คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ผมเข้าใจว่าจขกท. หมายถึงระบบ 11 -> 12 -> 13 -> .... -> 23 -> 00
แต่ถ้าจะเอาระบบไทยไม่ได้ 24 ชม. จริง
ระบบที่เราใช้อยู่ ล้วนรับมาจากสากล ที่เขาใช้กันอยู่ต่างหาก ก็มาตามนาฬิกาสากลนั่นแหละ มีทั้ง 12 hr ทั้ง 24 hr ไม่ได้กำเนิดในไทย
(ตามประวัติอิยิปต์โบราณ ใช้ระบบนี้ก่อน)
ระบบไทย เป็นยาม ที่ได้ยินเหลือแค่ทางโหาราศาสตร์
เรารับมาจากชมพูทวีปด้วยซ้ำ เราเรียกแขกที่เฝ้าว่า "แขกยาม" เพราะเหตุนี้ เลยรปภ. สมัยก่อน ถึงได้เรียก "ยาม"
กับที่หลงเหลือร่องรอยสอดคล้องกับนาฬิกา คือ ทุ่ม-โมง-ตี เพราะตีกลอง (เสียง ทุ่ม ก็คือเสียงกลอง) เสียงฆ้อง (โมง) และตี (เมื่อเลยเวลา ดึกๆ ไปจะใช้ตีเหล็ก เสียงไม่อีกทึกเกิน) และตอนค่ำๆ จะมีการตีกลองซ้ำๆ วัดต่างจังหวัดบางแห่งยังทำอยู่ เรียกว่าาม "ย่ำยาม"
ซึ่งโบราณ ก็ไม่ได้ 24ชม. แบบปัจจุบัน
ปัจจุบันปรับช่วงให้เข้ากับนาฬิกาสากล
ขอเอาที่มีคนเขียนไวส้ใน wiki (ข้อความยังไม่ได้สมบูรณ์จริง)
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%87
นาฬิกาหกชั่วโมง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาฬิกาหกชั่วโมง เป็นระบบการนับเวลาแต่โบราณซึ่งใช้ในภาษาไทยและภาษาลาว ควบคู่กันไปกับนาฬิกายี่สิบสี่ชั่วโมงที่ใช้อย่างเป็นทางการ เช่นเดียวกับระบบอื่นที่ใช้กันทั่วไป ระบบดังกล่าวนับว่าหนึ่งวันมียี่สิบสี่ชั่วโมง แต่ในหนึ่งวันจะแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ส่วนละหกชั่วโมง
เนื้อหา [ซ่อน]
1 การเรียก
2 ประวัติ
3 ตารางเปรียบเทียบ
4 อ้างอิง
การเรียก[แก้]
วิธีนับเวลาตามประเพณี แบ่งเป็น 3 ช่วงหลัก คือ โมง ทุ่ม และตี
โมง หมายถึง วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ 7 นาฬิกา ถึง 11 นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง 5 โมงเช้า ถ้าเป็น 12 นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ 13 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย 5 โมง ถ้า 18 นาฬิกา นิยมเรียกว่า 6 โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า
ทุ่ม หมายถึง วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับ 6 ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ 19 นาฬิกา ถึง 24 นาฬิกา เรียกว่า 1 ทุ่ม ถึง 6 ทุ่ม แต่ 6 ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม
"ตี หมายถึง วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ 1 นาฬิกา ถึง 6 นาฬิกา เรียกว่า ตี 1 ถึง ตี 6 แต่ตี 6 นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง [1]
ชื่อเรียกต่างๆ เหล่านี้มาจากเสียงของการบอกเวลาแต่โบราณ ซึ่งใช้ฆ้องในการบอกโมงยามในเวลากลางวัน และใช้กลองในเวลากลางคืน คำว่า "โมง" อันเป็นเสียงเลียนธรรมชาติของเสียงฆ้อง และ "ทุ่ม" ซึ่งเป็นการเลียนเสียงกลอง ตี เป็นคำกริยาสามารถหมายถึงทำให้เกิดเสียง [2] ส่วน "เช้า" และ "บ่าย" เป็นคำช่วยแบ่งครึ่งช่วงกลางวัน
