วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๗๖
รถไฟจาก Genoa ในประเทศอิตาลี่ได้พาครอบครัวเล็กๆเดินทางมาถึงยังสถานี Lausanne
การเริ่มต้นใช้ชีวิตแบบสามัญชนอย่างเรียบง่ายของเจ้านายเล็กๆราชสกุลมหิดลได้เริ่มต้นขึ้น ณ เมืองที่โอบล้อมด้วยทะเลสาบและภูเขาอันแสนงดงาม นับตั้งแต่วันนั้น …
บ้านหลังใหม่
หากไม่นับโรงแรม Windsor และบ้านเลี้ยงเด็กชองโซเลย์ อันเป็นที่พำนักชั่วคราว
แฟลตเลขที่ ๑๖ ถนนทิสโซ่ต์ คือบ้านหลังแรก ของครอบครัวมหิดล
“แฟลตที่แม่เช่าไว้อยู่เลขที่ ๑๖ ถนนทิสโซ่ต์ อยู่ไม่ไกลจากใจกลางเมือง เดินสัก ๑๕ นาทีก็ถึงแต่ก็เงียบดี เป็นตึกใหญ่ที่มีแฟลตหลายชุด แม่เช่าแฟลตชั้นหนึ่งอยู่ที่ชั้นล่างเพราะเกรงว่าลูกอาจรบกวนคนที่พักอยู่ข้างใต้ด้วยการวิ่งหรือกระโดด ใต้แฟลตของเรายังมีโรงรถอีก….แฟลตนี้มีเฉลียงยาว ถ้าอากาศดีเราชอบอยู่ที่เฉลียงนี้กันโดยเฉพาะน้องสองคน”
“แม่ซื้อจักรยานใช้แล้วให้ข้าพเจ้าคันหนึ่ง และจักรยานเด็กให้น้องๆหนึ่งคัน แม่เขียนถึงสมเด็จย่าว่าข้าพเจ้าหัดให้พระองค์ชาย หัดสักสิบห้านาทีก็ถีบได้ แล้วพระองค์ชายก็ไปช่วยจับให้น้อง และพระองค์เล็กก็ถีบได้บ้างนิดหน่อย”
การเดินทาง ไป แฟลตเลขที่ 16
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้»»»การเดินทาง ออกจากหน้าสถานีรถไฟ Lausanne แล้วเดินมาทางขวา จนถึง Avenue d’Ouchy แล้วเลี้ยวขวาลงไปในทิศที่มองเห็นทะละสาบ จากนั้นจะเจอถนน Avenue Auguste-Tissot อยู่ซ้ายมือ ให้เดินตามถนนขึ้นไปจนถึงแฟลตเลขที่ ๑๖ ซึ่งจะอยู่ทางขวามือที่สุดถนน หรือถ้าจะนั่งรถเมลล์ ให้ลงป้ายที่ชื่อว่า Lausanne, Alpes
ไปรษณียบัตรจากโลซานน์
ภาพไปรษณียบัตรใบเก่าที่มีพระราชหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ซึ่งทรงเขียนถึงสมเด็จย่า (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ที่มีข้อความอันน่ารักว่า เล็กคิดถึงมาก ลงพระนามว่า ภูมิพล คง เป็นภาพที่คนไทยทุกคนคงคุ้นเคยกันดี
ลายพระหัตถ์เมื่อทรงพระเยาว์ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม
ส่วนภาพด้านหลังไปรษณียบัตร หลายคนอาจจะไม่รู้หรือนึกไม่ออกว่าเป็นภาพอะไร
ภาพที่พระองค์เล็กเลือกถวายสมเด็จย่า คือทัศนียภาพของ ทะเลสาบ lac Léman (หรือทะเลสาบ Geneva) บริเวณ Ouchy ท่าเรือของ Lausanne
ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บริเวณอ่าว คือโรงแรม Beau-Rivage Palace กับ Château d’Ouchy
รายล้อมด้วยบรรยากาศอันแสนสงบสวยงามของเรือใบและฝูงหงส์
บรรยากาศเมื่อ แปดสิบปีก่อนเป็นอย่างไร วันนี้ก็ยังคงเป็นอย่างนั้น
เบื้องหลังของ ไปรษณียบัตรแผ่นนี้ มีบันทึกในหนังสือ เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์ ว่า
