ยุค คสช. ยังมีเด็กเส้นสายในอาชีพราชการอยู่ไหมครับ ?

กระทู้คำถาม
พอดีสอบบรรจุข้าราชการ แต่กลัวพวกเด็กเส้นสายทำให้เราท้อ ครับ
เห้นออกข่าวบ่อยๆว่า ท่านนายกรัฐมนตรีจะแก้ไขปัญหาการทุจริต
เลยอยากทราบว่า ยุค  คสช. ยังมีคนจำพวกนี้อยู่ในสังคมไทยไหมครับ  ???

ขอบคุณครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เอาทุกๆ ยุคนี่แหละ
เรื่องเส้น ขอฝากข้อคิดไว้นิดนึง

ขอแสดงความคิดเห็นและเล่าประสบการณ์ส่วนตัวไว้นิดนึง
ผมสอบพนักงานราชการมา 2 สนาม สอบข้าราชการอีกร่วมๆ 10
พนักงานราชการผมสอบได้ที่ 2 ตั้งแต่สนามแรกเลย
แต่ตอนนั้นรับแค่ 1 อัตรา ก็รอเรียกบัญชีราวๆ 7 เดือน ได้เข้าทำงาน
ข้าราชการผมมาสอบได้สนามที่ 4 มีคนสมัครร่วม 700 กว่าคน รับ 1 อัตรา
มีคนสอบผ่านข้อเขียนแค่ 33 คน
ผมสอบได้ที่ 8 แต่ได้บรรจุเลย เพราะหน่วยงานขยายอัตรารับ ถือว่าโชคดีมากๆ
ทั้งพนักงานราชการ และ ข้าราชการ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ผมสอบเอง อ่านหนังสือเอง ไม่มีเส้นใดๆทั้งนั้น
สอบในฐานะบุคคลภายนอก ไม่ใช่คนในแต่อย่างใด
บางคน มักจะเข้าใจผิดๆ ว่าสอบงานราชการมีแต่เส้น
ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันไม่ใช่เลย
หลายๆ คน และจำนวนมากกกกก
ก็สอบได้เอง ไม่ได้มีเส้น

บางคนยังแคลงใจ ว่าการสอบงานราชการ ตกลงมีเส้นหรือไม่มีเส้น กันแน่
ผมจะขออธิบายการสอบข้าราชการคร่าวๆ ซักหน่อย (ข้าราชการที่ต้องสอบ ก.พ.) ให้คุณเห็นภาพนะ

