กระทู้ที่ตั้งกันขึ้นมาหรือแลกเปลี่ยนทางความคิดและทัศนะคติของแต่ละท่าน วันนี้ผมก็จะได้มาพูดเล่าประสบการณ์ของผม(อ.วัวัฒน์ รัชดา) เกี่ยวกับพระสกุลลำพูน ว่าด้วยเรื่องคราบกรุ ของพระสกุลลำพูนที่จับตัว กับองค์พระปฏิมาอันแสนวิเศษของพระกรุสกุลลำพูนของเรา .......... เริ่มแรกเรามาดูกันก่อนว่าสิ่งที่เราจะพูดคือเรื่อง ๆ อะไร ...โดยวันนี้ผมตั้งใจจะเล่าสู่กันฟังถึงเรื่องคราบกรุ และ การพบเจอพระพิมพ์ต่าง ๆ ในแต่ละกรุ พอสังเขป เริ่มต้นด้วยเรื่องคราบกรุเลยแล้วกัน ....ว่าพระที่เราถือนั้น คราบกรุแบบนี้ เป็นคราบกรุของวัดอะไร ซึ่งคราบที่มีปัญหามากที่สุดในปัจจุบันคงจะหนีไม่พ้น คราบของวัดมหาวัน เพราะดูจากหลายๆ กระทู้ก็เป็นการถกกันถึง เรื่องวัดมหาวันทั้งสิ้น ด้วยอาจเป็นเพราะว่า พระที่พบเจอจากวัดมหาวัน อาจมีราคาหรือมีภาษีดีกว่าพระที่พบเจอที่วัดอื่น ๆ หรือเพราะว่าอยู่กับพระรอดที่มีมูลค่าแพงแสนแพง หรืออย่างไรทั้งที่เป็นพระพิมพ์เดียวกันที่พบเจอในจุดอื่น ๆ จุดนี้ก็สามารถคิดและวิเคราะห์ได้ตามแต่จิตใจของแต่ละท่าน เอาละทีนี้เรามาพูดถึงเรื่องคราบกรุ(ดิน) ของวัดมหาวันกันดีกว่าซึ่งวันนี้เป็นเรื่องหลักที่จะพูดถึง ผมเชื่อว่าทุก ๆ ท่านคงรู้ใช่ไหมครับว่า ราคาเช่าหาพระรอด มหาวันนั้นมีราคาที่สูงลิบลิ่ว ตั้งแต่ครั้งอดีต จนถึงปัจจุบัน และจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต ด้วยราคาที่สูงนี้ แน่นอนครับ ว่าในอดีตที่วัดมหาวันนั้นก็ต้องมีนักล่าสมบัติใต้ดินบ้าง ขุดเจดีย์ บ้าง มาอย่างช้านาน ถ้าเราย้อน ๆ ดู ตามที่มีกาบันทึกไว้ว่ามีการพบพระรอดครั้งแรก ก็ นู่น ปี 2435 นับอายุได้ ร้อยกว่าปีมาแล้ว ซึ่งครั้งนี้เป็นเหตุเพราะว่าเจดีย์ทรุดโทรมและพังทลายลงมา เจ้าหลวงของลำพูนได้ให้นำทรากปรักหักพังไปถมหนองน้ำ ในบริเวณวัด พระรอดส่วนหนึ่งก็ได้นำไปบรรจุไว้ในเจดีย์และบูรณะดังเดิม บางส่วนก็ถูกคนนำไปบูชา บางส่วนก็ปะปนไปกับส่วนที่เอาไปถม หนองน้ำ ต่อมาก็มีการขุดค้นหาพระรอดกันเรื่อยมา จนปี 2498 มีการบูรณะกุฏิเจ้าอาวาส ซึ่งมีการขุดเพื่อลงสร้างฐานการก่อสร้าง โดยครั้งนี้ได้พระรอดหลักหลายร้อยองค์ และอยู่ในขั้นดินที่ลึก ซึ่งลักษณะคราบกรุมักจะมีสีเหลืองปนทราย ส่วนในชั้นดินทั่วไป หรือภาษาเหนือเรียกดินดำนั้น พบเจอน้อยมาก ไม่กี่องค์ และในคราวนี้เอง นอกจากพระรอดแล้ว ก็ยังมีการพบเจอพระพิมพ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น พระคง พระเปิม พระบาง พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด งบน้ำอ้อย พระกาบกล้วย พระกวาง และพระพิมพ์อ่นๆ อีกมายมาย และภาชนะดินเผา .......ต่อมาการขุดค้นหาพระรอดก็ยังไม่หยุดถึงแม้ในปัจจุบันนี้ก็หากมีการบูรณะหรือก่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ก็มักจะได้พระสกุลลำพูนออกมาเสมอ แต่จำนวนไม่มากนัก
