เปิดประตูเยี่ยมชม "สำนักคันฉ่องวารี" ในหงสาจอมราชันย์
“สำนักคันฉ่องวารี” ในหงสาจอมราชันย์ คือสถานที่ที่ไว้ให้เหล่าบัณฑิตหรือผู้มีความรู้ทั่วเเผ่นดินได้เดินทางมาร่ำเรียนเเละศึกษาหาความรู้ เเลกเปลี่ยนความคิด หารือเสวนาหรือเเม้กระทั่งเป็นสถานที่รวบรวมข่าวสารต่างๆจากทั่วเเผ่นดินจีน(ในยุคนั้น) หากเปรียบกับในยุคปัจจุบันเเล้ว ก็คงต้องบอกว่าไม่ต่างอะไรกับมหาลัยเอกชนชั้นนำในเมืองที่ผู้คนต่างอยากเข้าไปร่ำเรียนเพื่อหาความรู้ สำนักคันฉ่องวารีบริหารงานโดย อาจารย์ใหญ่อย่าง
สุมาเต๊กโช,ซือหม่า ฮุย (Sima Hui) ในส่วนของสถานที่ตั้งของสำนักยังไม่เเน่ชัดเท่าไร เพราะในเรื่องไม่ได้อธิบายไว้มากนัก เเต่ดูจากพื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่ราบลุ่มมีป่าไม้ขึ้นมองทิวเขาพอเห็นบ้างเเละจากการรวมข้อมูลประวัติของสุมาเต๊กโชก็คิดว่าน่าจะตั้งอยู่ที่เกงจิ๋ว
คงต้องบอกเล่ากันก่อนว่าเเต่เดิมนั้น สำนักคันฉ่องวารี เป็นเพียงเเค่หอหนังสือเล็กๆเท่านั้น เป็นเพียงสถานที่ไว้สำหรับรวบรวมตำราหนังสือเเละเป็นสถานที่ไว้ปลีกวิเวกของสุมาเต๊กโช ไว้ต้อนรับเหล่าปราชญ์ไว้ถกเหตุบ้านการเมืองกัน ต่อมาเมื่อเหล่าผู้คนต่างได้ยินชื่อเสียงของอาจารย์สุมาเต๊กโช จึงนำเหล่าบุตรหลานมาฝากฝังเพื่อร่ำเรียนสานต่อความรู้เเละให้กินนอนที่สำนักเลย เเต่ในยุคที่เกิดสงครามขึ้นบ่อยทำให้เหล่าผู้ยากไร้ไร้ที่ศึกษาดีๆ ทางสุมาเต๊กโชจึงได้ตั้งสถานที่เเห่งนี้เป็นสำนักเรียนเพื่อให้ความรู้เเก่ผู้ที่ต้องการการศึกษา หรือเเม้กระทั่งเป็นที่ซุกหัวนอนสำหรับผู้ยากไร้ที่โดนพิษภัยของสงครามด้วย
จากหอหนังสือเล็กๆกลายเป็นสถานที่ที่พร้อมสรรพไปในทุกด้าน เมื่อผู้คนมากหน้าหลายตาทยอยพากันเข้ามาร่ำเรียน ทางสำนักก็ได้ปรับปรุงพัฒนาหอหนังสือจนกกลายเป็นสำนักที่มีขนาดใหญ่ เเละเนื่องด้วยลูกศิษย์ลูหาทั้งขาหลักขาจรมากมายเเละยังมีเหล่าผู้ยากไร้ที่มาขออาศัยทำให้ภายของสำนักคันฉ่องวารี มีกำลังพลที่พรั่งพร้อมเเละคนอาศัยอยู่มากมาย ทั้งมีกำเเพงกั้นสูงคล้ายกับเมืองเมืองนึงเลยทีเดียว
สำนักคันฉ่องวารีจากมุมมองระยะไกล
