เรื่องเล่าจากอดีต
เสรีไทยเตรียมสู้ศึก
พ.สมานคุรุกรรม
ในคราวที่กองทัพไทยเตรียมต่อสู้ กับกองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น ได้มีนายทหารสื่อสารท่านหนึ่งที่ได้ร่วมงานต่อต้านญี่ปุ่น ในฉากของมหามิตรด้วย ท่านมีบทบาทสำคัญในการป้องกันพระนคร ท่านผู้นี้คือ พันตรี ชาญ อังศุโชติ ท่านได้เขียนไว้ในเรื่อง การปฏิบัติภารกิจของกองพลรักษาพระนคร ซึ่งได้ตัดตอนมาเล่า ดังนี้
หลังจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้พ้นอำนาจทางการเมืองและการทหาร ในกลางปี พ.ศ.๒๔๘๗ แล้ว กรมบัญชาการกองทัพใหญ่ ได้ปรับปรุงการจัดกองพลที่ ๑ ให้มีสภาพเป็นกองพลรักษาพระนคร ตั้งอยู่ที่สวนพุดตาลในเขตพระราชฐาน (ใกล้พระที่นั่งพิมานเมฆ และ อภิเศกดุสิต) กับให้หน่วยทหารบกที่มิได้ขึ้นตรงต่อกองพลที่ ๑ ส่วนที่อยู่ในพระนคร รวมทั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก มาร่วมปฏิบัติการทางยุทธวิธี ตัวท่านเป็นฝ่ายเสนาธิการของกองพลในขณะนั้น
หน่วยนี้มีหน้าที่ประสานงานกับฝ่ายทหารและคณะผู้ต่อต้านญี่ปุ่นชั้นผู้ใหญ่ และแยกย้ายกันสดับตรับฟัง ข่าวการเคลื่อนไหวของฝ่ายญี่ปุ่น เพื่อเตรียมการที่จะขัดขวาง หากว่าฝ่ายญี่ปุ่นจะเข้ายึดการปกครอง และดำเนินการขับไล่ทหารญี่ปุ่นให้ออกนอกประเทศไทย ร่วมกับฝ่าย สัมพันธมิตรเมื่อถึงเวลา
การดำเนินการต่าง ๆ บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เปิดเผย เช่นการสร้างป้อมตามถนนสายสำคัญ ๆ ในพระนคร และการฝึกซ้อมทหารพร้อม ๆ กับเวลาที่ทหารญี่ปุ่นทำการฝึกซ้อมในพระนคร เป็นต้น ส่วนงานที่เป็นความลับ มีผู้ทราบความเคลื่อนไหวน้อย เช่น
การส่งนายทหารนายสิบ แทรกซึมเข้าไปทำหน้าที่รับใช้ ที่บ้านพักของนายทหารญี่ปุ่นชั้นผู้ใหญ่ เพื่อสืบทราบความเคลื่อนไหวต่าง ๆ นับตั้งแต่ตัวแม่ทัพคือ พลโทนากามูรา ลงมา เรื่องนี้ปรากฏผลว่า สามารถรายงานข่าวกรองที่เป็นประโยชน์แก่การต่อต้านเป็นอันมาก ผู้ที่ไปปฏิบัติงานนี้ทำได้แนบเนียนมากและได้ผลดี ไม่ปรากฏว่าฝ่ายญี่ปุ่นจับได้แม้แต่รายเดียว และได้ส่งนายทหารแทรกซึมไปในหมู่พ่อค้าชาวจีน ซึ่งบางรายก็ให้ความร่วมมือ ในการข่าวกรองด้วยความเต็มใจ บางรายก็ให้ข่าวโดยการพลั้งเผลอหรือไม่ตั้งใจ ชาวจีนบางคนร่วมมือกับญี่ปุ่นก็มี การเลือกเฟ้นเป้าหมายที่จะเข้าไปติดต่อ ต้องทำอย่างรอบคอบมาก ผลของงานนี้ทำให้ผู้บังคับบัญชาชั้นสูง ทราบความเคลื่อนไหวของชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย จากฝ่ายพลเรือนอีกทางหนึ่ง
อีกเรื่องหนึ่งคือการสร้างสนามบินลับที่ตำบลบางพูน จังหวัดปทุมธานี เพื่อให้ทหารสัมพันธมิตรโดดร่มลงมา เตรียมเข้าตีสนามบินดอนเมือง และการป้องกันสนามบินน้ำ โดยจัดสร้างโรงเรือนขึ้นเป็นอาคารแบบโรงเลี้ยงไก่และสุกร แต่มีกองรักษาการณ์ สถานีวิทยุสนาม ที่พักยานยนต์
