ผมเป็นนักศึกษาแพทย์ จึงพอจะมีความรู้เรื่องทางการแพทย์และการทำงานในระบบสาธารณสุขไทยอยู่บ้าง
คาดว่ามุมมองของผมในฐานะผู้ใช้บริการในระบบสาธารณสุขไทย จะเป็นประโยชน์บ้างครับ
ผมได้มีโอการพาพ่อไปตรวจเช็คสุขภาพฟันมาครับ
ซึ่งเป็นประสบการที่ไม่ดีนัก จึงอยากมาแชร์ประสบการณ์ดังกล่าวเพื่อ
1. ให้ประชาชนทั่วไปรับมือกับเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันได้
2. เพื่อให้บุคลากรในระบบสาธารณสุขไทยตระหนักถึงจรรญาบรรณแห่งวิชาชีพตนเองมากขึ้น
ผมพาพ่อไปเช็คสุขภาพฟันที่คลินิกแห่งหนึ่ง หลังจากตรวจฟันเสร็จ มีบทสนทนาประมาณนี้ครับ
ทันตแพทย์ "มีหินปูนเกาะที่ฟันเยอะ และมีฟันบิ่นสองซี่ โดยฟันที่บิ่นมีหนึ่งซี่ที่ลึกลงไปในชั้นเหงือก จำเป็นต้องรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางโรคเหงือก ซึ่งไม่มีที่คลินิกแห่งนี้"
ผม "อาการแบบนี้ จำเป็นต้องรักษาขนาดไหนครับ ถ้าไม่รักษาจะเป็นอย่างไรบ้าง"
หมอตอบด้วยน้ำเสียงและท่าทีรำคาญว่า
ทันตแพทย์ "จะไม่รักษาก็ได้ พอเจ็บแล้วค่อยมาถอนออก"
ในใจผมตอนนั้นคิดว่าหมอตอบไม่ชัดเจน เพราะเราอยากรู้ว่าฟันที่บิ่นแล้วไม่ได้รักษาจะส่งผลอย่างไรในอนาคตบ้าง
เช่น โอกาสฟันผุมากขึ้นไหม โอกาสเป็นเหงือกอักเสบมากขึ้นไหม เป็นต้น แต่เนื่องจากต้องคุยเรื่องอื่นต่อ
จึงไม่ได้ซักเรื่องนี้เพราะหมอแสดงท่าทีรำคาญชัดเจนมาก ผมจึงถามต่อว่า
ผม "เรื่องหินปูน ไม่ทราบว่าที่นี้ขูดได้ไหมครับ"
ทันตแพทย์ "ขูดไม่ได้ เนื่องจากหินปูนอยู่ลึกลงไปในชั้นของเหงือก หมอทั่วไปขูดไม่ได้ ต้องขูดโดยหมอเฉพาะทางโรคเหงือกเท่านั้น"
คำตอบของหมอข้อนี้ชัดเจนดี โดยสรุปคือต้องไปพบหมอโรคเหงือกเท่านั้น จึงจะรักษาฟันของพ่อผมได้
ต่อมาผมจึงได้พาพ่อมารักษาที่ รพ.รัฐแห่งหนึ่ง และได้พบหมอเฉพาะทางโรคเหงือกตามคำแนะนำของคลินิกเดิม
หลังจากทันตแพทย์เฉพาะทางโรคเหงือกได้อ่านประวัติจากคลินิกเดิมในบัตรผู้ป่วย ซึ่งซักประวัติโดยเจ้าหน้าที่ทันตกรรม
ทันตแพทย์ได้ถามถึงโรคประจำตัวและประวัติแพ้ยา(ซึ่งไม่มี) แล้วจึงบอกว่า
ทันตแพทย์ "ไม่มีอาการอะไร ไม่มีโรคประจำตัวอะไร ถ้าฟันบิ่น ไม่น่าจะต้องมารักษากับหมอเฉพาะทางนะคะ"
ลักษณะคำพูดคือต้องการจะตำหนิที่ทางผมให้ประวัติจนได้มาพบหมอเฉพาะทางโดยไม่จำเป็น
ผม "หมอที่คลินิกบอกว่าฟันส่วนที่บิ่นลงลึกไปในชั้นเหงือกหน่ะครับ..."
