บันทึกของผู้เฒ่า
เร่ื่องของเทวดา
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๓ ได้ไปทำบุญที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ ท่าพระจันทร์ ตามปกติที่ไปทำบุญทุกวันอาทิตย์
เมื่ออาทิตย์แรกของเดือนมกราคม
คืออาทิตย์ที่ ๓ ไปทำบุญที่วัดอินทรวิหาร และวัดระฆังโฆสิตาราม
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ อยู่บ้าน เพราะได้ไปทำบุญบริจาคเงินที่ มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง เมื่อวันเสาร์ที่ ๙ ซึ่งเป็นวันเด็กแห่งชาติแล้ว
วันอาทิตย์ที่ ๑๗ ไม่ค่อยสบายอยู่บ้าน รุ่งขึ้นวันจันทร์ที่ ๑๘ ก็ไปทำบุญที่ วัดปทุมวนาราม แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าใบเสร็จหมด จึงไปบริจาคเงินบำรุงโรงพยาบาลสงฆ์แทน
วันที่ ๒๓ มกราคมนี้เจ้าหน้าที่รับบริจาคให้หนังสือมาสองเล่ม คือวารสารพุทธจักรรายเดือน และหนังสือที่ระลึก งานบำเพ็ญกุศลอุทิศให้เจ้าของทุน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ครบรอบ ๔๕ ปี ประจำปี ๒๕๕๓
หนังสือชื่อ นิธิกถา ซึ่งก็แปลว่า เรื่องของมูลนิธิ ที่ท่านเจ้าคุณพระเทพสุวรรณโมลี (สะอิ้ง สิรินันโท) เจ้าคณะสุพรรณบุรี วัดป่าเลไลยก์ ได้เทศน์ไว้เมื่อปีที่แล้วนั่นเอง
เนื้อเรื่องที่เทศน์คือการปรารภถึงการก่อตั้ง และการดำเนินงานของมูลนิธิ ฯ ซึ่งได้เริ่มก่อกำเนิดมาเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๐๗ มีทุนเพียงน้อยนิดเมื่อดำเนินการมาจนถึงบัดนี้ ก็มีทุนอยู่เพียง ๑๔๐ ล้านบาทเศษเท่านั้น โดยเฉพาะในเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำ ดอกผลที่ได้จากธนาคารจึงไม่พอกับค่าใช้จ่ายของมูลนิธิ ฯ สรุปว่าท่านหวังว่าถ้ามีต้นทุนสัก ๕๐๐ ล้านบาทก็คงจะพอ และองค์แสดงพระธรรมเทศนา ก็อธิบายถึงบุญที่ได้จากการบริจาคเงินให้มูลนิธิ ฯ และเชิญชวนให้ร่วมกันบริจาคให้มากขึ้น
เราเองเมื่อแรกที่มาบริจาคเพียงสองร้อยบาท โดยตั้งใจว่าจะมาทำทุกเดือน พระท่านก็ชวนให้ตั้งมูลนิธิเข้าร่วมกับมูลนิธิ มจร. แต่เราคิดว่าอีกไม่นานก็จะตายแล้ว เงินก็ยังไม่งอกงออกมาสักเท่าไร จึงถวายเป็นค่าอาหารภิกษุสามเณร ที่มาศึกษาในมหาวิทยาลัยทั้งหมดจะดีกว่า เพราะถ้าบริจาคครบปีได้ต้นทุน ๒๔๐๐๐ บาท จะได้ดอกเบี้ยอย่างมากร้อยละสาม ก็คงจะได้เงินมาใช้ประโยชน์เพียง ๖๐๐ กว่าบาท ยิ่งมาถึงสมัยนี้ คงจะไม่ถึง ๓๐๐ บาทเสียด้วยซ้ำ แม้ว่าต้นทุนจะสูงขึ้นปีละ ๒๔๐๐๐ บาทก็ตาม จึงขอให้ท่านที่มีเงินมาก ๆ บริจาคเป็นกองทุนไว้เถิด เราขอให้เท่าที่มีก็แล้วกัน คาดว่าทางมูลนิธิคงจะไม่ผิดหวังกับความคิดของเราสักเท่าไรนัก
ในหนังสือที่ได้รับมาจากวัดมหาธาตุ ฯ นี้ ยังมีบทความอีกเรื่องหนึ่งคือ อานุภาพพระปริตร ซึ่งพิมพ์
จากปาฐกถาของ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธัมมจิตโต) อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๒ ในขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชวรมุนี
ท่านได้อธิบายถึงพระคาถาที่สวดชุมนุมเทวดา ที่ขึ้นต้นก่อนที่สวดพระปริตร มีข้อความเป็นคาถาดังต่อไปนี้
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเกยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ
ซึ่งมีคำแปลว่า ขอเชิญเทวดาทั้งหลาย ผู้สิงสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นกามภพด้วย ในชั้นรูปภพด้วย ผู้สิงสถิตอยู่บนยอดเขา และที่หุบผาด้วย ทั้งที่สถิตอยู่ในวิมานบนอากาศด้วย และภุมมเทวดาทั้งหลาย ซึ่งสิงสถิตอยู่ในทวีป ในรัฐ ในหมู่บ้าน บนต้นไม้ ในป่าชัฏ ในเหย้าเรือน และเรือกสวนไร่นา รวมทั้งบรรดายักษ์ คนธรรพ์ และนาคทั้งหลาย ผู้เป็นสาธุชน ซึ่งสิงสถิตอยู่ในน้ำ บนบก ณ ที่ลุ่มที่ดอน ที่ใกล้คียง จงมาชุมนุมกัน ขอเชิญฟังคำของพระมุนีเจ้าผู้ประเสริฐกันเถิด
แล้วพระท่านก็ประกาศต่อไปว่า ธัมมัสสะวะนะกาโล อยัมภะทันตา สามจบ แปลว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาฟังธรรม
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาฟังธรรม
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาฟังธรรม
จากนั้นท่านประธานสงฆ์จึงเริ่มสวด ด้วยบทนมัสการพระรัตนตรัย ตามด้วยไตรสรณาคมณ์ ต่อด้วยบทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จากนั้นจะเริ่มสวดพระปริตรสิบสองตำนานตามลำดับ
ตรงนี้ที่น่าสนใจว่า เราไม่เคยเรียนรู้มาก่อนเลยว่า คำสวดชุมนุมเทวดา ที่ได้ยินพระท่านสวดนำก่อนเจริญพระพุทธมนต์ ในงานพิธีต่าง ๆ ตั้งแต่เด็กจนแก่ และแม้จะเคยบวชเป็นพระมาแล้วนั้น มีคำแปลว่าอย่างไร
ได้รู้แล้วจึงเข้าใจว่า ทำไมพุทธศาสนิกชนที่เคารพนับถือพระรัตนตรัย ยังคงเคารพบูชาเทวดา เทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายร่วมไปด้วยเป็นส่วนมาก
แล้วก็หวนไปนึกถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในโลก ที่ได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปคราวละมากมาย อย่างเมื่อปีก่อนพายุพัดถล่มอดีตเมืองหลวงของพม่า และแผ่นดินไหวในประเทศจีน รวมทั้งเฮติเมื่อต้นปีนี้ด้วย
บรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนเหล่านั้นเคารพนับถือ ไม่ได้ช่วยปกปักษ์รักษาเขาให้รอดพ้นภัยธรรมชาติเลยหรือ.
##########
เรื่องของเทวดา ๗ พ.ค.๖๐
เร่ื่องของเทวดา
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๓ ได้ไปทำบุญที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ ท่าพระจันทร์ ตามปกติที่ไปทำบุญทุกวันอาทิตย์
เมื่ออาทิตย์แรกของเดือนมกราคม
คืออาทิตย์ที่ ๓ ไปทำบุญที่วัดอินทรวิหาร และวัดระฆังโฆสิตาราม
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ อยู่บ้าน เพราะได้ไปทำบุญบริจาคเงินที่ มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง เมื่อวันเสาร์ที่ ๙ ซึ่งเป็นวันเด็กแห่งชาติแล้ว
วันอาทิตย์ที่ ๑๗ ไม่ค่อยสบายอยู่บ้าน รุ่งขึ้นวันจันทร์ที่ ๑๘ ก็ไปทำบุญที่ วัดปทุมวนาราม แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าใบเสร็จหมด จึงไปบริจาคเงินบำรุงโรงพยาบาลสงฆ์แทน
วันที่ ๒๓ มกราคมนี้เจ้าหน้าที่รับบริจาคให้หนังสือมาสองเล่ม คือวารสารพุทธจักรรายเดือน และหนังสือที่ระลึก งานบำเพ็ญกุศลอุทิศให้เจ้าของทุน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ครบรอบ ๔๕ ปี ประจำปี ๒๕๕๓
หนังสือชื่อ นิธิกถา ซึ่งก็แปลว่า เรื่องของมูลนิธิ ที่ท่านเจ้าคุณพระเทพสุวรรณโมลี (สะอิ้ง สิรินันโท) เจ้าคณะสุพรรณบุรี วัดป่าเลไลยก์ ได้เทศน์ไว้เมื่อปีที่แล้วนั่นเอง
เนื้อเรื่องที่เทศน์คือการปรารภถึงการก่อตั้ง และการดำเนินงานของมูลนิธิ ฯ ซึ่งได้เริ่มก่อกำเนิดมาเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๐๗ มีทุนเพียงน้อยนิดเมื่อดำเนินการมาจนถึงบัดนี้ ก็มีทุนอยู่เพียง ๑๔๐ ล้านบาทเศษเท่านั้น โดยเฉพาะในเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำ ดอกผลที่ได้จากธนาคารจึงไม่พอกับค่าใช้จ่ายของมูลนิธิ ฯ สรุปว่าท่านหวังว่าถ้ามีต้นทุนสัก ๕๐๐ ล้านบาทก็คงจะพอ และองค์แสดงพระธรรมเทศนา ก็อธิบายถึงบุญที่ได้จากการบริจาคเงินให้มูลนิธิ ฯ และเชิญชวนให้ร่วมกันบริจาคให้มากขึ้น
