ผมทำ excel เองมาตั้งแต่แรกที่เริ่มซื้อหุ้น คำนวณเองมาตลอด แล้วเอามาเทียบเคียงกับโปรแกรมสตรีมที่เชื่อมกับโบรคฯยี่ห้อหนึ่ง
แรกๆก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะเป็นลักษณะซื้อเข้ามาเท่าไหร่ เมื่อขายก็ขายออกทั้งหมด ไม่มีเหลือเก็บไว้ เมื่อคำนวณ average cost จึงตรงกับของโบรคฯ
ทีนี้ผมเจอปัญหาว่า หุ้นบางตัว ผมซื้อไว้หลายครั้งในราคาต่างกัน แล้วขายออกเพียงบางส่วน ผลปรากฏว่า ราคาที่ผมคิด ซึ่งใช้วิธีถัวเฉลี่ยไปในแต่ละครั้งที่ซื้อขาย ไม่ตรงกับ ของโบรคฯ โทรไปถามโบรคฯ จึงได้รู้ว่า โบรคนี้ ซึ่งใช้สตรีมมิ่งของ ตลท. ใช้ระบบคิดแบบ FIFO (นั่นคือ ซื้อมาหลายล็อต เมื่อขายบางส่วน จะคิดเอาล็อตที่มาก่อนขายออกไปก่อนเรื่อยๆ) ทำให้มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยต่อหุ้นของทั้งสองวิธี
เลยอยากจะขอถามครับว่า
แต่ละท่านที่คำนวณราคาเอง เวลาคิดค่า average cost (ราคาต่อหุ้นถัวเฉลี่ย) เนี่ย ใช้วิธีคิดแบบ FIFO (เหมือนกับ streaming ของ ตลท.) หรือ คิดแบบถัวเฉลี่ยไปในแต่ละครั้งครับ
เพราะเมื่อเทียบสองวิธีแล้วเนี่ย การคิดถัวเฉลี่ยทีละครั้งไปเรื่อยๆ จะได้ค่าที่ตรงกับความจริงที่สุด นั่นคือ รู้แบบเรียลไทม์จริงๆว่า ตอนนี้ขาดทุนอยู่ หรือเริ่มกำไรแล้ว เมื่อเทียบกับ FIFO หากซื้อในราคาที่ต่างกันมาก (ผมซื้อเพื่อถัวให้ลงจากดอย) จะเห็นชัดเจนว่า จะกำไรเร็วกว่าความจริง ซึ่งจะทำให้เข้าใจผิด แล้วอาจทำให้รีบขายออกก่อนทั้งที่ยังขาดทุนอยู่
ยกตัวอย่างนะครับ
หุ้น A ผมซื้อช่วงยอดดอย (T____T) ในราคา 5.8บาท (รวมภาษี 5.81บาท) x 1,100 หุ้น
พอหุ้นร่วงลงมา เหลือ 5.1-5.15บาท ผมก็ซื้อเพื่อถัว 5.15บาท x 7,700หุ้น --- ทำให้ค่าเฉลี่ยตอนนี้ลงมาเหลือ 5.24บาท
แล้วผมก็ขายออกที่ 5.15x 4,400บาท (ขาดทุนไป 76บาทกว่าๆ) ราคาเฉลี่ยตอนนี้ขึ้นไปเป็น 5.321
แล้วผมก็ซื้อใหม่ในราคา 5.10x4,400 บาท [i]--- ทำให้ราคาเฉลี่ยลดลงเหลือ 5.215
ซึ่งถ้าคิดแบบ FIFO จังหวะที่ผมขายออก 5.15x4400 บาท โปรแกรมจะเอาหุ้นที่ราคา 5.81x1,100 กับ 5.15x3300 ออกไปขาย ทำให้ราคาหุ้นเฉลี่ยของผมลดลงเหลือแค่ราว 5.2 แล้วเมื่อผมซื้อเพิ่มอีก 5.10x4,400 เลยทำให้
ราคาเฉลี่ยลดเหลือแค่ 5.133
จะเห็นว่าค่าเฉลี่ยของ 2 วิธี ให้ผลต่างกันค่อนข้างมาก ซึ่งจะมีผลอย่างมาก หากเราเชื่อตาม และคิดว่าตอนนี้กำไรแล้ว รีบขาย จะมีปัญหาขาดทุนโดยไม่รู้ตัว