ผมพูดไม่จบ หมอก็พูดแทรกมาว่า
ทันตแพทย์ "ตกลงเป็นโรคเหงือกหรือโรคฟันคะ เข้าใจอะไรผิดอยู่รึเปล่า มันคนละโรคกันนะ"
ตอนนี้ผมเริ่มงงหมอ ผมมั่นใจว่าไม่ได้พูดอะไรผิด หรือพูดอะไรที่ฟังดูเหมือนคนที่ไม่เข้าใจนะ ทำไมหมอถึงเข้าใจผมไปอย่างนั้น และที่จริงแล้วคำถามที่หมอถามมา คือสิ่งที่หมอควรบอกคนไข้รึเปล่า ไม่ใช่สิ่งที่คนไข้ต้องมาตอบหมอ
ด้วยความไม่รู้ว่าตนเองพูดอะไรผิด ผมจึงเลือกที่จะพูดประโยคเดิมซ้ำ และครั้งนี้พูดได้จบ
ผม "หมอที่คลินิกบอกว่าฟันส่วนที่บิ่นลงลึกไปในชั้นเหงือกหน่ะครับ จึงจำเป็นต้องมาพบหมอเฉพาะทาง"
ทันตแพทย์ "โอเคๆ หมอต้องตรวจดูก่อนค่ะ"
ในตอนนั้นหมอแสดงน้ำเสียงและท่าทีประมาณว่า อย่าเพิ่งพูดอะไรดีกว่า หมอขอตรวจเองแล้วกัน(ทั้งๆ ที่เป็นคนถามเอง) แล้วหมอก็เริ่มตรวจฟันให้พ่อผม
สำหรับคำพูดของหมอช่วงนี้ ผมคิดว่าการซักประวัติคนไข้ก่อนตรวจรักษาเป็นสิ่งดีที่หมอทำ แต่ทำไมหมอถึงซักประวัติได้แย่ขนาดนี้ นี่ขนาดผมอยู่ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพเหมือนกัน เรียนรู้วิธีซักประวัติมา สามารถให้ประวัติที่เหมาะสมไปได้ คุณยังแทบไม่ฟังผมเลย และตลอดการสนทนา กลับมีกิริยาตำหนิญาติคนไข้อย่างผมตลอด ทั้งที่ไม่จำเป็นเลย
หลังจากตรวจฟัน หมอบอกว่าฟันบิ่นลงไปในเหงือกจริง หลังจาก x-ray ดู ได้ผลว่าสามารถผ่าได้โดยจำเป็นต้องผ่ากับหมอเฉพาะทางโรคเหงือกเท่านั้นและนัดวันผ่าให้ ส่วนเรื่องที่หมอทำน้ำเสียงและท่าทีตำหนิก่อนหน้านี้ หมอก็ทำเหมือนมันไม่ได้เกิดขึ้น ซึ่งผมสามารถรับได้ ไม่ถือสาเรื่องนี้ แต่ผมมีคำถามเดิมที่ค้างคามาจากคลินิกเก่า ว่าไม่ผ่าได้ไหม เพราะคลินิกเก่าตอบเหมือนกับว่าไม่ต้องผ่าก็ได้ ผมจึงได้ถามไป
ผม "ไม่ทราบว่าถ้าไม่ผ่า จะมีผลอย่างไรบ้างครับ ไม่ผ่าได้ไหม"
ทันตแพทย์ "ก็เพราะผ่าได้นะซิค่ะ เขาถึงส่งมาให้ผ่า"
หมอพูดด้วยน้ำเสียงรำคาญและพูดไม่ทันจบก็ลุกเดินหนีไปล้างมือ แสดงออกชัดเจนว่าไม่อยากให้ข้อมูลเพิ่ม
ส่วนนี้ผมถือว่าแย่มาก ในวิชาชีพแพทย์ เราได้รับการสอนเรื่องการให้ข้อมูลคนไข้ก่อนตัดสินใจรักษาเป็นอย่างดี ต้องอธิบายให้คนไข้เข้าใจว่าเป็นโรคอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ส่งผลยังไงบ้าง มีแนวทางการรักษาอย่างไรบ้าง แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเป็นอย่างไร โดยผมมั่นว่าวิชาชีพอื่นทางสายวิทยาศาสตร์สุขภาพก็ได้รับการสอนมาเช่นเดียวกัน