พันโทอานันท์ ชินบุตร ชีวิตเปี่ยมพลัง
พระ ทำให้ผู้คนเข้าใจผิดเรื่องการกรวดน้ำ ไม่ว่าจะด้วยความไม่รู้ ไม่ได้ตั้งใจ หรืออะไรก็ตาม ว่าเป็นการใส่พลัง (ความดีหรืออะไรก็ตาม) ลงไปในน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ เจ้ากรรมนายเวร หรือแผ่ให้ใครก็ตามที่ตายไปแล้วด้วยน้ำนั้น
แท้จริงแล้ว บท ยะถา วาริวะหา คือ "การสอนคนด้วยอุปมา" การอุปมาคือยกตัวอย่างเปรียบเทียบ คำว่ายะถา แปลว่า ดุจเดียวกับ หรือเช่นเดียวกับ
การนำน้ำมาเทลงในภาชนะ เพื่อให้คนเห็นว่า การทำความดี ก็ดุจเดียวกับ น้ำฝนที่ตกบนลำธารแล้วไหลลงแม่น้ำ ไหลลงสู่ทะเลกว้างใหญ่ น้ำนั้นย่อมไหลเพื่อประโยชน์ไปสู่สรรพสิ่งทั้งหลายในทุกมิติ
จากนั้นก็ให้พร ในบทสวดก็จะบอกว่า เมื่อทำความดีแล้ว สิ่งดีๆก็จะเข้าสู่ชีวิต อันเป็นธรรมชาติของการทำความดี คือจะได้รับสิ่งดีๆสี่ประการ อายุ ผิวพรรณ ความสุข/อนามัย พละ/ร่างกายที่แข็งแรงมีเรี่ยวแรง
มันไม่ได้พูดถึงว่า จะส่งให้เจ้ากรรมนายเวร ฉะนั้น พระพุทธเจ้าหรือพระสมัยก่อนนั้น สอนแบบมีตรรกะ เปรียบเทียบสิ่งที่เห็นในธรรมชาติ อย่างมงายเรื่องเจ้ากรรมนายเวร กรรมคือสิ่งที่เรากระทำ เราทำอย่างไรได้รับผลกรรมอย่างนั้น เราหุงข้าวย่อมได้ข้าว เราปลูกมะม่วงย่อมได้มะม่วง เราไม่ดูแลร่างกาย ร่างกายก็เสื่อมโทรม นี่คือ พุทธที่เป็นวิทยาศาสตร์ มันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการล้างแค้น ไล่ล่าข้ามภพข้ามชาติ
ระหว่างที่กรวดน้ำ แล้วพระสอนว่า ให้ทำความดีเหมือนฝนนี้ เราจะได้ไปทำความดี ทุกๆเรื่อง ไม่ใช่เรื่อง หนีเจ้ากรรมนายเวร
พระพุทธเจ้าทรงสอน "กฏแห่งกรรม" แต่พระที่ไม่เข้าใจกำลังสอน "กฎแห่งเจ้ากรรมนายเวร"
****ข้อสรุป****
1. ท่านต้องทำดีทุกขณะเสียก่อน พรนั้นจึงจะเกิดขึ้น ตามหลักแห่ง เหตุต้นและผลลัพธ์ ไม่มีปาฏิหาริย์จากพระรูปใดๆที่จะให้แก่ท่านก่อนได้เลย หากท่านไม่ทำความดีเสียก่อน
2. ศาสนาพุทธ (แท้) ไม่สอนคนเรื่องปาฏิหาริย์ แต่สอนคนให้เป็นผู้เริ่มต้นกระทำเหตุที่ดี เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี นอกเหนือจากนี้แล้ว เป็นเปลือก ไม่ใช่แก่น
3. สาเหตุที่มีการกรวดน้ำในบท ยะถา ก็เพื่อเปรียบเทียบ น้ำฝน ลงสู่ลำธาร ลงสู่มหาสมุทร เป็นเครื่องระลึก เตือนใจ ผู้รับพร ให้ทำความดี ไม่ใช่สร้างน้ำศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาส่งไปให้แก่เจ้ากรรมนายเวรหรือญาติผู้ใหญ่ และวิญญาณอื่นๆ ตามที่กระทำกันอยู่ทุกวันนี้ และหากจะเป็นเช่นนั้น ก็เป็นความสำคัญในลำดับสอง
