ลองอ่านดูค่ะ....
🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢
ก็ชัดเจน จาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณรองนายกฯและรมว.กลาโหม และพล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ ตามที่กองทัพเรือเสนอ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน โดยจัดซื้อเรือดำน้ำ Yuan Class S26T จากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 1 ลำ วงเงิน 13,500ล้านบาท ยืนยันว่าไม่มีอะไรเป็นลับลมคมในซึ่งการจัดซื้อเป็นงบผูกพัน ไม่ได้จ่ายเงินครั้งเดียว แต่จะทยอยจ่าย และเรื่องดังกล่าวเป็นเอกสารลับที่สุดหรือมุมแดง และเป็นโหมดงานด้านความมั่นคง จึงไม่จำเป็นต้องแถลง แต่ยืนยันว่าไม่มีลับลมคมใน
ตอนนี้ซื้อมาแค่ 1 ลำก่อน ที่เหลือค่อยทยอยมาจนครบ 3 ลำ
ผมเก็บเอกสารของกองทัพเรือที่มีความประสงค์จะการจัดซื้อเรือดำน้ำ แบบYuan Class S26T จำนวน 3 ลำ มูลค่า 3.6 หมื่นล้านบาท จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ไว้หลายปีแล้วจะย่อให้ทราบถึงความจำเป็นต้องมีเรือดำน้ำไว้รักษาความมั่นคงของประเทศทางทะเล
การมีเรือดำน้ำนั้น อยู่ในแนวความคิดในการนำมาใช้กว่า 100 ปี มาแล้วและไทยเคยมีเรือดำน้ำถึง 4 ลำ ซื้อมาจากญี่ปุ่น คือ ร.ล.มัจฉานุ ร.ล.วิรุณ ร.ล.สินสมุทร และร.ล.พลายชุมพล ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2481 ในอดีตเรือดำน้ำเคยช่วยทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการถูกยึดครอง และเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ในกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนมาแล้ว ต่อมาเรือดำน้ำของกองทัพเรือได้ถูกปลดประจำการไปพร้อมกันเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 จึงทำให้ประเทศไทยขาดรั้วที่สำคัญไปหนึ่งด้านมาเป็นเวลากว่า 64 ปีจึงถือเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางทะเลที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคปัจจุบัน
ประเทศไทยมีผลประโยชน์ทางทะเลมหาศาล ดังนั้น การปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยการเสริมสร้างกำลังทางเรือจึงเป็นความจำเป็น เพื่อให้มีกำลังทางเรือที่สมดุลทัดเทียมกันในภูมิภาคหรือเพื่อให้มีศักยภาพในการรบที่ใกล้เคียงกันหรือเหนือกว่า
ปัจจุบันประเทศสิงคโปร์ ปัจจุบันมีเรือดำน้ำประจำการ 6 ลำ และกำลังต่อเพิ่มอีก 2 ลำ ประเทศเวียดนามสั่งต่อเรือดำน้ำจากรัสเซีย จำนวน 6 ลำ ขณะนี้เข้าประจำการแล้ว 4 ลำ ประเทศอินโดนีเซีย มีเรือดำน้ำประจำการ 2 ลำ กำลังต่อเพิ่มที่เกาหลีใต้อีก 3 ลำและประเทศมาเลเซีย มีเรือดำน้ำประจำการ 2 ลำ
ประเทศไทยมีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าทางทะเลสูงถึง 95% และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของเรานี้ ถือว่าเป็นเส้นทางคมนาคมทางทะเลเชื่อมทวีปยุโรป เอเชีย และอเมริกา ผ่านช่องแคบมะละกา จึงนับว่ามีความสำคัญระดับโลกทีเดียวซึ่งหากเกิดปัญหาการปิดล้อมพื้นที่หรือข้อพิพาททางทะเลไม่ว่าที่ใด ย่อมส่งผลกระทบต่อการคมนาคมทางทะเลโดยตรง ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก เมื่อมองพื้นที่บริเวณอ่าวไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางคมนาคมสายหลักที่มีการนำเข้า-ส่งออกสินค้า เป็นจำนวนมาก มีเรือสินค้าผ่านเข้า-ออกปีละประมาณ 15,000 ลำแต่ด้วยพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงทางด้านภูมิศาสตร์ในการที่จะถูกปิดอ่าวหรือขัดขวางการใช้เส้นทางเดินเรือ เนื่องจากปากอ่าวมีความกว้างประมาณ 200 ไมล์ทะเลหรือ 400 กิโลเมตรเท่านั้น หากเกิดกรณีพิพาทหรือความขัดแย้งกับต่างประเทศขึ้น การถูกปิดอ่าวจะทำให้การขนส่งทางทะเลสายนี้หยุดชะงักทันที ส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดความเสียหายดั่งเช่นที่เราเคยประสบมาแล้วในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อ่าวไทยถูกปิดทำให้เกิดความเดือดร้อนแสนสาหัส