“เมื่อไปอยู่ชองโซเลย์แล้วข้าพเจ้าทำหน้าที่ต่อจากแม่ให้น้องๆเขียนจดหมายถวายสมเด็จย่า ไปรษณียบัตรของพระองค์เล็ก วันที่นั้นควรเป็นวันที่ ๑๕ มิถุนายน ไม่ใช่วันที่ ๑๕ พฤษภาคม เราทั้งสามคนได้มีจดหมายหรือไปรษณียบัตรถวายสมเด็จย่าและผิดกันทั้งสามคน เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บอกหรือเขียนวันที่ ในจดหมายฉบับต่อไปลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ข้าพเจ้าก็กราบทูลสมเด็จย่าถึงความผิดพลาดนี้”
ส่วนไปรษณียบัตรฉบับแรกที่พระองค์เล็กทรงเขียนถึงสมเด็จย่า(สมเด็จพระพันวัสสา)เมื่อเดินทางมาถึง Lausanne โดยมีลายพระหัตถ์ของสมสมเด็จย่าเขียนพระนามและที่อยู่ของผู้รับให้ นั้นเป็นภาพมุมสูงของ เมือง Lausanne และทะเลสาบ Léman
ลายพระหัตถ์มีเพียงแค่พระนาม “ภูมิพล”
การเดินทาง มาชมทะเลสาบ ที่ Ouchy
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้»»»การเดินทางมาชมความงามของ ทะเลสาบ Léman
นั่งรถ Metro สาย2 จากLausanne – Gare (เดินข้ามถนนออกจากสถานีรถไฟ Lausanne) แล้วขึ้นรถ Metro ทีวิ่งมาทางฝั่งทะเลสาบ สุดทางที่สถานี Ouchy เมื่อเดินออกมาข้ามถนนก็จะถึงบริเวณท่าเรือและที่เดินเล่นเลียบทะเลสาบเลย
หิมะในเดือนพฤษภาคม
เมื่อหิมะในฤดูหนาวเริ่มละลาย หน่อเล็กๆของดอกไม้ที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ผืนดินก็ได้เวลาผลิบานออกมาสัมผัสกับอากาศที่อุ่นขึ้น ฤดูใบไม้ผลิกำลังมาถึง
Montreuxriviera มีชื่อเสียงมาช้านานในเรื่องของทุ่งดอกไม้ป่าที่ชื่อว่า Narcissus …ดอกสีขาวหอมอบอวลจะผลิบานรอบภูเขา ทำให้ที่นี่ได้รับสมญานามว่า หิมะแห่งเดือนพฤษภา (May Snow)
เดือนพฤษภาคม ๒๔๗๗ ขึ้นรถไฟไปเก็บดอกนาร์ซิสซัส (Narcissus) ที่ภูเขาไม่ไกลจากโลซานน์นัก แม่เขียนถึงสมเด็จย่าเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๔๗๗ ว่า
“ลูกๆและหม่อมฉันเก็บกันมามากจนไม่มีที่จะใส่และหอมอบบ้านไปหมด ต้องทิ้งไว้ข้างนอก เวลาเก็บอย่างดอกตูมทีเดียวแล้วก็บานทีหลัง แต่เล็กไม่ใคร่จะเก็บดอกตูม เก็บบานๆโดยมาก เห็นจะกลัวไม่บาน วันนั้นสนุกกันมาก เพราะได้ขึ้นรถไฟ และรถขึ้นเขาด้วย…”
ระหว่างที่อยู่ที่ Les Pléiades พระองค์เล็กได้วาดรูปภูเขาที่เห็นได้ชัดจากที่นั่นส่งไปให้แม่ทางไปรษณีย์ ภูเขาลูกนั้นชื่อ Rochers de Naye ซึ่งแปลว่า “โขดหินเนย์” เนย์ไม่มีความหมาย เป็นเพียงชื่อ แต่พระองค์เล็กบรรยายภาพว่า Rochers de Nes ซึ่งออกเสียงเหมือนกันแต่แปลว่า “โขดหินจมูก”
การเดินทางไปเที่ยวเขา Les Pléiades
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้»»»การเดินทาง รถไฟขึ้นเขา Les Pléiades จะวิ่งออกจากสถานีรถไฟ Vevey ไปสุดปลายทางสถานี Les Pléiades ทุกๆชั่วโมง สามารถเดินเล่นลงมาจากยอดเขา มาที่สถานีถัดลงมา เช่น สถานี Lally
ได้เวลาเปิดเทอม
ปลายเดือนสิงหาคม ๒๔๗๘ “เด็กๆ” กลับจากภูเขากันหมด พอถึงเดือนกันยายนทุกคนก็ได้เปลี่ยนโรงเรียน พระเจ้าอยู่หัวและพระอนุชาเสด็จเข้าโรงเรียนราษฎร์ “Ecole Nouvelle de la Suisse Romande” ซึ่งแปลว่า “โรงเรียนใหม่แห่งภาคสวิตเซอร์แลนด์ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส”
