นายวัลลภ กิตติวิวัฒน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการปฏิบัติการและบำรุงรักษาในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแนวทางบริหารจัดการสินทรัพย์ระบบไฟฟ้าของ กฟภ. ได้นำคณะที่ปรึกษาการจัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ในระบบไฟฟ้าของ กฟภ. ประกอบ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ University of Strathclyde และ บริษัท Frazer Nash จาก สหราชอาณาจักรเข้าพบนายเสริมสกุล คล้ายแก้ว ผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน
สำหรับงานจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนที่นำทาง(Roadmap) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ในระบบไฟฟ้านั้น กฟภ. ได้มีอนุมัติหลักการให้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ระบบไฟฟ้าให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO 55000 รวมทั้งจัดทำแผนการดำเนินงาน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารจัดการสินทรัพย์ระบบไฟฟ้าของ กฟภ. เกิดประสิทธิภาพ เพิ่มความน่าเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ
ปัจจุบันทีมที่ปรึกษาได้เข้ามาสัมภาษณ์บุคลากรของ กฟภ. จากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่ กฟภ. ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และจัดทำการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบเพื่อหาช่องว่าง (Gap Analysis) ระหว่างสิ่งที่ กฟภ. ดำเนินการกับหน่วยงานการไฟฟ้าต่างประเทศ และมาตรฐาน ISO 55000 จากนั้นได้จัดทำร่างแผนที่นำทางสำหรับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ระบบไฟฟ้า เพื่อให้ กฟภ. พิจารณาให้ความเห็นก่อนทำการปรับปรุงแล้วจัดทำแผนที่นำทางฉบับสมบูรณ์ต่อไป
ผู้ว่าการ กฟภ. ติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินการจัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ระบบไฟฟ้า
สำหรับงานจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนที่นำทาง(Roadmap) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ในระบบไฟฟ้านั้น กฟภ. ได้มีอนุมัติหลักการให้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ระบบไฟฟ้าให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO 55000 รวมทั้งจัดทำแผนการดำเนินงาน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารจัดการสินทรัพย์ระบบไฟฟ้าของ กฟภ. เกิดประสิทธิภาพ เพิ่มความน่าเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ
ปัจจุบันทีมที่ปรึกษาได้เข้ามาสัมภาษณ์บุคลากรของ กฟภ. จากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่ กฟภ. ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และจัดทำการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบเพื่อหาช่องว่าง (Gap Analysis) ระหว่างสิ่งที่ กฟภ. ดำเนินการกับหน่วยงานการไฟฟ้าต่างประเทศ และมาตรฐาน ISO 55000 จากนั้นได้จัดทำร่างแผนที่นำทางสำหรับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ระบบไฟฟ้า เพื่อให้ กฟภ. พิจารณาให้ความเห็นก่อนทำการปรับปรุงแล้วจัดทำแผนที่นำทางฉบับสมบูรณ์ต่อไป