ชั่วโมงที่หกของแต่ละส่วนนั้นเรียกโดยใช้คำแตกต่างกัน ชั่วโมงที่หกที่ตรงกับรุ่งเช้านั้นจะเรียกว่า ย่ำรุ่ง ชั่วโมงที่หกในช่วงเย็นนั้นจะเรียกว่า ย่ำค่ำ ซึ่งทั้งสองคำหมายถึงการตีฆ้องหรือกลองเป็นลำดับเพื่อบอกให้ทราบถึงการเปลี่ยนช่วงเวลา (ย่ำ) ส่วน รุ่ง และ ค่ำ หมายถึง ช่วงเช้าและช่วงเย็น ที่ใช้แสดงถึงเวลา ช่วงที่อยู่กลางกลางวันและกลางคืนเรียกว่า เที่ยงวัน และ เที่ยงคืน ตามลำดับ
เที่ยงคืนยังถูกเรียกว่า สองยาม ซึ่งหมายความว่าเป็นจุดสิ้นสุดของการนับยามช่วงที่สอง นอกเหนือจากนี้ หกทุ่ม และ ตีหก ยังอาจใช้หมายถึงเที่ยงคืนหรือหกโมงเช้า
ส่วนรูปแบบยี่สิบสี่ชั่วโมงตามแบบสากลนั้นใช้ในระดับเป็นทางการ อย่างเช่น ข่าว รายงานหรือประกาศ การอ่านให้เติมคำว่า นาฬิกา หลังตัวเลข 0 ถึง 24
เปรียบเทียบ
ประวัติ[แก้]
ระบบนี้ใช้กันมาในบางรูปแบบตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรอยุธยา แต่ได้รับการจัดให้เป็นหมวดหมู่คล้ายกับในปัจจุบันในปี พ.ศ. 2444 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 17 หน้า 206[3] ทุกวันนี้ ระบบดังกล่าวใช้ในการสนทนาระดับไม่เป็นทางการเท่านั้น
ตารางเปรียบเทียบ[แก้]
เวลา นาฬิกาหกชั่วโมง นาฬิกาหกชั่วโมง (แผลง) นาฬิกายี่สิบสี่ชั่วโมง
1:00 น. ตีหนึ่ง ตีหนึ่ง หนึ่งนาฬิกา
2:00 น. ตีสอง ตีสอง สองนาฬิกา
3:00 น. ตีสาม, สามยาม ตีสาม สามนาฬิกา
4:00 น. ตีสี่ ตีสี่ สี่นาฬิกา
5:00 น. ตีห้า ตีห้า ห้านาฬิกา
6:00 น. ตีหก, ย่ำรุ่ง หกโมงเช้า, หกโมง หกนาฬิกา
7:00 น. หนึ่งโมงเช้า เจ็ดโมงเช้า, เจ็ดโมง เจ็ดนาฬิกา
8:00 น. สองโมงเช้า แปดโมงเช้า, แปดโมง แปดนาฬิกา
9:00 น. สามโมงเช้า เก้าโมง เก้านาฬิกา
10:00 น. สี่โมงเช้า สิบโมง สิบนาฬิกา
11:00 น. ห้าโมงเช้า สิบเอ็ดโมง สิบเอ็ดนาฬิกา
12:00 น. เที่ยงวัน, เที่ยง, ย่ำเที่ยง เที่ยงวัน, เที่ยง สิบสองนาฬิกา
13:00 น. บ่ายหนึ่งโมง บ่ายโมง, บ่ายหนึ่ง สิบสามนาฬิกา
14:00 น. บ่ายสองโมง บ่ายสอง สิบสี่นาฬิกา
15:00 น. บ่ายสามโมง บ่ายสาม สิบห้านาฬิกา
16:00 น. บ่ายสี่โมง บ่ายสี่, สี่โมงเย็น, สี่โมง สิบหกนาฬิกา
17:00 น. บ่ายห้าโมง ห้าโมงเย็น, ห้าโมง สิบเจ็ดนาฬิกา
18:00 น. หกโมงเย็น, ย่ำค่ำ หกโมงเย็น, หกโมง สิบแปดนาฬิกา
19:00 น. หนึ่งทุ่ม หนึ่งทุ่ม สิบเก้านาฬิกา
20:00 น. สองทุ่ม สองทุ่ม ยี่สิบนาฬิกา
21:00 น. สามทุ่ม, ยามหนึ่ง สามทุ่ม ยี่สิบเอ็ดนาฬิกา
22:00 น. สี่ทุ่ม สี่ทุ่ม ยี่สิบสองนาฬิกา
23:00 น. ห้าทุ่ม ห้าทุ่ม ยี่สิบสามนาฬิกา
24:00 น., 00:00 น. เที่ยงคืน, หกทุ่ม, สองยาม เที่ยงคืน, หกทุ่ม ยี่สิบสี่นาฬิกา, ศูนย์นาฬิกา
เพิ่มเติม
https://www.gotoknow.org/posts/347021
การนับช่วงเวลาเป็นยามในสังคมไทยและในพระพุทธศาสนา
ชาวไทยภาคกลางมีการแบ่งช่วงเวลาวันหนึ่งออกเป็น ๘ ยาม ๆ ละ ๓ ชั่วโมง
ช่วงเวลากลางคืนมี ๔ ยาม คือ
ปฐมยาม หรือยามต้น (๑๘.๐๐-๒๑.๐๐น.)
