ตามหัวข้อข้างบนเลยครับ
คำถามย่อยครับ
- ระบบกองทัพแปดธงเทียบเท่ากับชาติไหนบ้าง
- ระบบแปดธง กับ ระบบทหารของหมิงนี่ตกลงแล้วอันไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากันครับ
- เอาเข้าจริงๆ เอากองทัพหมิงสู้กับกองทัพแมนจู โดยที่ไม่เปิดด่านซันไห่กวนคิดว่าให้ตายแมนจูจะเข้ามาได้ไหมครับ ซึ่งเห็นกระทู้ อย่าง
ถ้าอู๋ซานกุ้ย ไม่เปิดด่านซันไห่กวนให้ คิดว่าพวกแมนจูสามารถตีด่านซันไห่กวนแตกได้หรือเปล่าครับ ของ คุณ Destiny-Boy มีคนตอบว่าไม่มีทางถ้าอู๋ซานกุ้ยไม่เปิด แต่กบฏชาวนาก็มาทิ่มหลังอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นดูเหมือนยังไงก็ต้องเปิดอยู่ดีนะผมว่า (ในกรณีที่อู๋ซานกุ้ยต้องรักษาชีวิต รวมถึงตำแหน่งตัวเองไว้ รึเปล่าก็ไม่รู้นะเดาๆ ไปงั้น)
- จากคำถามข้างบน ถ้ากองทัพหมิงสู้กับกองทัพแมนจูง(ชิง) ที่นอกด่านนี่แมนจูชนะขาดเลยใช่ไหม เพราะชำนาญในพื้นที่
แปดกองธง (จีน: 八旗, พินอิน: baqí) เป็นกองกำลังทหารในยุคราชวงศ์ชิงในประวัติศาสตร์จีน เป็นการจัดการบริหารและวางกองกำลังต่อสู้ของราชวงศ์ชิง โดยผู้ที่สถาปนากองทัพนี้ คือ จักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (ค.ศ. 1559-ค.ศ. 1629) ปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ โดยมีสัญลักษณ์เป็นธงที่มีสีสันต่าง ๆ แตกต่างออกไป และเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันเมืองหลวง คือ ปักกิ่ง
ซึ่งการจัดกำลังออกเป็น 8 ส่วนนี้ จะใช้ผู้คุมกำลังเป็นผู้ที่สัมพันธ์หรือเป็นญาติกันในตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว ซึ่งเป็นตระกูลของจักรพรรดิและพระญาติวงศ์ในราชวงศ์ชิง ซึ่งผู้ที่เคยเป็นผู้บังคับบัญชาแปดกองธงนี้บุคคลหนึ่ง ก็คือ อาปาไห่ หรือต่อมาก็คือ จักรพรรดิหวงไถจี๋ (ค.ศ. 1592-ค.ศ. 1643) ซึ่งเป็นราชบุตรลำดับที่ 8 และได้ครองราชย์ในเวลาต่อมา
โดยเริ่มจากหัวหน้าชนเผ่าแมนจูต่าง ๆ ที่นู๋เอ๋อร์ฮาชื้อเคยปราบมา ก่อนจะรวบรวมชาวแมนจูเป็นหนึ่งเดียวโค่นราชวงศ์หมิงได้สำเร็จ มีการเก็บภาษีและการระดมพลก็ระดมผ่านกองธงต่าง ๆ ไล่มาจากหัวหน้าหน่วยบริหารระดับล่างขึ้นมาข้างบน ซึ่งกระบวนการนี้ช่วยลดความแตกต่างของชนเผ่าและตระกูลนอกด่านทั้งหลายไปได้มาก นั่นทำให้นายทหารผู้บังคับหมวด นายทหารผู้บังคับกอง นายทหารคุมกองพัน และระดับแม่ทัพ จะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้บริหารและทหารไปพร้อม ๆ กัน แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันกับที่นู๋เอ๋อร์ฮาชื้อตราขึ้นมา และยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวมองโกล รวมถึงชาวฮั่นที่อยู่ในแถบตะวันออกด้วย ซึ่งถือได้ว่าทั้ง 3 ชนเผ่ามีส่วนร่วมในการก่อตั้งกองทัพแปดกองธงขึ้นมา จนสามารถแบ่งได้ถึง 24 กองธง เฉลี่ยกองธงละ 7,500 คน
