ตามนั้นเลยค่ะ เราสงสัยว่าทำไมเขาถึงไม่นำประวัติฯ แม่นากจริงๆ มาสร้างเป็นหนังบ้างคะ? ดีไม่ดีปีหน้าเราอาจจะได้ดูหนังแม่นากตีความไปกว่าร้อยๆ เรื่อง กับพล็อตเรื่องแม่นากตายแล้วรอคอยพี่มากที่ท่าน้ำเหมือนเดิม
ปีก่อนก็ไอ้แดง ปีนี้มาตั้งสองเรื่อง ทิดน้อย กับนางนาคสะใภ้พระโขนง ก็ยังคงพล็อตเดิมเพิ่มเติมใส่ไข่คือตีความใหม่ พร้อมแคปชั่น "ตำนานที่ไม่เคยถูกเล่า"
แต่แล้วสุดท้ายก็ตายท้องกลมทั้งกลมอะไรนั่น ไม่ได้อยู่กับผัวอยู่ดี
อ่าทีนี้มาเข้าเรื่องประวัติฯ กันต่อ
ที่เราถามว่าทำไมเขาถึงไม่นำอีกประวัติฯ หนึ่งของแม่นากมาสร้างให้มันหลุดพ้นจากพล็อตเดิมๆ บ้างน่ะค่ะ หรือว่าถ้านำมาสร้างแล้วคนจะหมดศรัทธาย่านาก
ณ ทุ่งพระโขนง ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น 1-3 รัชกาลพระเจ้าอยู่หัว
พ่อขุนศรีและภรรยาบิดา มารดา ทั้งสองคน ซึ่งพ่อขุนศรีนั้นคือบิดาของแม่นาก (ก.ไก่ลงท้าย)
พ่อขุนศรีเป็นนายอำเภอของพระโขนงซึ่งเป็นย่านใหญ่ ไม่ใช่ย่านหรือหมู่บ้านร้างๆ จนๆ การที่คนเราจะเป็นคนคุมเขตย่านนั้นๆ ในสมัยโบราณก็คือรวยมีเงินทองไม่ใช่คนธรรมดาสามัญทั่วไป
ส่วนเรื่องสามีแม่นาก มีถกเถียงกันเยอะเลย แต่เก่าที่สุดที่เราเคยหามา
ชื่อ ชุ่ม สมัยนั้นเขาคงไม่น่าจะเรียก นาง,นาย นะคะ แต่จะเรียก อี,อ้าย แทน เช่น
หญิงแต่งงานมีสามีเรียก อำแดง อำแดงนาง อ้ายชุ่ม หรือเคารพหน่อย แม่นาก แม่หญิง แม่แก้ว พ่อขวัญ พ่อทอง แต่จะเรียกอ้ายก็ได้มั้ง อะไรก็ว่าไป (ถ้าผิดขออภัยด้วยนะคะ )
อ้ายชุ่ม(นายชุ่ม) หรือชุ่มทศกรรณ์ (ทศกัณฐ์ ) นักแสดงโขนหลวง แสดงบทยักษ์ทศกัณฐ์ซึ่งสมัยนั้นการแสดงแบบนี้ถือว่าเป็นการแสดงชั้นสูงมากช่วง ร.1-2
ฉะนั้นอ้ายชุ่มหรือนายชุ่มจึงเป็นคนที่มีฐานะร่ำรวยเป็นเศรษฐี ซึ่งแม่นากเองที่เป็นลูกสาวนายอำเภอของเขตพระโขนงก็น่าจะเป็นคนใหญ่คนโต มีบ่าวไพร่คอยรับใช้
สมัยนั้นถ้าคนสามัญธรรมดา ผู้ชายจะเป็นไพร่ สม ส่วย หรือไพร่หลวง ถ้าหากไม่ใช่ทาสรับใช้ของผู้เป็นนาย ต้องเข้ากรมทำงานเดือนออกเดือน แต่ใช่ว่าผู้หญิงจะเอาแต่อยู่บนเรือนเหมือนในละครนะ
มันต้องทำอย่างอื่นบ้าง จะอยู่ทำกับข้าวแต่บนเรือนบนบ้านอย่าเดียวไม่ด๊าย!
และตอนจบของแม่นาก ถ้ารู้ๆ กันอยู่ก็ แม่นากท้องแก่ตาย รอบสามีนายมากกลับจากการไปรบที่บางกอก ถ้าดูในหนังเหมือนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนปลายเสียส่วนใหญ่
อ่า ต่อ แม่นากแท้งลูกตาย > กลายเป็นผี >รอสามีกลับบ้าน ใจโหยหารอคอย > มากกลับบ้าน > นายมากไม่รู้ว่าเมียตาย > ชาวบ้านพยายามบอกจนรู้ความจริง > แม่นากไปเกิด จบ.