การกรวดน้ำ “ไม่ใช่เรื่อง” เจ้ากรรมนายเวร มันเป็นเรื่องของ "ฝน"
พระ ทำให้ผู้คนเข้าใจผิดเรื่องการกรวดน้ำ ไม่ว่าจะด้วยความไม่รู้ ไม่ได้ตั้งใจ หรืออะไรก็ตาม ว่าเป็นการใส่พลัง (ความดีหรืออะไรก็ตาม) ลงไปในน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ เจ้ากรรมนายเวร หรือแผ่ให้ใครก็ตามที่ตายไปแล้วด้วยน้ำนั้น
แท้จริงแล้ว บท ยะถา วาริวะหา คือ "การสอนคนด้วยอุปมา" การอุปมาคือยกตัวอย่างเปรียบเทียบ คำว่ายะถา แปลว่า ดุจเดียวกับ หรือเช่นเดียวกับ
การนำน้ำมาเทลงในภาชนะ เพื่อให้คนเห็นว่า การทำความดี ก็ดุจเดียวกับ น้ำฝนที่ตกบนลำธารแล้วไหลลงแม่น้ำ ไหลลงสู่ทะเลกว้างใหญ่ น้ำนั้นย่อมไหลเพื่อประโยชน์ไปสู่สรรพสิ่งทั้งหลายในทุกมิติ
จากนั้นก็ให้พร ในบทสวดก็จะบอกว่า เมื่อทำความดีแล้ว สิ่งดีๆก็จะเข้าสู่ชีวิต อันเป็นธรรมชาติของการทำความดี คือจะได้รับสิ่งดีๆสี่ประการ อายุ ผิวพรรณ ความสุข/อนามัย พละ/ร่างกายที่แข็งแรงมีเรี่ยวแรง
มันไม่ได้พูดถึงว่า จะส่งให้เจ้ากรรมนายเวร ฉะนั้น พระพุทธเจ้าหรือพระสมัยก่อนนั้น สอนแบบมีตรรกะ เปรียบเทียบสิ่งที่เห็นในธรรมชาติ อย่างมงายเรื่องเจ้ากรรมนายเวร กรรมคือสิ่งที่เรากระทำ เราทำอย่างไรได้รับผลกรรมอย่างนั้น เราหุงข้าวย่อมได้ข้าว เราปลูกมะม่วงย่อมได้มะม่วง เราไม่ดูแลร่างกาย ร่างกายก็เสื่อมโทรม นี่คือ พุทธที่เป็นวิทยาศาสตร์ มันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการล้างแค้น ไล่ล่าข้ามภพข้ามชาติ
ระหว่างที่กรวดน้ำ แล้วพระสอนว่า ให้ทำความดีเหมือนฝนนี้ เราจะได้ไปทำความดี ทุกๆเรื่อง ไม่ใช่เรื่อง หนีเจ้ากรรมนายเวร
พระพุทธเจ้าทรงสอน "กฏแห่งกรรม" แต่พระที่ไม่เข้าใจกำลังสอน "กฎแห่งเจ้ากรรมนายเวร"
****ข้อสรุป****
1. ท่านต้องทำดีทุกขณะเสียก่อน พรนั้นจึงจะเกิดขึ้น ตามหลักแห่ง เหตุต้นและผลลัพธ์ ไม่มีปาฏิหาริย์จากพระรูปใดๆที่จะให้แก่ท่านก่อนได้เลย หากท่านไม่ทำความดีเสียก่อน
2. ศาสนาพุทธ (แท้) ไม่สอนคนเรื่องปาฏิหาริย์ แต่สอนคนให้เป็นผู้เริ่มต้นกระทำเหตุที่ดี เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี นอกเหนือจากนี้แล้ว เป็นเปลือก ไม่ใช่แก่น
3. สาเหตุที่มีการกรวดน้ำในบท ยะถา ก็เพื่อเปรียบเทียบ น้ำฝน ลงสู่ลำธาร ลงสู่มหาสมุทร เป็นเครื่องระลึก เตือนใจ ผู้รับพร ให้ทำความดี ไม่ใช่สร้างน้ำศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาส่งไปให้แก่เจ้ากรรมนายเวรหรือญาติผู้ใหญ่ และวิญญาณอื่นๆ ตามที่กระทำกันอยู่ทุกวันนี้ และหากจะเป็นเช่นนั้น ก็เป็นความสำคัญในลำดับสอง