อยู่ที่ว่าใครจะนำมาใช้ได้มากน้อยแค่ไหน โดยในการปฏิบัตงานจริง อาจอธิบายไม่ครบทั้งหมดเพราะข้อจำกัดต่างๆ แต่อย่างน้อยที่สุด ต้องตอบคำถามคนไข้ให้ครบและชัดเจน เช่น อาจไม่ได้บอกว่าสาเหตุของท้องร่วงเกิดจากอะไรแต่ถ้าคนไข้ถามก็ต้องบอก เป็นต้น ซึ่งในกรณีของผมนั้น ไม่เพียงแต่หมอไม่พยายามตอบ แต่กลับตอบไม่ตรงคำถามซะด้วย ถึงตอนนี้ผมเริ่มสงสัยว่าหมอมีความบกพร่องเรื่องทักษะการสื่อสารด้วยคำพูดรึเปล่า
ผมจึงข้ามเรื่องนี้ไปเพราะผมอยากรู้เพื่อเป็นความรู้เฉยๆ ยังไงก็ตัดสินใจรักษาอยู่แล้ว
ผมจึงถามเรื่องขูดหินปูนต่อ ปรากฎว่าที่จริงแล้วหมอฟันทั่วไปก็ขูดหินปูนให้พ่อผมได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นหมอเฉพาะทางโรคเหงือกอย่างที่คลินิกเดิมว่าเลย
หมอบอกว่าหินปูนอาจจะเยอะหน่อย แต่ก็ให้ทันตแพทย์ทั่วไปขูดได้
โดยสรุปคือ
หมอที่ คลินิก ปฏิเสธการรักษา อาจเป็นเพราะหินปูนเยอะเกินไป โดยใช้ข้ออ้างว่าจำเป็นต้องขูดโดยหมอเฉพาะทางโรคเหงือกเท่านั้น
หมอที่ รพ.รัฐ มีอีโก้สูง พูดจาไม่ดี ตำหนิญาติคนไข้โดยไม่จำเป็น สื่อสารบกพร่อง ตอบไม่ตรงคำถาม ให้ข้อมูลคนไข้น้อยเกินไป
สังเกตว่าทั้งสองปัญหาไม่ไช่ปัญหาของความรู้ความสามารถ
แต่เป็นปัญหาเรื่องการดูและเอาใจใส่คนไข้ทั้งนั้น...
สรุป
1. ถ้าคุณไปรักษาฟันที่คลินิกแห่งหนึ่งแล้วเขาบอกว่ารักษาไม่ได้ ให้ลองไปรักษาที่คลินิกอื่นแทน อาจจะได้รับคำตอบและคำแนะนำที่แตกต่างกันได้ เพราะบางครั้ง การเข้าโรงพยาบาลไม่ว่ารัฐหรือเอกชน อาจไม่สะดวกนัก ทั้งเรื่องการเดินทาง เวลา หรือการเงิน
2. ถ้าคุณเจอหมอที่พูดจาไม่ดี ให้เลือกถามคำถามที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการรักษาของคุณก่อน ยังไงก็ต้องถามให้ได้ข้อมูลมา แม้หมอจะขี้เกียจตอบแค่ไหนก็ตาม ส่วนคำถามอื่น ถ้าหมอไม่ว่างคุณอาจจะไม่ถาม เพื่อให้หมอได้รักษาคนอื่นต่อ(รพ.รัฐคนไข้เยอะมาก) หรือถ้าว่างและอยากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใครบางคนเพราะบางครั้งหมอก็ขี้เกียจเฉยๆ ไม่เกี่ยวกับคนไข้เยอะ คุณก็ถามได้ คุณมีสิทธินั้น แต่ถ้าถามกวนๆ เมื่อไหร่ หมอก็มีสิทธิไม่ตอบคุณเช่นกัน
3. ถ้าคุณเป็นทันตแพทย์ อยากให้เข้าใจว่าเจตนาของผมไม่ได้เหมารวมถึงวิชาชีพ แต่เป็นการกล่าวถึงพฤติกรรมของทันตแพทย์เฉพาะบุคคลครับ