ทุติยยาม หรือยามสอง (๒๑.๐๐-๒๔.๐๐น.)
ตติยยาม หรือยามสาม (๒๔.๐๐-๐๓.๐๐น.)
ปัจฉิมยาม หรือยามปลาย (๐๓.๐๐-๐๖.๐๐น.)
คัมภีร์บาลีแบ่งยามตอนกลางคืนออกเป็น ๓ ยาม ยามละ ๔ ชั่วโมง คือ
ปฐมยาม หรือยามต้น (๑๘.๐๐-๒๒.๐๐น.)
มัชฌิมยาม หรือยามกลาง (๒๒.๐๐-๐๒.๐๐น.)
ปัจฉิมยาม หรือยามปลาย (๐๒.๐๐-๐๖.๐๐น.)
แต่ถ้าจะเอาระบบไทยไม่ได้ 24 ชม. จริง
ระบบที่เราใช้อยู่ ล้วนรับมาจากสากล ที่เขาใช้กันอยู่ต่างหาก ก็มาตามนาฬิกาสากลนั่นแหละ มีทั้ง 12 hr ทั้ง 24 hr ไม่ได้กำเนิดในไทย
(ตามประวัติอิยิปต์โบราณ ใช้ระบบนี้ก่อน)
ระบบไทย เป็นยาม ที่ได้ยินเหลือแค่ทางโหาราศาสตร์
เรารับมาจากชมพูทวีปด้วยซ้ำ เราเรียกแขกที่เฝ้าว่า "แขกยาม" เพราะเหตุนี้ เลยรปภ. สมัยก่อน ถึงได้เรียก "ยาม"
กับที่หลงเหลือร่องรอยสอดคล้องกับนาฬิกา คือ ทุ่ม-โมง-ตี เพราะตีกลอง (เสียง ทุ่ม ก็คือเสียงกลอง) เสียงฆ้อง (โมง) และตี (เมื่อเลยเวลา ดึกๆ ไปจะใช้ตีเหล็ก เสียงไม่อีกทึกเกิน) และตอนค่ำๆ จะมีการตีกลองซ้ำๆ วัดต่างจังหวัดบางแห่งยังทำอยู่ เรียกว่าาม "ย่ำยาม"
ซึ่งโบราณ ก็ไม่ได้ 24ชม. แบบปัจจุบัน
ปัจจุบันปรับช่วงให้เข้ากับนาฬิกาสากล
ขอเอาที่มีคนเขียนไวส้ใน wiki (ข้อความยังไม่ได้สมบูรณ์จริง)
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%87
นาฬิกาหกชั่วโมง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาฬิกาหกชั่วโมง เป็นระบบการนับเวลาแต่โบราณซึ่งใช้ในภาษาไทยและภาษาลาว ควบคู่กันไปกับนาฬิกายี่สิบสี่ชั่วโมงที่ใช้อย่างเป็นทางการ เช่นเดียวกับระบบอื่นที่ใช้กันทั่วไป ระบบดังกล่าวนับว่าหนึ่งวันมียี่สิบสี่ชั่วโมง แต่ในหนึ่งวันจะแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ส่วนละหกชั่วโมง
เนื้อหา [ซ่อน]
1 การเรียก
2 ประวัติ
3 ตารางเปรียบเทียบ
4 อ้างอิง
การเรียก[แก้]
วิธีนับเวลาตามประเพณี แบ่งเป็น 3 ช่วงหลัก คือ โมง ทุ่ม และตี
โมง หมายถึง วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ 7 นาฬิกา ถึง 11 นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง 5 โมงเช้า ถ้าเป็น 12 นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ 13 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย 5 โมง ถ้า 18 นาฬิกา นิยมเรียกว่า 6 โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า