และได้มีการจัดตั้งหน่วยพิเศษ ของกองพลรักษาพระนครขึ้น โดยได้คัดเลือกนายสิบพลทหารทุกหน่วยทหารต่าง ๆ ในพระนคร รวมประมาณ ๒๕๐ คน มีลักษณะกล้าหาญ เสียสละ และเก็บความลับได้ จัดตั้งเป็นหน่วยพิเศษขึ้นที่พระที่นั่งนงคราญสโมสร (บริเวณวังสวนสุนันทา) ใกล้ที่ตั้งของกองพลรักษาพระนคร หน่วยพิเศษนี้มีการรักษาความปลอดภัยอย่างกวดขันมาก ภารกิจของหน่วยพิเศษนี้ คือการฝึกใช้อาวุธ ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งร่มหรือนำมาส่งให้ โดยเรือดำน้ำ เช่น ปืนต่อสู้รถถัง ปืนกลมือ เครื่องยิงและลูกระเบิดขว้าง กับระเบิด และเครื่องค้นหากับระเบิด การตรวจค้นและการทำลายวัตถุระเบิด การจู่โจมเข้าจับกุมฝ่ายตรงข้ามคนสำคัญ และระวังป้องกันอันตรายให้แก่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และบุคคลสำคัญของรัฐบาล การป้องกันอันตรายให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ทั้งชาวต่างประเทศและคนไทย
ครั้งหนึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรนัดว่าจะส่งเครื่องบิน มาทิ้งยาให้ที่ท้องสนามหลวง ในวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๘๘ หน่วยพิเศษได้รับคำสั่งให้เป็นหน่วยเก็บยา บังเอิญเนื่องจากอุปสรรคบางประการ จึงได้มีการเลื่อนวันทิ้ง มาเป็นวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๘๘ การทิ้งยาและเวชภัณฑ์ในวันนั้น สัมพันธมิตรดำเนินการอย่างอาจหาญและเปิดเผยมาก ไม่มีการปิดบังแต่อย่างใด ความลับจึงแตก และทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นรู้แน่ว่า คนไทยได้ประสานงานกับสัมพันธมิตร เตรียมที่จะดำเนินการกับฝ่ายญี่ปุ่นแล้ว บรรยากาศในพระนครจึงได้เพิ่มความตึงเครียดขึ้น
นอกจากนี้ยังได้คัดเลือกนายสิบพลทหาร ที่มีความเข้าใจเรื่องการค้าขาย ไปเช่าร้านขายอาหารที่เชิงสะพานเทเวศร์ (สี่เสา) จัดให้ขายข้าวแกง ส่วนภายในร้านได้จัดเป็นรังปืนกล มีอาวุธกระสุน และเครื่องสื่อสาร กับที่บริเวณใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กองพลรักษาพระนครได้เช่าบ้านหลังใหญ่ มีบริเวณกว้างขวาง ดัดแปลงเป็นรังปืนกลขนาดใหญ่ใต้พื้นดิน มีปืนต่อสู้รถถัง ปืนกลหนักหลายกระบอก มีกระสุน และเครื่องรับส่งวิทยุสนามพร้อม รังปืนกลแห่งนี้ อยู่ในชัยภูมิสำคัญ ใกล้ที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพญี่ปุ่น และอยู่ใกล้ชุมทางสำคัญที่จะสกัดการเคลื่อนย้ายกำลังจากดอนเมืองเข้าพระนคร หรือจากพระนครออกไปสนามบินดอนเมืองได้
แต่สงครามก็ได้สงบลงเสียก่อน ที่จะได้ใช้ป้อมนี้ให้เป็นประโยชน์ ทำให้สงวนชีวิตของทหารทั้งสองฝ่ายไว้ได้ ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ของฝ่ายญี่ปุ่นและไทย ไม่ถึงกับขาดสะบั้นไปโดยสิ้นเชิง
พันตรี ชาญ อังศุโชติ ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ เป็นนายทหารสื่อสารประจำกองพันทหารสื่อสารที่ ๒
ท่านได้ย้ายไปรับราชการในกองบัญชาการตำรวจภูธร และตำรวจตระเวนชายแดน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ - ๒๕๐๓
ได้รับพระราชทานยศ นายพลตำรวจตรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒
และได้รับพระราชทานยศ พลโท เมื่อรับราชการในกองบัญชาการทหารสูงสุด ใน พ.ศ.๒๕๑๔
ท่านครบเกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗
เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘
และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔.