4. ถ้าคุณเป็นหรือกำลังจะเป็นบุคลากรในระบบสาธารณสุข อยากให้กรณี้เป็นตัวอย่างไม่ดีให้คุณหลีกเลี่ยงที่จะเป็น เหมือนเช่นที่ผมจะจดจำไว้เป็นบทเรียนเช่นกันครับ
เมื่อนักศึกษาแพทย์ไปพบหมอฟัน
คาดว่ามุมมองของผมในฐานะผู้ใช้บริการในระบบสาธารณสุขไทย จะเป็นประโยชน์บ้างครับ
ผมได้มีโอการพาพ่อไปตรวจเช็คสุขภาพฟันมาครับ
ซึ่งเป็นประสบการที่ไม่ดีนัก จึงอยากมาแชร์ประสบการณ์ดังกล่าวเพื่อ
1. ให้ประชาชนทั่วไปรับมือกับเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันได้
2. เพื่อให้บุคลากรในระบบสาธารณสุขไทยตระหนักถึงจรรญาบรรณแห่งวิชาชีพตนเองมากขึ้น
ผมพาพ่อไปเช็คสุขภาพฟันที่คลินิกแห่งหนึ่ง หลังจากตรวจฟันเสร็จ มีบทสนทนาประมาณนี้ครับ
ทันตแพทย์ "มีหินปูนเกาะที่ฟันเยอะ และมีฟันบิ่นสองซี่ โดยฟันที่บิ่นมีหนึ่งซี่ที่ลึกลงไปในชั้นเหงือก จำเป็นต้องรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางโรคเหงือก ซึ่งไม่มีที่คลินิกแห่งนี้"
ผม "อาการแบบนี้ จำเป็นต้องรักษาขนาดไหนครับ ถ้าไม่รักษาจะเป็นอย่างไรบ้าง"
หมอตอบด้วยน้ำเสียงและท่าทีรำคาญว่า
ทันตแพทย์ "จะไม่รักษาก็ได้ พอเจ็บแล้วค่อยมาถอนออก"
ในใจผมตอนนั้นคิดว่าหมอตอบไม่ชัดเจน เพราะเราอยากรู้ว่าฟันที่บิ่นแล้วไม่ได้รักษาจะส่งผลอย่างไรในอนาคตบ้าง
เช่น โอกาสฟันผุมากขึ้นไหม โอกาสเป็นเหงือกอักเสบมากขึ้นไหม เป็นต้น แต่เนื่องจากต้องคุยเรื่องอื่นต่อ
จึงไม่ได้ซักเรื่องนี้เพราะหมอแสดงท่าทีรำคาญชัดเจนมาก ผมจึงถามต่อว่า
ผม "เรื่องหินปูน ไม่ทราบว่าที่นี้ขูดได้ไหมครับ"
ทันตแพทย์ "ขูดไม่ได้ เนื่องจากหินปูนอยู่ลึกลงไปในชั้นของเหงือก หมอทั่วไปขูดไม่ได้ ต้องขูดโดยหมอเฉพาะทางโรคเหงือกเท่านั้น"
คำตอบของหมอข้อนี้ชัดเจนดี โดยสรุปคือต้องไปพบหมอโรคเหงือกเท่านั้น จึงจะรักษาฟันของพ่อผมได้
ต่อมาผมจึงได้พาพ่อมารักษาที่ รพ.รัฐแห่งหนึ่ง และได้พบหมอเฉพาะทางโรคเหงือกตามคำแนะนำของคลินิกเดิม
หลังจากทันตแพทย์เฉพาะทางโรคเหงือกได้อ่านประวัติจากคลินิกเดิมในบัตรผู้ป่วย ซึ่งซักประวัติโดยเจ้าหน้าที่ทันตกรรม
ทันตแพทย์ได้ถามถึงโรคประจำตัวและประวัติแพ้ยา(ซึ่งไม่มี) แล้วจึงบอกว่า
ทันตแพทย์ "ไม่มีอาการอะไร ไม่มีโรคประจำตัวอะไร ถ้าฟันบิ่น ไม่น่าจะต้องมารักษากับหมอเฉพาะทางนะคะ"
ลักษณะคำพูดคือต้องการจะตำหนิที่ทางผมให้ประวัติจนได้มาพบหมอเฉพาะทางโดยไม่จำเป็น
ผม "หมอที่คลินิกบอกว่าฟันส่วนที่บิ่นลงลึกไปในชั้นเหงือกหน่ะครับ..."
