ผงชูรสอย่างเหมาะสมจะอยู่ในระดับ เดียวกับปริมาณกลูตาเมตในอาหารธรรมชาติ คือ 0.1 - 0.8% ของอาหาร หรืออาจกล่าวได้ ว่าประมาณ
ผงชูรส 1 ช้อนชาเหมาะที่จะใช้ใน การปรุงอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือ ปรุงอาหารจำพวกผักและซุปหรือแกงจืด 1 หม้อ สำหรับเสิร์ฟ 4 - 6 ที่
5/6/60 ขออัพเดทเพิ่มเติม เนื่องจากมีคุณไข่เจียวต้นหอม และคุณ Miyano Shiho พูดถึง I+G ก็ไปหาข้อมูลมาเพิ่มครับ
อ้างถึง
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3039/disodium-5-ribonucleotide-%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%94%E0%B9%8C
ไดโซเดียม 5'-ไรโบนิวคลีโอไตด์ (disodium 5'-ribonucleotides) หรือ โซเดียมไรโบนิวคลีโอไตด์ (sodium 5'-ribonucleotides, sodium ribonucleotides) มีสูตรเคมีคือ C10H11N4Na2O8P.XH2O
และ C10H12N5Na2O8P.XH2Oเป็น สารผสมของไดโซเดียมไอโนซีน-5'-มอโนฟอสเฟต (disodium inosine-5'-monophosphate, IMP ) และ ไดโซเดียมกัวโนซีน-5'-มอโนฟอสเฟต (disodium guanosine-5'-monophosphate, GMP) อาจเรียกว่า
ไอพลัสจี ( I plus G หรือ I+G ) ซึ่ง ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) E635 ใช้เพื่อปรุงแต่งรสอาหาร (flavor enhancer) อยู่ในกลุ่มเดียวกับ ผงชูรส (monosodium glutamate : MSG) ให้รสอูมามิ (umami) โดยออกฤทธิ์แรงกว่าผงชูรส MSG (monosodium glutamate) 50-100 เท่า
นิยมใช้ผสมใน
อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น ซุปกึ่งสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป
เครื่องปรุงรส เช่น ซอสซีอิ๊ว ซอสปรุงรส น้ำปลา ซุปปรุงรสชนิดก้อน ชนิดผง
อาหารขบเคี้ยวโดยใช้เป็นส่วนผสมเพื่อเสริมกลิ่นรสให้กับ สารให้กลิ่นรส
อาหารกระป๋อง เช่น อาหารทะเลกระป๋อง
อาหารแห้ง เช่น ปลาหมึก ปลาป่นตัวเล็ก และปริมาณการใช้ 0.05-0.1% ขึ้นกับชนิดของผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก
ตัวอย่างการใช้ไดโซเดียม ไอโนซีน-5'-มอโนฟอสเฟต ในผลิตภัณฑ์โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป
ดังนั้น
นอกจากจะอ่านฉลากแล้วว่า มี MSG ไหม ยังต้องดูด้วยว่ามี I+G ไหมอีกด้วยครับ
ผมรู้จักผงชูรสน้อยไปจริงๆ
ผงชูรสหรือ สารชูรส( flavour enhancers) เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ใส่เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “บี่เจ็ง” ภาษาจีนกลาง เรียกว่า "เว่ยจิง"
สารชูรสที่ใช้กันมานานได้แก่กรดกลูตามิกและเกลือของมัน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่พบได้ในอาหารหลายชนิดในธรรมชาติ กรดกลูตามิกในธรรมชาติ พบมากใน น้ำปลา, ผลมะเม่า, บล็อกโคลี่, กะหล่ำปลี, ถั่วชนิดต่างๆ ข้าวสาลี และเมล็ดธัญพืชต่างๆ
ผงชูรสไม่มีรสชาติของตัวเอง แต่กระตุ้นการทำงานของต่อมรับรสอุมะมิ และทำให้ผู้ทานผงชูรสรู้สึกถึงรสชาติอาหารที่ดีขึ้น
ที่มาเริ่มจากในปี พ.ศ.2451(ค.ศ.1908) ศาสตราจารย์ ดร.คิคุนาเอะ อิเคดะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียล ประเทศญี่ปุ่น ค้นพบว่าผลึกสีน้ำตาลที่สกัดจากสาหร่ายทะเลที่ชื่อว่าคอมบุ((Japonica laminaria)) คือ กรดกลูตามิก และเมื่อลองชิมพบว่ามีรสใกล้เคียงกับซุปสาหร่ายทะเล ซึ่งเป็นอาหารประจำวันของชาวญี่ปุ่นที่บริโภคกันมาหลายร้อยปี จึงตั้งชื่อรสชาติของกรดกลูตามิกที่สกัดได้ว่า "อูมามิ" (สรุปคือ อูมามิ มาจาก กรดกลูตามิก) หลังจากนั้นได้จดสิทธิบัตรการผลิตกรดกลูตามิกในปริมาณมากๆ
อีกปีถัดมา พ.ศ.2542 ผงชูรสก็มีจำหน่ายในชื่อ อายิโนะโมะโต๊ะ (Ajinomoto หมายถึง แก่นแท้ของรสชาติ) ซึ่งโด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้
