อยากจะขอแชร์ เรื่องพังผืดใต้ลิ้นของลูก ที่มีผลกระทบกับการพูดไม่ชัดของลูก

คิดว่าถ้าลูกเริ่มพูดชัดขึ้น จะมาเล่าในห้องนี้ค่ะ หวังว่าจะมีประโยชน์นะคะ เผื่อว่าจะมีใครค้นข้อมูล เรื่องลูกกินนมชอบหลับ
ชอบสำลักเวลากินข้าว และ พูดช้า
อยากให้กำลังใจเด็กที่ผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นตอนโต และ ขอระบายความรู้สึกผิดของแม่นิดนึงค่ะ

ผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้น ลูกตอน 5 ขวบค่ะ คุณหมอบอกว่า จะพูดเป็นภาษาที่สอง อาจจะไม่ชัดเหมือนภาษาแม่ เรื่องนี้ย้อนเวลาไปหลายปี  

ตอนมีปัญหาการกินนม ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพังผืดใต้ลิ้น ไม่ค่อยเจอ (ไม่ได้ search ว่าพังผืดใต้ลิ้นนะคะ)
ไม่รู้จักจริงๆ ถึงจะมีมาให้เอะใจหลายครั้ง และก็เป็นความผิด ของแม่ที่ไม่ได้ปรึกษาผู้
เชี่ยวชาญที่ถูกต้อง และหาข้อมูลไม่ดีพอ
เป็นความรู้สึกผิด เกาะกินใจแม่มานาน  ถ้าแม่รู้เร็วกว่านี้ ลูกคงไม่ต้องเสียเวลาไปฝึก
และ กระทบจิตใจลูกเวลาโดนล้อเลียนเรื่องการพูด

ตอนอยู่ร.พ.เกิดมาลูกชายกินนมแม่ กินแล้วหลับ กินแล้วหลับ ถามหมอเนิส  (ร.พ.เอกชน ส่งเสริมนมแม่ค่ะ)
หมอก็เช็คน้ำนมแม่ บอกว่ามีน้ำนม ให้ปลุกลูกบ่อยๆ (จริงๆ ปกติร.พ.จะมีตรวจพังผืดใต้ลิ้นตอนเกิด แต่สงสัยลูกชายลิ้นยาวเลยหลุด
เคสไป ตอนหลังมาเบลมกับคุณหมอประจำ คุณหมอประจำบอกว่า เป็นเค้าก็ไม่ตัดหรอก เป็นไม่มาก แอบเคืองนะคะ)

กลับมา ลูกก็เริ่มกินนมบ่อย 1 ชมกินที จนต้องผสมนมวัว
เริ่มสงสัยว่า ให้นมผิดท่าหรือเปล่า ก็โทรไปถามคลีนิคนมแม่ หาข้อมูลเรื่องการใช้อุปกรณ์ช่วยให้นม พวกสายยางเสริม  แต่ก็ไม่ได้หา
คลีนิคนมแม่ ของศิริราช หรือ ร.พ.เด็ก

ตัดสินใจไปหาคลีนิคนมแม่ ของร.พ.เอกชนที่หา หาคุณหมอกุมารแพทย์ประจำ
แต่ลูกก็ยังกินนม ไม่ดีขึ้น  เริ่มค้นพบเรืองนอนให้นม ปรากฏว่าลูกกินดี ก็โอเคจบปัญหาให้นมไป
(เป็นคนที่พบหมอบ่อยมากๆค่ะ เพราะเด็กเล็กต้องฉีดวัคซีน และ ลูกชายไม่สบายบ่อย)

ต่อมาลูกเพื่อน เป็นพังผืดใต้ลิ้น เราก็เลยไปเช็คกับคุณหมอประจำว่าลูกเป็นมั้ย คุณหมอก็บอกว่าไม่เป็น

พอลูกโตหน่อย ลูกชอบกินแล้วสำลัก ประกอบกับพูดช้า คุณหมอประจำ ก็บอกว่าเด็กแต่ละคนพัฒนาการไม่เท่ากัน
(ตอนเด็กๆ เราพูดช้า 2 ขวบเหมือนกัน ก็เลยชะล่าใจ กะว่าจะไปหาหมอพัฒนาการตอน 2 ขวบ แต่ 2 ขวบพูดได้พอดี)

แม่ก็ชะล่าใจไป พอสามขวบกว่า แม่ปรึกษาคุณหมอ พัฒนาการ คุณหมอก็ให้ลูกยกลิ้น ปรากฏว่ายกลิ้นไม่ขึ้น  คุณหมอก็ให้ไปฝึกพูด
แม่ก็ไม่รู้เรื่องอีก ว่าเป็นพังผืดใต้ลิ้น ฝึกพูดกับครูอยู่ 1 ปี ก็ไม่ค่อยดีขึ้น