เอาล่ะครับ จากรูปที่ผมลงไปนั้น #รูปแรกจะเป็นพระรอด มหาวัน พิมพ์เล็ก ที่สภาพเดิม ๆ มีคราบกรุจับค่อนข้างเยอะ และมีสีเหลืองปนส้ม และมีลักษณะปนทราย ซึ่งชัดเจนมาก #ต่อมาเป็นรูปพระคง ที่พบเจอบริเวณหลังวัด มหาวันก็มีลักษณะคราบกรุที่เหมือนประรอดทุกประการ แต่เอกลักษณ์รวมก็ยังเหมือนพระคง ที่พบเจอที่วัดพระคง #ส่วนรูปต่อมาเป็นรูปพระเปิม #และรูปสิกขี ที่พบเจอที่วัดมหาวัน ก็มีลักษณะเดียวกันทุกประการ ซึ่งพระที่พบเจอเหล่านี้จะอยู่ในชั้นดินที่ไม่เคยถูกรบกวนโดยมือมนุษย์เลย หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ดินชั้นพระ ซึ่งค่อนข้างลึก นั่นเอง .....หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมพระบางองค์ที่เราพบเจอที่วัดมหาวันเหมือนกันแต่คราบกรุไม่เป็นสีดังกล่าว เรามาดูความเป็นจริงก่อนนะครับ ว่าที่วัดมหาวัน นั้นมีการขุดหาพระมาอย่างช้านาน สมัยก่อน หลังวัดมหาวัน ยังกับโดนระเบิด RPG ลง มีแต่หลุ่มแต่บ่อ ที่นักขุดพระมาขุดกันไว้ และการขุดนี้เองที่พระบางองค์ก็หลุดรอดจากนักขุดพระ เมื่อถม ในจุดที่ขุด ดินที่ผสมปนเปกันทั้งดินชั้นพระ และชั้นดินที่ไม่มีพระ ก็ผสมเข้าด้วยกัน กาลเวลาผ่านไป ทั้งความชื้น น้ำในพื้นดิน ฝน ก็ผสมผสาน คราบทั้งเก่าทั้งใหม่ เข้าด้วยกัน จนสีคราบเกิดความผิดเพี้ยนไป และกรณีที่มีการพูดคุยกันว่า พระรอดที่เกจิสร้างใหม่แล้วนำไปฝังไว้ในวัดทำไมมีมีสีของคราบกรุ แบบต้นฉบับ เรามองได้ 2 ประเด็นคือ// 1 ฝังในชั้นดินที่ไม่ใช่ชั้นที่พระอยู่ ตัวอย่างเช่น พระอยู่ในชั้นดินความลึกที่ 2 เมตร แต่เราฝังที่ 1 เมตร แน่นอนคราบที่จับต้องไม่เหมือนกันแน่นอน //2 นำไปฝังไว้ในจุดที่เคยถูกขุดมาแล้วและผสมผสานจนดินชั้นนั้นเปลี่ยนสภาพไป ...... ในวงการคนขุดพระ มักจะเรียก ดิน จุดที่ขุด ว่า ถ้าที่ #ซิง หมายความว่าดินในจุดนั้นยังไม่เคยถูกขุดมาก่อนโอกาสที่จะเจอพระสูงมาก แต่ถ้าดินไม่ซิง หมายความความโอกาสที่จะพบพระนั้นน้อยมาก เพราะถูกขุดมาแล้ว อาจมีบางองค์ที่เล็ดลอดไปได้จากการขุดคราวก่อน .....เอาละครับ ค่อนข้างที่จะอธิบายยาวไปหน่อย .... สรุปเรื่องคราบกรุ ก่อนว่า ถ้าพระที่พบเจอในชั้นที่ควรจะเป็น พระส่วนมากจะมีสีคราบกรุแบบตัวอย่างแน่นอน และพระพิมพ์อื่น ๆ ก็เช่นกัน พระบางองค์ ที่พบเจอ มี่มหาวัน ตัวอย่างเช่น #พระเปิม 2 องค์ ในรูป ภูกพบเจอที่มหาวันเช่นกัน คราบกรุชัดเจน แต่ทว่ามีพิมพ์ทรงเนื้อหา ขนาด เหมือนกรุดอนแก้วทุกประการ ถ้าล้างคราบกรุออกหมด เชื่อว่าทุก