แสนยานุภาพ : กองทัพแปดกองธงนี้ ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักค้ำบัลลังค์ให้ราชวงศ์ชิงอย่างแท้จริง ได้รับการยกย่องจากชาติตะวันตกว่าเป็นระบบการจัดตั้งกองทัพที่เข้มแข็งที่สุดในเอเชียตะวันออก ผงานของกองทัพแปดกองธงนี้มีอย่างมากมาย เช่น สงครามจีน-พม่า (ค.ศ. 1765-ค.ศ. 1769) , สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1894-ค.ศ. 1895) เป็นต้น และถูกอ้างอืงถึงในวรรณกรรมเรื่องต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะนิยายกำลังภายใน เช่น อุ้ยเสี่ยวป้อ เป็นต้น
ที่มา :
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%87
ชุดเกราะของกองทัพแปดธงคือ ชุดเกราะเหล็กบุผ้า(brigandine) มีแผ่นเหล็กเย็บติดอยู่ด้านในเสื้อ ทำจากแผ่นเหล็กชิ้นเล็กหลายๆชิ้นเรียงซ้อนกัน ยึดตรึงเข้ากับเสื้อผ้าไหมด้วยหมุดเหล็ก
ชุดเกราะเหล็กบุผ้า มีข้อดีตรงที่การเคลื่อนไหวสะดวก ป้องกันอาวุธมีคมและธนู(ยิงจากระยะไกล)ได้ดี รับแรงกระแทกได้ในระดับนึง ซึ่งราคาก็ย่อมแพงตามคุณภาพ ส่วนข้อเสียก็เรื่องราคาแพง ซ่อมยาก
ระบบกองทัพแปดธงของราชวงศ์ชิง นับว่ามีประสิทธิภาพ แสนยานุภาพมากมายแค่ไหนครับ
คำถามย่อยครับ
- ระบบกองทัพแปดธงเทียบเท่ากับชาติไหนบ้าง
- ระบบแปดธง กับ ระบบทหารของหมิงนี่ตกลงแล้วอันไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากันครับ
- เอาเข้าจริงๆ เอากองทัพหมิงสู้กับกองทัพแมนจู โดยที่ไม่เปิดด่านซันไห่กวนคิดว่าให้ตายแมนจูจะเข้ามาได้ไหมครับ ซึ่งเห็นกระทู้ อย่าง ถ้าอู๋ซานกุ้ย ไม่เปิดด่านซันไห่กวนให้ คิดว่าพวกแมนจูสามารถตีด่านซันไห่กวนแตกได้หรือเปล่าครับ ของ คุณ Destiny-Boy มีคนตอบว่าไม่มีทางถ้าอู๋ซานกุ้ยไม่เปิด แต่กบฏชาวนาก็มาทิ่มหลังอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นดูเหมือนยังไงก็ต้องเปิดอยู่ดีนะผมว่า (ในกรณีที่อู๋ซานกุ้ยต้องรักษาชีวิต รวมถึงตำแหน่งตัวเองไว้ รึเปล่าก็ไม่รู้นะเดาๆ ไปงั้น)
- จากคำถามข้างบน ถ้ากองทัพหมิงสู้กับกองทัพแมนจูง(ชิง) ที่นอกด่านนี่แมนจูชนะขาดเลยใช่ไหม เพราะชำนาญในพื้นที่
แปดกองธง (จีน: 八旗, พินอิน: baqí) เป็นกองกำลังทหารในยุคราชวงศ์ชิงในประวัติศาสตร์จีน เป็นการจัดการบริหารและวางกองกำลังต่อสู้ของราชวงศ์ชิง โดยผู้ที่สถาปนากองทัพนี้ คือ จักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (ค.ศ. 1559-ค.ศ. 1629) ปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ โดยมีสัญลักษณ์เป็นธงที่มีสีสันต่าง ๆ แตกต่างออกไป และเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันเมืองหลวง คือ ปักกิ่ง