การสอบแข่งขันเป็นข้าราชการ (ที่ต้องผ่าน ภาค ก. ของ ก.พ. มาก่อน) มี 3 ขั้นตอน คือ

1. สอบภาค ก. ของ ก.พ. (ความรู้ความสามารถทั่วไป) ภาคนี้ เส้นไม่ได้แน่ๆครับ
    จัดสอบโดนสำนักงาน ก.พ. เอง ไม่ได้จัดโดยหน่วยงาน
    ลองดูผลการสอบ ภาค ก. ของ ก.พ.ย้อนหลัง (ปี 2552 -2557)
    ในระดับปริญญาตรี มีผู้เข้าสอบ 1,639,451 คน สอบผ่าน 173,397 คน (10.5%)
    เมื่อแยกผลการสอบเป็นรายปี
    ปี 2552 เข้าสอบ 210,669 คน ผ่าน 33,296 คน (15.8%)
    ปี 2553 เข้าสอบ 332,794 คน ผ่าน 42,896 คน (12.8%)
    ปี 2554 เข้าสอบ 313,932 คน ผ่าน 64,877 คน (20.6%)
    ปี 2555 เข้าสอบ 316,835 คน ผ่าน 16,530 คน (5.2%)
    ปี 2556 เข้าสอบ 289,470 คน ผ่าน 7,961 คน (2.7%) และ
    ปี 2557 เข้าสอบ 175,751 คน ผ่าน 7,837 คน (4.4%)
    http://www.dailynews.co.th/education/335115
    http://www.dailynews.co.th/education/333750
    คุณว่าคนที่สอบตก ไม่เก่ง หรือ ไม่มีเส้น ครับ
    แล้วคนที่สอบผ่าน เก่ง หรือ มีเส้น ครับ
2. สอบภาค ข. (ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง) ภาคนี้เป็นการสอบข้อเขียนเฉพาะตำแหน่ง
    ภาคนี้ส่วนใหญ่คนจะสอบผ่านด้วยตัวเองนะครับ แต่ก็เริ่มมีเส้นปะปนบ้างเล็กน้อยครับ
    การใช้เส้นในภาคนี้ กรณีเส้นแบบโหดสุดๆ คือ ไม่ว่าสอบได้คะแนนเท่าไหร่ก็สามารถดันให้ผ่านได้
    แต่เชื่อได้เถอะครับ ว่าไม่ค่อยมีพวกแบบนั้นหรอก ส่วนใหญ่ก็สอบผ่านได้เองทั้งนั้น
    ขอเพียงอ่านหนังสือ เตรียมตัวดีๆ ก็ผ่านได้ ไม่ยากครับ
    เพราะว่าการสอบภาค ข. นี้ ก็เป็นการแข่งขันกับตัวเอง เช่นเดียวกับการสอบภาค ก.
    แล้วการใช้เส้นในภาคนี้ ไม่สามารถใช้ได้สะดวกนะครับ
    ต้องเส้นดีถึงขนาดสามารถแก้หรือเปลี่ยนกระดาษคำตอบได้เลยทีเดียว
    เพราะภาค ข. ต้องให้คะแนนตามกระดาษคำตอบ ไม่สามารถให้คะแนนตามใจคนตรวจได้ครับ
    อีกอย่างที่คนสำคัญผิดมากๆๆๆๆๆ คือ คนสอบตกมักโทษเส้น
    ซึ่งจริงๆแล้วการสอบภาค ข. ถ้าคุณทำคะแนนได้ถึง 60% ต้องได้สอบสัมภาษณ์ ภาค ค. ทุกคน
    การที่คุณสอบตกภาค ข. นี้ จึงไม่ใช่เพราะแพ้เส้น แต่คุณทำคะแนนได้ไม่ถึงเกณฑ์นะครับ
    ได้โปรดเข้าใจตรงจุดนี้นิดนึง
3. สอบภาค ค. (ความเหมาะสมกับตำแหน่ง) ภาคนี้เป็นการสอบสัมภาษณ์
    ภาคนี้แหละครับ ที่จะสามารถใช้เส้นได้สะดวกที่สุด
    เพราะเป็นการให้คะแนนด้วยมือโดยบุคคล (ต่างกับภาค ข. ที่ต้องให้คะแนนตามกระดาษคำตอบ)
    เด็กเส้นที่ถูกฝากฝังเข้ามา ก็จะถูกเพิ่มคะแนนให้ตรงภาคนี้
    แต่!!!!! ก็ใช่ว่าจะง่ายนะครับ
    การสอบสัมภาษณ์ ผู้สอบจะถูกสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการ
    (ซึ่งขึ้นว่าคณะก็แปลว่าต้องมีจำนวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป)
    คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ส่วนมากที่ถูกจัดให้มาสัมภาษณ์
    โดยเฉพาะการสอบสนามใหญ่ๆ เช่น สนาม ปลัด, นักส่งเสริมการเกษตร, พัฒนากร
    มีคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ หลาย 10 ถึง หลัก 100 คณะ ครับ
    คุณคิดว่าเด็กเส้น จะสามารถเส้นจนไปนั่งโต๊ะคณะที่ถูกฝากฝังมาหรือเปล่า
    แล้วถ้าเกิดไปนั่งผิดโต๊ะ คุณคิดว่า คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ จะยอมเพิ่มคะแนนให้เป็นพิเศษหรือไม่
    แต่ถ้าเป็นการสอบเล็กๆ มีกรรมการไม่กี่ชุด หรือ ชุดเดียว แบบนี้ง่ายครับ
    และยังมีกรณีที่ไม่สามารถให้คะแนนใครสูงปรี๊ดดดดดดด เฉยๆ ได้นะครับ
    การให้คะแนนใครสูงมากๆ เป็นพิเศษ กรรมการสัมภาษณ์ต้องมีการชี้แจงให้เหตุผลประกอบครับ
    เช่นเดียวกัน การให้คะแนนใครต่ำมากๆ กรรมการสัมภาษณ์ก็ต้องชี้แจงให้เหตุผลเช่นกัน
    คะแนนภาค ค. นี้จึงมักจะเกาะกลุ่มกัน ไม่หนีกันมากครับ