ภายในมีหอเรียนมากมาย เเยกออกเป็นหลายๆหอเเบ่งตามชั้นระดับความสามารถ มีทั้งเรียนในสนามภายนอกเเละเรียนภายในหอเรียน อาคารหลังใหญ่อีกนับสิบเรือน พร้อมยังบริบูรณ์ไปด้วยพันธ์ุไม้ สภาพเเวดล้อมที่ยังคงเป็นธรรมชาติดุจเดิมเเละยังมีเเปลงนาไว้สำหรับให้ผู้คนได้เรียนรู้ระบบชลประทานเเละการทำเกษตรกรรมอีกด้วย เเปลงนาเหล่านี้นอกจากเพื่อศึกษาเเล้ว ยังมีไว้สำหรับลูกศิษย์ได้ทำการเพาะปลูกหว่านไถ หมุนเวียนเงินทุนภายในสร้างรายได้ให้กับตนเอง ซึ่งการมีทุกอย่างพร้อมสรรพทำให้ทางสำนักคันฉ่องเเห่งนี้เป็นเหตุผลที่ว่าทำไม สำนักคันฉ่องวารีไม่ถูกเเทรกเเซงด้วยทุนบริจากจากภายนอก เเละตั้งตัวเป็นเอกเทศอย่างยั่งยืนได้ในเวลาหลายขวบปี
ภายในสำนักนั้นยึดหลักสันติไม่ว่าจะเป็นมิตรหรือศัตรู ไม่ว่าจะมีความเเค้นอะไรกันมาก่อน ต่างต้องวางไว้ข้างนอก เมื่อเข้ามาภายในต่างก็ต้องขวนขวายหาความรู้เเลกเปลี่ยนความคิดกันอย่างสันติวิธี เเละยังเป็นสำนักที่รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี เเม้จะเป็นสำนักที่ยึดหลักของลัทธิหยูก็ตาม เเต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด สำนักคันฉ่องวารียังคงให้การศึกษาระบบผสมผสานระหว่างความเป็นเต๋าเเละวิถีวัฒนธรรมของชาวบ้าน เคารพบูชาขงจื้อโดยการจัดพิธีไหว้ครูทุกปี
การเรียนของสำนักคันฉ่องเเบ่งออกเป็น สามระดับ ได้เเก่
“สำนักนอก,สำนักในเเละสำนักบน” ซึ่งสำนักบนจะเเบ่งออกอีกสามลำดับขั้น
ขั้นตอนการรับเข้าการศึกษาสำหรับผู้มาร่ำเรียน ในสำนักคันฉ่องวารีจะรับคนเข้าเรียนปีต่อปี เเต่ผู้สมัครเข้าเรียนต้องได้รับการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถ เพราะเนื่องจากมีผู้คนมากมายมาสมัครจึงจำกัดผู้ที่จะสามารถผ่านเข้าไปเรียนใน “สำนักนอก” ได้จะมีเพียงเเค่300คนเท่านั้น
เเผนผังระดับชั้นในสำนักคันฉ่องวารี
“สำนักนอก” เป็นระดับชั้นเริ่มเเรกสุดในสำนักคันฉ่องวารี มีผู้เรียนจำนวน300คน ภายในหอเรียนระดับชั้นนี้จะตกเเต่งให้ดูสมถะไม่หรูหราอะไรมากมาย มีวิชาเรียนระดับทั่วๆไป การทดสอบเพื่อเลื่อนขั้นนั้นภายใน1ปีจะมีเพียง10คนที่ได้คะเเนนสูงสุดจะได้ขึ้นไปอยู่สำนักใน ส่วนผู้สอบได้คะเเนนต่ำจะต้องโดนให้ออกจากสำนัก
“สำนักใน” ไม่ได้ระบุจำนวนผู้เรียนชัดนัก เเต่เป็นระดับชั้นที่ร่ำเรียนวิชาต่างในะระดับสูงกว่าสำนักนอก ภายในหอเรียนของสำนักในจะตกเเต่งได้หรูหรา มีอุปกรณ์การเรียนครบครัน ผู้ที่จะเลื่อนขั้นจะต้องทดสอบให้ได้คะเเนนระดับยอดเเละระดับรองภายใน2ปี จะได้รับเลือกขึ้นสู่สำนักบนเพียง2คนเท่านั้น ส่วนผู้ที่ได้คะเเนนต่ำสุดจะต้องถูกคัดลงไปอยู่สำนักนอก