อีกท่านหนึ่งคือ พลตรี เฉลิม (มีนาภา) กรัณยวัฒน์ ท่านได้เล่าถึงภารกิจพิเศษของท่านไว้ในเรื่อง เมื่อผมเป็นเสรีไทย ในนิตยสารทหารสื่อสาร ฉบับ กันยายน ๒๕๓๓ ว่า
ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๘๘ ลางแพ้ของญี่ปุ่นเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อนี้เอง
ไทยเราต้องหาทางออกที่ดีที่สุด มิฉะนั้นแล้วจะเป็นฝ่ายแพ้สงครามไปกับญี่ปุ่นด้วย ทางออกที่เหมาะ
สมคือตั้งหน่วยเสรีไทยขึ้น เมื่อ เดือน เมษายน ๒๔๘๘ หาวิธีการฝึกหน่วยเสรีไทย ให้มีความรู้ ความ
สามารถ ในการใช้อาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องมือสื่อสาร และตกลงกับพันธมิตร
ในทางลับ เพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น หน่วยเสรีไทยนี้มีทั้งทหารและพลเรือน ทางด้านทหารนั้น กรมยุทธ
ศึกษารับผิดชอบจัดส่งนักเรียนเทคนิคทหารบก ๗ นาย และนักเรียนนายร้อยทหารบกอีก ๗ นาย เดิน
ทางไปฝึกการใช้อาวุธ และเครื่องมือสื่อสารนอกประเทศ สำหรับนักเรียนเทคนิคทหารบกนั้น เลือกเอา
เหล่าทหารสื่อสาร ซึ่งสอบชั้นปีที่ ๔ ได้แล้ว คือ
นทน.เฉลิม มีนาภา นทน.ประทิน ทองทาบ นทน.วินัย ประคุณหังสิต นทน.พิน เจริญสุข วิสิษฐ์ ไหมแพง นทน.ประมวล บุญมาก นทน.ยงยศ วัชรศิริธรรม
วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๔๘๘ นักเรียนเทคนิคทั้ง ๗ นายได้รับคำสั่งให้ไปรวมกันที่บ้าน พันตรี จันทร์ ศุภางคเสน ซึ่งอยู่ข้างโรงเรียนนายร้อยทหารบก ถนนราชดำเนินกลาง และได้รับแจ้งแต่เพียงว่า ให้ไปฝึกแถว ๆ อยุธยา เสื้อผ้าเอาติดตัวไปเท่าที่จำเป็น ห้ามแพร่งพราบเรื่องนี้ให้ผู้อื่นทราบ ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้องหรือเพื่อนร่วมรุ่นเหล่าอื่น ๆ ก็ตาม ทั้งหมดได้พักกินอยู่หลับนอนที่บ้านของ พันตรีจันทร์ จนถึงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๔๘๘ จึงได้รับแจ้งในตอนบ่าย ๆ ว่าจะต้องเดินทางไปรับการฝึกที่ต่างประเทศ แต่ไม่บอกว่าฝึกอะไรที่ประเทศไหน ทุกคนไม่มีใครขัดข้องและพร้อมที่จะออกเดินทาง โดยแต่ละคนสวมกางเกงกีฬาขาสั้น สวมรองเท้ายาง มีกระเป๋าใส่หนังสือเรียน ที่นำมาจากโรงเรียนเทคนิคคนละหนึ่งใบ เสื้อผ้าติดตัวอีกคนละ ๒-๓ ชิ้น พอตกค่ำมีรถมารับที่ท่าวาสุกรี ลงเรือหาปลาชื่อ ประเสริฐปันหยี เดินทางลัดเลาะไปตามคลองออกปากอ่าวมุ่งไปทางใต้ ภายในเรือมีพลเรือนร่วมเดินทางไปด้วย ๕ คน
เรือหาปลา ประเสริฐปันหยี เดินทางไปส่งพวกนักเรียนเทคนิคที่เกาะเต่า และต้องรออยู่หลายวัน จนอาหารขาดแคลนต้องอาศัยมะละกอสุกเป็นอาหาร เข้าใจว่าเกาะนี้คงเป็นที่พักของนักโทษการเมือง ที่ถูกนำมาปล่อยไว้และเสียชีวิต เพราะมีป้ายปักชื่อไว้หลายป้าย ทั้งหมดอยู่ที่เกาะเต่าจนถึงตอนดึกของคืนวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๘๘ ก็มีเครื่องบินทะเลของกองทัพอังกฤษมารับ การถ่ายเรือไปขึ้นเครื่องบินทะเลนั้นทุลักทุเลมาก คลื่นลมแรงถึงกับเมาคลื่นไปหลายคน