ๆ ท่านก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันคือ วัดดอนแก้ว ส่วนภาพ ต่อมาคือ #พระลือ หน้ามงคล ที่มีพิมพ์ทรง เนื้อหา เหมือนที่พบวัดประตูลี้ 100 % เพียงทว่าพระทั้ง 3 องค์ ล้วนพบเจอที่กรุวัดพระคง และเราก็ไม่ได้พบเจอเพียงเท่านั้นนะครับ ส่วนตัวผมเคยเห็นพระลือที่เจอจากวัดพระคง มาหลายสิบองค์ รูปต่อมา #เป็นรูปพระบาง กรุครูขาว (หลังวัดพระคง) องค์เแรกสีเขียว มีเนื้อละเอียดเนียนเหมือนกันดอนแก้ว รูปสุดท้ายเป็นรูปพระเลี่ยง พิมพ์วัดมหาวัน แต่พบเจอที่ประตูลี้ แะพึ่งพบเจอเมื่อไม่นานมานี้เอง และพบเจอหลายองค์ด้วยที่เป็นพิมพ์นี้แต่ส่วนใหญ่จะชำรุด พระมีความเหมือนของวัดมหาวัน 100 % ต่างที่คราบกรุเท่านั้น ถ้าล้างออกหมดก็ไม่สามารถรู้ได้แล้วว่าพบเจอที่ประตูลี้ จากที่พูดมาทั้งหมด ก็ได้ใจความว่า ...... พระพิมพ์ต่าง ๆ ของลำพูน นอกจากเราจะพบเจอพระพิมพ์นั้น ๆ ที่กรุแม่ (กรุที่พบเจอมากที่สุด) ก็ยังพบเจอในอีก ๆ หลาย ๆ วัด พิมพ์ทรงเนื้อหาไม่ได้แตกต่างกันเลย ต่างกันจุดเดียวคือคราบกรุ เท่านั้นที่เป็นตัวบ่งชี้ ว่า พบเจอจุดไหน ถ้าพระองค์นั้น ๆ ถูกล้างคราบกรุออกจนหมดสิ้น พระองค์นั้นก็จะตกไปเป็นที่กรุที่พบเจอมากที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย และบางท่านมีข้อคิดว่าถ้าอย่างนั้น พระกรุไหนแพงได้ราคาดี เดี๋ยวก็เอาไปทำเป็นพระกรุนั้น ไม่ดีหรอ ตรงนี้ เรื่องคราบกรุนั้น ทำได้ยากให้เหมือนของเดิม เพราะพระที่มีคราบกรุเดิมนั้น ผ่านการฝังตัวในชั้นดินมาอย่างยาวนาน ยากนักที่จะปลอมแปลงคราบกรุขั้นมาใหม่ด้ย เรามีวิธีที่ตรวจได้ไม่ยากอะไรมากนัก ซึ่งจะพูดในวาระต่อไป
มาถึงจุดนี้ .....จุดมุ่งหมายของกระทู้นี้ก็เพียงเพื่อแนะนำให้พื่อนสมาชิกที่ไม่เคยมีโอกาสในการขุดพระหรือเคยเห็นการขุดพระได้ฟังจากประสบการณ์เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน เราเป็นนักศึกษาพระ นักสะสมพระ ซึ่งพระพิมพ์ก็เป็นรูปปฏิมาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างน้อย ผู้ที่เลื่อมใสในพระบรมฉายาลักษณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ย่อมเป็นมงคลอันอุดม และอย่างน้อยที่สุดใจเขาก็ไม่ห่างเหินในพระธรรมของพระองค์เป็นแน่แท้
การที่เราสะสมพระกรุสกุลลำพูน ไม่ว่าพระพิมพ์นั้นพระพิมพ์นี้ จะถูกพบเจอที่วัดไหน ๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร เพียงแค่พระองค์นั้น ๆ #แท้ ถูกต้องทั้งกายภาพพิมพ์ทรง เนื้อหา และธรรมชาติความเก่า ก็เป็นอันถึงที่หมายของการสะสมแล้วเปรียบได้เหมือน #แก่นแท้ ส่วนเรื่องกรุ จุดพบเจอนั้นเป็นเพียงเรื่องรอง #ซึ่งเป็นกระพี้หรือเปลือกนอกเท่านั้นเอง