“สำนักบน” ไม่ได้ระบุจำนวนผู้เรียนเช่นกัน เเต่ระดับนี้คือเหล่าผู้ร่ำเรียนในระดับสูงสุด มีทั้งหมดสามชั้น สามารถลงเรียนวิชาเสริมเเขนงต่างๆได้เพื่ออัพขั้นตัวเอง ภายในหอเรียนมีอุปกรณ์รวมทั้งตำราหนังสือเรียนอย่างพร้อมสรรพ มีทั้งหมด3ลำดับขั้น
“เเปดพิสดาร” ถือเป็นตำเเหน่งสูงสุดพอๆกับตำเเหน่งของอาจารย์ เป็นผู้อัจฉริยะที่มีความคิดเหนือกว่าคนทั่วไป ตำเเหน่งนี้ควบเป็นตำเเหน่งอาจารย์สอนหนังสือเเก่เหล่าบัณฑิตที่มาศึกษาไปด้วย เเละเเต่ละคนจะมีหอเเยกเป็นการส่วนตัวไว้สำหรับให้คนไปร่ำเรียนตามเเขนงวิชาที่ต้องการ ไม่ได้ระบุวิธีการการสอบขึ้นตำเเหน่งเเปดพิสดารนี้ เเต่เดิมตำเเหน่งเเปดพิสดารไม่มีอยู่ในสำนัก สุมาเต๊กโชเพิ่งมาตั้งขึ้นภายหลัง หลังจากรับศิษย์ระดับหัวกะทิ7คนเข้ามาเพิ่ม
เล่าซือ ตำเเหน่งอาจารย์ประจำสำนัก ซึ่งมีอยู่หลายคนเเบ่งไปตามวิชาเเต่ละเเขนง (มีเล่าซือบางท่านเป็นศิษย์มาก่อน)
นอกจากเหล่าบัณฑิตที่ร่ำเรียนกินนอนในสำนักเเล้ว ทางสำนักยังเปิดให้บุคคลภายนอกได้เข้ามาร่ำเรียนเพิ่มเติมอีกด้วย ในเเต่ล่ะครั้งจะมีการเปิดการสอนโดยอาจารย์เเต่ละเเขนง รวมถึงบางทีเเปดพิสดารก็มาลงสอนวิชาเพิ่มเติมให้กับผู้เรียนด้วยตัวเอง (เหล่าผู้ไปเรียนบอกว่า หอหกสอนไม่ค่อยรู้เรื่อง555)
ว้าา...วันนี้เรียนหอหกอีกเเล้ว
สถานที่ร่ำเรียนสำหรับผู้ที่เข้ามาศึกษาวิชาเพิ่มเติม
ก็เเบ่งเป็นหอๆให้เข้าไปเรียนกัน ก็อยู่ที่ว่าทางสำนักจะจัดสรรให้ไปลงเรียนที่ใด ตามใบประกาศหน้าสำนัก
นอกจากนั้นสิ่งสำคัญสำหรับสำนักคันฉ่องวารียังมีอีกหนึ่งสิ่งนั่นก็คือ อาจารย์ผู้คอยประสิทธิ์ประสาทวิทยาให้กับเหล่าลูกศิษย์ลูกหา ในหงสาเรียกว่า “เล่าซือ” ก็เเบ่งสอนตามเเขนงวิชาต่างๆมากมายซึ่งเเบ่งออกเป็นสองสายหลักๆได้เเก่
วิชาสายบู๊ เเละ วิชาสายบุ๋น
วิชาสายบู๊ (เท่าที่เปิดเผย) ได้เเก่
-วิชา ควบขี่อาชา
-วิชา ยิงเกาทัณฑ์
-วิชา ปรับท่วงท่าการหายใจตามสัตว์
-วิชา ต่อสู้
วิชาสายบุ๋น (เท่าที่เปิดเผย) ได้เเก่
-วิชา บริหาร
-วิชา คุณธรรม
-วิชา พยากรณ์
-วิชา คณิตศาสตร์
