วันอาภากร.....วิกฤต ร.ศ 112.....จอมขมังเวทย์.....หมออารี cnck

เมื่อวานตรงกับวันที่ 19 พฤษภาคม ทุกปีในวันนี้ กองทัพเรือจะเรียกว่า "วันอาภากร"

ซึ่งทุกปีจะจัดงานรำลึกถึงพระคุณบุคคลากรผู้หนึ่ง



ซึ่งได้รับการขนานนามว่า

องค์บิดาของทหารเรือไทย บุคคลนั้นคือ

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงค์เธอพระองค์เจ้า อาภากรเกียรติวงค์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์



ประวัติ กรมหลวงชุมพร ฯ โดยสังเขป

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


เมื่อสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ กรมหลวงชุมพร ก็เข้ารับราชการในกองทัพเรือ

(ยุคนั้น กองทัพเรือ มีศักยภาพ และ ศักดิ์ศรี แทบจะไม่เป็นรอง กองทัพบก )

และได้เข้าไปวางรากฐาน พัฒนากองทัพเรือ ให้ทันสมัย จนเป็นที่โปรดปราณของ ล้นเกล้า ร.๕


เมื่อ กรมหลวงชุมพรฯ ทูลขอพระราชทานที่ดินเพื่อจะตั้งโรงเรียนนายเรือ

ล้นเกล้า ร.๕ ก็ทรงพระราชทานที่ดินที่เป็นที่ตั้งของ พระราชวังเดิม ให้ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๔๙

กองทัพเรือ จึงยึดถือวันนั้นให้เป็น วันกองทัพเรือ


มีเพลงดังของทหารเรือเพลงหนึ่ง ซึ่งเราได้ยินคุ้นหู แต่ส่วนน้อยจะทราบว่า

เป็นเพลงพระนิพนธ์ของ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เพลงนั้นชื่อ "ดอกประดู่ "

เนื้อเพลง ดอกประดู่


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

คำศัพท์ และ ความหมายของเพลง ดอกประดู่

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


ในเนื้อเพลง ดอกประดู่ ในท่อนที่ ๒ ที่มีเนื้อร้องว่า

"พวกเราจงรู้ เจ็บแล้วต้องจำ"

ท่อนนี้จะมีความหมายถึง ความเจ็บปวดของคนทั้งชาติเมื่อเราถูกฝรั่งเศสหาเรื่องรุกราน

จนเราต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง อีกทั้งต้องเสียเงินค่าเสียหายให้กับฝรั่งเศส

เป็นเงิน 3 ล้านฟรัง จนต้องนำเงินถุงแดงที่ ร.๓ ทรงสะสมไว้เมื่อตอนที่พระองค์ค้าขายได้กำไร

มาชำระให้แก่ฝรั่งเศส

เหตุการณ์ครั้งนี้มีชื่อว่า "วิกฤต ร.ศ ๑๑๒" ซึ่งตรงกับ พ.ศ ๒๔๓๖ และเป็นการเสียดินแดนครั้งที่ ๑๐

ตั้งแต่สถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์


แหล่ เสียดินแดน ๑๔ ครั้ง (เนื้อหาในแหล่ มีบางตอนผิด)

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ความเจ็บแค้นเรื่องเสียดินแดนในครั้ง ร.ศ ๑๑๒ ทำให้ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ถึงกับสักคำว่า "ร.ศ ๑๑๒ ตราด" ไว้ที่พระอุระ (อก) เพื่อเตือนความจำถึงเหตุการณ์นี้


เมื่อกล่าวถึงการสักยันต์ กรมหลวงชุมพร ทรงสักยันต์ทั้งพระองค์ตั้งแต่วัยหนุ่ม โดยสัก

หนุมาณ ลิงลม ไว้ที่พระชงฆ์ (น่อง) เพื่อให้เดินเร็ว

มังกร พันรอบแขน สักอักขระบนข้อนิ้ว เพื่อต่อยหนัก


และเมื่อ หลวงปู่ชัน วัดนกกระจาบ จะสักอาคมเพิ่ม ปรากฏว่าหาที่ว่างไม่ได้

จึงได้แต่สักคำว่า "นะ" ไว้ที่ กัณฐมณี (ลูกกระเดือก) เพราะมีที่ว่างแค่นั้น


นอกจากกรมหลวงชุมพร นิยมสักยันต์ทั้งตัวแล้ว พระองค์ยังทรงสักคำว่า "ร.ศ ๑๑๒ ตราด"

ให้กับบรรดาศิษย์คนสนิทของท่าน

ภาพ พลเรือตรี พระยาหาญกลางสมุทร ร.น (บุญมี พันธุมนาวิน)