จนตอนแปรงฟัน อยู่ดีๆ ก็เอะใจกับเส้นใต้ลิ้น (ปกติก็แปรงฟันให้ลูกทุกวัน)  ก็คิดอยู่ว่าคืออะไร แต่ทำไมไม่เอะใจเร็วกว่านี้ค้าบแม่

แม่ก็เลยมาหาข้อมูล จนไปพบคลีนิคพังผืดใต้ลิ้น ที่ศิริราช พอคุณหมอบอกว่าต้องวางยาสลบ แม่ก็เครียดเลยค่ะ หาข้อมูลใหญ่ว่าทำยัง
ไงไม่ตัองวางยาสลบ ปรึกษาไปอีก 10 คุณหมอ ทั้งทันตแพทย์ ศัลยแพทย์ กุมารแพทย์ ขอบคุณ pantip ที่ให้คำแนะนำด้วยค่ะ

(คุณหมอศัลยแพทย์ผ่าตัด และ กุมารแพทย์ หลายคน ก็ยังลงความเห็นว่า ลูกชายเป็นพังผืดใต้ลิ้นไม่มาก และ ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดค่ะ
ฝึกไป ก็จะหายเอง การวางยาสลบ เหมือน ขี่ช้างจับตั๊กแตน (ความคิดของคุณหมอแบบมาก คือแบบที่ลิ้นเป็นแฉก รูปหัวใจ)
ส่วนคุณหมอที่คลินิคพังผืดใต้ลิ้น บอกว่า คุณหมอหลายคนอาจจะมีความคิดเกี่ยวกับพังผืดไม่เหมือนกัน ขนาดหาข้อมูลใน web
site ต่างประเทศ ก็ยังมีหลายคนที่ต่อต้านการตัดพังผืดใต้ลิ้นค่ะ
คุณหมอทันตแพทย์ บอกว่า ถ้า 2-3 ขวบ น่าจะไม่ต้องวางยาสลบ เคยมีเคสวางยาหัวเราะก็ผ่าตัดได้ ลูกเราเลยไปแล้ว)

สุดท้ายก็วางยาสลบ ผ่าพังผืดใต้ลิ้น ดำเนินการเร็วมากค่ะ (ต้องระวังเรื่องการมีน้ำมูกเท่านั้น กลัวว่าจะสำลักซึ่งจะมีความเสี่ยงมาก)

หลังจากนั้น ลูกชายก็ฝึกพูด ทุกสัปดาห์ แทบจะไม่เคยขาด แม่จะต้องฝึกพูดให้ลูก อ่านหนังสือเอง อ่านหนังสือตาม วันละ 2-3 เล่ม
จนถึงวันนี้ จากที่พูด ด ต ท ล ส ไม่ได้ กับตัวสะกด บางคำ ก็เหลือแต่ส เสือ  ซึ่งก็ต้องสู้ต่อไป กับให้กำลังใจเค้ามากๆ หากโดนเพื่อน
ล้อเลียนค่ะ

แต่ตอนนี้ก็ยังสังเกตุเค้าอยู่นะคะ ก็กลัวว่าต้องไปตรวจการฟังหรือเปล่า ที่แผนก หู คอ จมูก  เพราะเคยโทรไปถามแล้ว ต้องวางยาสลบ
เลยพับไว้ก่อนค่ะ เพราะว่าเค้าก็พูดตามได้ชัดดี

อยากจะฝากแม่ๆ ทุกคน ว่าถ้ามีอะไรสะดุดใจนิดหน่อย หาหมอคนที่ 1 ,2  ไม่พบสาเหตุ  หาไปเรื่อยๆ ค่ะ ทำไมตอนนั้นแม่ชะล่าใจ
ขนาดนี้ไม่รู้ค่ะ แหะๆ หรือมัวแต่เครียดเรื่องอื่น ไม่รู้ค่ะ

ป.ล. เพิ่งทราบว่า คุณหมอฟันก็เชี่ยวชาญด้านนี้นะคะ ให้คุณหมอช่วยตรวจได้ค่ะ เวลาลูกตรวจฟัน แต่ก็ต้องแล้วแต่คุณหมอฟันด้วย
ว่าจะดูได้หรือเปล่า ตอนพบคุณหมอฟันคนแรก ปรึกษาเค้า เค้าบอกน่าจะเป็น อีกคนบอกเป็นแน่นอนควรตัด คือเรื่องนี้อาจจะดูยาก
ก้ำกึ่งๆ (ลูกชายพบคุณหมอฟัน บ่อยพอสมควร แต่ไม่เคยปรึกษาเรื่องพังผืด และ เรื่องพูดไม่ชัดค่ะ)


ป.ล.2 ขออภัยที่ตั้งในกระทู้คำถามค่ะ พอดีกระทู้สนทนาตั้งไม่ได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่