สงสัยมานานแล้วครับ ว่า ทำไม หมอบางคน จึงชอบเรียกสรรพนามแทนตัวเองว่า "หมอ" ทั้งเวลาที่คุยกับคนไข้ หรือ เขียนบทความ หรือออกรายการโทรทัศน์ กระทั่งการเขียนบทความ หรือ เขียนอะไรในเฟซบุ๊ก ก็จะแทนตัวเองว่า "หมอ" ทำไมหรือครับ? เป็นเพราะเพื่อต้องการสร้าง "ความน่าเชื่อถือ"แก่ผู้พูด จากสถานภาพของความเชี่ยวชาญ ทางการแพทย์
แล้วอาชีพอื่นๆ เวลาไปคุยกับคู่สนทนาทางอาชีพ เช่น พยาบาล ตำรวจ วิศวะ ยาม ช่างไฟ ช่างประปา สถาปนิก มัณฑณศิลป์ ฯลฯ ทำไมไม่เอาอาชีพ หรือสถานภาพทางอาชีพมาแทนตัวเองเวลาที่คุยกับคนที่มาติดต่อธุรกรรมด้วยครับ?
อ้อ อีกอาชีพหนึ่ง ที่พบอยู่บ้าง คือ "ครู" ส่วนมากจะเรียกสรรพนามตัวเอง ว่า "ครู"
เวลาที่พูดกับนักเรียน หรือ บางคน ก็ใช้สรรพนามนี้เวลาที่คุยกับพ่อแม่ผู้ปกครอง
และอีกอาชีพหนึ่ง คือ "พระ" เรียกแทนตัวเองว่า "อาตมา" อันนี้พอเข้าใจเพราะเป็นศัพท์ในทางศาสนา
คือ การ "ลดรูป ลดอัตาตัวตน" ของผู้พูดและผู้ถูกพูดด้วย (อาตมา - โยม)
ที่อยากรู้มากกว่านั้นคือ "คนที่เรียกแทนตัวเองว่าหมอ" พอเขาอยู่ที่บ้าน พูดกับพ่อกับแม่ เขาเรียกชื่อแทนตัวเองว่าอย่างไร
และ "เวลาที่หมอเขาอยู่ด้วยกัน" ในหมู่วงศ์ของเขา - เขาเรียกแทนตัวเองว่า "ดิฉัน-ผม" หรือเปล่าครับ?
ทำไมคนเป็นหมอ(บางคน) เวลาพูด เขียน คุย ชอบเรียกสรรพนามแทนตัวเอง ว่า "หมอ" ด้วยครับ?
แล้วอาชีพอื่นๆ เวลาไปคุยกับคู่สนทนาทางอาชีพ เช่น พยาบาล ตำรวจ วิศวะ ยาม ช่างไฟ ช่างประปา สถาปนิก มัณฑณศิลป์ ฯลฯ ทำไมไม่เอาอาชีพ หรือสถานภาพทางอาชีพมาแทนตัวเองเวลาที่คุยกับคนที่มาติดต่อธุรกรรมด้วยครับ?
อ้อ อีกอาชีพหนึ่ง ที่พบอยู่บ้าง คือ "ครู" ส่วนมากจะเรียกสรรพนามตัวเอง ว่า "ครู"
เวลาที่พูดกับนักเรียน หรือ บางคน ก็ใช้สรรพนามนี้เวลาที่คุยกับพ่อแม่ผู้ปกครอง
และอีกอาชีพหนึ่ง คือ "พระ" เรียกแทนตัวเองว่า "อาตมา" อันนี้พอเข้าใจเพราะเป็นศัพท์ในทางศาสนา
คือ การ "ลดรูป ลดอัตาตัวตน" ของผู้พูดและผู้ถูกพูดด้วย (อาตมา - โยม)
ที่อยากรู้มากกว่านั้นคือ "คนที่เรียกแทนตัวเองว่าหมอ" พอเขาอยู่ที่บ้าน พูดกับพ่อกับแม่ เขาเรียกชื่อแทนตัวเองว่าอย่างไร
และ "เวลาที่หมอเขาอยู่ด้วยกัน" ในหมู่วงศ์ของเขา - เขาเรียกแทนตัวเองว่า "ดิฉัน-ผม" หรือเปล่าครับ?