ทุ่ม หมายถึง วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับ 6 ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ 19 นาฬิกา ถึง 24 นาฬิกา เรียกว่า 1 ทุ่ม ถึง 6 ทุ่ม แต่ 6 ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม
"ตี หมายถึง วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ 1 นาฬิกา ถึง 6 นาฬิกา เรียกว่า ตี 1 ถึง ตี 6 แต่ตี 6 นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง [1]
ชื่อเรียกต่างๆ เหล่านี้มาจากเสียงของการบอกเวลาแต่โบราณ ซึ่งใช้ฆ้องในการบอกโมงยามในเวลากลางวัน และใช้กลองในเวลากลางคืน คำว่า "โมง" อันเป็นเสียงเลียนธรรมชาติของเสียงฆ้อง และ "ทุ่ม" ซึ่งเป็นการเลียนเสียงกลอง ตี เป็นคำกริยาสามารถหมายถึงทำให้เกิดเสียง [2] ส่วน "เช้า" และ "บ่าย" เป็นคำช่วยแบ่งครึ่งช่วงกลางวัน
ชั่วโมงที่หกของแต่ละส่วนนั้นเรียกโดยใช้คำแตกต่างกัน ชั่วโมงที่หกที่ตรงกับรุ่งเช้านั้นจะเรียกว่า ย่ำรุ่ง ชั่วโมงที่หกในช่วงเย็นนั้นจะเรียกว่า ย่ำค่ำ ซึ่งทั้งสองคำหมายถึงการตีฆ้องหรือกลองเป็นลำดับเพื่อบอกให้ทราบถึงการเปลี่ยนช่วงเวลา (ย่ำ) ส่วน รุ่ง และ ค่ำ หมายถึง ช่วงเช้าและช่วงเย็น ที่ใช้แสดงถึงเวลา ช่วงที่อยู่กลางกลางวันและกลางคืนเรียกว่า เที่ยงวัน และ เที่ยงคืน ตามลำดับ
เที่ยงคืนยังถูกเรียกว่า สองยาม ซึ่งหมายความว่าเป็นจุดสิ้นสุดของการนับยามช่วงที่สอง นอกเหนือจากนี้ หกทุ่ม และ ตีหก ยังอาจใช้หมายถึงเที่ยงคืนหรือหกโมงเช้า
ส่วนรูปแบบยี่สิบสี่ชั่วโมงตามแบบสากลนั้นใช้ในระดับเป็นทางการ อย่างเช่น ข่าว รายงานหรือประกาศ การอ่านให้เติมคำว่า นาฬิกา หลังตัวเลข 0 ถึง 24
เปรียบเทียบ
ประวัติ[แก้]
ระบบนี้ใช้กันมาในบางรูปแบบตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรอยุธยา แต่ได้รับการจัดให้เป็นหมวดหมู่คล้ายกับในปัจจุบันในปี พ.ศ. 2444 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 17 หน้า 206[3] ทุกวันนี้ ระบบดังกล่าวใช้ในการสนทนาระดับไม่เป็นทางการเท่านั้น