ผมพูดไม่จบ หมอก็พูดแทรกมาว่า
ทันตแพทย์ "ตกลงเป็นโรคเหงือกหรือโรคฟันคะ เข้าใจอะไรผิดอยู่รึเปล่า มันคนละโรคกันนะ"
ตอนนี้ผมเริ่มงงหมอ ผมมั่นใจว่าไม่ได้พูดอะไรผิด หรือพูดอะไรที่ฟังดูเหมือนคนที่ไม่เข้าใจนะ ทำไมหมอถึงเข้าใจผมไปอย่างนั้น และที่จริงแล้วคำถามที่หมอถามมา คือสิ่งที่หมอควรบอกคนไข้รึเปล่า ไม่ใช่สิ่งที่คนไข้ต้องมาตอบหมอ
ด้วยความไม่รู้ว่าตนเองพูดอะไรผิด ผมจึงเลือกที่จะพูดประโยคเดิมซ้ำ และครั้งนี้พูดได้จบ
ผม "หมอที่คลินิกบอกว่าฟันส่วนที่บิ่นลงลึกไปในชั้นเหงือกหน่ะครับ จึงจำเป็นต้องมาพบหมอเฉพาะทาง"
ทันตแพทย์ "โอเคๆ หมอต้องตรวจดูก่อนค่ะ"
ในตอนนั้นหมอแสดงน้ำเสียงและท่าทีประมาณว่า อย่าเพิ่งพูดอะไรดีกว่า หมอขอตรวจเองแล้วกัน(ทั้งๆ ที่เป็นคนถามเอง) แล้วหมอก็เริ่มตรวจฟันให้พ่อผม
สำหรับคำพูดของหมอช่วงนี้ ผมคิดว่าการซักประวัติคนไข้ก่อนตรวจรักษาเป็นสิ่งดีที่หมอทำ แต่ทำไมหมอถึงซักประวัติได้แย่ขนาดนี้ นี่ขนาดผมอยู่ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพเหมือนกัน เรียนรู้วิธีซักประวัติมา สามารถให้ประวัติที่เหมาะสมไปได้ คุณยังแทบไม่ฟังผมเลย และตลอดการสนทนา กลับมีกิริยาตำหนิญาติคนไข้อย่างผมตลอด ทั้งที่ไม่จำเป็นเลย
หลังจากตรวจฟัน หมอบอกว่าฟันบิ่นลงไปในเหงือกจริง หลังจาก x-ray ดู ได้ผลว่าสามารถผ่าได้โดยจำเป็นต้องผ่ากับหมอเฉพาะทางโรคเหงือกเท่านั้นและนัดวันผ่าให้ ส่วนเรื่องที่หมอทำน้ำเสียงและท่าทีตำหนิก่อนหน้านี้ หมอก็ทำเหมือนมันไม่ได้เกิดขึ้น ซึ่งผมสามารถรับได้ ไม่ถือสาเรื่องนี้ แต่ผมมีคำถามเดิมที่ค้างคามาจากคลินิกเก่า ว่าไม่ผ่าได้ไหม เพราะคลินิกเก่าตอบเหมือนกับว่าไม่ต้องผ่าก็ได้ ผมจึงได้ถามไป
ผม "ไม่ทราบว่าถ้าไม่ผ่า จะมีผลอย่างไรบ้างครับ ไม่ผ่าได้ไหม"
ทันตแพทย์ "ก็เพราะผ่าได้นะซิค่ะ เขาถึงส่งมาให้ผ่า"
หมอพูดด้วยน้ำเสียงรำคาญและพูดไม่ทันจบก็ลุกเดินหนีไปล้างมือ แสดงออกชัดเจนว่าไม่อยากให้ข้อมูลเพิ่ม
ส่วนนี้ผมถือว่าแย่มาก ในวิชาชีพแพทย์ เราได้รับการสอนเรื่องการให้ข้อมูลคนไข้ก่อนตัดสินใจรักษาเป็นอย่างดี ต้องอธิบายให้คนไข้เข้าใจว่าเป็นโรคอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ส่งผลยังไงบ้าง มีแนวทางการรักษาอย่างไรบ้าง แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเป็นอย่างไร โดยผมมั่นว่าวิชาชีพอื่นทางสายวิทยาศาสตร์สุขภาพก็ได้รับการสอนมาเช่นเดียวกัน อยู่ที่ว่าใครจะนำมาใช้ได้มากน้อยแค่ไหน