วันนี้เพิ่งสังเกตสิ่งผิดปกติในชื่อชนิดย่อยวิทยาศาสตร์ของนกกินปลีหางเขียวชนิดย่อยดอยอ่างกา Aethopyga nipalensis angkanensis Riley, 1929
ซึ่งชื่อชนิดย่อย บ่งบอกแหล่งที่ค้นพบตัวอย่างนกชนิดย่อยนี้ คือ ดอยอ่างกา หรือ ดอยอินทนนท์ที่ทุกคนรู้จัก ซึ่งการทำให้ชื่ออ่างกา ให้เป็นอักษรโรมันจะได้
Angka และทำให้เป็นคำคุณศัพท์ละตินโดยเติมปัจจัย บ่งบอกที่มาสถานที่ คือ -ensis , -ense ดังนั้น เราจะได้ angkaensis , angkaense
ซึ่งก็มีใช้ในแมลงริ้นน้ำเค็ม และริ้นดำ ดังนี้
ริ้นดำดอยอ่างกา หรือ คุ่นดอยอ่างกา Simulium (Montisimutium) angkaense Takaoka and Choochote, 2005 (Simuliidae Newman, 1834)
และ ริ้นดอยอ่างกา Culicoides angkaensis Kitaoka, Takaoka and Choochote, 2005 (Ceratopogonidae Newman, 1834)
ดังนั้น ชื่อชนิดย่อยของนกกินปลีหางเขียวดอยอ่างกา น่าจะเป็นการสะกดผิดพลาด ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ในการจัดพิมพ์ หรืออาจจะเป็นการจงใจเพื่อให้ออกเสียงง่าย หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อตรวจสอบกฎเรียกชื่อสากลทางสัตวศาสตร์ iczn 4th edition (2000) Article 32, 33 พบว่า ในกรณีนี้ กฎไม่อนุญาตให้มีการแก้ไข เพราะในกรณีนี้น่าจะไม่ได้จัดเป็นการผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจของผู้ตั้งชื่อ หรือสำนักพิมพ์ not an inadvertent error หากแต่มีข้อยกเว้นว่า หากมีการใช้แบบแก้ไขโดยทั่วไปจนเป็นที่ยอมรับ ก็ถือเป็น การสะกดแก้ไขที่ถูกกฎได้ correct subsequent spelling และถือเป็น การแก้ไขที่เป็นที่ยอมรับหรือพิสูจน์แล้ว Justified emendation แต่ในกรณีนี้ไม่เข้าเกณฑ์ เพราะเอกสารอ้างอิงทางปักษีวิทยาส่วนใหญ่ยังคงสะกดแบบมีแผลง n เข้าไปอยู่เหมือนตอนตีพิมพ์ แม้จะมีบางแหล่งทำการแก้โดยตัด n ออก แต่น่าจะถือเป็น incorrect subsequent spelling การสะกดแก้ที่ผิดกฎ
ดังนั้นชื่อที่ถูกต้องของ
นกกินปลีหางเขียวดอยอ่างกา คือ Aethopyga nipalensis angkanensis Riley, 1929
เหมือนเดิมครับ
ขอบคุณภาพโดย Apisit Wilaijit
ติดตามอ่านบทความได้ใน blog gang: Paphmania
และใน fb : พันศาสตร์พันภาษา
*** ปิดโหวต วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2560 เวลา 22:45:25 น.
###ข้อสงสัยเกี่ยวกับชื่อละตินของชนิดย่อยของชื่อวิทยาศาสตร์ ของนกกินปลีหางเขียว ที่ใช้บ่งบอกถึงคำไทย อ่างกา ดอยอินทนนท์##
วันนี้เพิ่งสังเกตสิ่งผิดปกติในชื่อชนิดย่อยวิทยาศาสตร์ของนกกินปลีหางเขียวชนิดย่อยดอยอ่างกา Aethopyga nipalensis angkanensis Riley, 1929
ซึ่งชื่อชนิดย่อย บ่งบอกแหล่งที่ค้นพบตัวอย่างนกชนิดย่อยนี้ คือ ดอยอ่างกา หรือ ดอยอินทนนท์ที่ทุกคนรู้จัก ซึ่งการทำให้ชื่ออ่างกา ให้เป็นอักษรโรมันจะได้
Angka และทำให้เป็นคำคุณศัพท์ละตินโดยเติมปัจจัย บ่งบอกที่มาสถานที่ คือ -ensis , -ense ดังนั้น เราจะได้ angkaensis , angkaense
ซึ่งก็มีใช้ในแมลงริ้นน้ำเค็ม และริ้นดำ ดังนี้
ริ้นดำดอยอ่างกา หรือ คุ่นดอยอ่างกา Simulium (Montisimutium) angkaense Takaoka and Choochote, 2005 (Simuliidae Newman, 1834)
และ ริ้นดอยอ่างกา Culicoides angkaensis Kitaoka, Takaoka and Choochote, 2005 (Ceratopogonidae Newman, 1834)
ดังนั้น ชื่อชนิดย่อยของนกกินปลีหางเขียวดอยอ่างกา น่าจะเป็นการสะกดผิดพลาด ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ในการจัดพิมพ์ หรืออาจจะเป็นการจงใจเพื่อให้ออกเสียงง่าย หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อตรวจสอบกฎเรียกชื่อสากลทางสัตวศาสตร์ iczn 4th edition (2000) Article 32, 33 พบว่า ในกรณีนี้ กฎไม่อนุญาตให้มีการแก้ไข เพราะในกรณีนี้น่าจะไม่ได้จัดเป็นการผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจของผู้ตั้งชื่อ หรือสำนักพิมพ์ not an inadvertent error หากแต่มีข้อยกเว้นว่า หากมีการใช้แบบแก้ไขโดยทั่วไปจนเป็นที่ยอมรับ ก็ถือเป็น การสะกดแก้ไขที่ถูกกฎได้ correct subsequent spelling และถือเป็น การแก้ไขที่เป็นที่ยอมรับหรือพิสูจน์แล้ว Justified emendation แต่ในกรณีนี้ไม่เข้าเกณฑ์ เพราะเอกสารอ้างอิงทางปักษีวิทยาส่วนใหญ่ยังคงสะกดแบบมีแผลง n เข้าไปอยู่เหมือนตอนตีพิมพ์ แม้จะมีบางแหล่งทำการแก้โดยตัด n ออก แต่น่าจะถือเป็น incorrect subsequent spelling การสะกดแก้ที่ผิดกฎ
ดังนั้นชื่อที่ถูกต้องของ
นกกินปลีหางเขียวดอยอ่างกา คือ Aethopyga nipalensis angkanensis Riley, 1929
เหมือนเดิมครับ
ขอบคุณภาพโดย Apisit Wilaijit
ติดตามอ่านบทความได้ใน blog gang: Paphmania
และใน fb : พันศาสตร์พันภาษา