ก่อนอื่นผมต้องแจ้งก่อนว่าแม่ของผมใช้ที่ดินเข้าจำนองกับธนาคารสำหรับเกษตรกรซึ่งมีที่ดินอยู่ 3 แปลงดังนี้ (ตั้งแต่ปี 54เพื่อส่งผมเรียน)
1.ที่บ้าน 2 ไร่
2.ที่นา 3 ไร่
3.ที่นาแปลงที่ 2 อีก 2 ไร่
ซึ่งยอดหนี้จำนองตอนนี้รวม 3 แปลง เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 280,000 บาท (ติดต่อทางธนาคารมาแล้วถ้าจะเอาออกต้องใช้หนี้ทั้งหมดไม่สามารถแบ่งเป็นก้อนๆได้)
--->เข้าเรื่องที่เป็นปัญหานะครับ ประมาณปี 2555 มารดารผมและคนรู้จักซึ่งอยู่หมู่บ้านเดียวกันอีก 3 คน ใช้ชื่อแทนว่า คุณ A, B และ C ครับ ได้เข้าโครงการกู้เงินกับทางธนาคารสีชมพูโดยเป็นการกู้แบบค้ำวนและไม่ใช้ทรัพย์สินค้ำประกันเป็นจำนวนเงินรายละ 500,000 บาท (สมมติมารดาผมกู้ คุณ A, B และ C จะเป็นคนค้ำ). เพื่อนำมาลงทุน
--->ซึ่งต่อมา ปี 2557 ลูกหนี้ A เบี้ยวการจ่ายหนี้ และถูกศาลเรียกไปประนีประนอมหนี้และตัดสินให้จ่ายเป็นรายเดือน.
--->ต่อปลายปี 2558 ลูกหนี้ A คนเดิมได้เบี้ยวการจ่ายหนี้อีก (ทีตอนยืมไม่เห็นเบี้ยวบ้าง) แล้วได้ขึ้นโรงขึ้นศาลจนถึงขั้นตรวจสอบทรัพย์สินและปรากฏว่าไม่มีทรัพย์สินใดๆ ดังนั้นคราวซวยจึงมาถึงมารดาของผมซึ่งท่านมีที่ดินอยู่ 3 แปลงข้างต้นที่ติดจำนองอยู่กับอีกธนาคารหนึ่ง. (คราวซวยอีกอย่างหนึ่งคือ ลูกหนี้ B และ C ไม่มีทรัพย์สินและแค่นั้นยังไม่พอ ลูกหนี้ A ยังคงไม่มีทีท่าว่าจะจ่ายอีกด้วยในหนี้ส่วนที่ถูกฟ้อง 125,000 บาท) ถูกนำเข้ากรมบังคับคดีเพื่อขึ้นประมูลเอาเงิน
รายละเอียดของการประมูลจากทางกรมบังคับคดีคร่าวๆ
1.เป็นการประมูลของที่ดินแปลงที่ 3 เพียงแปลงเดียว (สงสัยว่าทำไมไม่นำออกมาประมูลทั้ง3แปลง)
2.ราคาประมูลเริ่มต้นอยู่ที่ 125,000 บาท. ประมูลโดยมีภาระจำนองติดไป 280,000 บาท
ซึ่งตอนนี้ผมพอจะมีเงินก้อนอยู่ที่เพียงพอจะไปประมูลและไถ่จำนองออกมา (โดยให้คนรู้จักผมไปประมูลออกมาและเป็นคนไถ่ถอนนจากนั้นก็ทำสัญญาซื้อขายแล้วโอนเป็นชื่อคนนั้น) เพราะผมเกรงว่าถ้าไม่โอนเป็นชื่อแฟนถ้าหากลูกหนี้ A เจ้าเดิมไม่จ่ายเราจะถูกสืบทรัพย์อีก
คำถาม
1.วิธีข้างต้นสามารถทำได้หรือไม่ครับ
2.รายละเอียดเป็นการประมูลเพียงแค่ที่ดินแปลงเดียว ส่วนที่ดินอีก 2 แปลงนั้นสามารถโอนหลังจากไถ่ถอนแล้วได้หรือไม่ครับ
3.ถ้าหากทรัพย์สินนี้ไม่มีผู้เข้าประมูลทั้ง6ครั้งจะเกิดอะไรขึ้นครับ ธนาคารสีชมพูมีสิทธิยึดของเราหรือไม่
4.หากวิธีข้างต้นทำไม่ได้หรือเสี่ยงจะมีวิธีใดบ้างที่จะรักษาที่ดินที่เป็นมรดกชิ้นเดียวที่ครอบครัวผมมีอยู่
ที่ดินของแม่ถูกเข้ากรมบังคับคดีเพราะไปค้ำประกันให้เพื่อน!!!!