ถ้าเอาตาม นาก-ชุ่ม
สองคนนี้อยู่กินกันมาเรื่อยๆ จนลูกโตหมดมีทั้งชาย-หญิง แม่นากคลอดลูกตายคนสุดท้าย สามีแม่นาก ชุ่ม นำศพภรรยาทำพิธีกรรมตามศาสนาอะไรก็ว่าไป นำไปฝังที่วัดมหาบุศย์
ลูกคนแรกของนาก-ชุ่ม ชื่อ แบน ซึ่งบวชเป็นพระ และในบรรดาเหล่าพี่น้องทั้งหลายที่เหลือต่างหวงสมบัติของพ่อ กลัวว่าถ้าพ่อมีเมียใหญ่จะเอาสมบัติทั้งหมดให้เมียแทน
กระนั้นจึงรวมหัวกันแกล้งเป็นผีแม่ตนเองมาหลอกหลอน ใครก็ตามที่มายุ่งกับพ่อหรือหญิงอื่นจนไม่มีใครกล้าเข้าหา ถ้าเป็นเมื่อก่อนชุ่มเป็นคนมีชื่อเสียงแวดวงโขน จึงมีสาวๆ รายล้อมก็ไม่แปลก (เหมือนดารานั่นแหล่ะ )
สุดท้ายแล้วก็ถูกจับได้ว่าเป็นแค่ผีปลอมๆ มาหงอกคนเพราะหวงสมบัติของพ่อตนเอง ทว่าเรื่องราวก็แพร่กระจายออกไป เอาไปแต่งเติมบ้าง ใส่ไข่บ้าง
จนมาเป็นเรื่องอย่างที่เราได้ยินได้รู้กันถึงทุกวันนี้ .
จะว่าไปแล้วก็แอบสงสารแม่นากอยู่นะคะ ลูกแกล้งเป็นผีแม่ตัวเอง ทั้งๆ ที่ตัวเองถึงแม้จะตายไปแล้วไม่ใช่ผีร้ายประการใด จนคนเอาไปจำเป็นปีศาจร้ายหลอกหลอนเสียแทน ถ้าสมัยนั้นหลอกคนเป็นตุเป็นตะ คงด่าพวกแล้ว หาหลอกผู้คนไปทั่ว หรือไม่ก็แค่ตกใจไม่คิดว่าจะเป็นแบบนี้
เขียนยาวไปไหมนะ? แต่ก็นั่นแหล่ะค่ะ แค่สงสัยว่าทำไมถึงไม่เปลี่ยนพล็อตสักที เราเองก็โตมากับหนัง ละคร แม่นาคพระโขนงเหมือนกัน ไม่รู้ว่าอนาคตจะเล่าแม่นาคไปทิศทางแบบไหนอีกบ้าง
หรือกลัวคนหมดศรัทธาย่านาค
หรือในอนาคตข้างหน้าจะมีหนังแม่นาคไซเบอร์พังค์?
ทำไมถึงไม่นำประวัติฯ แม่นากจริงๆ มาสร้างภาพยนต์ ?
ปีก่อนก็ไอ้แดง ปีนี้มาตั้งสองเรื่อง ทิดน้อย กับนางนาคสะใภ้พระโขนง ก็ยังคงพล็อตเดิมเพิ่มเติมใส่ไข่คือตีความใหม่ พร้อมแคปชั่น "ตำนานที่ไม่เคยถูกเล่า"
แต่แล้วสุดท้ายก็ตายท้องกลมทั้งกลมอะไรนั่น ไม่ได้อยู่กับผัวอยู่ดี
อ่าทีนี้มาเข้าเรื่องประวัติฯ กันต่อ
ที่เราถามว่าทำไมเขาถึงไม่นำอีกประวัติฯ หนึ่งของแม่นากมาสร้างให้มันหลุดพ้นจากพล็อตเดิมๆ บ้างน่ะค่ะ หรือว่าถ้านำมาสร้างแล้วคนจะหมดศรัทธาย่านาก
ณ ทุ่งพระโขนง ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น 1-3 รัชกาลพระเจ้าอยู่หัว
พ่อขุนศรีและภรรยาบิดา มารดา ทั้งสองคน ซึ่งพ่อขุนศรีนั้นคือบิดาของแม่นาก (ก.ไก่ลงท้าย)
พ่อขุนศรีเป็นนายอำเภอของพระโขนงซึ่งเป็นย่านใหญ่ ไม่ใช่ย่านหรือหมู่บ้านร้างๆ จนๆ การที่คนเราจะเป็นคนคุมเขตย่านนั้นๆ ในสมัยโบราณก็คือรวยมีเงินทองไม่ใช่คนธรรมดาสามัญทั่วไป
ส่วนเรื่องสามีแม่นาก มีถกเถียงกันเยอะเลย แต่เก่าที่สุดที่เราเคยหามา
ชื่อ ชุ่ม สมัยนั้นเขาคงไม่น่าจะเรียก นาง,นาย นะคะ แต่จะเรียก อี,อ้าย แทน เช่น
หญิงแต่งงานมีสามีเรียก อำแดง อำแดงนาง อ้ายชุ่ม หรือเคารพหน่อย แม่นาก แม่หญิง แม่แก้ว พ่อขวัญ พ่อทอง แต่จะเรียกอ้ายก็ได้มั้ง อะไรก็ว่าไป (ถ้าผิดขออภัยด้วยนะคะ )
อ้ายชุ่ม(นายชุ่ม) หรือชุ่มทศกรรณ์ (ทศกัณฐ์ ) นักแสดงโขนหลวง แสดงบทยักษ์ทศกัณฐ์ซึ่งสมัยนั้นการแสดงแบบนี้ถือว่าเป็นการแสดงชั้นสูงมากช่วง ร.1-2
ฉะนั้นอ้ายชุ่มหรือนายชุ่มจึงเป็นคนที่มีฐานะร่ำรวยเป็นเศรษฐี ซึ่งแม่นากเองที่เป็นลูกสาวนายอำเภอของเขตพระโขนงก็น่าจะเป็นคนใหญ่คนโต มีบ่าวไพร่คอยรับใช้
สมัยนั้นถ้าคนสามัญธรรมดา ผู้ชายจะเป็นไพร่ สม ส่วย หรือไพร่หลวง ถ้าหากไม่ใช่ทาสรับใช้ของผู้เป็นนาย ต้องเข้ากรมทำงานเดือนออกเดือน แต่ใช่ว่าผู้หญิงจะเอาแต่อยู่บนเรือนเหมือนในละครนะ
มันต้องทำอย่างอื่นบ้าง จะอยู่ทำกับข้าวแต่บนเรือนบนบ้านอย่าเดียวไม่ด๊าย!
