E-DUANG by มติชน สุดสัปดาห์ 06 May 2016: “ริษยา” รวมหมู่กรณี เนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล
ต้องขอบคุณ 27 เสียงภายในที่ประชุม “สภานิสิต” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ตัดสินใจเลือก
นายเนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล เป็น “ประธาน”
แม้ว่าจะต้องเดินฝ่า “ปฏิกิริยา” อันมาจาก “ศิษย์เก่า” และ “สังคม” เป็นอย่างสูง
เห็นได้จากคำของ นายบัญชา ชลาภิรมย์ รองอธิการบดี
“มีศิษย์เก่าโทรศัพท์มาสอบถามกันมาก ส่วนใหญ่แสดงความห่วงใย”
หรือแม้กระทั่งที่มิใช่ “ศิษย์เก่า”
“ผมนึกเสียดายและเป็นห่วง เพราะเสียชื่อสถาบัน ดังนั้น จึงต้องเคารพกฎหมาย”
คุณูปการจากการเลือกของ “สภานิสิต” คืออะไร
คือการทำให้สังคมได้รับรู้และทำความเข้าใจต่ออาการอย่างที่เรียกว่า “อุปาทาน”ของชนชั้นกลางอย่างรอบด้าน
นั่นก็คือ อาการแห่ง “ริษยารวมหมู่”
คนชั้นกลางติดอาการ “ริษยารวมหมู่” มาจากคนชั้นสูง อย่างที่สรุปได้เป็นภาษาง่ายๆว่า
ไม่อยากให้ใครได้ดี
เหมือนที่ หลวงวิจิตรวาทการ เคยระบุ จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน
หากศึกษาจาก “ธรรมกาย” ก็จะต้องร้อง “อ๋อ”
เพราะวัดพระธรรมกายภายใต้การบริหารจัดการของ พระไชยบูลย์ ธัมมชโย ประสบความสำเร็จอย่างเหลือเชื่อจึงต้องตกเป็นเป้า
ก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 ก็เช่นนี้ ก่อนรัฐประหาร เดือนพฤษภาคม 2557 ก็เช่นนี้
ล้วนมาจากอาการป่วยในแบบ “ริษยารวมหมู่”
การที่สมาชิกสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยประชาคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เลือก นายเนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล เป็นประธาน
จึงเหมือนกับเป็น “ปรอท” อันสะท้อนอุณหภูมิและความรู้สึกที่ดำรงอยู่ลึกๆภายในสังคมไทย
เรียกว่าเกิดอาการครางฮือ และแตกกระจาย
มีทั้งที่ “ผิดหวัง” และ “สมหวัง” ปรากฏออกมาถ้วนหน้า
“ริษยารวมหมู่”
ต้องขอบคุณ 27 เสียงภายในที่ประชุม “สภานิสิต” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ตัดสินใจเลือก
นายเนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล เป็น “ประธาน”
แม้ว่าจะต้องเดินฝ่า “ปฏิกิริยา” อันมาจาก “ศิษย์เก่า” และ “สังคม” เป็นอย่างสูง
เห็นได้จากคำของ นายบัญชา ชลาภิรมย์ รองอธิการบดี
“มีศิษย์เก่าโทรศัพท์มาสอบถามกันมาก ส่วนใหญ่แสดงความห่วงใย”
หรือแม้กระทั่งที่มิใช่ “ศิษย์เก่า”
“ผมนึกเสียดายและเป็นห่วง เพราะเสียชื่อสถาบัน ดังนั้น จึงต้องเคารพกฎหมาย”
คุณูปการจากการเลือกของ “สภานิสิต” คืออะไร
คือการทำให้สังคมได้รับรู้และทำความเข้าใจต่ออาการอย่างที่เรียกว่า “อุปาทาน”ของชนชั้นกลางอย่างรอบด้าน
นั่นก็คือ อาการแห่ง “ริษยารวมหมู่”
คนชั้นกลางติดอาการ “ริษยารวมหมู่” มาจากคนชั้นสูง อย่างที่สรุปได้เป็นภาษาง่ายๆว่า
ไม่อยากให้ใครได้ดี
เหมือนที่ หลวงวิจิตรวาทการ เคยระบุ จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน
หากศึกษาจาก “ธรรมกาย” ก็จะต้องร้อง “อ๋อ”
เพราะวัดพระธรรมกายภายใต้การบริหารจัดการของ พระไชยบูลย์ ธัมมชโย ประสบความสำเร็จอย่างเหลือเชื่อจึงต้องตกเป็นเป้า
ก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 ก็เช่นนี้ ก่อนรัฐประหาร เดือนพฤษภาคม 2557 ก็เช่นนี้
ล้วนมาจากอาการป่วยในแบบ “ริษยารวมหมู่”
การที่สมาชิกสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยประชาคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เลือก นายเนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล เป็นประธาน
จึงเหมือนกับเป็น “ปรอท” อันสะท้อนอุณหภูมิและความรู้สึกที่ดำรงอยู่ลึกๆภายในสังคมไทย
เรียกว่าเกิดอาการครางฮือ และแตกกระจาย
มีทั้งที่ “ผิดหวัง” และ “สมหวัง” ปรากฏออกมาถ้วนหน้า