ซึ่งตามประวัติตั้งเเต่ก่อตั้งสำนักคันฉ่องเป็นต้นมา อาจารย์ผู้สอนมีทั้งหมด72คน ผู้ที่มีตำเเหน่งอาจารย์อายุน้อยที่สุดคือ เล่าฮุย ซึ่งมีอายุเพียง10ขวบ เป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์การศึก ตรีโกณมิติ
รายชื่ออาจารย์ผู้ฝึกสอนในสำนักคันฉ่องวารี เท่าที่ปรากฏในเรื่อง
-เตียวเจียว สอนวิชาบริหาร (รวมทั้งเป็นผู้บริหารงานภายในให้กับสำนักคันฉ่องวารีอีกด้วย)
-งำเต๊ก สอนวิชาพยากรณ์
-จงฮิว สอนวิชาคุณธรรมเเละความภักดี
-เล่าฮุย สอนวิชาคณิตศาสตร์
ในเรื่องปรากฏออกมาเท่านี้ เเละไม่ได้โฟกัสในเรื่องของเหล่าอาจารย์ซักเท่าไร สิ่งที่เรารู้จึงมีเเค่เท่านี้ครับ
นอกจากสำนักคันฉ่องวารีจะเป็นสถานที่ไว้สำหรับร่ำเรียนเเล้ว ยังเป็นสถานที่ไว้สำหรับอัพเดตข่าวสารบ้านเมือง รวมถึงรวบรวมการศึกจากทั่วทั้งเเผ่นดินอีกด้วย เพราะงั้นเหล่าศิษย์ในสำนักหรือเเม้เเต่คนที่มาศึกษาก็ไม่มีทางที่จะไม่รู้ข่าวสารในปัจจุบัน ว่าใครกำลังทำอะไร จะศึกไกลเเค่ไหน ก็มีเครือข่ายม้าเร็วช่วยส่งข่าวได้อย่างทันเหตุการณ์เสมอ
ไม่ว่าศึกจะไกลขนาดไหนก็ รู้ข่าวได้ทันท่วงที เเละยังสามารถให้นักเรียนมาวิเคราะห์การศึกกันอย่างเปิดเผย
ซึ่งในปัจจุบันสำนคันฉ่องวารีได้ปิดตัวไปเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว อาจารย์หลายคนได้เเยกตัวออกไปรับใช้นายที่ตัวเองเลือก รวมทั้งพิสดารทั้งเเปดเองก็ได้เเยกตัวออกไปเป็นที่เรียบร้อยทั้งหมดเเล้วด้วย ทำให้ไม่มีอาจารย์เหลือสอนอีกเลย ทำให้สำนักคันฉ่องวารีได้ปิดทำการสอนลง เเละหลังจากปิดตัวลงนั้น สุมาเต๊กโชก็ออกเดินทางไปทั่วเเผ่นดินเพื่อดูผลของการศึกของศิษย์ทั้งเเปดโดยที่ไม่ได้กลับเข้าสำนักคันฉ่องวารีอีกนับตั้งเเต่ออกมาก่อนช่วงศึกกัวต๋อ
------------------------------------------------------------------
เท่านี้ก็น่าจะครบเรื่องกระบวนความการพาเยี่ยมชมสำนักคันฉ่องวารีเเล้วนะครับ ในทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลจากหนังสือการ์ตูนหงสาเเละนิยายหงสา ซึ่งผมเอามาเรียบเรียงอีกทีนึงครับ
ขอบคุณที่เข้ามาชมครับ
ติดตามข่าวสารเเละร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องหงสาจอมราชันย์ได้ที่
-
https://www.facebook.com/Theravagesoftimesth/ >>>Facebook
-
https://www.facebook.com/groups/Theravagesoftime/ >>>กลุ่ม