“การศึกษาในโรงเรียนไม่เป็นสิ่งที่เพียงพอให้เด็กโตขึ้นเป็นคนดี ครอบครัว ตั้งแต่พ่อแม่ จนถึงพี่น้องกันเองมีส่วนสำคัญ เราสามคนเป็นกำพร้าพ่อมาตั้งแต่เล็กๆ ภาระของแม่จึงหนักมาก ต้องเป็นทั้งพ่อทั้งแม่ซึ่งแม่ก็ทำหน้าที่นี้มาอย่างเข้มแข็ง …”
การเดินทาง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โรงเรียน Ecole Nouvelle จะอยู่ใกล้กับป้ายรถเมลล์เล็กในซอยชื่อป้าย Lausanne, Rozavère โดยต้องนั่งรถบัสมาลงที่ Le Foyer ก่อนแล้วต่อรถมินิบัสสาย 42 ลงไป หรือจะเดินจากป้าย Le Foyer ลงมาตามถนนในซอย Chemin de Rovéréaz จนถึงโรงเรียนก็ได้
ครูส่วนพระองค์
ภาพชายร่างสูงโย่งที่ฉายคู่กับในหลวงสองพระองค์นั้น เราพอจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นคุณครูส่วนพระองค์ของเจ้านายเล็กๆทั้งสอง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงความผูกพันของคุณครูเชื้อสายกรีกผู้มีชื่อว่า เกลย์อง เซไรดารีส ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙
มิตรภาพระหว่างเจ้าฟ้ายุวกษัตริย์ของไทย กับชายผู้ทุ่มเทให้กับการทำหน้าที่ครูพิเศษท่านนี้มีอะไรที่น่าจดจำมากกว่าแค่ ครูที่ได้รับการว่าจ้างให้ดูแลเจ้านายไทยสองพระองค์ในเรื่องการศึกษา
ครูเกลย์องเป็นผู้ที่คอยช่วยแนะนำเรื่องต่างๆให้แก่ครอบครัวราชสกุลมหิดล และทำหน้าที่นี้อย่างดีตลอดมาจวบจนวาระที่ท่านเกษียณจากความเป็นครู
ภาระกิจแรก หาบ้านพักที่เหมาะสม
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงขึ้นครองราชย์ และครอบครัวที่เคยอาศัยในแฟลตธรรมดา มีความจำเป็นต้องย้ายที่พำนักเพื่อให้สมพระเกียรติ ครูเกลย์องได้แนะนำวิลล่าวัฒนา ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Pully ทางทิศตะวันออกไม่ไกลจาก Lausanne นัก ให้กับครอบครัวมหิดล อันเป็นบ้านพักที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตของครอบครัวเจ้านายเล็กๆ
ภารกิจถัดมา หาโรงเรียนที่ดี
เรื่องการศึกษา …..ครูเกลย์อง ในฐานะศิษย์เก่า ยังคงมีความประทับใจคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน Ecole Nouvelle ที่ตนเองเคยศึกษา จึงได้เสนอโรงเรียนแห่งนี้แก่เจ้านายเล็กๆทั้งสองพระองค์ ซึ่งสมเด็จพระราชชนนีทรงดำเนินการให้พระองค์ชายและพระองค์เล็กได้เข้าเรียนโรงเรียนนี้ตามที่คุณครูแนะนำทันที
ค่ายพลานามัยและกีฬาในฤดูหนาว
นอกจากด้านการศึกษาแล้ว สิ่งที่สมเด็จย่าทรงให้ความสำคัญคือ สุขภาพพลานามัยของเจ้านายเล็กๆ ดังจะเห็นได้จากกิจกรรมเข้าค่าย ในฤดูร้อน และการออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬาฤดูหนาวเกือบทุกชนิด