ที่ผมอธิบายมานี่ ไม่ใช่ว่าผมปฏิเสธเด็ดขาด ว่าการสอบงานราชการ ไม่มีเส้น 100% นะครับ
แต่ผมต้องการบอกว่า การใช้เส้นในการสอบงานราชการ มันไม่ได้ง่ายดายเหมือนกระดิกตรีนขนาดนั้น
คุณไม่รู้หรอกครับว่าการสอบครั้งไหนมีเส้นหรือไม่มีเส้น
การที่คุณสอบไม่ผ่าน ไม่ใช่เพราะว่าคนอื่นเขาใช้เส้น
แต่มันเป็นเพราะคุณสอบไม่ผ่านเองนั่นแหละ ไม่ต้องไปโทษใคร
คนสอบได้โดยไม่ต้องใช้เส้นก็มีเยอะแยะ อ่านหนังสือเตรียมตัวไปสอบด้วยตัวเองนี่แหละ
ตระกูลผม นับขึ้นไปจนสุดชั่วอายุคน ก็หาบรรพบุรุษคนไหนรับราชการไม่เจอ
มีผมนี่แหละที่ได้เป็นข้าราชการคนแรกของตระกูล
ติดตามหาข่าวเอง สมัครเอง สอบเอง อ่านหนังสือเอง ไม่รู้จักใคร ไม่มีเส้นสาย ครับ
ใครบอกสอบราชการมีเส้นๆทั้งนั้น, ไม่ต้องไปสอบหรอก, สอบไม่ได้หรอก อย่าไปเชื่อลมปากเลยครับ

มีคนอยู่ 2 จำพวกที่ชอบพูดแบบนั้น คือ
1. พวกสอบไม่ติดเอง แล้วโทษนู่นโทษนี่ไม่โทษตัวเอง
2. พวกไม่รู้จริง

เพิ่มเติมนิดนึง เพราะมีคนชอบเหมารวมว่า เด็กเส้น กับ คนใน ว่าคือพวกเดียวกันครับ
1. เด็กฝากเด็กเส้น คือ พวกที่ถูกฝากฝังเข้ามา ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ โดยไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถ
2. คนในองค์กรหรืออดีตคนในองค์กร คือ เป็นแค่คนที่ทำงานหรือเคยทำงานในองค์กรนั้นๆ เฉยๆ

พูดถึงกรณีคนใน คุณก็อย่าไปเหมาว่าเขาจะขี้โกง มีเส้น หรือกลัวไปก่อนว่าจะแข่งคนในไม่ได้นะ
การที่เราเคยเป็นหรือเป็นคนในหน่วยงานที่จะไปสมัครสอบงานราชการ แล้วเราจะมีโอกาสได้มากกว่าคนอื่น มันไม่ผิดนะครับ
ผลขอลองยกตัวอย่างในมุมของผมให้คุณดูหน่อยนะ เช่น
นาย A เคยเป็น จ้างเหมางานธุรการอยู่หน่วยงานหนึ่ง ซึ่งเป็นงานเอกสารที่มีลักษณะเฉพาะทาง คนนอกจะไม่ค่อยรู้ขั้นตอน และเนื้องาน
แต่ นาย A ลาออกมาเพราะสอบติดที่อื่น โดยเป็นการออกมาด้วยดี ยังมีน้ำใจไมตรีต่อกันกับที่ทำงานเก่า
เวลาผ่านไปหน่วยงานเก่าของ นาย A เปิดสอบข้าราชการ
นาย A ซึ่งเคยทำงานที่นั่นมาก่อน มีความรู้ในขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานดีมาก หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานรักใคร่ กับ
คนนอกอื่นๆ ซึ่งไม่เคยจับงานด้านนี้มาก่อน ต้องใช้เวลาเรียนรู้กันพอสมควร และไม่รู้ว่านิสัยใจคอเป็นอย่างไร
นาย A กับ คนอื่นๆ คะแนนข้อเขียนพอๆกัน
คุณคิดว่า นาย A จะมีโอกาสได้มากกว่าคนอื่นๆไม๊ครับ