ซึ่งการจัดกำลังออกเป็น 8 ส่วนนี้ จะใช้ผู้คุมกำลังเป็นผู้ที่สัมพันธ์หรือเป็นญาติกันในตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว ซึ่งเป็นตระกูลของจักรพรรดิและพระญาติวงศ์ในราชวงศ์ชิง ซึ่งผู้ที่เคยเป็นผู้บังคับบัญชาแปดกองธงนี้บุคคลหนึ่ง ก็คือ อาปาไห่ หรือต่อมาก็คือ จักรพรรดิหวงไถจี๋ (ค.ศ. 1592-ค.ศ. 1643) ซึ่งเป็นราชบุตรลำดับที่ 8 และได้ครองราชย์ในเวลาต่อมา
โดยเริ่มจากหัวหน้าชนเผ่าแมนจูต่าง ๆ ที่นู๋เอ๋อร์ฮาชื้อเคยปราบมา ก่อนจะรวบรวมชาวแมนจูเป็นหนึ่งเดียวโค่นราชวงศ์หมิงได้สำเร็จ มีการเก็บภาษีและการระดมพลก็ระดมผ่านกองธงต่าง ๆ ไล่มาจากหัวหน้าหน่วยบริหารระดับล่างขึ้นมาข้างบน ซึ่งกระบวนการนี้ช่วยลดความแตกต่างของชนเผ่าและตระกูลนอกด่านทั้งหลายไปได้มาก นั่นทำให้นายทหารผู้บังคับหมวด นายทหารผู้บังคับกอง นายทหารคุมกองพัน และระดับแม่ทัพ จะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้บริหารและทหารไปพร้อม ๆ กัน แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันกับที่นู๋เอ๋อร์ฮาชื้อตราขึ้นมา และยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวมองโกล รวมถึงชาวฮั่นที่อยู่ในแถบตะวันออกด้วย ซึ่งถือได้ว่าทั้ง 3 ชนเผ่ามีส่วนร่วมในการก่อตั้งกองทัพแปดกองธงขึ้นมา จนสามารถแบ่งได้ถึง 24 กองธง เฉลี่ยกองธงละ 7,500 คน
แสนยานุภาพ : กองทัพแปดกองธงนี้ ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักค้ำบัลลังค์ให้ราชวงศ์ชิงอย่างแท้จริง ได้รับการยกย่องจากชาติตะวันตกว่าเป็นระบบการจัดตั้งกองทัพที่เข้มแข็งที่สุดในเอเชียตะวันออก ผงานของกองทัพแปดกองธงนี้มีอย่างมากมาย เช่น สงครามจีน-พม่า (ค.ศ. 1765-ค.ศ. 1769) , สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1894-ค.ศ. 1895) เป็นต้น และถูกอ้างอืงถึงในวรรณกรรมเรื่องต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะนิยายกำลังภายใน เช่น อุ้ยเสี่ยวป้อ เป็นต้น
ที่มา : [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ชุดเกราะของกองทัพแปดธงคือ ชุดเกราะเหล็กบุผ้า(brigandine) มีแผ่นเหล็กเย็บติดอยู่ด้านในเสื้อ ทำจากแผ่นเหล็กชิ้นเล็กหลายๆชิ้นเรียงซ้อนกัน ยึดตรึงเข้ากับเสื้อผ้าไหมด้วยหมุดเหล็ก
ชุดเกราะเหล็กบุผ้า มีข้อดีตรงที่การเคลื่อนไหวสะดวก ป้องกันอาวุธมีคมและธนู(ยิงจากระยะไกล)ได้ดี รับแรงกระแทกได้ในระดับนึง ซึ่งราคาก็ย่อมแพงตามคุณภาพ ส่วนข้อเสียก็เรื่องราคาแพง ซ่อมยาก