พระองค์ไหน ๆ ไม่มีคราบกรุ แต่ดูแล้วว่าแท้ ก็ตกไปเป็นของกรุแม่ ที่มีการพบเจอมากที่สุด องค์ไหนมีคราบกรุเดิมพอที่จะสามารถพิจารณาได้ว่ามาจากวัดไหนก็ว่ากันไปตามเรื่อง ที่กล่าวมา ดีต่อใจ ดีต่อการสะสม ไม่มีอะไรมากกว่านี้แล้วครับ เป็นเรื่องที่ดีที่เรามาร่วมคิด ร่วมวิเคราะ์ถึงความเป็นไปได้ในทุกแง่ทุกมุมเท่าที่เราจะทำได้และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่ตกเป็นของผู้ใดคนใดคนหนึ่ง แต่ผลประโยชน์ละความรู้ที่ตกผลึกทางความคิดจะตกเป็นของทุก ๆ ท่านทุก ๆ คน ที่รักและศรัทธาในพระสกุลลำพูน ตราบนานเท่านาน
สุดท้ายผมขอให้ความรู้ที่ผมสะสมมาทั้งหมดและกลั่นกรองออกมาและนำมาเสนอกันนั้น ไม่มากก็น้อย เป็นดุจกระทงอันน้อย ตกแต่งด้วยกลีบบัว ธูปเทียน บรรจงลอยล่องไปตามมหาสาครแห่งการศึกษาขององค์พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
#ขอขอบคุณรูปภาพจากเจ้าของพระที่ใช้เพื่อการศึกษาทุก ๆ ท่านด้วยนะครับ
ปล.ยังไม่จบมีต่อเรื่อง อัตลักษณ์ ของพระ แทรกอยู่ในกระทู้ ด้วยนะครับ
ทั้งหมดนี้เป็นความรู้ ของ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระสกุลลำพูน คือ อ.ศักดิ์ ลำพูนอดีตประธานพระเครื่องลำพูน และ อ.วัวัฒน์ รัชดา และ มุมพระสกุลลำพูน
นี่เป็นกลุ่มของมุมพระครับ
https://www.facebook.com/groups/1538959019719052/
https://www.mumpra.com/
ทฤษฏีคราบกรุ พระสกุลลำพูน
เอาล่ะครับ จากรูปที่ผมลงไปนั้น #รูปแรกจะเป็นพระรอด มหาวัน พิมพ์เล็ก ที่สภาพเดิม ๆ มีคราบกรุจับค่อนข้างเยอะ และมีสีเหลืองปนส้ม และมีลักษณะปนทราย ซึ่งชัดเจนมาก #ต่อมาเป็นรูปพระคง ที่พบเจอบริเวณหลังวัด มหาวันก็มีลักษณะคราบกรุที่เหมือนประรอดทุกประการ แต่เอกลักษณ์รวมก็ยังเหมือนพระคง ที่พบเจอที่วัดพระคง #ส่วนรูปต่อมาเป็นรูปพระเปิม #และรูปสิกขี ที่พบเจอที่วัดมหาวัน ก็มีลักษณะเดียวกันทุกประการ ซึ่งพระที่พบเจอเหล่านี้จะอยู่ในชั้นดินที่ไม่เคยถูกรบกวนโดยมือมนุษย์เลย หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ดินชั้นพระ ซึ่งค่อนข้างลึก นั่นเอง .....หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมพระบางองค์ที่เราพบเจอที่วัดมหาวันเหมือนกันแต่คราบกรุไม่เป็นสีดังกล่าว เรามาดูความเป็นจริงก่อนนะครับ ว่าที่วัดมหาวัน นั้นมีการขุดหาพระมาอย่างช้านาน สมัยก่อน หลังวัดมหาวัน ยังกับโดนระเบิด RPG ลง มีแต่หลุ่มแต่บ่อ ที่นักขุดพระมาขุดกันไว้ และการขุดนี้เองที่พระบางองค์ก็หลุดรอดจากนักขุดพระ เมื่อถม ในจุดที่ขุด ดินที่ผสมปนเปกันทั้งดินชั้นพระ และชั้นดินที่ไม่มีพระ ก็ผสมเข้าด้วยกัน กาลเวลาผ่านไป ทั้งความชื้น