เราเองเมื่อแรกที่มาบริจาคเพียงสองร้อยบาท โดยตั้งใจว่าจะมาทำทุกเดือน พระท่านก็ชวนให้ตั้งมูลนิธิเข้าร่วมกับมูลนิธิ มจร. แต่เราคิดว่าอีกไม่นานก็จะตายแล้ว เงินก็ยังไม่งอกงออกมาสักเท่าไร จึงถวายเป็นค่าอาหารภิกษุสามเณร ที่มาศึกษาในมหาวิทยาลัยทั้งหมดจะดีกว่า เพราะถ้าบริจาคครบปีได้ต้นทุน ๒๔๐๐๐ บาท จะได้ดอกเบี้ยอย่างมากร้อยละสาม ก็คงจะได้เงินมาใช้ประโยชน์เพียง ๖๐๐ กว่าบาท ยิ่งมาถึงสมัยนี้ คงจะไม่ถึง ๓๐๐ บาทเสียด้วยซ้ำ แม้ว่าต้นทุนจะสูงขึ้นปีละ ๒๔๐๐๐ บาทก็ตาม จึงขอให้ท่านที่มีเงินมาก ๆ บริจาคเป็นกองทุนไว้เถิด เราขอให้เท่าที่มีก็แล้วกัน คาดว่าทางมูลนิธิคงจะไม่ผิดหวังกับความคิดของเราสักเท่าไรนัก
ในหนังสือที่ได้รับมาจากวัดมหาธาตุ ฯ นี้ ยังมีบทความอีกเรื่องหนึ่งคือ อานุภาพพระปริตร ซึ่งพิมพ์
จากปาฐกถาของ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธัมมจิตโต) อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๒ ในขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชวรมุนี
ท่านได้อธิบายถึงพระคาถาที่สวดชุมนุมเทวดา ที่ขึ้นต้นก่อนที่สวดพระปริตร มีข้อความเป็นคาถาดังต่อไปนี้
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเกยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ
ซึ่งมีคำแปลว่า ขอเชิญเทวดาทั้งหลาย ผู้สิงสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นกามภพด้วย ในชั้นรูปภพด้วย ผู้สิงสถิตอยู่บนยอดเขา และที่หุบผาด้วย ทั้งที่สถิตอยู่ในวิมานบนอากาศด้วย และภุมมเทวดาทั้งหลาย ซึ่งสิงสถิตอยู่ในทวีป ในรัฐ ในหมู่บ้าน บนต้นไม้ ในป่าชัฏ ในเหย้าเรือน และเรือกสวนไร่นา รวมทั้งบรรดายักษ์ คนธรรพ์ และนาคทั้งหลาย ผู้เป็นสาธุชน ซึ่งสิงสถิตอยู่ในน้ำ บนบก ณ ที่ลุ่มที่ดอน ที่ใกล้คียง จงมาชุมนุมกัน ขอเชิญฟังคำของพระมุนีเจ้าผู้ประเสริฐกันเถิด
แล้วพระท่านก็ประกาศต่อไปว่า ธัมมัสสะวะนะกาโล อยัมภะทันตา สามจบ แปลว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาฟังธรรม
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาฟังธรรม
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาฟังธรรม
จากนั้นท่านประธานสงฆ์จึงเริ่มสวด ด้วยบทนมัสการพระรัตนตรัย ตามด้วยไตรสรณาคมณ์ ต่อด้วยบทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จากนั้นจะเริ่มสวดพระปริตรสิบสองตำนานตามลำดับ
ตรงนี้ที่น่าสนใจว่า เราไม่เคยเรียนรู้มาก่อนเลยว่า คำสวดชุมนุมเทวดา ที่ได้ยินพระท่านสวดนำก่อนเจริญพระพุทธมนต์ ในงานพิธีต่าง ๆ ตั้งแต่เด็กจนแก่ และแม้จะเคยบวชเป็นพระมาแล้วนั้น มีคำแปลว่าอย่างไร
ได้รู้แล้วจึงเข้าใจว่า ทำไมพุทธศาสนิกชนที่เคารพนับถือพระรัตนตรัย ยังคงเคารพบูชาเทวดา เทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายร่วมไปด้วยเป็นส่วนมาก
แล้วก็หวนไปนึกถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในโลก ที่ได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปคราวละมากมาย อย่างเมื่อปีก่อนพายุพัดถล่มอดีตเมืองหลวงของพม่า และแผ่นดินไหวในประเทศจีน รวมทั้งเฮติเมื่อต้นปีนี้ด้วย
บรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนเหล่านั้นเคารพนับถือ ไม่ได้ช่วยปกปักษ์รักษาเขาให้รอดพ้นภัยธรรมชาติเลยหรือ.
##########