เครื่องบินนำทั้งหมดไปลงที่เมืองมัดราสประเทศอินเดีย แล้วเดินทางต่อไปโดยรถไฟยังเมืองปูนา เพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนที่มีชื่อว่า Eastern Warfare School ทีอินเดียอากาศร้อนมาก ต้องใช้ผ้าขาวม้าที่นำติดตัวไปด้วย ชุบน้ำเช็ดตัวตลอดเวลาการเดินทางโดยรถไฟ
ที่โรงเรียนนี้มีการศึกษาสองหลักสูตร คือหลักสูตรฝึกการใช้อาวุธ และหลักสูตรพนักงานวิทยุ ส่วนใครจะเข้าเรียนหลักสูตรใดนั้น อยู่ที่ผลการทดสอบ และการทดสอบนี้ ทดสอบความแข็งแรงของร่างกายเป็นหลัก เช่นทดสอบการไต่เชือก การลอดเครื่องกีดขวาง มุดช่องยางรถยนต์ซึ่งแขวนไว้ เป็นต้น ส่วนที่เกี่ยวกับพนักงานวิทยุไม่มีการสอบ นับเป็นการโชคดีที่นักเรียนเทคนิคเหล่าสื่อสาร ได้ฝึกการรับส่งประมวลเลขสัญญาณกันมาบ้างแล้ว และเป็นเหตุผลประการหนึ่ง ที่เลือกนักเรียนเทคนิคเหล่าทหารสื่อสาร ไปฝึกนอกประเทศ จากผลการทดสอบ นทน.เฉลิม กับ นทน.วิสิษฐ์ ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรการฝึกใช้อาวุธ นอกนั้นศึกษาหลักสูตรพนักงานวิทยุ
ในการฝึกนี้ได้มีนายทหารมาฝึกร่วมอีกหนึ่งคนคือ ร้อยตรี ศิริ ศุภางคเสน น้องของ พันตรี จันทร์ ศุภางคเสน และในระหว่างการฝึกนี้ มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งคือ พันเอก หลวงสุรณรงค์ มาเป็นพี่เลี้ยงและทำหน้าที่นายทหารติดต่อด้วย
การฝึกก็มีการอ่านแผนที่และการทำแผนที่สังเขป เพื่อนำมาใช้ในการเดินทาง ไปยังที่หมายในภูมิประเทศ และการทำแผนที่ประกอบรายงาน อาวุธศึกษาคือการฝึกอาวุธเบาที่ใช้กับหน่วยที่จะปฏิบัติการก่อกวนต่อกำลังทหารญี่ปุ่น ที่อยู่ในประเทศไทย เช่น ปืนพก ปืนสเตน วัตถุระเบิด มีดพก ให้สามารถถอก ประกอบ และยิงให้เกิดความแม่นยำ ฝึกการลอบฆ่าและการสู้ตัวต่อตัว ซึ่งใช้ประโยชน์ในการลอบเข้าไปกำจัดยาม เพื่อจะวางระเบิดทำลายที่หมายสำคัญ การฝึกจารกรรม การฝึกวางระเบิดและการโจมตีที่หมายต่าง ๆ
ทั้งหมดนี้ต้องรับการฝึกอย่างหนัก ทั้งกลางวันกลางคืน จนจบหลักสูตรประมาณวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๘๘ จากนั้นก็ได้พักผ่อนและเตรียมตัวรับคำสั่ง ที่จะปฏิบัติงานต่อไป ในประเทศไทย แต่พอถึงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ก็ได้ทราบว่าญี่ปุ่นยอมแพ้แล้ว ทุกคนก็ดีใจที่สงครามยุติลง โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อกันต่อไปอีก อีก ๒ วันต่อมาทั้งหมดก็ได้รับคำสั่งให้เดินทางกลับประเทศไทย ภารกิจของนักเรียนเทคนิคทหารบกรุ่นที่ ๘ ซึ่งไปฝึกที่ประเทศอินเดีย จึงสิ้นสุดลง และได้ออกรับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตร พร้อมกับเพื่อนร่วมรุ่นทั้งหมด ๒๖ นาย เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๘
สำหรับ พลตรี เฉลิม กรัณยวัฒน์ นั้นได้รับราชการต่อมา จนได้ดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมการทหารสื่อสาร ลำดับที่ ๘ เมื่อ ตุลาคม ๒๕๒๒ และเป็นหัวหน้าเหล่าทหารสื่อสาร ลำดับที่ ๑๕ จนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๕๒๖ จึงได้เกษียณอายุราชการ ปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๕๑ อายุ ๘๕ ปี.
