คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
เรื่องแม่นาคที่เกี่ยวกับกับ สมเด็จพุทธาจารย์โต นั้น เล่ากันว่าเมื่อครั้งไปจัดการเรื่องผีนางนาคอาละวาดที่บางพระโขนง สมเด็จพุทธาจารย์โต ได้นำกระดูกหน้าผากของนางนาคกลับมาด้วย และลงอักขระสะกดวิญญานของนางนาคเอาไว้ ให้อยู่ใช้กรรมจนหมดโดยไม่ไปหลอกหลอนผู้คนอีก
" เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉายา ญาณฉนฺโท นามเดิม หม่อมราชวงศ์เจริญ ราชสกุล อิศรางกูร) ยังเป็นสามเณรอยู่ในกุฏิ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นางนาคได้ออกมารบกวน ม.ร.ว.เณรๆ ก็ฟ้องสมเด็จฯ ว่า สีกามากวนเขาเจ้าข้า สีกามากวนเขา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านร้องว่า นางนาคเอ๊ย อย่ารบกวนคุณเณรซี ปีศาจนั้นก็สงบไป นานๆ จึงออกมารบกวน
ครั้นท่านชรามากแล้ว ท่านจึงมอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากนางนาค ประทานไว้กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (สมเด็จพระพุฒาจารย์ หม่อมเจ้าทัต เสนีย์วงศ์) มอบหม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญให้ไปอยู่กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ด้วย นานๆ นางนาคออกมาหยอกเย้าหม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญ หม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญต้องร้องฟ้องหม่อมเจ้าพระพุทธบาทฯ ๆ ต้องทรงกริ้วนางนาคว่า เป็นผู้หญิงยิงเรืออย่ามารบกวน คุณเณรจะดูหนังสือหนังหา เสร็จกริ้วแล้วก็เงียบไป "
เรื่องแม่นาคนี้เล่าสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน ยากที่จะหาหลักฐานเป็นเอกสารใดๆมารับรองความถูกต้องได้ ทั้งตัวเรื่องเอง และเรื่องกระดูกหน้าผากด้วย กระดูกหน้าผากแม่นาคนี้มีเล่ากันในหลายกระแส บ้างก็ว่าหลังจากอยู่กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์แล้ว สืบทอดมาถึง หลวงพ่อพริ้ง (พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์) วัดบางปะกอก ต่อมาหลวงพ่อพริ้งได้ส่งมอบกะโหลกแม่นาคให้กรมหลวงชุมพรฯ แล้วสุดท้ายตกมาอยู่ในมือนักสะสมคนหนึ่งที่ได้มาจากทายาทของกรมหลวง และมีเรื่องเล่าว่ากระดูกหน้าผากนี้ อยู่ในความครอบครองของเสด็จองค์ชายใหญ่ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล จริงเท็จประการใดก็ไม่ทราบ
สำหรับประวัตินางนาคในคำตอบที่ 2 นั้นมาจากหนังสือของ กศร.กุหลาบ
" หลักฐานที่ ก.ศ.ร.กุหลาบ บรรณาธิการหนังสือ "สยามประเภท " ตอบข้อข้องใจของคนอ่าน ลงในหนังสือเล่มที่ ๓ วันเสาร์ที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ว่า.....
"จะเปนวันเดือนปีใดจำไม่ได้เปนคำพระศรีสมโภช (บุด) วัดสุวรรณเล่าถวายสมเด็จอุปัชฌาย์ว่า ใน
รัชกาลที่ ๓ กรุงเทพฯ อำแดงนาก บุตรขุนศรีนายอำเภอ บ้านอยู่ปากคลองพระโขนง เปนภรรยานายชุ่ม
ตัว โขนทศกรรฐ์ในพระจ้าวบรมวงศ์เธอจ้าวฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี อำแดงนากมีบุตรถึงอนิจกรรม นายชุ่มทศกรรฐ์สามีนำศพอำแดงนากภรรยาไปฝังที่ป่าช้าวัดมหาบุด... ศพอำแดงนากฝังไว้ที่นั่นไม่มีปีศาลหลอกผู้ใด เปนแต่พระศรีสมโภชเจ้าของวัดมหาบุด เล่าถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสว่า นายชุ่มทศกรรฐ์เปนคนมั่งมี.... บุตรนายชุ่มมีชายหญิงหลายคน แต่ล้วนยังไม่มีสามีภรรยาทั้งสิ้น บุตรนายชุ่มหวงทรัพย์สมบัติของบิดา เกรงว่าบิดาจะมีภรรยาใหม่...พวกลุกชายจึงทำอุบายให้คนไปขว้างปาชาวเรือ ตามลำคลองริมป่าช้าที่ฝังศพอำแดงนากมารดา กระทำกิริยาเปนผีดุร้ายหลอกคน จนถึงช่วยนายชุ่มถีบระหัดน้ำเข้านาแลวิดน้ำกูเรือของนายชุ่มที่ล่มก็ได้ บุตรชายแต่งกายเปนหญิงให้คล้ายอำแดงนากมารดาทำกิริยาเปนผีดุร้ายให้คนกลัว ทั่วทั้งลำคลองพระโขนง... บุตรนายชุ่มทศกรรฐ์หลายคนได้เล่าถวายเสด็จอุปชฌาย์ว่า ตนได้ทำมายาเปนปีศาจอำแดงนากมารดาหลอกชาวบ้าน จริงดั่งพระศรสมโภชกราบทูลเสด็จอุปัชฌาย์ทุกประการ" (จากหนังสือ ตามรอยนางนากพระโขนง ของ ส.พลายน้อย)"
" เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉายา ญาณฉนฺโท นามเดิม หม่อมราชวงศ์เจริญ ราชสกุล อิศรางกูร) ยังเป็นสามเณรอยู่ในกุฏิ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นางนาคได้ออกมารบกวน ม.ร.ว.เณรๆ ก็ฟ้องสมเด็จฯ ว่า สีกามากวนเขาเจ้าข้า สีกามากวนเขา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านร้องว่า นางนาคเอ๊ย อย่ารบกวนคุณเณรซี ปีศาจนั้นก็สงบไป นานๆ จึงออกมารบกวน
ครั้นท่านชรามากแล้ว ท่านจึงมอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากนางนาค ประทานไว้กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (สมเด็จพระพุฒาจารย์ หม่อมเจ้าทัต เสนีย์วงศ์) มอบหม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญให้ไปอยู่กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ด้วย นานๆ นางนาคออกมาหยอกเย้าหม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญ หม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญต้องร้องฟ้องหม่อมเจ้าพระพุทธบาทฯ ๆ ต้องทรงกริ้วนางนาคว่า เป็นผู้หญิงยิงเรืออย่ามารบกวน คุณเณรจะดูหนังสือหนังหา เสร็จกริ้วแล้วก็เงียบไป "
เรื่องแม่นาคนี้เล่าสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน ยากที่จะหาหลักฐานเป็นเอกสารใดๆมารับรองความถูกต้องได้ ทั้งตัวเรื่องเอง และเรื่องกระดูกหน้าผากด้วย กระดูกหน้าผากแม่นาคนี้มีเล่ากันในหลายกระแส บ้างก็ว่าหลังจากอยู่กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์แล้ว สืบทอดมาถึง หลวงพ่อพริ้ง (พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์) วัดบางปะกอก ต่อมาหลวงพ่อพริ้งได้ส่งมอบกะโหลกแม่นาคให้กรมหลวงชุมพรฯ แล้วสุดท้ายตกมาอยู่ในมือนักสะสมคนหนึ่งที่ได้มาจากทายาทของกรมหลวง และมีเรื่องเล่าว่ากระดูกหน้าผากนี้ อยู่ในความครอบครองของเสด็จองค์ชายใหญ่ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล จริงเท็จประการใดก็ไม่ทราบ
สำหรับประวัตินางนาคในคำตอบที่ 2 นั้นมาจากหนังสือของ กศร.กุหลาบ
" หลักฐานที่ ก.ศ.ร.กุหลาบ บรรณาธิการหนังสือ "สยามประเภท " ตอบข้อข้องใจของคนอ่าน ลงในหนังสือเล่มที่ ๓ วันเสาร์ที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ว่า.....
"จะเปนวันเดือนปีใดจำไม่ได้เปนคำพระศรีสมโภช (บุด) วัดสุวรรณเล่าถวายสมเด็จอุปัชฌาย์ว่า ใน
รัชกาลที่ ๓ กรุงเทพฯ อำแดงนาก บุตรขุนศรีนายอำเภอ บ้านอยู่ปากคลองพระโขนง เปนภรรยานายชุ่ม
ตัว โขนทศกรรฐ์ในพระจ้าวบรมวงศ์เธอจ้าวฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี อำแดงนากมีบุตรถึงอนิจกรรม นายชุ่มทศกรรฐ์สามีนำศพอำแดงนากภรรยาไปฝังที่ป่าช้าวัดมหาบุด... ศพอำแดงนากฝังไว้ที่นั่นไม่มีปีศาลหลอกผู้ใด เปนแต่พระศรีสมโภชเจ้าของวัดมหาบุด เล่าถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสว่า นายชุ่มทศกรรฐ์เปนคนมั่งมี.... บุตรนายชุ่มมีชายหญิงหลายคน แต่ล้วนยังไม่มีสามีภรรยาทั้งสิ้น บุตรนายชุ่มหวงทรัพย์สมบัติของบิดา เกรงว่าบิดาจะมีภรรยาใหม่...พวกลุกชายจึงทำอุบายให้คนไปขว้างปาชาวเรือ ตามลำคลองริมป่าช้าที่ฝังศพอำแดงนากมารดา กระทำกิริยาเปนผีดุร้ายหลอกคน จนถึงช่วยนายชุ่มถีบระหัดน้ำเข้านาแลวิดน้ำกูเรือของนายชุ่มที่ล่มก็ได้ บุตรชายแต่งกายเปนหญิงให้คล้ายอำแดงนากมารดาทำกิริยาเปนผีดุร้ายให้คนกลัว ทั่วทั้งลำคลองพระโขนง... บุตรนายชุ่มทศกรรฐ์หลายคนได้เล่าถวายเสด็จอุปชฌาย์ว่า ตนได้ทำมายาเปนปีศาจอำแดงนากมารดาหลอกชาวบ้าน จริงดั่งพระศรสมโภชกราบทูลเสด็จอุปัชฌาย์ทุกประการ" (จากหนังสือ ตามรอยนางนากพระโขนง ของ ส.พลายน้อย)"
แสดงความคิดเห็น
แม่นาคพระโขนง เป็นเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งครับ?
ถ้าเป็นเรื่องจริง - รบกวนขอแหล่งที่มาสำหรับค้นคว้าข้อมูลหน่อยน่ะครับ
ถ้าเป็นเรื่องแต่ง - แต่งโดยใครครับ? ขอแหล่งที่มาข้อมูลเช่นกันครับ
(ผมแค่สงสัยว่าถ้าไม่ใช่เรื่องจริงแล้วนำเรื่องไปโยงกับสมเด็จพุฒาจารย์โตทำไมครับ)
หาก Tag ห้องผิดขออภัยด้วยครับ