1.ที่บ้าน 2 ไร่
2.ที่นา 3 ไร่
3.ที่นาแปลงที่ 2 อีก 2 ไร่
ซึ่งยอดหนี้จำนองตอนนี้รวม 3 แปลง เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 280,000 บาท (ติดต่อทางธนาคารมาแล้วถ้าจะเอาออกต้องใช้หนี้ทั้งหมดไม่สามารถแบ่งเป็นก้อนๆได้)
--->เข้าเรื่องที่เป็นปัญหานะครับ ประมาณปี 2555 มารดารผมและคนรู้จักซึ่งอยู่หมู่บ้านเดียวกันอีก 3 คน ใช้ชื่อแทนว่า คุณ A, B และ C ครับ ได้เข้าโครงการกู้เงินกับทางธนาคารสีชมพูโดยเป็นการกู้แบบค้ำวนและไม่ใช้ทรัพย์สินค้ำประกันเป็นจำนวนเงินรายละ 500,000 บาท (สมมติมารดาผมกู้ คุณ A, B และ C จะเป็นคนค้ำ). เพื่อนำมาลงทุน
--->ซึ่งต่อมา ปี 2557 ลูกหนี้ A เบี้ยวการจ่ายหนี้ และถูกศาลเรียกไปประนีประนอมหนี้และตัดสินให้จ่ายเป็นรายเดือน.
--->ต่อปลายปี 2558 ลูกหนี้ A คนเดิมได้เบี้ยวการจ่ายหนี้อีก (ทีตอนยืมไม่เห็นเบี้ยวบ้าง) แล้วได้ขึ้นโรงขึ้นศาลจนถึงขั้นตรวจสอบทรัพย์สินและปรากฏว่าไม่มีทรัพย์สินใดๆ ดังนั้นคราวซวยจึงมาถึงมารดาของผมซึ่งท่านมีที่ดินอยู่ 3 แปลงข้างต้นที่ติดจำนองอยู่กับอีกธนาคารหนึ่ง. (คราวซวยอีกอย่างหนึ่งคือ ลูกหนี้ B และ C ไม่มีทรัพย์สินและแค่นั้นยังไม่พอ ลูกหนี้ A ยังคงไม่มีทีท่าว่าจะจ่ายอีกด้วยในหนี้ส่วนที่ถูกฟ้อง 125,000 บาท) ถูกนำเข้ากรมบังคับคดีเพื่อขึ้นประมูลเอาเงิน
รายละเอียดของการประมูลจากทางกรมบังคับคดีคร่าวๆ
1.เป็นการประมูลของที่ดินแปลงที่ 3 เพียงแปลงเดียว (สงสัยว่าทำไมไม่นำออกมาประมูลทั้ง3แปลง)
2.ราคาประมูลเริ่มต้นอยู่ที่ 125,000 บาท. ประมูลโดยมีภาระจำนองติดไป 280,000 บาท
ซึ่งตอนนี้ผมพอจะมีเงินก้อนอยู่ที่เพียงพอจะไปประมูลและไถ่จำนองออกมา (โดยให้คนรู้จักผมไปประมูลออกมาและเป็นคนไถ่ถอนนจากนั้นก็ทำสัญญาซื้อขายแล้วโอนเป็นชื่อคนนั้น) เพราะผมเกรงว่าถ้าไม่โอนเป็นชื่อแฟนถ้าหากลูกหนี้ A เจ้าเดิมไม่จ่ายเราจะถูกสืบทรัพย์อีก
คำถาม
1.วิธีข้างต้นสามารถทำได้หรือไม่ครับ
2.รายละเอียดเป็นการประมูลเพียงแค่ที่ดินแปลงเดียว ส่วนที่ดินอีก 2 แปลงนั้นสามารถโอนหลังจากไถ่ถอนแล้วได้หรือไม่ครับ
3.ถ้าหากทรัพย์สินนี้ไม่มีผู้เข้าประมูลทั้ง6ครั้งจะเกิดอะไรขึ้นครับ ธนาคารสีชมพูมีสิทธิยึดของเราหรือไม่
4.หากวิธีข้างต้นทำไม่ได้หรือเสี่ยงจะมีวิธีใดบ้างที่จะรักษาที่ดินที่เป็นมรดกชิ้นเดียวที่ครอบครัวผมมีอยู่