อีกอย่างนึง
คะแนนทุกภาค (ยกเว้นภาค ก.  ของ ก.พ. เพราะไม่ได้นำมาคิดคะแนนรวมเพื่อจัดลำดับ)
ล้วนมีผลต่อการจัดลำดับทั้งสิ้น ผมจะลองยกตัวอย่างให้ดู
เช่น การสอบ ข้าราชการพลเรือน กรม A, ตำแหน่ง b, รับ 10 อัตรา
มีคนสมัครทั้งสิ้น 1,000 คน
การเรียงลำดับขึ้นบัญชีผู้สอบได้ จะเรียงตาม
1. คะแนนรวมสูงกว่า จะได้ลำดับดีกว่า
2. หากคะแนนรวมเท่ากัน ผู้ที่ได้คะแนน ภาค ข. หรือ ค. (แล้วแต่ประกาศ) สูงกว่า จะอยู่ลำดับดีกว่า
3. หากคะแนน ภาค ก. หรือ ข. (แล้วแต่ประกาศ ตามข้อ 2.) เท่ากัน
    ผู้ที่มีเลขประจำตัวสอบน้อยกว่า จะอยู่ลำดับดีกว่า (ซึ่งมักจะรันตามลำดับการจ่ายเงินค่าสมัคร)

ผลการสอบ ภาค ข. ออกมา มีคนสอบผ่าน 700 คน
จขกท. ได้คะแนน ภาค ข. 180/200
          ได้คะแนน ภาค ค. 80/100
          รวม 260 คะแนน เป็นคะแนนรวมสูงที่สุด
          มีเลขประจำตัวสอบ = 758
คนที่ได้คะแนนรวมเท่ากับ จขกท. มี 20 คน
(กรณีนี้ ผมสมมุติว่าหากคะแนนรวมเท่ากัน ผู้ที่ได้คะแนน ภาค ข. สูงกว่า จะอยู่ลำดับสูงกว่า)
จาก 20 คนที่ได้คะแนนรวมสูงสุด, มี 9 คน ที่ได้คะแนนภาค ข. มากกว่า จขกท.
กรณีนี้ เท่ากับว่า จขกท. จะสอบได้ที่ 10 ได้รับการบรรจุทันที
แต่ถ้า 1. จาก 20 คนที่ได้คะแนนรวมสูงสุด, มี 10 คน ที่ได้คะแนนภาค ข. มากกว่า จขกท.
            กรณีนี้ เท่ากับว่า จขกท. จะสอบได้ที่ 11 ได้ขึ้นบัญชี แต่ยังไม่ได้รับการบรรจุทันที ต้องรอเรียกบัญชี
แต่ถ้า 2. หาก จขกท. ได้คะแนน ภาค ค. 81 คะแนน
            คะแนนรวม จขกท. จะได้ 261 คะแนน ก็จะเป็นคะแนนรวมสูงที่สุด สอบได้ที่ 1 ของบัญชี ได้รับการบรรจุทันที
นี่คือความสำคัญของคะแนน 1 - 2 คะแนน เล็กๆน้อยๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

ยกตัวอย่างอีกกรณีหนึ่ง
หากคนที่ได้คะแนนรวมสูงสุด 260 คะแนน มี 20 คน รวม จขกท. ด้วย
และ 20 คน ที่ได้คะแนนรวมสูงสุด ได้คะแนนภาค ข. เท่ากันอีก
กรณีต่อไปที่จะพิจารณาจัดลำดับคือเลขประจำตัวสอบ
จขกท. มีเลขประจำตัวสอบ = 758
แต่อีก 19 คนที่เหลือ มีเลขประจำตัวสอบน้อยกว่า จขกท. ทั้งหมด
เท่ากับ จขกท. จะสอบได้ที่ 20 ขึ้นบัญชีไว้ ยังไม่ได้บรรจุเลย ต้องรอเรียก