############
เสนีไทบเตนียมสู้ศึก ๒๘ เม.ย.๖๐
เสรีไทยเตรียมสู้ศึก
พ.สมานคุรุกรรม
ในคราวที่กองทัพไทยเตรียมต่อสู้ กับกองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น ได้มีนายทหารสื่อสารท่านหนึ่งที่ได้ร่วมงานต่อต้านญี่ปุ่น ในฉากของมหามิตรด้วย ท่านมีบทบาทสำคัญในการป้องกันพระนคร ท่านผู้นี้คือ พันตรี ชาญ อังศุโชติ ท่านได้เขียนไว้ในเรื่อง การปฏิบัติภารกิจของกองพลรักษาพระนคร ซึ่งได้ตัดตอนมาเล่า ดังนี้
หลังจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้พ้นอำนาจทางการเมืองและการทหาร ในกลางปี พ.ศ.๒๔๘๗ แล้ว กรมบัญชาการกองทัพใหญ่ ได้ปรับปรุงการจัดกองพลที่ ๑ ให้มีสภาพเป็นกองพลรักษาพระนคร ตั้งอยู่ที่สวนพุดตาลในเขตพระราชฐาน (ใกล้พระที่นั่งพิมานเมฆ และ อภิเศกดุสิต) กับให้หน่วยทหารบกที่มิได้ขึ้นตรงต่อกองพลที่ ๑ ส่วนที่อยู่ในพระนคร รวมทั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก มาร่วมปฏิบัติการทางยุทธวิธี ตัวท่านเป็นฝ่ายเสนาธิการของกองพลในขณะนั้น
หน่วยนี้มีหน้าที่ประสานงานกับฝ่ายทหารและคณะผู้ต่อต้านญี่ปุ่นชั้นผู้ใหญ่ และแยกย้ายกันสดับตรับฟัง ข่าวการเคลื่อนไหวของฝ่ายญี่ปุ่น เพื่อเตรียมการที่จะขัดขวาง หากว่าฝ่ายญี่ปุ่นจะเข้ายึดการปกครอง และดำเนินการขับไล่ทหารญี่ปุ่นให้ออกนอกประเทศไทย ร่วมกับฝ่าย สัมพันธมิตรเมื่อถึงเวลา
การดำเนินการต่าง ๆ บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เปิดเผย เช่นการสร้างป้อมตามถนนสายสำคัญ ๆ ในพระนคร และการฝึกซ้อมทหารพร้อม ๆ กับเวลาที่ทหารญี่ปุ่นทำการฝึกซ้อมในพระนคร เป็นต้น ส่วนงานที่เป็นความลับ มีผู้ทราบความเคลื่อนไหวน้อย เช่น
การส่งนายทหารนายสิบ แทรกซึมเข้าไปทำหน้าที่รับใช้ ที่บ้านพักของนายทหารญี่ปุ่นชั้นผู้ใหญ่ เพื่อสืบทราบความเคลื่อนไหวต่าง ๆ นับตั้งแต่ตัวแม่ทัพคือ พลโทนากามูรา ลงมา เรื่องนี้ปรากฏผลว่า สามารถรายงานข่าวกรองที่เป็นประโยชน์แก่การต่อต้านเป็นอันมาก ผู้ที่ไปปฏิบัติงานนี้ทำได้แนบเนียนมากและได้ผลดี ไม่ปรากฏว่าฝ่ายญี่ปุ่นจับได้แม้แต่รายเดียว และได้ส่งนายทหารแทรกซึมไปในหมู่พ่อค้าชาวจีน ซึ่งบางรายก็ให้ความร่วมมือ ในการข่าวกรองด้วยความเต็มใจ บางรายก็ให้ข่าวโดยการพลั้งเผลอหรือไม่ตั้งใจ ชาวจีนบางคนร่วมมือกับญี่ปุ่นก็มี การเลือกเฟ้นเป้าหมายที่จะเข้าไปติดต่อ ต้องทำอย่างรอบคอบมาก ผลของงานนี้ทำให้ผู้บังคับบัญชาชั้นสูง ทราบความเคลื่อนไหวของชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย จากฝ่ายพลเรือนอีกทางหนึ่ง
อีกเรื่องหนึ่งคือการสร้างสนามบินลับที่ตำบลบางพูน จังหวัดปทุมธานี เพื่อให้ทหารสัมพันธมิตรโดดร่มลงมา เตรียมเข้าตีสนามบินดอนเมือง และการป้องกันสนามบินน้ำ โดยจัดสร้างโรงเรือนขึ้นเป็นอาคารแบบโรงเลี้ยงไก่และสุกร แต่มีกองรักษาการณ์ สถานีวิทยุสนาม ที่พักยานยนต์