และตอนจบของแม่นาก ถ้ารู้ๆ กันอยู่ก็ แม่นากท้องแก่ตาย รอบสามีนายมากกลับจากการไปรบที่บางกอก ถ้าดูในหนังเหมือนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนปลายเสียส่วนใหญ่
อ่า ต่อ แม่นากแท้งลูกตาย > กลายเป็นผี >รอสามีกลับบ้าน ใจโหยหารอคอย > มากกลับบ้าน > นายมากไม่รู้ว่าเมียตาย > ชาวบ้านพยายามบอกจนรู้ความจริง > แม่นากไปเกิด จบ.
ถ้าเอาตาม นาก-ชุ่ม
สองคนนี้อยู่กินกันมาเรื่อยๆ จนลูกโตหมดมีทั้งชาย-หญิง แม่นากคลอดลูกตายคนสุดท้าย สามีแม่นาก ชุ่ม นำศพภรรยาทำพิธีกรรมตามศาสนาอะไรก็ว่าไป นำไปฝังที่วัดมหาบุศย์
ลูกคนแรกของนาก-ชุ่ม ชื่อ แบน ซึ่งบวชเป็นพระ และในบรรดาเหล่าพี่น้องทั้งหลายที่เหลือต่างหวงสมบัติของพ่อ กลัวว่าถ้าพ่อมีเมียใหญ่จะเอาสมบัติทั้งหมดให้เมียแทน
กระนั้นจึงรวมหัวกันแกล้งเป็นผีแม่ตนเองมาหลอกหลอน ใครก็ตามที่มายุ่งกับพ่อหรือหญิงอื่นจนไม่มีใครกล้าเข้าหา ถ้าเป็นเมื่อก่อนชุ่มเป็นคนมีชื่อเสียงแวดวงโขน จึงมีสาวๆ รายล้อมก็ไม่แปลก (เหมือนดารานั่นแหล่ะ )
สุดท้ายแล้วก็ถูกจับได้ว่าเป็นแค่ผีปลอมๆ มาหงอกคนเพราะหวงสมบัติของพ่อตนเอง ทว่าเรื่องราวก็แพร่กระจายออกไป เอาไปแต่งเติมบ้าง ใส่ไข่บ้าง
จนมาเป็นเรื่องอย่างที่เราได้ยินได้รู้กันถึงทุกวันนี้ .
จะว่าไปแล้วก็แอบสงสารแม่นากอยู่นะคะ ลูกแกล้งเป็นผีแม่ตัวเอง ทั้งๆ ที่ตัวเองถึงแม้จะตายไปแล้วไม่ใช่ผีร้ายประการใด จนคนเอาไปจำเป็นปีศาจร้ายหลอกหลอนเสียแทน ถ้าสมัยนั้นหลอกคนเป็นตุเป็นตะ คงด่าพวกแล้ว หาหลอกผู้คนไปทั่ว หรือไม่ก็แค่ตกใจไม่คิดว่าจะเป็นแบบนี้
เขียนยาวไปไหมนะ? แต่ก็นั่นแหล่ะค่ะ แค่สงสัยว่าทำไมถึงไม่เปลี่ยนพล็อตสักที เราเองก็โตมากับหนัง ละคร แม่นาคพระโขนงเหมือนกัน ไม่รู้ว่าอนาคตจะเล่าแม่นาคไปทิศทางแบบไหนอีกบ้าง
หรือกลัวคนหมดศรัทธาย่านาค
หรือในอนาคตข้างหน้าจะมีหนังแม่นาคไซเบอร์พังค์?