5 เดือนผ่านมาแล้วที่การพิพาทของคน 2 คน คือ วิชัย ถาวรวัฒนยงค์ กับ สิทธิชัย พรทรัพย์อนันต์ ได้ฝากแผลลึกไว้ในใจผู้ถือหุ้น IFEC เป็นค่าตอบแทนความศรัทธาที่เคยมอบให้อย่างสุดซึ้ง
ขี่พายุทะลุฟ้า : บูรพา สงวนวงศ์ (เขียนแทน) 5 เดือนผ่านมาแล้วที่การพิพาทของคน 2 คน คือ วิชัย ถาวรวัฒนยงค์ กับ สิทธิชัย พรทรัพย์อนันต์ ได้ฝากแผลลึกไว้ในใจผู้ถือหุ้น IFEC เป็นค่าตอบแทนความศรัทธาที่เคยมอบให้อย่างสุดซึ้ง นั่นรวมถึงเจ้าของนิคมฯ ไฮเทคที่ชื่อ ทวิช เตชะนาวากุล ซึ่งเข้ามาซื้อหุ้นต่อจากผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ในที่สุด การเข้ามาของคุณทวิชครั้งนี้ คงยึดเอาหลักการง่ายๆ ของการถือหุ้นโดยทั่วไปตามที่ทุกท่านและผมเข้าใจ คือ
ใครถือหุ้นใหญ่สุด ย่อมมีอำนาจในการบริหารจัดการมากที่สุด อีกทั้งด้วยประสบการณ์จากความสำเร็จในฐานะผู้ก่อตั้งนิคมฯ ไฮเทค คุณทวิชคงมองปัญหาของ IFEC เป็นเเพียงเรื่องขี้ผงที่อาจต้องลงแรงแก้ไขหน่อย แต่คุ้มค่ากับโอกาสบางอย่างที่เล็งเห็น
หากแต่ปัญหา IFEC ครั้งนี้มันไม่สามารถนำหลักการของการถือหุ้นที่ว่านั่นมาใช้ได้น่ะสิ
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมความยุ่งเหยิงต่างๆ ยังไม่น่าจะจบลงได้ในเร็ววัน
ปัจจุบัน หมอวิชัยถือหุ้นอยู่ราว 2% กว่าๆ แต่ผลปรากฏออกมาเป็นที่กระจ่างแล้วว่าการถือหุ้นในจำนวนที่น้อยกว่า…
ไม่เคยถือเป็นอุปสรรคต่อการกินรวบอำนาจบริหารเพื่อสกัดกั้นการเข้ามาของผู้ถือหุ้น 10% แม้แต่ครั้งเดียว
หมอวิชัยดำรงตำแหน่งเป็นประธานฯ IFEC! และนั่นคงเพียงพอที่ทำให้สามารถกำหนดหรือควบคุมความเป็นไปต่างๆของบริษัทให้อยู่ในรูปแบบที่ตนเองต้องการได้
เช่นวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา ก็มาจากมติของวาระการประชุมบอร์ดที่มีหมอวิชัยนั่งเป็นประธานอยู่ก่อนหน้านั้น
โดยวาระสำคัญที่สุดคือ การเลือกตั้งกรรมการใหม่เข้ามาแทนที่กรรมการเก่า ก็ไม่ได้มีมติลงมาจากบอร์ดว่าให้ใช้วิธีการลงคะแนนแบบใด
แต่ภายหลังมีการนำวิธีลงคะแนนเสียงแบบสะสม หรือ Cumulative Voting มาใช้
ซึ่งไอ้วิธีการนี้แหละ มันจะกลายเป็นต้นตอสำคัญที่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งระหว่าง 2 ฝั่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป
หุ้น IFEC ที่ถามกันหนักหนาว่าจะปลด SP ได้เมื่อไหร่ คงไม่ต้องพูดถึงกันไปอีกนานแสนนาน
เรื่องนี้หากวัดกันที่สัดส่วนการถือหุ้น คงต้องบอกว่า ทวิช เตชะนาวากุล คือ คนที่น่าเห็นใจมากที่สุด
แต่หากว่าจุดประสงค์แรกเริ่มคือการทุ่มเงิน 1.20 พันล้านบาท เพื่อเข้ามาครอบครองทรัพย์สินของ IFEC มูลค่าหลายพันล้านบาทแล้วละก็…
คงต้องบอกว่า คุณทวิชใจถึงสุดๆ แต่ก็ต้องบอกว่าโชคร้ายสุดๆ เหมือนกัน เพราะดันมาใจถึงในตลาดหุ้นไทย
วันนี้ หมอวิชัยยังอยู่ดีด้วยวิถีพิสดาร และเชื่อว่ายังพอมีความสุขอยู่บ้าง ตามแต่เวรกรรมที่มีติดตัว
ฟาก “เสี่ยอ๋า” สิทธิชัย ถือว่าบุญเก่าที่ทำมายังเหลืออยู่มากโข แถมได้ถอดหัวโขนบนบันไดทองคำอีกต่างหาก
ทว่า ความหวังของผู้ถือหุ้น (รายย่อย) กำลังตายจากไป พร้อมกับความฝันในการก้าวขึ้นเป็นหุ้นรีนิวเอเบิลแถวหน้าของ IFEC
ส่วนคุณทวิชคงรู้ซึ้งอย่างถ่องแท้แล้วว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่สุดไม่ได้หมายความว่ามีอำนาจสูงสุดในบริษัทเสมอไป
ผู้มีอำนาจควบคุมการประชุมที่สามารถกำหนดวาระได้ต่างหาก ที่เป็นคนกุมอำนาจอย่างเด็ดขาดตัวจริง
…นี่แหละหนาตลาดหุ้นไทย รู้ไว้ซะด้วย!