และได้มีการจัดตั้งหน่วยพิเศษ ของกองพลรักษาพระนครขึ้น โดยได้คัดเลือกนายสิบพลทหารทุกหน่วยทหารต่าง ๆ ในพระนคร รวมประมาณ ๒๕๐ คน มีลักษณะกล้าหาญ เสียสละ และเก็บความลับได้ จัดตั้งเป็นหน่วยพิเศษขึ้นที่พระที่นั่งนงคราญสโมสร (บริเวณวังสวนสุนันทา) ใกล้ที่ตั้งของกองพลรักษาพระนคร หน่วยพิเศษนี้มีการรักษาความปลอดภัยอย่างกวดขันมาก ภารกิจของหน่วยพิเศษนี้ คือการฝึกใช้อาวุธ ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งร่มหรือนำมาส่งให้ โดยเรือดำน้ำ เช่น ปืนต่อสู้รถถัง ปืนกลมือ เครื่องยิงและลูกระเบิดขว้าง กับระเบิด และเครื่องค้นหากับระเบิด การตรวจค้นและการทำลายวัตถุระเบิด การจู่โจมเข้าจับกุมฝ่ายตรงข้ามคนสำคัญ และระวังป้องกันอันตรายให้แก่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และบุคคลสำคัญของรัฐบาล การป้องกันอันตรายให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ทั้งชาวต่างประเทศและคนไทย
ครั้งหนึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรนัดว่าจะส่งเครื่องบิน มาทิ้งยาให้ที่ท้องสนามหลวง ในวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๘๘ หน่วยพิเศษได้รับคำสั่งให้เป็นหน่วยเก็บยา บังเอิญเนื่องจากอุปสรรคบางประการ จึงได้มีการเลื่อนวันทิ้ง มาเป็นวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๘๘ การทิ้งยาและเวชภัณฑ์ในวันนั้น สัมพันธมิตรดำเนินการอย่างอาจหาญและเปิดเผยมาก ไม่มีการปิดบังแต่อย่างใด ความลับจึงแตก และทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นรู้แน่ว่า คนไทยได้ประสานงานกับสัมพันธมิตร เตรียมที่จะดำเนินการกับฝ่ายญี่ปุ่นแล้ว บรรยากาศในพระนครจึงได้เพิ่มความตึงเครียดขึ้น
นอกจากนี้ยังได้คัดเลือกนายสิบพลทหาร ที่มีความเข้าใจเรื่องการค้าขาย ไปเช่าร้านขายอาหารที่เชิงสะพานเทเวศร์ (สี่เสา) จัดให้ขายข้าวแกง ส่วนภายในร้านได้จัดเป็นรังปืนกล มีอาวุธกระสุน และเครื่องสื่อสาร กับที่บริเวณใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กองพลรักษาพระนครได้เช่าบ้านหลังใหญ่ มีบริเวณกว้างขวาง ดัดแปลงเป็นรังปืนกลขนาดใหญ่ใต้พื้นดิน มีปืนต่อสู้รถถัง ปืนกลหนักหลายกระบอก มีกระสุน และเครื่องรับส่งวิทยุสนามพร้อม รังปืนกลแห่งนี้ อยู่ในชัยภูมิสำคัญ ใกล้ที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพญี่ปุ่น และอยู่ใกล้ชุมทางสำคัญที่จะสกัดการเคลื่อนย้ายกำลังจากดอนเมืองเข้าพระนคร หรือจากพระนครออกไปสนามบินดอนเมืองได้
แต่สงครามก็ได้สงบลงเสียก่อน ที่จะได้ใช้ป้อมนี้ให้เป็นประโยชน์ ทำให้สงวนชีวิตของทหารทั้งสองฝ่ายไว้ได้ ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ของฝ่ายญี่ปุ่นและไทย ไม่ถึงกับขาดสะบั้นไปโดยสิ้นเชิง
พันตรี ชาญ อังศุโชติ ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ เป็นนายทหารสื่อสารประจำกองพันทหารสื่อสารที่ ๒
ท่านได้ย้ายไปรับราชการในกองบัญชาการตำรวจภูธร และตำรวจตระเวนชายแดน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ - ๒๕๐๓
ได้รับพระราชทานยศ นายพลตำรวจตรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒
และได้รับพระราชทานยศ พลโท เมื่อรับราชการในกองบัญชาการทหารสูงสุด ใน พ.ศ.๒๕๑๔
ท่านครบเกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗
เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘
และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔.
