ตำนานพญานาคกับความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

ตำนาณของพญานาคมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน ดังที่ปรากฎในหลายตอนๆ ในพุทธประวัติว่าด้วยความเลื่อมใสต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่อยมาถึสังคมไทยมาถึงพญานาคที่อยู่ลุ่มแม่น้ำโขง รูปปั้นนาคที่อยู่ตามวัดวาอารามต่าง หรือตำนานของการหล่อพระจะมีตำนานของนาครวมอยู่ด้วย
         ว่าด้วยแล้วนาคเองก็เป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่มีฤทธิ์ด้วยบุญ ที่ทำแต่ปนด้วยกิเลสราคะทำให้เกิดเป็นนาค
         [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
        แต่จากเรื่องนี้จักได้ข้อคิดที่ว่า แม้เป็นสัตว์เดรัจฉานแต่มีฤทธิ์เช่นนาค ก็ยังเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วันออกพรรษาที่เมืองสังกะสะนคร ที่เมื่อเห็นพระองค์แล้วก็ได้ตั้งความปราถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
        ตัวของเราเองโชคดีที่ได้เกิดมาเจอพระพุทธศาสนา ก็ให้รักษาความโชคดีนี้ไว้ ด้วยการศึกษาคำสอนแล้วปฏิบัติตาม ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา จนหลุดพ้น บรรลุพระนิพพาน



            ถ้าได้ศึกษา “พุทธประวัติ” ก็จะเห็นได้ว่ามีเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับ “พญานาค” อยู่หลายช่วงหลายตอน อันอาจเป็นที่มาของความเชื่อถือและการ เกี่ยวพันของ “พญานาค” กับ “พุทธสถาน” ดังกล่าวข้างต้น อาทิ



             …เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงตัดสินพระทัยเลิกกระทำทุกรกิริยา และนางสุชาดานำข้าวปายาสไปถวาย หลังจากเสวยหมดแล้วได้ทรงนำถาดทองไปลอยในแม่น้ำเนรัญชรา ถาดทองได้ลอยทวนกระแสน้ำไปประมาณ 80 ศอก พอถึงวนแห่งหนึ่งก็จมลงไปยังที่อยู่แห่ง “พญากาฬนาคราช” ผู้มีอายุมากและหลับอยู่เป็นนิตย์ จะตื่นต่อเมื่อได้ยินเสียง “ถาดทอง” ที่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงลอยลงไปกระทบกับถาดที่มีอยู่เดิม ตามประวัติว่ามีอยู่แล้ว 3 ถาด เป็นของพระพุทธกุกกุสันธ 1 พระพุทธโกนาคมน์ 1 และพระพุทธกัสสป 1 แสดงว่า พญากาฬนาคราชได้พบพระพุทธเจ้ามาแล้ว 3 พระองค์ ซึ่งจะตื่นอีกครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าองค์ที่ 4 และจะมีอายุยืนต่อไป



             …คราหนึ่ง พญานาคตนหนึ่งได้นั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธองค์แล้วเกิดศรัทธา จึงแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา อยู่มาวันหนึ่งได้เข้าจำวัดในตอนกลางวัน ช่วงจำวัดนั้นมนต์ได้เสื่อมลงจึงกลายร่างเป็นงูใหญ่จนพระภิกษุรูปอื่นไปเห็นเข้า ครั้นพระพุทธองค์ทรงทราบ จึงให้พระภิกษุนาคนั้นสึกออกไป เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉานไม่สามารถบวชในพระพุทธศาสนาได้ นาคตนนั้นผิดหวังมากจึงขอถวายคำว่า “นาค” ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน จึงได้เรียกการบวชขั้นตอนแรกว่า “บวชนาค” จากนั้นมาพระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไม่ให้สัตว์เดรัจฉานบวชอีกเป็นอันขาด ดังนั้นก่อนที่พระอุปัชฌาย์จะอุปสมบทให้แก่ผู้ขอบวชจะต้องถาม “อันตรายิกธรรม (ข้อขัดข้อง)” ที่จะทำให้ผู้นั้นบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้รวม 8 ข้อเสียก่อน หนึ่งในนั้นก็คือ “ท่านเป็นมนุษย์หรือเปล่า”

              …ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 รูป เพื่อไปยังเทวโลก ได้ผ่านวิมานของเหล่าพญานาค มี “นันโทปนันทนาคราช” เป็นประธาน กำลังมีการรื่นเริงกันอย่างสนุกสนาน เมื่อเห็นคณะสงฆ์ผ่านไปเหนือวิมานจึงโกรธมาก ตรงไปยังเขาพระสุเมรุแปลงตนเป็นนาคขนาดใหญ่พันโอบเขาพระสุเมรุถึง 7 รอบ แล้วแผ่พังพานบังชั้นดาวดึงส์เอาไว้ เพื่อไม่ให้พระพุทธองค์และพระสงฆ์ผ่านไปได้ พระโมคคัลลานะตามเสด็จไปด้วยจึงอาสาปราบ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงอนุญาต ในที่สุด นันโทปนันทนาคราชยอมพ่ายแพ้ต่ออิทธิฤทธิ์ของพระโมคคัลลานะและยอมให้พระพุทธเจ้าพร้อมพระอรหันต์ผ่านไปโดยดี ฯลฯ



           ยังมีพุทธประวัติอีกหลายตอนที่มีการกล่าวถึง “พญานาค” อีกหลายตน ที่มีทั้งดีและร้าย แต่ด้วยพระบารมีแห่งพระพุทธองค์ ทรงสามารถ “ปราบ” และ “ปราม” ให้ “พญานาค” ทั้งหลายยอมสิโรราบหันมายอมรับนับถือในพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงมีพญานาคมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ และยังมีปรากฏในบทสวดมนต์หลายบทเช่น “บทสวดมนต์มหาสมัยสูตร” ก็ได้ออกชื่อพญานาคหลายพวก ซึ่งพร้อมด้วยเทวดามาฟังพระธรรมเทศนากันอย่างเนืองแน่น เมื่อฟังพระธรรมเทศนาจบแล้วก็แยกย้ายกันกลับวิมานของตน หรือ “บทขันธปริตร” อันเป็นมนต์ภาวนาให้พ้นจากการประทุษร้ายของงู ตลอดจนภูตผีปีศาจทั้งหลาย ตามคำแปลท้ายบทที่ว่า “เทพยดาและนาคทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก ซึ่งสถิตอยู่ในอากาศก็ดี สถิตอยู่ในภาคพื้นก็ดี เทพยดาและนาคเหล่านั้นจะตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรคด้วยความสุข” เป็นต้น



            ยังมี “พญานาค” สำคัญอีกตนหนึ่ง คือ “พญา มุจลินทนาคราช” ซึ่งเป็นมูลเหตุให้เกิด “พระพุทธรูปปางนาคปรก” ที่มีพุทธลักษณะงดงามสง่าและสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา ซึ่งจะได้กล่าวถึงในคราวต่อไปครับผม
ขอบคุณข้อมูลจากข่าวสด online
https://www.khaosod.co.th/amulets/news_316151
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่