ตารางเปรียบเทียบ[แก้]
เวลา นาฬิกาหกชั่วโมง นาฬิกาหกชั่วโมง (แผลง) นาฬิกายี่สิบสี่ชั่วโมง
1:00 น. ตีหนึ่ง ตีหนึ่ง หนึ่งนาฬิกา
2:00 น. ตีสอง ตีสอง สองนาฬิกา
3:00 น. ตีสาม, สามยาม ตีสาม สามนาฬิกา
4:00 น. ตีสี่ ตีสี่ สี่นาฬิกา
5:00 น. ตีห้า ตีห้า ห้านาฬิกา
6:00 น. ตีหก, ย่ำรุ่ง หกโมงเช้า, หกโมง หกนาฬิกา
7:00 น. หนึ่งโมงเช้า เจ็ดโมงเช้า, เจ็ดโมง เจ็ดนาฬิกา
8:00 น. สองโมงเช้า แปดโมงเช้า, แปดโมง แปดนาฬิกา
9:00 น. สามโมงเช้า เก้าโมง เก้านาฬิกา
10:00 น. สี่โมงเช้า สิบโมง สิบนาฬิกา
11:00 น. ห้าโมงเช้า สิบเอ็ดโมง สิบเอ็ดนาฬิกา
12:00 น. เที่ยงวัน, เที่ยง, ย่ำเที่ยง เที่ยงวัน, เที่ยง สิบสองนาฬิกา
13:00 น. บ่ายหนึ่งโมง บ่ายโมง, บ่ายหนึ่ง สิบสามนาฬิกา
14:00 น. บ่ายสองโมง บ่ายสอง สิบสี่นาฬิกา
15:00 น. บ่ายสามโมง บ่ายสาม สิบห้านาฬิกา
16:00 น. บ่ายสี่โมง บ่ายสี่, สี่โมงเย็น, สี่โมง สิบหกนาฬิกา
17:00 น. บ่ายห้าโมง ห้าโมงเย็น, ห้าโมง สิบเจ็ดนาฬิกา
18:00 น. หกโมงเย็น, ย่ำค่ำ หกโมงเย็น, หกโมง สิบแปดนาฬิกา
19:00 น. หนึ่งทุ่ม หนึ่งทุ่ม สิบเก้านาฬิกา
20:00 น. สองทุ่ม สองทุ่ม ยี่สิบนาฬิกา
21:00 น. สามทุ่ม, ยามหนึ่ง สามทุ่ม ยี่สิบเอ็ดนาฬิกา
22:00 น. สี่ทุ่ม สี่ทุ่ม ยี่สิบสองนาฬิกา
23:00 น. ห้าทุ่ม ห้าทุ่ม ยี่สิบสามนาฬิกา
24:00 น., 00:00 น. เที่ยงคืน, หกทุ่ม, สองยาม เที่ยงคืน, หกทุ่ม ยี่สิบสี่นาฬิกา, ศูนย์นาฬิกา
เพิ่มเติม
https://www.gotoknow.org/posts/347021
การนับช่วงเวลาเป็นยามในสังคมไทยและในพระพุทธศาสนา
ชาวไทยภาคกลางมีการแบ่งช่วงเวลาวันหนึ่งออกเป็น ๘ ยาม ๆ ละ ๓ ชั่วโมง
ช่วงเวลากลางคืนมี ๔ ยาม คือ
ปฐมยาม หรือยามต้น (๑๘.๐๐-๒๑.๐๐น.)
ทุติยยาม หรือยามสอง (๒๑.๐๐-๒๔.๐๐น.)
ตติยยาม หรือยามสาม (๒๔.๐๐-๐๓.๐๐น.)
ปัจฉิมยาม หรือยามปลาย (๐๓.๐๐-๐๖.๐๐น.)
คัมภีร์บาลีแบ่งยามตอนกลางคืนออกเป็น ๓ ยาม ยามละ ๔ ชั่วโมง คือ
ปฐมยาม หรือยามต้น (๑๘.๐๐-๒๒.๐๐น.)
มัชฌิมยาม หรือยามกลาง (๒๒.๐๐-๐๒.๐๐น.)
ปัจฉิมยาม หรือยามปลาย (๐๒.๐๐-๐๖.๐๐น.)
แสดงความคิดเห็น
นอกจากประเทศไทยมีที่ไหนครับที่ใช้เวลาระบบ 24 ชม. แบบไทย
ขอแก้เป็นการนับเวลานะครับ แฮ่ๆ พอดีสับสนนิดหน่อยครับ