อีกท่านหนึ่งคือ พลตรี เฉลิม (มีนาภา) กรัณยวัฒน์ ท่านได้เล่าถึงภารกิจพิเศษของท่านไว้ในเรื่อง เมื่อผมเป็นเสรีไทย ในนิตยสารทหารสื่อสาร ฉบับ กันยายน ๒๕๓๓ ว่า
ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๘๘ ลางแพ้ของญี่ปุ่นเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อนี้เอง
ไทยเราต้องหาทางออกที่ดีที่สุด มิฉะนั้นแล้วจะเป็นฝ่ายแพ้สงครามไปกับญี่ปุ่นด้วย ทางออกที่เหมาะ
สมคือตั้งหน่วยเสรีไทยขึ้น เมื่อ เดือน เมษายน ๒๔๘๘ หาวิธีการฝึกหน่วยเสรีไทย ให้มีความรู้ ความ
สามารถ ในการใช้อาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องมือสื่อสาร และตกลงกับพันธมิตร
ในทางลับ เพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น หน่วยเสรีไทยนี้มีทั้งทหารและพลเรือน ทางด้านทหารนั้น กรมยุทธ
ศึกษารับผิดชอบจัดส่งนักเรียนเทคนิคทหารบก ๗ นาย และนักเรียนนายร้อยทหารบกอีก ๗ นาย เดิน
ทางไปฝึกการใช้อาวุธ และเครื่องมือสื่อสารนอกประเทศ สำหรับนักเรียนเทคนิคทหารบกนั้น เลือกเอา
เหล่าทหารสื่อสาร ซึ่งสอบชั้นปีที่ ๔ ได้แล้ว คือ
นทน.เฉลิม มีนาภา นทน.ประทิน ทองทาบ นทน.วินัย ประคุณหังสิต นทน.พิน เจริญสุข วิสิษฐ์ ไหมแพง นทน.ประมวล บุญมาก นทน.ยงยศ วัชรศิริธรรม
วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๔๘๘ นักเรียนเทคนิคทั้ง ๗ นายได้รับคำสั่งให้ไปรวมกันที่บ้าน พันตรี จันทร์ ศุภางคเสน ซึ่งอยู่ข้างโรงเรียนนายร้อยทหารบก ถนนราชดำเนินกลาง และได้รับแจ้งแต่เพียงว่า ให้ไปฝึกแถว ๆ อยุธยา เสื้อผ้าเอาติดตัวไปเท่าที่จำเป็น ห้ามแพร่งพราบเรื่องนี้ให้ผู้อื่นทราบ ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้องหรือเพื่อนร่วมรุ่นเหล่าอื่น ๆ ก็ตาม ทั้งหมดได้พักกินอยู่หลับนอนที่บ้านของ พันตรีจันทร์ จนถึงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๔๘๘ จึงได้รับแจ้งในตอนบ่าย ๆ ว่าจะต้องเดินทางไปรับการฝึกที่ต่างประเทศ แต่ไม่บอกว่าฝึกอะไรที่ประเทศไหน ทุกคนไม่มีใครขัดข้องและพร้อมที่จะออกเดินทาง โดยแต่ละคนสวมกางเกงกีฬาขาสั้น สวมรองเท้ายาง มีกระเป๋าใส่หนังสือเรียน ที่นำมาจากโรงเรียนเทคนิคคนละหนึ่งใบ เสื้อผ้าติดตัวอีกคนละ ๒-๓ ชิ้น พอตกค่ำมีรถมารับที่ท่าวาสุกรี ลงเรือหาปลาชื่อ ประเสริฐปันหยี เดินทางลัดเลาะไปตามคลองออกปากอ่าวมุ่งไปทางใต้ ภายในเรือมีพลเรือนร่วมเดินทางไปด้วย ๕ คน
เรือหาปลา ประเสริฐปันหยี เดินทางไปส่งพวกนักเรียนเทคนิคที่เกาะเต่า และต้องรออยู่หลายวัน จนอาหารขาดแคลนต้องอาศัยมะละกอสุกเป็นอาหาร เข้าใจว่าเกาะนี้คงเป็นที่พักของนักโทษการเมือง ที่ถูกนำมาปล่อยไว้และเสียชีวิต เพราะมีป้ายปักชื่อไว้หลายป้าย ทั้งหมดอยู่ที่เกาะเต่าจนถึงตอนดึกของคืนวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๘๘ ก็มีเครื่องบินทะเลของกองทัพอังกฤษมารับ การถ่ายเรือไปขึ้นเครื่องบินทะเลนั้นทุลักทุเลมาก คลื่นลมแรงถึงกับเมาคลื่นไปหลายคน