น้ำในพื้นดิน ฝน ก็ผสมผสาน คราบทั้งเก่าทั้งใหม่ เข้าด้วยกัน จนสีคราบเกิดความผิดเพี้ยนไป และกรณีที่มีการพูดคุยกันว่า พระรอดที่เกจิสร้างใหม่แล้วนำไปฝังไว้ในวัดทำไมมีมีสีของคราบกรุ แบบต้นฉบับ เรามองได้ 2 ประเด็นคือ// 1 ฝังในชั้นดินที่ไม่ใช่ชั้นที่พระอยู่ ตัวอย่างเช่น พระอยู่ในชั้นดินความลึกที่ 2 เมตร แต่เราฝังที่ 1 เมตร แน่นอนคราบที่จับต้องไม่เหมือนกันแน่นอน //2 นำไปฝังไว้ในจุดที่เคยถูกขุดมาแล้วและผสมผสานจนดินชั้นนั้นเปลี่ยนสภาพไป ...... ในวงการคนขุดพระ มักจะเรียก ดิน จุดที่ขุด ว่า ถ้าที่ #ซิง หมายความว่าดินในจุดนั้นยังไม่เคยถูกขุดมาก่อนโอกาสที่จะเจอพระสูงมาก แต่ถ้าดินไม่ซิง หมายความความโอกาสที่จะพบพระนั้นน้อยมาก เพราะถูกขุดมาแล้ว อาจมีบางองค์ที่เล็ดลอดไปได้จากการขุดคราวก่อน .....เอาละครับ ค่อนข้างที่จะอธิบายยาวไปหน่อย .... สรุปเรื่องคราบกรุ ก่อนว่า ถ้าพระที่พบเจอในชั้นที่ควรจะเป็น พระส่วนมากจะมีสีคราบกรุแบบตัวอย่างแน่นอน และพระพิมพ์อื่น ๆ ก็เช่นกัน พระบางองค์ ที่พบเจอ มี่มหาวัน ตัวอย่างเช่น #พระเปิม 2 องค์ ในรูป ภูกพบเจอที่มหาวันเช่นกัน คราบกรุชัดเจน แต่ทว่ามีพิมพ์ทรงเนื้อหา ขนาด เหมือนกรุดอนแก้วทุกประการ ถ้าล้างคราบกรุออกหมด เชื่อว่าทุก ๆ ท่านก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันคือ วัดดอนแก้ว ส่วนภาพ ต่อมาคือ #พระลือ หน้ามงคล ที่มีพิมพ์ทรง เนื้อหา เหมือนที่พบวัดประตูลี้ 100 % เพียงทว่าพระทั้ง 3 องค์ ล้วนพบเจอที่กรุวัดพระคง และเราก็ไม่ได้พบเจอเพียงเท่านั้นนะครับ ส่วนตัวผมเคยเห็นพระลือที่เจอจากวัดพระคง มาหลายสิบองค์ รูปต่อมา #เป็นรูปพระบาง กรุครูขาว (หลังวัดพระคง) องค์เแรกสีเขียว มีเนื้อละเอียดเนียนเหมือนกันดอนแก้ว รูปสุดท้ายเป็นรูปพระเลี่ยง พิมพ์วัดมหาวัน แต่พบเจอที่ประตูลี้ แะพึ่งพบเจอเมื่อไม่นานมานี้เอง และพบเจอหลายองค์ด้วยที่เป็นพิมพ์นี้แต่ส่วนใหญ่จะชำรุด พระมีความเหมือนของวัดมหาวัน 100 % ต่างที่คราบกรุเท่านั้น ถ้าล้างออกหมดก็ไม่สามารถรู้ได้แล้วว่าพบเจอที่ประตูลี้ จากที่พูดมาทั้งหมด ก็ได้ใจความว่า ...... พระพิมพ์ต่าง ๆ ของลำพูน นอกจากเราจะพบเจอพระพิมพ์นั้น ๆ ที่กรุแม่ (กรุที่พบเจอมากที่สุด) ก็ยังพบเจอในอีก ๆ หลาย ๆ วัด พิมพ์ทรงเนื้อหาไม่ได้แตกต่างกันเลย ต่างกันจุดเดียวคือคราบกรุ เท่านั้นที่เป็นตัวบ่งชี้ ว่า พบเจอจุดไหน ถ้าพระองค์นั้น ๆ ถูกล้างคราบกรุออกจนหมดสิ้น พระองค์นั้นก็จะตกไปเป็นที่กรุที่พบเจอมากที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย และบางท่านมีข้อคิดว่าถ้าอย่างนั้น พระกรุไหนแพงได้ราคาดี เดี๋ยวก็เอาไปทำเป็นพระกรุนั้น ไม่ดีหรอ ตรงนี้ เรื่องคราบกรุนั้น ทำได้ยากให้เหมือนของเดิม เพราะพระที่มีคราบกรุเดิมนั้น ผ่านการฝังตัวในชั้นดินมาอย่างยาวนาน ยากนักที่จะปลอมแปลงคราบกรุขั้นมาใหม่ด้ย เรามีวิธีที่ตรวจได้ไม่ยากอะไรมากนัก ซึ่งจะพูดในวาระต่อไป