ถึงแม้กองทัพเรือจะมีเรือผิวน้ำและอากาศยานที่ทำหน้าที่ป้องกันสกัดการรุกรานทางทะเลอยู่แล้ว แต่การประกอบกำลังทางเรือที่สมบูรณ์จะต้องมีครบทั้ง3 มิติ เพราะในมิติใต้น้ำ ต้องใช้เรือดำน้ำในการปราบเรือดำน้ำด้วยกัน สำหรับยามปกติ เรือดำน้ำจะทำหน้าที่ป้องปรามไม่ให้เรือใดๆ ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามคิดเข้ามารุกรานประเทศไทย
เปรียบเสมือนเป็นรั้วให้กับประเทศ เรือดำน้ำจึงเปรียบเสมือนกองกำลังใต้น้ำที่จะสร้างความน่าเกรงขามให้กับประเทศไทย จากสถานการณ์ปัจจุบันที่หลายคนมองว่าคงจะไม่เกิดสงครามในระยะใกล้นี้ แต่ความขัดแย้งในทะเลยังคงมีอยู่และไม่มีใครยืนยันได้ว่าสถานการณ์จะไม่บานปลายไปถึงขั้นการใช้กำลังต่อกันเมื่อใด การมีเรือดำน้ำจึงเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งที่จะป้องปราม
ไม่ให้เกิดสงคราม ซึ่งการรักษาดุลกำลังทางเรือในภูมิภาค จึงมีความจำเป็นเพื่อให้มีการยับยั้งชั่งใจในการใช้กำลังทางเรือและนำไปสู่การเจรจาต่อรองที่มีความทัดเทียมกัน
เอกสารที่ผมเก็บไว้มีหลายหน้าย่อมาให้อ่านบางส่วน
ครับซื้อเรือดำน้ำหนนี้ ขอให้ใช้อย่างคุ้มค่าต่อการป้องกันประเทศครับ
จิระพงษ์ เต็มเปี่ยม : ‘เรือดำน้ำ’มาหานะเธอ! กองกำลังใต้ทะเลของชาติ
http://m.naewna.com/view/columntoday/29484
คิดแล้ว ก็น่าจะมีไว้ค่ะ.....
((มาลาริน)) ^_^ สวัสดีเช้าวันศุกร์แจ่มใสไร้ซอมบี้..👉มุมมองของผู้สนับสนุน.."เรือดำน้ำ" มาหานะเธอ! กองกำลังใต้ทะเลของชาติ
🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢
ก็ชัดเจน จาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณรองนายกฯและรมว.กลาโหม และพล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ ตามที่กองทัพเรือเสนอ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน โดยจัดซื้อเรือดำน้ำ Yuan Class S26T จากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 1 ลำ วงเงิน 13,500ล้านบาท ยืนยันว่าไม่มีอะไรเป็นลับลมคมในซึ่งการจัดซื้อเป็นงบผูกพัน ไม่ได้จ่ายเงินครั้งเดียว แต่จะทยอยจ่าย และเรื่องดังกล่าวเป็นเอกสารลับที่สุดหรือมุมแดง และเป็นโหมดงานด้านความมั่นคง จึงไม่จำเป็นต้องแถลง แต่ยืนยันว่าไม่มีลับลมคมใน
ตอนนี้ซื้อมาแค่ 1 ลำก่อน ที่เหลือค่อยทยอยมาจนครบ 3 ลำ
ผมเก็บเอกสารของกองทัพเรือที่มีความประสงค์จะการจัดซื้อเรือดำน้ำ แบบYuan Class S26T จำนวน 3 ลำ มูลค่า 3.6 หมื่นล้านบาท จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ไว้หลายปีแล้วจะย่อให้ทราบถึงความจำเป็นต้องมีเรือดำน้ำไว้รักษาความมั่นคงของประเทศทางทะเล
การมีเรือดำน้ำนั้น อยู่ในแนวความคิดในการนำมาใช้กว่า 100 ปี มาแล้วและไทยเคยมีเรือดำน้ำถึง 4 ลำ ซื้อมาจากญี่ปุ่น คือ ร.ล.มัจฉานุ ร.ล.วิรุณ ร.ล.สินสมุทร และร.ล.พลายชุมพล ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2481 ในอดีตเรือดำน้ำเคยช่วยทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการถูกยึดครอง และเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ในกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนมาแล้ว ต่อมาเรือดำน้ำของกองทัพเรือได้ถูกปลดประจำการไปพร้อมกันเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 จึงทำให้ประเทศไทยขาดรั้วที่สำคัญไปหนึ่งด้านมาเป็นเวลากว่า 64 ปีจึงถือเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางทะเลที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคปัจจุบัน
