เข้าใจว่าเครื่องมือถือของ Huawei Mate9 , P10 , P10 plus ไม่ได้ผลิตในเมืองไทย ดังนั้นต้องนำเข้ามา ทราบว่ากฎหมาย กสทช. กำหนดให้เครื่องมือถือทุกรุ่นที่จะนำเข้ามาขายในเมืองไทย จะต้องมีการขอใบอนุญาตก่อนการนำเข้า
ดังนั้นผู้บริโภคน่าจะขอตรวจสอบข้อมูลการขออนุญาตของ Huawei Mate9 , P10 , P10 plus จาก กสทช. ว่ารายละเอียดสเปค ROM UFS และ RAM LPDDR ที่บริษัทยื่นขออนุญาตของมือถือทั้ง 3 รุ่น นี้ เป็นอย่างไร ซึ่งหากมีการอนุญาตเพียงสเปคของทั้ง 3 รุ่น เป็นเพียง UFS 2.1 และ LPDDR4 เท่านั้น การนำเข้าเครื่องมือถือมาขายในประเทศไทยโดยมีสเปค UFS 2.0 และ LPDDR3 ของทั้ง 3 รุ่นนี้ อาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า ซึ่งหากเป็นแบบนั้นจะส่งผลต่อการนำเข้าตาม พรบ.ศุลกากร ว่าสินค้าควบคุมที่ต้องมีใบอนุญาต เมื่อตรวจพบว่าไม่มีใบอนุญาต ผู้นำเข้าจะมีความผิด จำได้ว่าอาจจะต้องถูกอายัดสินค้าที่นำเข้ามาที่ไม่มีใบอนุญาต ซึ่งหากผู้นำเข้าขายของไปแล้วไม่มีของให้อายัด โทษอาจจะหนักเพราะไม่มีของกลางให้อายัด (อาจจะมีการเรียกคืนสินค้าที่ขายไปแล้ว)
ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า กสทช. อนุญาตเครื่องมือถือทั้ง 3 รุ่นนี้ มีสเปคอะไรบ้าง และ หากสเปคที่ขายในตลาดให้ผู้บริโภคไม่ได้รับอนุญาตตามใบอนุญาตนำเข้า กสทช. จะถือว่ามือถือดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ หาก กสทช. แจ้งว่าไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า .... ผู้บริโภคจะได้สั่งสอนให้ ผู้ผลิตและผู้ขายที่ไม่ซื่อสัตย์ ในทางกฎหมาย ให้หลาบจำได้บ้าง (เข้าใจว่าเครื่องมือถือทั้ง 3 รุ่น ไม่น่าที่จะขออนุญาตโดยที่มีทั้งสเปค UFS 2.1 และ LPDDR4 และ UFS 2.0 และ LPDDR3 )
ขอเสนอให้ทำเป็นหนังสือไปยื่นที่ กสทช. และขอคำตอบเป็นหนังสือกลับเพื่อให้มีหลักฐานทางราชการไว้ และผู้บริโภคท่านใดมีหลักฐานใบเสร็จ หรือหลักฐานการซื้อขายที่ครบถ้วนโดยเฉพาะกับทางศูนย์ของ Huawei โดยตรง แนะนำช่องทางนี้ไว้พิจารณาด้วย หากผู้ผลิตและผู้ขายทำผิดกรณีจริง โทษน่าจะหนักกว่าที่ สคบ. จะดำเนินการได้
...ไม่ต้องการให้ผู้ผลิตและผู้ขายเอาเปรียบผู้บริโภค... สังคมไทยควรมีความยุติธรรม...
Huawei Mate9 , P10 , P10 plus ประเด็น UFS 2.1 และ LPDDR4 จะสั่งสอนผู้ขายที่ไม่ "ซื่อสัตย์" กับลูกค้า ได้อย่างไร
ดังนั้นผู้บริโภคน่าจะขอตรวจสอบข้อมูลการขออนุญาตของ Huawei Mate9 , P10 , P10 plus จาก กสทช. ว่ารายละเอียดสเปค ROM UFS และ RAM LPDDR ที่บริษัทยื่นขออนุญาตของมือถือทั้ง 3 รุ่น นี้ เป็นอย่างไร ซึ่งหากมีการอนุญาตเพียงสเปคของทั้ง 3 รุ่น เป็นเพียง UFS 2.1 และ LPDDR4 เท่านั้น การนำเข้าเครื่องมือถือมาขายในประเทศไทยโดยมีสเปค UFS 2.0 และ LPDDR3 ของทั้ง 3 รุ่นนี้ อาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า ซึ่งหากเป็นแบบนั้นจะส่งผลต่อการนำเข้าตาม พรบ.ศุลกากร ว่าสินค้าควบคุมที่ต้องมีใบอนุญาต เมื่อตรวจพบว่าไม่มีใบอนุญาต ผู้นำเข้าจะมีความผิด จำได้ว่าอาจจะต้องถูกอายัดสินค้าที่นำเข้ามาที่ไม่มีใบอนุญาต ซึ่งหากผู้นำเข้าขายของไปแล้วไม่มีของให้อายัด โทษอาจจะหนักเพราะไม่มีของกลางให้อายัด (อาจจะมีการเรียกคืนสินค้าที่ขายไปแล้ว)
ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า กสทช. อนุญาตเครื่องมือถือทั้ง 3 รุ่นนี้ มีสเปคอะไรบ้าง และ หากสเปคที่ขายในตลาดให้ผู้บริโภคไม่ได้รับอนุญาตตามใบอนุญาตนำเข้า กสทช. จะถือว่ามือถือดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ หาก กสทช. แจ้งว่าไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า .... ผู้บริโภคจะได้สั่งสอนให้ ผู้ผลิตและผู้ขายที่ไม่ซื่อสัตย์ ในทางกฎหมาย ให้หลาบจำได้บ้าง (เข้าใจว่าเครื่องมือถือทั้ง 3 รุ่น ไม่น่าที่จะขออนุญาตโดยที่มีทั้งสเปค UFS 2.1 และ LPDDR4 และ UFS 2.0 และ LPDDR3 )
ขอเสนอให้ทำเป็นหนังสือไปยื่นที่ กสทช. และขอคำตอบเป็นหนังสือกลับเพื่อให้มีหลักฐานทางราชการไว้ และผู้บริโภคท่านใดมีหลักฐานใบเสร็จ หรือหลักฐานการซื้อขายที่ครบถ้วนโดยเฉพาะกับทางศูนย์ของ Huawei โดยตรง แนะนำช่องทางนี้ไว้พิจารณาด้วย หากผู้ผลิตและผู้ขายทำผิดกรณีจริง โทษน่าจะหนักกว่าที่ สคบ. จะดำเนินการได้
...ไม่ต้องการให้ผู้ผลิตและผู้ขายเอาเปรียบผู้บริโภค... สังคมไทยควรมีความยุติธรรม...