ขอถามคนที่ลงทุนในหุ้น แล้วทำบัญชี excel ด้วยตัวเองหน่อยครับ
แรกๆก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะเป็นลักษณะซื้อเข้ามาเท่าไหร่ เมื่อขายก็ขายออกทั้งหมด ไม่มีเหลือเก็บไว้ เมื่อคำนวณ average cost จึงตรงกับของโบรคฯ
ทีนี้ผมเจอปัญหาว่า หุ้นบางตัว ผมซื้อไว้หลายครั้งในราคาต่างกัน แล้วขายออกเพียงบางส่วน ผลปรากฏว่า ราคาที่ผมคิด ซึ่งใช้วิธีถัวเฉลี่ยไปในแต่ละครั้งที่ซื้อขาย ไม่ตรงกับ ของโบรคฯ โทรไปถามโบรคฯ จึงได้รู้ว่า โบรคนี้ ซึ่งใช้สตรีมมิ่งของ ตลท. ใช้ระบบคิดแบบ FIFO (นั่นคือ ซื้อมาหลายล็อต เมื่อขายบางส่วน จะคิดเอาล็อตที่มาก่อนขายออกไปก่อนเรื่อยๆ) ทำให้มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยต่อหุ้นของทั้งสองวิธี
เลยอยากจะขอถามครับว่า
แต่ละท่านที่คำนวณราคาเอง เวลาคิดค่า average cost (ราคาต่อหุ้นถัวเฉลี่ย) เนี่ย ใช้วิธีคิดแบบ FIFO (เหมือนกับ streaming ของ ตลท.) หรือ คิดแบบถัวเฉลี่ยไปในแต่ละครั้งครับ
เพราะเมื่อเทียบสองวิธีแล้วเนี่ย การคิดถัวเฉลี่ยทีละครั้งไปเรื่อยๆ จะได้ค่าที่ตรงกับความจริงที่สุด นั่นคือ รู้แบบเรียลไทม์จริงๆว่า ตอนนี้ขาดทุนอยู่ หรือเริ่มกำไรแล้ว เมื่อเทียบกับ FIFO หากซื้อในราคาที่ต่างกันมาก (ผมซื้อเพื่อถัวให้ลงจากดอย) จะเห็นชัดเจนว่า จะกำไรเร็วกว่าความจริง ซึ่งจะทำให้เข้าใจผิด แล้วอาจทำให้รีบขายออกก่อนทั้งที่ยังขาดทุนอยู่
ยกตัวอย่างนะครับ
หุ้น A ผมซื้อช่วงยอดดอย (T____T) ในราคา 5.8บาท (รวมภาษี 5.81บาท) x 1,100 หุ้น
พอหุ้นร่วงลงมา เหลือ 5.1-5.15บาท ผมก็ซื้อเพื่อถัว 5.15บาท x 7,700หุ้น --- ทำให้ค่าเฉลี่ยตอนนี้ลงมาเหลือ 5.24บาท
แล้วผมก็ขายออกที่ 5.15x 4,400บาท (ขาดทุนไป 76บาทกว่าๆ) ราคาเฉลี่ยตอนนี้ขึ้นไปเป็น 5.321
แล้วผมก็ซื้อใหม่ในราคา 5.10x4,400 บาท [i]--- ทำให้ราคาเฉลี่ยลดลงเหลือ 5.215
ซึ่งถ้าคิดแบบ FIFO จังหวะที่ผมขายออก 5.15x4400 บาท โปรแกรมจะเอาหุ้นที่ราคา 5.81x1,100 กับ 5.15x3300 ออกไปขาย ทำให้ราคาหุ้นเฉลี่ยของผมลดลงเหลือแค่ราว 5.2 แล้วเมื่อผมซื้อเพิ่มอีก 5.10x4,400 เลยทำให้ราคาเฉลี่ยลดเหลือแค่ 5.133
จะเห็นว่าค่าเฉลี่ยของ 2 วิธี ให้ผลต่างกันค่อนข้างมาก ซึ่งจะมีผลอย่างมาก หากเราเชื่อตาม และคิดว่าตอนนี้กำไรแล้ว รีบขาย จะมีปัญหาขาดทุนโดยไม่รู้ตัว