โดยในการปฏิบัตงานจริง อาจอธิบายไม่ครบทั้งหมดเพราะข้อจำกัดต่างๆ แต่อย่างน้อยที่สุด ต้องตอบคำถามคนไข้ให้ครบและชัดเจน เช่น อาจไม่ได้บอกว่าสาเหตุของท้องร่วงเกิดจากอะไรแต่ถ้าคนไข้ถามก็ต้องบอก เป็นต้น ซึ่งในกรณีของผมนั้น ไม่เพียงแต่หมอไม่พยายามตอบ แต่กลับตอบไม่ตรงคำถามซะด้วย ถึงตอนนี้ผมเริ่มสงสัยว่าหมอมีความบกพร่องเรื่องทักษะการสื่อสารด้วยคำพูดรึเปล่า
ผมจึงข้ามเรื่องนี้ไปเพราะผมอยากรู้เพื่อเป็นความรู้เฉยๆ ยังไงก็ตัดสินใจรักษาอยู่แล้ว
ผมจึงถามเรื่องขูดหินปูนต่อ ปรากฎว่าที่จริงแล้วหมอฟันทั่วไปก็ขูดหินปูนให้พ่อผมได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นหมอเฉพาะทางโรคเหงือกอย่างที่คลินิกเดิมว่าเลย
หมอบอกว่าหินปูนอาจจะเยอะหน่อย แต่ก็ให้ทันตแพทย์ทั่วไปขูดได้
โดยสรุปคือ
หมอที่ คลินิก ปฏิเสธการรักษา อาจเป็นเพราะหินปูนเยอะเกินไป โดยใช้ข้ออ้างว่าจำเป็นต้องขูดโดยหมอเฉพาะทางโรคเหงือกเท่านั้น
หมอที่ รพ.รัฐ มีอีโก้สูง พูดจาไม่ดี ตำหนิญาติคนไข้โดยไม่จำเป็น สื่อสารบกพร่อง ตอบไม่ตรงคำถาม ให้ข้อมูลคนไข้น้อยเกินไป
สังเกตว่าทั้งสองปัญหาไม่ไช่ปัญหาของความรู้ความสามารถ
แต่เป็นปัญหาเรื่องการดูและเอาใจใส่คนไข้ทั้งนั้น...
สรุป
1. ถ้าคุณไปรักษาฟันที่คลินิกแห่งหนึ่งแล้วเขาบอกว่ารักษาไม่ได้ ให้ลองไปรักษาที่คลินิกอื่นแทน อาจจะได้รับคำตอบและคำแนะนำที่แตกต่างกันได้ เพราะบางครั้ง การเข้าโรงพยาบาลไม่ว่ารัฐหรือเอกชน อาจไม่สะดวกนัก ทั้งเรื่องการเดินทาง เวลา หรือการเงิน
2. ถ้าคุณเจอหมอที่พูดจาไม่ดี ให้เลือกถามคำถามที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการรักษาของคุณก่อน ยังไงก็ต้องถามให้ได้ข้อมูลมา แม้หมอจะขี้เกียจตอบแค่ไหนก็ตาม ส่วนคำถามอื่น ถ้าหมอไม่ว่างคุณอาจจะไม่ถาม เพื่อให้หมอได้รักษาคนอื่นต่อ(รพ.รัฐคนไข้เยอะมาก) หรือถ้าว่างและอยากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใครบางคนเพราะบางครั้งหมอก็ขี้เกียจเฉยๆ ไม่เกี่ยวกับคนไข้เยอะ คุณก็ถามได้ คุณมีสิทธินั้น แต่ถ้าถามกวนๆ เมื่อไหร่ หมอก็มีสิทธิไม่ตอบคุณเช่นกัน
3. ถ้าคุณเป็นทันตแพทย์ อยากให้เข้าใจว่าเจตนาของผมไม่ได้เหมารวมถึงวิชาชีพ แต่เป็นการกล่าวถึงพฤติกรรมของทันตแพทย์เฉพาะบุคคลครับ
4. ถ้าคุณเป็นหรือกำลังจะเป็นบุคลากรในระบบสาธารณสุข อยากให้กรณี้เป็นตัวอย่างไม่ดีให้คุณหลีกเลี่ยงที่จะเป็น เหมือนเช่นที่ผมจะจดจำไว้เป็นบทเรียนเช่นกันครับ