“การที่เราทุกคนแข็งแรงขึ้นมาได้ ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะได้ขึ้นไปอยู่บนภูเขาทุกหน้าร้อนหน้าหนาว โดยเฉพาะแพทย์ของเราเคยบอกแม่ว่า อากาศที่ภูเขาหน้าหนาวดีกว่าหน้าร้อนสักสามเท่าได้”
ภรรยาของเจ้าของโรงเรียนเมียร์มองต์มีบ้านที่รับเด็กได้ประมาณ ๒๐ คน เวลาโรงเรียนหยุด ชื่อมองต์จัว (Montjoie) เวลาอื่นเด็กก็ไปอยู่ได้ เพราะเขามีครูสอนหนังสือให้ด้วย โรงเรียนนี้อยู่ที่วิลลาร์ส์(Villars) ซึ่งเป็นภูเขาสูง ๑,๓๐๐ เมตรเหนือน้ำทะเล เขาจึงชักชวนให้แม่ส่งลูกๆไประหว่างโรงเรียนปิดหน้าหนาว หมอก็แนะนำอย่างมาก
บ้านพักฤดูหนาว ที่ทรงหัดสกีแห่งแรกอยู่ที่ Villar-sur-Ollon ชื่อว่า Montjoie
มีต่อ
[CR] Unseen Switzerland ตอน ตามรอยแผ่นดินวัยเยาว์ฉบับสมบูรณ์
รถไฟจาก Genoa ในประเทศอิตาลี่ได้พาครอบครัวเล็กๆเดินทางมาถึงยังสถานี Lausanne
การเริ่มต้นใช้ชีวิตแบบสามัญชนอย่างเรียบง่ายของเจ้านายเล็กๆราชสกุลมหิดลได้เริ่มต้นขึ้น ณ เมืองที่โอบล้อมด้วยทะเลสาบและภูเขาอันแสนงดงาม นับตั้งแต่วันนั้น …
หากไม่นับโรงแรม Windsor และบ้านเลี้ยงเด็กชองโซเลย์ อันเป็นที่พำนักชั่วคราว
แฟลตเลขที่ ๑๖ ถนนทิสโซ่ต์ คือบ้านหลังแรก ของครอบครัวมหิดล
“แฟลตที่แม่เช่าไว้อยู่เลขที่ ๑๖ ถนนทิสโซ่ต์ อยู่ไม่ไกลจากใจกลางเมือง เดินสัก ๑๕ นาทีก็ถึงแต่ก็เงียบดี เป็นตึกใหญ่ที่มีแฟลตหลายชุด แม่เช่าแฟลตชั้นหนึ่งอยู่ที่ชั้นล่างเพราะเกรงว่าลูกอาจรบกวนคนที่พักอยู่ข้างใต้ด้วยการวิ่งหรือกระโดด ใต้แฟลตของเรายังมีโรงรถอีก….แฟลตนี้มีเฉลียงยาว ถ้าอากาศดีเราชอบอยู่ที่เฉลียงนี้กันโดยเฉพาะน้องสองคน”
“แม่ซื้อจักรยานใช้แล้วให้ข้าพเจ้าคันหนึ่ง และจักรยานเด็กให้น้องๆหนึ่งคัน แม่เขียนถึงสมเด็จย่าว่าข้าพเจ้าหัดให้พระองค์ชาย หัดสักสิบห้านาทีก็ถีบได้ แล้วพระองค์ชายก็ไปช่วยจับให้น้อง และพระองค์เล็กก็ถีบได้บ้างนิดหน่อย”
การเดินทาง ไป แฟลตเลขที่ 16[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภาพไปรษณียบัตรใบเก่าที่มีพระราชหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ซึ่งทรงเขียนถึงสมเด็จย่า (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ที่มีข้อความอันน่ารักว่า เล็กคิดถึงมาก ลงพระนามว่า ภูมิพล คง เป็นภาพที่คนไทยทุกคนคงคุ้นเคยกันดี
ลายพระหัตถ์เมื่อทรงพระเยาว์ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม
ส่วนภาพด้านหลังไปรษณียบัตร หลายคนอาจจะไม่รู้หรือนึกไม่ออกว่าเป็นภาพอะไร
ภาพที่พระองค์เล็กเลือกถวายสมเด็จย่า คือทัศนียภาพของ ทะเลสาบ lac Léman (หรือทะเลสาบ Geneva) บริเวณ Ouchy ท่าเรือของ Lausanne
ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บริเวณอ่าว คือโรงแรม Beau-Rivage Palace กับ Château d’Ouchy รายล้อมด้วยบรรยากาศอันแสนสงบสวยงามของเรือใบและฝูงหงส์
บรรยากาศเมื่อ แปดสิบปีก่อนเป็นอย่างไร วันนี้ก็ยังคงเป็นอย่างนั้น