บูรพา สงวนวงศ์ (เขียนแทน)
ตลาดหุ้นไทย " คนถือหุ้นน้อย " ทำอะไรก็ได้ IFEC
ขี่พายุทะลุฟ้า : บูรพา สงวนวงศ์ (เขียนแทน) 5 เดือนผ่านมาแล้วที่การพิพาทของคน 2 คน คือ วิชัย ถาวรวัฒนยงค์ กับ สิทธิชัย พรทรัพย์อนันต์ ได้ฝากแผลลึกไว้ในใจผู้ถือหุ้น IFEC เป็นค่าตอบแทนความศรัทธาที่เคยมอบให้อย่างสุดซึ้ง นั่นรวมถึงเจ้าของนิคมฯ ไฮเทคที่ชื่อ ทวิช เตชะนาวากุล ซึ่งเข้ามาซื้อหุ้นต่อจากผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ในที่สุด การเข้ามาของคุณทวิชครั้งนี้ คงยึดเอาหลักการง่ายๆ ของการถือหุ้นโดยทั่วไปตามที่ทุกท่านและผมเข้าใจ คือ
ใครถือหุ้นใหญ่สุด ย่อมมีอำนาจในการบริหารจัดการมากที่สุด อีกทั้งด้วยประสบการณ์จากความสำเร็จในฐานะผู้ก่อตั้งนิคมฯ ไฮเทค คุณทวิชคงมองปัญหาของ IFEC เป็นเเพียงเรื่องขี้ผงที่อาจต้องลงแรงแก้ไขหน่อย แต่คุ้มค่ากับโอกาสบางอย่างที่เล็งเห็น
หากแต่ปัญหา IFEC ครั้งนี้มันไม่สามารถนำหลักการของการถือหุ้นที่ว่านั่นมาใช้ได้น่ะสิ
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมความยุ่งเหยิงต่างๆ ยังไม่น่าจะจบลงได้ในเร็ววัน
ปัจจุบัน หมอวิชัยถือหุ้นอยู่ราว 2% กว่าๆ แต่ผลปรากฏออกมาเป็นที่กระจ่างแล้วว่าการถือหุ้นในจำนวนที่น้อยกว่า…
ไม่เคยถือเป็นอุปสรรคต่อการกินรวบอำนาจบริหารเพื่อสกัดกั้นการเข้ามาของผู้ถือหุ้น 10% แม้แต่ครั้งเดียว
หมอวิชัยดำรงตำแหน่งเป็นประธานฯ IFEC! และนั่นคงเพียงพอที่ทำให้สามารถกำหนดหรือควบคุมความเป็นไปต่างๆของบริษัทให้อยู่ในรูปแบบที่ตนเองต้องการได้
เช่นวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา ก็มาจากมติของวาระการประชุมบอร์ดที่มีหมอวิชัยนั่งเป็นประธานอยู่ก่อนหน้านั้น
โดยวาระสำคัญที่สุดคือ การเลือกตั้งกรรมการใหม่เข้ามาแทนที่กรรมการเก่า ก็ไม่ได้มีมติลงมาจากบอร์ดว่าให้ใช้วิธีการลงคะแนนแบบใด
แต่ภายหลังมีการนำวิธีลงคะแนนเสียงแบบสะสม หรือ Cumulative Voting มาใช้
ซึ่งไอ้วิธีการนี้แหละ มันจะกลายเป็นต้นตอสำคัญที่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งระหว่าง 2 ฝั่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป
หุ้น IFEC ที่ถามกันหนักหนาว่าจะปลด SP ได้เมื่อไหร่ คงไม่ต้องพูดถึงกันไปอีกนานแสนนาน
เรื่องนี้หากวัดกันที่สัดส่วนการถือหุ้น คงต้องบอกว่า ทวิช เตชะนาวากุล คือ คนที่น่าเห็นใจมากที่สุด
แต่หากว่าจุดประสงค์แรกเริ่มคือการทุ่มเงิน 1.20 พันล้านบาท เพื่อเข้ามาครอบครองทรัพย์สินของ IFEC มูลค่าหลายพันล้านบาทแล้วละก็…
คงต้องบอกว่า คุณทวิชใจถึงสุดๆ แต่ก็ต้องบอกว่าโชคร้ายสุดๆ เหมือนกัน เพราะดันมาใจถึงในตลาดหุ้นไทย
วันนี้ หมอวิชัยยังอยู่ดีด้วยวิถีพิสดาร และเชื่อว่ายังพอมีความสุขอยู่บ้าง ตามแต่เวรกรรมที่มีติดตัว
ฟาก “เสี่ยอ๋า” สิทธิชัย ถือว่าบุญเก่าที่ทำมายังเหลืออยู่มากโข แถมได้ถอดหัวโขนบนบันไดทองคำอีกต่างหาก
ทว่า ความหวังของผู้ถือหุ้น (รายย่อย) กำลังตายจากไป พร้อมกับความฝันในการก้าวขึ้นเป็นหุ้นรีนิวเอเบิลแถวหน้าของ IFEC
ส่วนคุณทวิชคงรู้ซึ้งอย่างถ่องแท้แล้วว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่สุดไม่ได้หมายความว่ามีอำนาจสูงสุดในบริษัทเสมอไป
ผู้มีอำนาจควบคุมการประชุมที่สามารถกำหนดวาระได้ต่างหาก ที่เป็นคนกุมอำนาจอย่างเด็ดขาดตัวจริง
…นี่แหละหนาตลาดหุ้นไทย รู้ไว้ซะด้วย!
บูรพา สงวนวงศ์ (เขียนแทน)