เปิดประตูเยี่ยมชม "สำนักคันฉ่องวารี" ในหงสาจอมราชันย์
“สำนักคันฉ่องวารี” ในหงสาจอมราชันย์ คือสถานที่ที่ไว้ให้เหล่าบัณฑิตหรือผู้มีความรู้ทั่วเเผ่นดินได้เดินทางมาร่ำเรียนเเละศึกษาหาความรู้ เเลกเปลี่ยนความคิด หารือเสวนาหรือเเม้กระทั่งเป็นสถานที่รวบรวมข่าวสารต่างๆจากทั่วเเผ่นดินจีน(ในยุคนั้น) หากเปรียบกับในยุคปัจจุบันเเล้ว ก็คงต้องบอกว่าไม่ต่างอะไรกับมหาลัยเอกชนชั้นนำในเมืองที่ผู้คนต่างอยากเข้าไปร่ำเรียนเพื่อหาความรู้ สำนักคันฉ่องวารีบริหารงานโดย อาจารย์ใหญ่อย่าง สุมาเต๊กโช,ซือหม่า ฮุย (Sima Hui) ในส่วนของสถานที่ตั้งของสำนักยังไม่เเน่ชัดเท่าไร เพราะในเรื่องไม่ได้อธิบายไว้มากนัก เเต่ดูจากพื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่ราบลุ่มมีป่าไม้ขึ้นมองทิวเขาพอเห็นบ้างเเละจากการรวมข้อมูลประวัติของสุมาเต๊กโชก็คิดว่าน่าจะตั้งอยู่ที่เกงจิ๋ว
คงต้องบอกเล่ากันก่อนว่าเเต่เดิมนั้น สำนักคันฉ่องวารี เป็นเพียงเเค่หอหนังสือเล็กๆเท่านั้น เป็นเพียงสถานที่ไว้สำหรับรวบรวมตำราหนังสือเเละเป็นสถานที่ไว้ปลีกวิเวกของสุมาเต๊กโช ไว้ต้อนรับเหล่าปราชญ์ไว้ถกเหตุบ้านการเมืองกัน ต่อมาเมื่อเหล่าผู้คนต่างได้ยินชื่อเสียงของอาจารย์สุมาเต๊กโช จึงนำเหล่าบุตรหลานมาฝากฝังเพื่อร่ำเรียนสานต่อความรู้เเละให้กินนอนที่สำนักเลย เเต่ในยุคที่เกิดสงครามขึ้นบ่อยทำให้เหล่าผู้ยากไร้ไร้ที่ศึกษาดีๆ ทางสุมาเต๊กโชจึงได้ตั้งสถานที่เเห่งนี้เป็นสำนักเรียนเพื่อให้ความรู้เเก่ผู้ที่ต้องการการศึกษา หรือเเม้กระทั่งเป็นที่ซุกหัวนอนสำหรับผู้ยากไร้ที่โดนพิษภัยของสงครามด้วย
จากหอหนังสือเล็กๆกลายเป็นสถานที่ที่พร้อมสรรพไปในทุกด้าน เมื่อผู้คนมากหน้าหลายตาทยอยพากันเข้ามาร่ำเรียน ทางสำนักก็ได้ปรับปรุงพัฒนาหอหนังสือจนกกลายเป็นสำนักที่มีขนาดใหญ่ เเละเนื่องด้วยลูกศิษย์ลูหาทั้งขาหลักขาจรมากมายเเละยังมีเหล่าผู้ยากไร้ที่มาขออาศัยทำให้ภายของสำนักคันฉ่องวารี มีกำลังพลที่พรั่งพร้อมเเละคนอาศัยอยู่มากมาย ทั้งมีกำเเพงกั้นสูงคล้ายกับเมืองเมืองนึงเลยทีเดียว
สำนักคันฉ่องวารีจากมุมมองระยะไกล