เบื้องหลังของ ไปรษณียบัตรแผ่นนี้ มีบันทึกในหนังสือ เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์ ว่า
“เมื่อไปอยู่ชองโซเลย์แล้วข้าพเจ้าทำหน้าที่ต่อจากแม่ให้น้องๆเขียนจดหมายถวายสมเด็จย่า ไปรษณียบัตรของพระองค์เล็ก วันที่นั้นควรเป็นวันที่ ๑๕ มิถุนายน ไม่ใช่วันที่ ๑๕ พฤษภาคม เราทั้งสามคนได้มีจดหมายหรือไปรษณียบัตรถวายสมเด็จย่าและผิดกันทั้งสามคน เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บอกหรือเขียนวันที่ ในจดหมายฉบับต่อไปลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ข้าพเจ้าก็กราบทูลสมเด็จย่าถึงความผิดพลาดนี้”
ส่วนไปรษณียบัตรฉบับแรกที่พระองค์เล็กทรงเขียนถึงสมเด็จย่า(สมเด็จพระพันวัสสา)เมื่อเดินทางมาถึง Lausanne โดยมีลายพระหัตถ์ของสมสมเด็จย่าเขียนพระนามและที่อยู่ของผู้รับให้ นั้นเป็นภาพมุมสูงของ เมือง Lausanne และทะเลสาบ Léman
ลายพระหัตถ์มีเพียงแค่พระนาม “ภูมิพล”
การเดินทาง มาชมทะเลสาบ ที่ Ouchy [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เมื่อหิมะในฤดูหนาวเริ่มละลาย หน่อเล็กๆของดอกไม้ที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ผืนดินก็ได้เวลาผลิบานออกมาสัมผัสกับอากาศที่อุ่นขึ้น ฤดูใบไม้ผลิกำลังมาถึง
Montreuxriviera มีชื่อเสียงมาช้านานในเรื่องของทุ่งดอกไม้ป่าที่ชื่อว่า Narcissus …ดอกสีขาวหอมอบอวลจะผลิบานรอบภูเขา ทำให้ที่นี่ได้รับสมญานามว่า หิมะแห่งเดือนพฤษภา (May Snow)
เดือนพฤษภาคม ๒๔๗๗ ขึ้นรถไฟไปเก็บดอกนาร์ซิสซัส (Narcissus) ที่ภูเขาไม่ไกลจากโลซานน์นัก แม่เขียนถึงสมเด็จย่าเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๔๗๗ ว่า
“ลูกๆและหม่อมฉันเก็บกันมามากจนไม่มีที่จะใส่และหอมอบบ้านไปหมด ต้องทิ้งไว้ข้างนอก เวลาเก็บอย่างดอกตูมทีเดียวแล้วก็บานทีหลัง แต่เล็กไม่ใคร่จะเก็บดอกตูม เก็บบานๆโดยมาก เห็นจะกลัวไม่บาน วันนั้นสนุกกันมาก เพราะได้ขึ้นรถไฟ และรถขึ้นเขาด้วย…”
ระหว่างที่อยู่ที่ Les Pléiades พระองค์เล็กได้วาดรูปภูเขาที่เห็นได้ชัดจากที่นั่นส่งไปให้แม่ทางไปรษณีย์ ภูเขาลูกนั้นชื่อ Rochers de Naye ซึ่งแปลว่า “โขดหินเนย์” เนย์ไม่มีความหมาย เป็นเพียงชื่อ แต่พระองค์เล็กบรรยายภาพว่า Rochers de Nes ซึ่งออกเสียงเหมือนกันแต่แปลว่า “โขดหินจมูก”
การเดินทางไปเที่ยวเขา Les Pléiades [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ปลายเดือนสิงหาคม ๒๔๗๘ “เด็กๆ” กลับจากภูเขากันหมด พอถึงเดือนกันยายนทุกคนก็ได้เปลี่ยนโรงเรียน พระเจ้าอยู่หัวและพระอนุชาเสด็จเข้าโรงเรียนราษฎร์ “Ecole Nouvelle de la Suisse Romande” ซึ่งแปลว่า “โรงเรียนใหม่แห่งภาคสวิตเซอร์แลนด์ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส”
“การศึกษาในโรงเรียนไม่เป็นสิ่งที่เพียงพอให้เด็กโตขึ้นเป็นคนดี ครอบครัว ตั้งแต่พ่อแม่ จนถึงพี่น้องกันเองมีส่วนสำคัญ เราสามคนเป็นกำพร้าพ่อมาตั้งแต่เล็กๆ ภาระของแม่จึงหนักมาก ต้องเป็นทั้งพ่อทั้งแม่ซึ่งแม่ก็ทำหน้าที่นี้มาอย่างเข้มแข็ง …”