จริงๆมีตัวอย่างหลายกรณีเหมือนกัน แต่เพียงเท่านี้ จขกท. คงมองภาพออกแล้ว
ว่าการสอบงานราชการ คะแนน 1 คะแนน ก็มีความสำคัญ
รวมไปถึงปัจจัยอย่างเลขประจำตัวสอบด้วย

สำหรับการสอบงานราชการอื่นๆ เช่น พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตำรวจ ทหาร ก็จะอยู่ราวๆนี้ ก็ลองเปรียบเทียบกันดูครับ

อีกกรณีหนึ่งที่ตลกโคตรๆ
เคยฟังเพื่อนเล่ามาครับ
ว่า มีคนบอกมาว่าถ้าอยากสอบผ่าน ให้จ่าย XXXXX บาท มาก่อน
แต่ถ้าสอบไม่ผ่าน เอาแค่ครึ่งเดียว
ผมฟังนี่ขำกร๊ากกกกกกก เลย
ก็แหม จะสอบผ่าน หรือ ไม่ผ่าน จะไปรู้ได้ไงวะ ว่าเอ็งช่วย
ถ้าสอบผ่านด้วยตัวเองก็เสียเงินฟรี
แถมถ้าสอบไม่ผ่านก็ต้องเสียตังค์ให้เหมือนกัน
ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง
หลอกได้แบบดักควายมากๆอะครับ
ถ้าใครเชื่อก็ควายสุดๆ <<<< ด่าว่าควาย ยังสงสารควายเลยครับ

ทุกครั้งที่ไปสอบ ทุกครั้งที่สอบตก ทุกครั้งที่สอบผ่านแต่ได้อันดับไม่ดี
ลองถามตัวเองดูว่าเตรียมพร้อมแค่ไหน อ่านหนังสือพอหรือยัง มีความรู้ที่จะไปสอบหรือยัง
เวลาที่คุณเล่น เวลาที่คุณหลับ
ยังมีอีกหลายคนที่อ่านหนังสือสอบอยู่

เพราะฉะนั้น
ถ้าหวังจะเป็นข้าราชการ
อย่าไปหวังพึ่งเส้น
อย่าไปกลัวว่าจะแพ้เส้น
เส้นน่ะมี แต่ไม่ได้มีเยอะ ไม่ได้มีทุกการสอบ
คนส่วนมากมักจะมโนไปเอง ว่าเส้นทั้งนั้น
ที่ว่ามโนไปเอง ก็เพราะว่าแทบไม่มีหลักฐานอะไรเลย นอกจากฟังเขามาหรือคิดไปเอง
กรณีที่คุณสอบภาค ก. หรือ ภาค ข. ตก ก็เป็นเพราะตัวคุณเอง
(เพราะใครผ่าน 60 % ก็จะได้สอบสัมภาษณ์ ภาค ค. หมดทุกคน) << กรณีนี้พอสอบตกเอง แต่กลับไปมองว่าเพราะเส้นสาย
กรณีที่คุณสอบขึ้นบัญชีได้อันดับไม่ดี ก็เป็นเพราะคุณยังทำคะแนนได้ไม่ดีพอ ไม่ใช่เพราะมีคนใช้เส้นเขี่ยคุณ
ที่เราทำได้ คือ เตรียมตัวเองให้ดีที่สุด พร้อมที่สุด
ไม่ใช่คร่ำครวญว่าที่สอบไม่ได้ซักทีเพราะไม่มีเส้น เพราะแพ้เส้นครับ

สรุป
ถ้าอยากทำงานราชการ
ก็ให้ติดตามข่าวสารการรับสมัคร ขยันสอบ ขยันอ่านหนังสือ เตรียมตัวดีๆ
อย่าไปตีโพยตีพาย ว่าแม่ ง ต้องมีเส้นแน่ๆ
เกิดเป็นคน อย่าโทษแต่คนอื่นครับ หัดโทษตัวเองบ้าง
ตั้งใจ เต็มที่ ต้องมีวันที่สอบได้ซักที่แหละน่า สู้ๆครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่