ภายในมีหอเรียนมากมาย เเยกออกเป็นหลายๆหอเเบ่งตามชั้นระดับความสามารถ มีทั้งเรียนในสนามภายนอกเเละเรียนภายในหอเรียน อาคารหลังใหญ่อีกนับสิบเรือน พร้อมยังบริบูรณ์ไปด้วยพันธ์ุไม้ สภาพเเวดล้อมที่ยังคงเป็นธรรมชาติดุจเดิมเเละยังมีเเปลงนาไว้สำหรับให้ผู้คนได้เรียนรู้ระบบชลประทานเเละการทำเกษตรกรรมอีกด้วย เเปลงนาเหล่านี้นอกจากเพื่อศึกษาเเล้ว ยังมีไว้สำหรับลูกศิษย์ได้ทำการเพาะปลูกหว่านไถ หมุนเวียนเงินทุนภายในสร้างรายได้ให้กับตนเอง ซึ่งการมีทุกอย่างพร้อมสรรพทำให้ทางสำนักคันฉ่องเเห่งนี้เป็นเหตุผลที่ว่าทำไม สำนักคันฉ่องวารีไม่ถูกเเทรกเเซงด้วยทุนบริจากจากภายนอก เเละตั้งตัวเป็นเอกเทศอย่างยั่งยืนได้ในเวลาหลายขวบปี
ภายในสำนักนั้นยึดหลักสันติไม่ว่าจะเป็นมิตรหรือศัตรู ไม่ว่าจะมีความเเค้นอะไรกันมาก่อน ต่างต้องวางไว้ข้างนอก เมื่อเข้ามาภายในต่างก็ต้องขวนขวายหาความรู้เเลกเปลี่ยนความคิดกันอย่างสันติวิธี เเละยังเป็นสำนักที่รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี เเม้จะเป็นสำนักที่ยึดหลักของลัทธิหยูก็ตาม เเต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด สำนักคันฉ่องวารียังคงให้การศึกษาระบบผสมผสานระหว่างความเป็นเต๋าเเละวิถีวัฒนธรรมของชาวบ้าน เคารพบูชาขงจื้อโดยการจัดพิธีไหว้ครูทุกปี
การเรียนของสำนักคันฉ่องเเบ่งออกเป็น สามระดับ ได้เเก่ “สำนักนอก,สำนักในเเละสำนักบน” ซึ่งสำนักบนจะเเบ่งออกอีกสามลำดับขั้น
ขั้นตอนการรับเข้าการศึกษาสำหรับผู้มาร่ำเรียน ในสำนักคันฉ่องวารีจะรับคนเข้าเรียนปีต่อปี เเต่ผู้สมัครเข้าเรียนต้องได้รับการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถ เพราะเนื่องจากมีผู้คนมากมายมาสมัครจึงจำกัดผู้ที่จะสามารถผ่านเข้าไปเรียนใน “สำนักนอก” ได้จะมีเพียงเเค่300คนเท่านั้น
เเผนผังระดับชั้นในสำนักคันฉ่องวารี
“สำนักนอก” เป็นระดับชั้นเริ่มเเรกสุดในสำนักคันฉ่องวารี มีผู้เรียนจำนวน300คน ภายในหอเรียนระดับชั้นนี้จะตกเเต่งให้ดูสมถะไม่หรูหราอะไรมากมาย มีวิชาเรียนระดับทั่วๆไป การทดสอบเพื่อเลื่อนขั้นนั้นภายใน1ปีจะมีเพียง10คนที่ได้คะเเนนสูงสุดจะได้ขึ้นไปอยู่สำนักใน ส่วนผู้สอบได้คะเเนนต่ำจะต้องโดนให้ออกจากสำนัก
“สำนักใน” ไม่ได้ระบุจำนวนผู้เรียนชัดนัก เเต่เป็นระดับชั้นที่ร่ำเรียนวิชาต่างในะระดับสูงกว่าสำนักนอก ภายในหอเรียนของสำนักในจะตกเเต่งได้หรูหรา มีอุปกรณ์การเรียนครบครัน ผู้ที่จะเลื่อนขั้นจะต้องทดสอบให้ได้คะเเนนระดับยอดเเละระดับรองภายใน2ปี จะได้รับเลือกขึ้นสู่สำนักบนเพียง2คนเท่านั้น ส่วนผู้ที่ได้คะเเนนต่ำสุดจะต้องถูกคัดลงไปอยู่สำนักนอก