การเดินทาง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภาพชายร่างสูงโย่งที่ฉายคู่กับในหลวงสองพระองค์นั้น เราพอจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นคุณครูส่วนพระองค์ของเจ้านายเล็กๆทั้งสอง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงความผูกพันของคุณครูเชื้อสายกรีกผู้มีชื่อว่า เกลย์อง เซไรดารีส ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙
มิตรภาพระหว่างเจ้าฟ้ายุวกษัตริย์ของไทย กับชายผู้ทุ่มเทให้กับการทำหน้าที่ครูพิเศษท่านนี้มีอะไรที่น่าจดจำมากกว่าแค่ ครูที่ได้รับการว่าจ้างให้ดูแลเจ้านายไทยสองพระองค์ในเรื่องการศึกษา
ครูเกลย์องเป็นผู้ที่คอยช่วยแนะนำเรื่องต่างๆให้แก่ครอบครัวราชสกุลมหิดล และทำหน้าที่นี้อย่างดีตลอดมาจวบจนวาระที่ท่านเกษียณจากความเป็นครู
ภาระกิจแรก หาบ้านพักที่เหมาะสม
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงขึ้นครองราชย์ และครอบครัวที่เคยอาศัยในแฟลตธรรมดา มีความจำเป็นต้องย้ายที่พำนักเพื่อให้สมพระเกียรติ ครูเกลย์องได้แนะนำวิลล่าวัฒนา ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Pully ทางทิศตะวันออกไม่ไกลจาก Lausanne นัก ให้กับครอบครัวมหิดล อันเป็นบ้านพักที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตของครอบครัวเจ้านายเล็กๆ
ภารกิจถัดมา หาโรงเรียนที่ดี
เรื่องการศึกษา …..ครูเกลย์อง ในฐานะศิษย์เก่า ยังคงมีความประทับใจคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน Ecole Nouvelle ที่ตนเองเคยศึกษา จึงได้เสนอโรงเรียนแห่งนี้แก่เจ้านายเล็กๆทั้งสองพระองค์ ซึ่งสมเด็จพระราชชนนีทรงดำเนินการให้พระองค์ชายและพระองค์เล็กได้เข้าเรียนโรงเรียนนี้ตามที่คุณครูแนะนำทันที
ค่ายพลานามัยและกีฬาในฤดูหนาว
นอกจากด้านการศึกษาแล้ว สิ่งที่สมเด็จย่าทรงให้ความสำคัญคือ สุขภาพพลานามัยของเจ้านายเล็กๆ ดังจะเห็นได้จากกิจกรรมเข้าค่าย ในฤดูร้อน และการออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬาฤดูหนาวเกือบทุกชนิด
“การที่เราทุกคนแข็งแรงขึ้นมาได้ ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะได้ขึ้นไปอยู่บนภูเขาทุกหน้าร้อนหน้าหนาว โดยเฉพาะแพทย์ของเราเคยบอกแม่ว่า อากาศที่ภูเขาหน้าหนาวดีกว่าหน้าร้อนสักสามเท่าได้”
ภรรยาของเจ้าของโรงเรียนเมียร์มองต์มีบ้านที่รับเด็กได้ประมาณ ๒๐ คน เวลาโรงเรียนหยุด ชื่อมองต์จัว (Montjoie) เวลาอื่นเด็กก็ไปอยู่ได้ เพราะเขามีครูสอนหนังสือให้ด้วย โรงเรียนนี้อยู่ที่วิลลาร์ส์(Villars) ซึ่งเป็นภูเขาสูง ๑,๓๐๐ เมตรเหนือน้ำทะเล เขาจึงชักชวนให้แม่ส่งลูกๆไประหว่างโรงเรียนปิดหน้าหนาว หมอก็แนะนำอย่างมาก
บ้านพักฤดูหนาว ที่ทรงหัดสกีแห่งแรกอยู่ที่ Villar-sur-Ollon ชื่อว่า Montjoie
มีต่อ