ในประเทศไทยใช้แป้งมันสำปะหลังและกากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบหลัก โดยปัจจุบันสามารถผลิตกรดกลูตามิค โดยการหมักเชื้อจุลินทรีย์ มีหลักการทั่วไปเช่นเดียวกับการนำเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ในการผลิตอาหารและยา เช่น น้ำส้มสายชู ซีอิ้ว น้ำปลา เบียร์ ไวน์ ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
กระบวนการผลิตในปัจจุบันเริ่มจากใช้ขบวนการย่อยสลายแป้งมันสำปะหลังทางเคมี โดยใช้กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟูริกจนได้สารละลายน้ำตาลกลูโคส จากนั้นผ่านกระบวนการหมักโดยใช้ยูเรียและเชื้อจุลินทรีย์จนได้แอมโมเนียกลูตาเมต ส่งผ่านกระบวนการทางเคมีต่อโดยใช้กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก จนได้เป็นกรดกลูตามิก และผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีโดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ จะได้สารละลายผงชูรสหยาบ นำไปผ่านขบวนการฟอกสีโดยใช้สารฟอกสี จนเป็นสารละลายผงชูรสใส แล้วผ่านขั้นตอนสุดท้ายด้วยการทำให้ตกผลึกจนกลายเป็นผลึกผงชูรส
ลักษณะของผงชูรส
1. เป็นเกล็ดสีขาวค่อนข้างใส ไม่สะท้อนแสง
2. เกล็ดมีลักษณะปลายทั้งสองข้างใหญ่ ตรงกลางคอดรูปกระดูกหรือเป็นลิ่ม
3. ปลายมีลักษณะข้างหนึ่งใหญ่ อีกข้างหนึ่งเล็ก
สำหรับผงชูรสนั้น สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
1. ผงชูรสแท้ เป็นผงชูรสที่มีสารโมโนโซเดียมกลูทาเมต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 98 โดยน้ำหนัก
คือ ผงชูรส 100 กรัม จะมีโมโนโซเดียมกลูทาเมตอยู่ไม่น้อยกว่า 98 กรัม ส่วนอีก 2 กรัม ที่เหลือจะเป็น สารอื่น เช่น เกลือ น้ำตาล พริกไทย ฯลฯ ผสมอยู่ก็ได้
2. ผงชูรสผสม เป็นผงชูรสที่มีโมโนโซเดียมกลูทาเมตร้อยละ 50 – 98 โดยน้ำหนัก ส่วนผสมที่จะเพิ่มจนถึง 100 กรัม จะต้องเป็นสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้
ผงชูรสไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการ ถึงแม้จะเกี่ยวข้องกับกรดกลูตามิค ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ไม่มีความจำเป็น เพราะร่างกายผลิตเองได้ จึงไม่มีคุณค่าทางอาหารแต่อย่างใดทั้งสิ้น
กรดกลูตามิก จัดอยู่ในกลุ่มกรดอะมิโนไม่จำเป็น แต่มีความสำคัญต่อร่างกาย โดยทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทที่ออกฤทธิ์แบบกระตุ้น มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้และจดจำของสมอง มีหน้าที่หลักคือ เป็นเชื้อเพลิงให้กับสมอง มีความสามารถในการจัดการกับแอมโมเนียส่วนเกินซึ่งจะยับยั้งการทำงานขั้นสูงของสมอง
พิษภัยและอันตรายของผงชูรสอาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เกิดจากโซเดียมและส่วนที่เกิดจากตัวผงชูรสแท้ๆ
1.โซเดียมในผงชูรส มาจากโซดาไฟเป็นองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกับเกลือแกง แต่อันตรายมากกว่าเกลือแกงตรงที่ว่าเกลือแกงใช้เพียงนิดเดียว ก็รู้สึกว่ามีรสเค็ม แต่ผงชูรสใส่มากเท่าไรก็ไม่รู้สึกตัวว่ามีปริมาณโซเดียมมากเท่าไร
ถ้ากินเข้าไปเยอะๆ แล้วเป็นไง การรับประทานโซเดียมมาก ไตทำงานหนัก คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 10 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 1 ใน 6 ของประชากรทั้งประเทศ (คนไทยรับประทานโซเดียมถึง 7,000 มก./วัน,กระทรวงสาธารณสุขไทย แนะให้ทานเกลือไม่เกิน 2,300 มก. หรือ 1 ช้อนชา/วัน,
ถ้าเป็นโรค เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง ไม่ควรเกิน 2,000 มก./วัน,
ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ควรเกิน 1,500 มก./วัน)