เครื่องบินนำทั้งหมดไปลงที่เมืองมัดราสประเทศอินเดีย แล้วเดินทางต่อไปโดยรถไฟยังเมืองปูนา เพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนที่มีชื่อว่า Eastern Warfare School ทีอินเดียอากาศร้อนมาก ต้องใช้ผ้าขาวม้าที่นำติดตัวไปด้วย ชุบน้ำเช็ดตัวตลอดเวลาการเดินทางโดยรถไฟ
ที่โรงเรียนนี้มีการศึกษาสองหลักสูตร คือหลักสูตรฝึกการใช้อาวุธ และหลักสูตรพนักงานวิทยุ ส่วนใครจะเข้าเรียนหลักสูตรใดนั้น อยู่ที่ผลการทดสอบ และการทดสอบนี้ ทดสอบความแข็งแรงของร่างกายเป็นหลัก เช่นทดสอบการไต่เชือก การลอดเครื่องกีดขวาง มุดช่องยางรถยนต์ซึ่งแขวนไว้ เป็นต้น ส่วนที่เกี่ยวกับพนักงานวิทยุไม่มีการสอบ นับเป็นการโชคดีที่นักเรียนเทคนิคเหล่าสื่อสาร ได้ฝึกการรับส่งประมวลเลขสัญญาณกันมาบ้างแล้ว และเป็นเหตุผลประการหนึ่ง ที่เลือกนักเรียนเทคนิคเหล่าทหารสื่อสาร ไปฝึกนอกประเทศ จากผลการทดสอบ นทน.เฉลิม กับ นทน.วิสิษฐ์ ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรการฝึกใช้อาวุธ นอกนั้นศึกษาหลักสูตรพนักงานวิทยุ
ในการฝึกนี้ได้มีนายทหารมาฝึกร่วมอีกหนึ่งคนคือ ร้อยตรี ศิริ ศุภางคเสน น้องของ พันตรี จันทร์ ศุภางคเสน และในระหว่างการฝึกนี้ มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งคือ พันเอก หลวงสุรณรงค์ มาเป็นพี่เลี้ยงและทำหน้าที่นายทหารติดต่อด้วย
การฝึกก็มีการอ่านแผนที่และการทำแผนที่สังเขป เพื่อนำมาใช้ในการเดินทาง ไปยังที่หมายในภูมิประเทศ และการทำแผนที่ประกอบรายงาน อาวุธศึกษาคือการฝึกอาวุธเบาที่ใช้กับหน่วยที่จะปฏิบัติการก่อกวนต่อกำลังทหารญี่ปุ่น ที่อยู่ในประเทศไทย เช่น ปืนพก ปืนสเตน วัตถุระเบิด มีดพก ให้สามารถถอก ประกอบ และยิงให้เกิดความแม่นยำ ฝึกการลอบฆ่าและการสู้ตัวต่อตัว ซึ่งใช้ประโยชน์ในการลอบเข้าไปกำจัดยาม เพื่อจะวางระเบิดทำลายที่หมายสำคัญ การฝึกจารกรรม การฝึกวางระเบิดและการโจมตีที่หมายต่าง ๆ
ทั้งหมดนี้ต้องรับการฝึกอย่างหนัก ทั้งกลางวันกลางคืน จนจบหลักสูตรประมาณวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๘๘ จากนั้นก็ได้พักผ่อนและเตรียมตัวรับคำสั่ง ที่จะปฏิบัติงานต่อไป ในประเทศไทย แต่พอถึงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ก็ได้ทราบว่าญี่ปุ่นยอมแพ้แล้ว ทุกคนก็ดีใจที่สงครามยุติลง โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อกันต่อไปอีก อีก ๒ วันต่อมาทั้งหมดก็ได้รับคำสั่งให้เดินทางกลับประเทศไทย ภารกิจของนักเรียนเทคนิคทหารบกรุ่นที่ ๘ ซึ่งไปฝึกที่ประเทศอินเดีย จึงสิ้นสุดลง และได้ออกรับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตร พร้อมกับเพื่อนร่วมรุ่นทั้งหมด ๒๖ นาย เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๘
สำหรับ พลตรี เฉลิม กรัณยวัฒน์ นั้นได้รับราชการต่อมา จนได้ดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมการทหารสื่อสาร ลำดับที่ ๘ เมื่อ ตุลาคม ๒๕๒๒ และเป็นหัวหน้าเหล่าทหารสื่อสาร ลำดับที่ ๑๕ จนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๕๒๖ จึงได้เกษียณอายุราชการ ปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๕๑ อายุ ๘๕ ปี.
############