“สำนักบน” ไม่ได้ระบุจำนวนผู้เรียนเช่นกัน เเต่ระดับนี้คือเหล่าผู้ร่ำเรียนในระดับสูงสุด มีทั้งหมดสามชั้น สามารถลงเรียนวิชาเสริมเเขนงต่างๆได้เพื่ออัพขั้นตัวเอง ภายในหอเรียนมีอุปกรณ์รวมทั้งตำราหนังสือเรียนอย่างพร้อมสรรพ มีทั้งหมด3ลำดับขั้น
“เเปดพิสดาร” ถือเป็นตำเเหน่งสูงสุดพอๆกับตำเเหน่งของอาจารย์ เป็นผู้อัจฉริยะที่มีความคิดเหนือกว่าคนทั่วไป ตำเเหน่งนี้ควบเป็นตำเเหน่งอาจารย์สอนหนังสือเเก่เหล่าบัณฑิตที่มาศึกษาไปด้วย เเละเเต่ละคนจะมีหอเเยกเป็นการส่วนตัวไว้สำหรับให้คนไปร่ำเรียนตามเเขนงวิชาที่ต้องการ ไม่ได้ระบุวิธีการการสอบขึ้นตำเเหน่งเเปดพิสดารนี้ เเต่เดิมตำเเหน่งเเปดพิสดารไม่มีอยู่ในสำนัก สุมาเต๊กโชเพิ่งมาตั้งขึ้นภายหลัง หลังจากรับศิษย์ระดับหัวกะทิ7คนเข้ามาเพิ่ม
เล่าซือ ตำเเหน่งอาจารย์ประจำสำนัก ซึ่งมีอยู่หลายคนเเบ่งไปตามวิชาเเต่ละเเขนง (มีเล่าซือบางท่านเป็นศิษย์มาก่อน)
นอกจากเหล่าบัณฑิตที่ร่ำเรียนกินนอนในสำนักเเล้ว ทางสำนักยังเปิดให้บุคคลภายนอกได้เข้ามาร่ำเรียนเพิ่มเติมอีกด้วย ในเเต่ล่ะครั้งจะมีการเปิดการสอนโดยอาจารย์เเต่ละเเขนง รวมถึงบางทีเเปดพิสดารก็มาลงสอนวิชาเพิ่มเติมให้กับผู้เรียนด้วยตัวเอง (เหล่าผู้ไปเรียนบอกว่า หอหกสอนไม่ค่อยรู้เรื่อง555)
ว้าา...วันนี้เรียนหอหกอีกเเล้ว
สถานที่ร่ำเรียนสำหรับผู้ที่เข้ามาศึกษาวิชาเพิ่มเติม
ก็เเบ่งเป็นหอๆให้เข้าไปเรียนกัน ก็อยู่ที่ว่าทางสำนักจะจัดสรรให้ไปลงเรียนที่ใด ตามใบประกาศหน้าสำนัก
นอกจากนั้นสิ่งสำคัญสำหรับสำนักคันฉ่องวารียังมีอีกหนึ่งสิ่งนั่นก็คือ อาจารย์ผู้คอยประสิทธิ์ประสาทวิทยาให้กับเหล่าลูกศิษย์ลูกหา ในหงสาเรียกว่า “เล่าซือ” ก็เเบ่งสอนตามเเขนงวิชาต่างๆมากมายซึ่งเเบ่งออกเป็นสองสายหลักๆได้เเก่ วิชาสายบู๊ เเละ วิชาสายบุ๋น
วิชาสายบู๊ (เท่าที่เปิดเผย) ได้เเก่
-วิชา ควบขี่อาชา
-วิชา ยิงเกาทัณฑ์
-วิชา ปรับท่วงท่าการหายใจตามสัตว์
-วิชา ต่อสู้
วิชาสายบุ๋น (เท่าที่เปิดเผย) ได้เเก่
-วิชา บริหาร
-วิชา คุณธรรม
-วิชา พยากรณ์
-วิชา คณิตศาสตร์