2.ผงชูรส อาจจะมีอาการชาและร้อนวูบวาบที่ปาก ลิ้น ใบหน้า โหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก บางคนมีผื่นแดงเกิดขึ้นตามตัว แน่นหน้าอก หัวใจเต้นช้าลง หายใจไม่สะดวก เป็นต้น บางคนขนานนามโรคแพ้ผงชูรสว่า “ไชนีสเรสทัวรองซินโดม”(Chinese Restaurant Syndrome) หรือ “โรคภัตตาคารจีน” เพราะร้านอาหารจีนมักใช้ผงชูรสกันมาก แต่จากอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีการศึกษาวิจัยทางวิชาการใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าการบริโภคผงชูรสในอาหารจะมีผลต่อทางชีวเคมี หรือทางจุลกายวิภาค เช่นการเกิดกลุ่มอาการภัตตาคารจีนตามที่ขนานนามกัน
สำหรับประเทศไทย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 95 พ.ศ. 2528 กำหนดว่า หากมีการใช้ผงชูรสในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป จะต้องระบุในฉลากด้วยว่า ใช้วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร โมโนโซเดียม กลูตาเมท เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค(แต่ไม่ได้จำกัดปริมาณไว้ ในประกาศ เขียนแค่ว่า ปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งไม่รู้เท่าไหร่)
ผมดูไปหลายรายการ พบว่า มีอาหารหลายอย่าง ที่เราคิดว่ามันไม่น่ามี MSG แต่มีประกาศให้ใส่ได้ เช่น นมข้น นมผง ไอติมหวานเย็น ลูกกวาด กาแฟ เบียร์ เหล้า เป็นต้น
เดี๋ยวว่าจะไปหาฉลากมาอ่านดูว่า มีผสมในยี่ห้อไหนบ้าง
ผงชูรส ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร แต่แค่มันทำให้อาหารอร่อย เราก็(น่าจะ)ติดมันซะแล้ว
กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ไม่กินโซเดียมเกิน 2000 มิลลิกรัม/วัน
ผงชูรส 1 ช้อนชา มีโซเดียมราว 500 มิลลิกรัม แปลว่าใส่ผงชูรสได้ไม่เกิน 4 ช้อนชา/วัน แต่ในความเป็นจริง เรากินอาหารอย่างอื่นที่มีโซเดียมอยู่แล้ว ดังนั้นใส่ผงชูรสได้ไม่ถึง 4 ช้อนชาแน่นอน
ถ้าให้ดี การใช้ผงชูรสอย่างเหมาะสมจะอยู่ในระดับ เดียวกับปริมาณกลูตาเมตในอาหารธรรมชาติ คือ 0.1 - 0.8% ของอาหาร หรืออาจกล่าวได้ ว่าประมาณผงชูรส 1 ช้อนชาเหมาะที่จะใช้ใน การปรุงอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือ ปรุงอาหารจำพวกผักและซุปหรือแกงจืด 1 หม้อ สำหรับเสิร์ฟ 4 - 6 ที่
5/6/60 ขออัพเดทเพิ่มเติม เนื่องจากมีคุณไข่เจียวต้นหอม และคุณ Miyano Shiho พูดถึง I+G ก็ไปหาข้อมูลมาเพิ่มครับ
อ้างถึง http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3039/disodium-5-ribonucleotide-%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%94%E0%B9%8C
ไดโซเดียม 5'-ไรโบนิวคลีโอไตด์ (disodium 5'-ribonucleotides) หรือ โซเดียมไรโบนิวคลีโอไตด์ (sodium 5'-ribonucleotides, sodium ribonucleotides) มีสูตรเคมีคือ C10H11N4Na2O8P.XH2O
และ C10H12N5Na2O8P.XH2Oเป็น สารผสมของไดโซเดียมไอโนซีน-5'-มอโนฟอสเฟต (disodium inosine-5'-monophosphate, IMP ) และ ไดโซเดียมกัวโนซีน-5'-มอโนฟอสเฟต (disodium guanosine-5'-monophosphate, GMP) อาจเรียกว่า ไอพลัสจี ( I plus G หรือ I+G ) ซึ่ง ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) E635 ใช้เพื่อปรุงแต่งรสอาหาร (flavor enhancer) อยู่ในกลุ่มเดียวกับ ผงชูรส (monosodium glutamate : MSG) ให้รสอูมามิ (umami) โดยออกฤทธิ์แรงกว่าผงชูรส MSG (monosodium glutamate) 50-100 เท่า
นิยมใช้ผสมใน
อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น ซุปกึ่งสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป
เครื่องปรุงรส เช่น ซอสซีอิ๊ว ซอสปรุงรส น้ำปลา ซุปปรุงรสชนิดก้อน ชนิดผง
อาหารขบเคี้ยวโดยใช้เป็นส่วนผสมเพื่อเสริมกลิ่นรสให้กับ สารให้กลิ่นรส
อาหารกระป๋อง เช่น อาหารทะเลกระป๋อง
อาหารแห้ง เช่น ปลาหมึก ปลาป่นตัวเล็ก และปริมาณการใช้ 0.05-0.1% ขึ้นกับชนิดของผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก
ตัวอย่างการใช้ไดโซเดียม ไอโนซีน-5'-มอโนฟอสเฟต ในผลิตภัณฑ์โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป
ดังนั้น นอกจากจะอ่านฉลากแล้วว่า มี MSG ไหม ยังต้องดูด้วยว่ามี I+G ไหมอีกด้วยครับ