ประเทศไทยมีผลประโยชน์ทางทะเลมหาศาล ดังนั้น การปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยการเสริมสร้างกำลังทางเรือจึงเป็นความจำเป็น เพื่อให้มีกำลังทางเรือที่สมดุลทัดเทียมกันในภูมิภาคหรือเพื่อให้มีศักยภาพในการรบที่ใกล้เคียงกันหรือเหนือกว่า
ปัจจุบันประเทศสิงคโปร์ ปัจจุบันมีเรือดำน้ำประจำการ 6 ลำ และกำลังต่อเพิ่มอีก 2 ลำ ประเทศเวียดนามสั่งต่อเรือดำน้ำจากรัสเซีย จำนวน 6 ลำ ขณะนี้เข้าประจำการแล้ว 4 ลำ ประเทศอินโดนีเซีย มีเรือดำน้ำประจำการ 2 ลำ กำลังต่อเพิ่มที่เกาหลีใต้อีก 3 ลำและประเทศมาเลเซีย มีเรือดำน้ำประจำการ 2 ลำ
ประเทศไทยมีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าทางทะเลสูงถึง 95% และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของเรานี้ ถือว่าเป็นเส้นทางคมนาคมทางทะเลเชื่อมทวีปยุโรป เอเชีย และอเมริกา ผ่านช่องแคบมะละกา จึงนับว่ามีความสำคัญระดับโลกทีเดียวซึ่งหากเกิดปัญหาการปิดล้อมพื้นที่หรือข้อพิพาททางทะเลไม่ว่าที่ใด ย่อมส่งผลกระทบต่อการคมนาคมทางทะเลโดยตรง ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก เมื่อมองพื้นที่บริเวณอ่าวไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางคมนาคมสายหลักที่มีการนำเข้า-ส่งออกสินค้า เป็นจำนวนมาก มีเรือสินค้าผ่านเข้า-ออกปีละประมาณ 15,000 ลำแต่ด้วยพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงทางด้านภูมิศาสตร์ในการที่จะถูกปิดอ่าวหรือขัดขวางการใช้เส้นทางเดินเรือ เนื่องจากปากอ่าวมีความกว้างประมาณ 200 ไมล์ทะเลหรือ 400 กิโลเมตรเท่านั้น หากเกิดกรณีพิพาทหรือความขัดแย้งกับต่างประเทศขึ้น การถูกปิดอ่าวจะทำให้การขนส่งทางทะเลสายนี้หยุดชะงักทันที ส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดความเสียหายดั่งเช่นที่เราเคยประสบมาแล้วในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อ่าวไทยถูกปิดทำให้เกิดความเดือดร้อนแสนสาหัส
ถึงแม้กองทัพเรือจะมีเรือผิวน้ำและอากาศยานที่ทำหน้าที่ป้องกันสกัดการรุกรานทางทะเลอยู่แล้ว แต่การประกอบกำลังทางเรือที่สมบูรณ์จะต้องมีครบทั้ง3 มิติ เพราะในมิติใต้น้ำ ต้องใช้เรือดำน้ำในการปราบเรือดำน้ำด้วยกัน สำหรับยามปกติ เรือดำน้ำจะทำหน้าที่ป้องปรามไม่ให้เรือใดๆ ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามคิดเข้ามารุกรานประเทศไทย
เปรียบเสมือนเป็นรั้วให้กับประเทศ เรือดำน้ำจึงเปรียบเสมือนกองกำลังใต้น้ำที่จะสร้างความน่าเกรงขามให้กับประเทศไทย จากสถานการณ์ปัจจุบันที่หลายคนมองว่าคงจะไม่เกิดสงครามในระยะใกล้นี้ แต่ความขัดแย้งในทะเลยังคงมีอยู่และไม่มีใครยืนยันได้ว่าสถานการณ์จะไม่บานปลายไปถึงขั้นการใช้กำลังต่อกันเมื่อใด การมีเรือดำน้ำจึงเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งที่จะป้องปราม
ไม่ให้เกิดสงคราม ซึ่งการรักษาดุลกำลังทางเรือในภูมิภาค จึงมีความจำเป็นเพื่อให้มีการยับยั้งชั่งใจในการใช้กำลังทางเรือและนำไปสู่การเจรจาต่อรองที่มีความทัดเทียมกัน
เอกสารที่ผมเก็บไว้มีหลายหน้าย่อมาให้อ่านบางส่วน
ครับซื้อเรือดำน้ำหนนี้ ขอให้ใช้อย่างคุ้มค่าต่อการป้องกันประเทศครับ
จิระพงษ์ เต็มเปี่ยม : ‘เรือดำน้ำ’มาหานะเธอ! กองกำลังใต้ทะเลของชาติ
http://m.naewna.com/view/columntoday/29484
คิดแล้ว ก็น่าจะมีไว้ค่ะ.....