มาถึงจุดนี้ .....จุดมุ่งหมายของกระทู้นี้ก็เพียงเพื่อแนะนำให้พื่อนสมาชิกที่ไม่เคยมีโอกาสในการขุดพระหรือเคยเห็นการขุดพระได้ฟังจากประสบการณ์เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน เราเป็นนักศึกษาพระ นักสะสมพระ ซึ่งพระพิมพ์ก็เป็นรูปปฏิมาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างน้อย ผู้ที่เลื่อมใสในพระบรมฉายาลักษณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ย่อมเป็นมงคลอันอุดม และอย่างน้อยที่สุดใจเขาก็ไม่ห่างเหินในพระธรรมของพระองค์เป็นแน่แท้
การที่เราสะสมพระกรุสกุลลำพูน ไม่ว่าพระพิมพ์นั้นพระพิมพ์นี้ จะถูกพบเจอที่วัดไหน ๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร เพียงแค่พระองค์นั้น ๆ #แท้ ถูกต้องทั้งกายภาพพิมพ์ทรง เนื้อหา และธรรมชาติความเก่า ก็เป็นอันถึงที่หมายของการสะสมแล้วเปรียบได้เหมือน #แก่นแท้ ส่วนเรื่องกรุ จุดพบเจอนั้นเป็นเพียงเรื่องรอง #ซึ่งเป็นกระพี้หรือเปลือกนอกเท่านั้นเอง
พระองค์ไหน ๆ ไม่มีคราบกรุ แต่ดูแล้วว่าแท้ ก็ตกไปเป็นของกรุแม่ ที่มีการพบเจอมากที่สุด องค์ไหนมีคราบกรุเดิมพอที่จะสามารถพิจารณาได้ว่ามาจากวัดไหนก็ว่ากันไปตามเรื่อง ที่กล่าวมา ดีต่อใจ ดีต่อการสะสม ไม่มีอะไรมากกว่านี้แล้วครับ เป็นเรื่องที่ดีที่เรามาร่วมคิด ร่วมวิเคราะ์ถึงความเป็นไปได้ในทุกแง่ทุกมุมเท่าที่เราจะทำได้และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่ตกเป็นของผู้ใดคนใดคนหนึ่ง แต่ผลประโยชน์ละความรู้ที่ตกผลึกทางความคิดจะตกเป็นของทุก ๆ ท่านทุก ๆ คน ที่รักและศรัทธาในพระสกุลลำพูน ตราบนานเท่านาน
สุดท้ายผมขอให้ความรู้ที่ผมสะสมมาทั้งหมดและกลั่นกรองออกมาและนำมาเสนอกันนั้น ไม่มากก็น้อย เป็นดุจกระทงอันน้อย ตกแต่งด้วยกลีบบัว ธูปเทียน บรรจงลอยล่องไปตามมหาสาครแห่งการศึกษาขององค์พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
#ขอขอบคุณรูปภาพจากเจ้าของพระที่ใช้เพื่อการศึกษาทุก ๆ ท่านด้วยนะครับ
ปล.ยังไม่จบมีต่อเรื่อง อัตลักษณ์ ของพระ แทรกอยู่ในกระทู้ ด้วยนะครับ
ทั้งหมดนี้เป็นความรู้ ของ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระสกุลลำพูน คือ อ.ศักดิ์ ลำพูนอดีตประธานพระเครื่องลำพูน และ อ.วัวัฒน์ รัชดา และ มุมพระสกุลลำพูน
นี่เป็นกลุ่มของมุมพระครับ
https://www.facebook.com/groups/1538959019719052/
https://www.mumpra.com/