นายทหารเรือไทยคนแรกที่ไปศึกษาวิชา เรือดำน้ำ ที่ประเทศอังกฤษ



ช่วงต้นรัชกาลที่ ๖ กรมหลวงชุมพร ได้ถูกการเมืองเล่นงาน

มีข่าวลือว่าพระองค์เป็นพวกของ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

ซึ่งมีความคิดจะยึดราชสมบัติ กรมหลวงชุมพร จึงถูกปลดออกจากราชการในปี พ.ศ ๒๔๕๔

แต่ก็กลับมารับราชการในกองทัพเรืออีกครั้งในปีพ.ศ ๒๔๖๐ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑


กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ นอกจากจะมีความเชี่ยวชาญเรื่องการทหาร และวิชาอาคม ยังมีความเชี่ยวชาญ

ในเรื่องการแพทย์แผนโบราณ พระองค์ทรงเขียนตำราการแพทย์ไว้มากมาย

ที่สำคัญคือ พระองค์ทรงใช้ความรู้ทางการแพทย์ รักษาให้กับประชาชนทั่วไป โดยไม่ต้องการค่าใช้จ่ายใดๆ

และเรียกพระองค์ว่า "หมอพร"  ทำให้ หมอพร คนนี้เป็นที่รักใคร่และเคารพของประชาชนทั่วไป



เสียดายที่ บุคคลากรสำคัญของไทย ในช่วงนั้นมักมีอายุไม่ยาว

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สิ้นพระชนม์ที่ตำบล หาดทรายรี จังหวัด ชุมพร

เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖ สิริพระชนมายุเพียง ๔๓ พรรษา


ในทุกยุคทุกสมัย การปกป้องผลประโยชน์รวมถึงการขยายอาณาเขต

กองทัพเรือจะมีบทบาทมาก แต่ที่น่าเสียดายคือ กองทัพเรือ ของไทยถูกการเมืองเล่นงาน

ตั้งแต่คราว กบฏวังหลวง และ กบฏแมนฮัตตัน  ทำให้การพัฒนาของกองทัพเรือ

เชื่องช้าและล้าหลังเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๖๐ ปี

จึงอยากให้รัฐบาลต่อไปฟื้นฟู และ พัฒนากองทัพเรือของไทย

ให้เจริญรุดหน้าทัดเทียมกับกองทัพบก และ กองทัพอากาศ



ช่วงที่ผ่านมา จีนมีแนวคิดทั้งเรื่อง "ระเบิดแก่งแม่น้ำโขง กับ แนวคิด 1 แถบ 1 เส้นทาง"

ซึ่งเกี่ยวข้องกับกองทัพเรือโดยตรงในการป้องกันอธิปไตยน่านน้ำของไทย

การที่รัฐบาลมีโครงการจะซื้อเรือดำน้ำ จึงเป็นโครงการที่น่าสนับสนุน เพราะถือเป็นการพัฒนา

และเสริมอานุภาพของกองทัพเรือ เพื่อให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมนานาประเทศ

ให้สมกับการที่ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์บิดาของทหารเรือไทยได้วางรากฐานไว้



ป.ล เหตุการณ์ ร.ศ ๑๑๒ จะอยู่ในเม้นท์ย่อย

ป.ล ๒ มีเรื่องเล่าสนุกๆเกี่ยวกับ กรมหลวงชุมพร จะเขียนลงไปในเม้นท์ย่อย

ป.ล ๓ ที่ตั้งของโรงเรียน พณิชยการพระนคร บนถนนพิษณุโลก เดิมเป็นวังของกรมหลวงชุมพรฯ

เหตุนี้ นักเรียนที่นี่ก็ได้ชื่อว่าเป็นลูกกรมหลวงชุมพรเหมือนกัน

ป.ล ๔ ศาลกรมหลวงชุมพรมีถึง ๒๐๐ กว่าแห่ง

ป.ล ๕ ทหารเรือเรียกพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย"

แต่นักเรียนโรงเรียน พณิชยการพระนคร จะเรียกพระองค์ว่า "เสด็จพ่อ"

ป.ล ๖ ปีพ.ศ ๒๕๓๖ กองทัพเรือขนานพระนามพระองค์ว่า "พระบิดากองทัพเรือไทย"

แต่ในปีพ.ศ ๒๕๔๔ ได้แก้ไขเป็น "องค์บิดาของทหารเรือไทย"

อ้างอิง

๑ ประกาศกองทัพเรือ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ และ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๔

๒ หนังสือ ๑๓๐ ปี ไม่มีวันตาย กรมหลวงชุมพร ฯ ของ เจนจบ ยิ่งสุมล

๓ เรือนไทย วิชาการดอทคอม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่