ซึ่งตามประวัติตั้งเเต่ก่อตั้งสำนักคันฉ่องเป็นต้นมา อาจารย์ผู้สอนมีทั้งหมด72คน ผู้ที่มีตำเเหน่งอาจารย์อายุน้อยที่สุดคือ เล่าฮุย ซึ่งมีอายุเพียง10ขวบ เป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์การศึก ตรีโกณมิติ
รายชื่ออาจารย์ผู้ฝึกสอนในสำนักคันฉ่องวารี เท่าที่ปรากฏในเรื่อง
-เตียวเจียว สอนวิชาบริหาร (รวมทั้งเป็นผู้บริหารงานภายในให้กับสำนักคันฉ่องวารีอีกด้วย)
-งำเต๊ก สอนวิชาพยากรณ์
-จงฮิว สอนวิชาคุณธรรมเเละความภักดี
-เล่าฮุย สอนวิชาคณิตศาสตร์
ในเรื่องปรากฏออกมาเท่านี้ เเละไม่ได้โฟกัสในเรื่องของเหล่าอาจารย์ซักเท่าไร สิ่งที่เรารู้จึงมีเเค่เท่านี้ครับ
นอกจากสำนักคันฉ่องวารีจะเป็นสถานที่ไว้สำหรับร่ำเรียนเเล้ว ยังเป็นสถานที่ไว้สำหรับอัพเดตข่าวสารบ้านเมือง รวมถึงรวบรวมการศึกจากทั่วทั้งเเผ่นดินอีกด้วย เพราะงั้นเหล่าศิษย์ในสำนักหรือเเม้เเต่คนที่มาศึกษาก็ไม่มีทางที่จะไม่รู้ข่าวสารในปัจจุบัน ว่าใครกำลังทำอะไร จะศึกไกลเเค่ไหน ก็มีเครือข่ายม้าเร็วช่วยส่งข่าวได้อย่างทันเหตุการณ์เสมอ
ไม่ว่าศึกจะไกลขนาดไหนก็ รู้ข่าวได้ทันท่วงที เเละยังสามารถให้นักเรียนมาวิเคราะห์การศึกกันอย่างเปิดเผย
ซึ่งในปัจจุบันสำนคันฉ่องวารีได้ปิดตัวไปเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว อาจารย์หลายคนได้เเยกตัวออกไปรับใช้นายที่ตัวเองเลือก รวมทั้งพิสดารทั้งเเปดเองก็ได้เเยกตัวออกไปเป็นที่เรียบร้อยทั้งหมดเเล้วด้วย ทำให้ไม่มีอาจารย์เหลือสอนอีกเลย ทำให้สำนักคันฉ่องวารีได้ปิดทำการสอนลง เเละหลังจากปิดตัวลงนั้น สุมาเต๊กโชก็ออกเดินทางไปทั่วเเผ่นดินเพื่อดูผลของการศึกของศิษย์ทั้งเเปดโดยที่ไม่ได้กลับเข้าสำนักคันฉ่องวารีอีกนับตั้งเเต่ออกมาก่อนช่วงศึกกัวต๋อ
------------------------------------------------------------------
เท่านี้ก็น่าจะครบเรื่องกระบวนความการพาเยี่ยมชมสำนักคันฉ่องวารีเเล้วนะครับ ในทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลจากหนังสือการ์ตูนหงสาเเละนิยายหงสา ซึ่งผมเอามาเรียบเรียงอีกทีนึงครับ
ขอบคุณที่เข้ามาชมครับ
ติดตามข่าวสารเเละร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องหงสาจอมราชันย์ได้ที่
- https://www.facebook.com/Theravagesoftimesth/ >>>Facebook
- https://www.facebook.com/groups/Theravagesoftime/ >>>กลุ่ม