คำนำ : ย่านพระโขนงเป็นย่านที่คุ้นเคยมากว่า 40 ปีตั้งแต่ยังเด็ก
ไม่เพียงเพราะมีเพื่อนหลายคนอยู่แถวนี้ แต่ยังมารับของที่สั่งจากต่างประเทศ ที่ไปรษณีย์พระโขนงบ่อย ๆ
เห็นความเปลี่ยนแปลงจากย่านที่เคยรุ่งเรืองคึกคัก เพราะเป็นย่านที่มีโรงภาพยนตร์ชั้นสองถึง 7 โรง
มากที่สุดในประเทศไทย หนึ่งในนั้น คือ พระโขนงเธียร์เตอร์ ยังเป็นโรงภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ด้วยจำนวนที่นั่งถึง 3,000 ที่นั่ง มีความทันสมัยถึงขนาดเคยจัดคอนเสิร์ตจากต่างประเทศ
เคยไปดูวงเชอร์เบท เจ้าของเพลงฮิตในยุค 70 เช่น Howzat และ Still In Love With You
วันที่ไปดู นั่งอยู่บนชั้นสอง คนดูไม่เต็มโรง แม้ว่าค่าตั๋วบนชั้นสอง จะแค่คนละ 50 บาท (หาฟิล์มไม่เจอ)
โรงภาพยนตร์ทั้ง 7 โรง เปิดในเวลาไล่เลี่ยกัน เริ่มจาก เฉลิมรัตน์ (พ.ศ.2507)
พระโขนงราม่า (พ.ศ.2510) เจ้าพระยาเธียเตอร์ (พ.ศ. 2513) พระโขนงเธียเตอร์ (พ.ศ.2514)
เอเซียราม่า (พ.ศ. 2517) ฮอลิเดย์ (พ.ศ. 2519) และลอนดอน (พ.ศ. 2523)
ปัจุจบันเหลือเพียงพระโขนงราม่า ที่ยังมีสภาพเป็นโรงภาพยนตร์อยู่ แต่เลิกกิจการแล้ว
ส่วนโรงภาพยนตร์ที่ยังมีป้ายชื่อให้เห็น คือ ลอนดอน ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับพระโขนงราม่า
เรียบเรียงจาก
http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=2911
และ
http://winbookclub.com/wormtalkdetail.php?topicid=2167
นอกจากโรงภาพยนตร์แล้ว ย่านนี้ยังเคยมีห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง
ทั้งไทยไดมารู อาเชี่ยน สองห้างที่อยู่ใกล้กันติดพระโขนงเธียร์เตอร์ อาเชี่ยนเปลี่ยนเป็นธนาคารกรุงเทพ
ส่วนไทยไดมารู ย้ายไปเสรีเซ็นเตอร์ (พาราไดส์ พาร์ค) ก่อนปิดตัวเปลี่ยนเป็นโตคิว
เวลโก้ ที่มีโรงหนังฮอลิเดย์ ปัจจุบันกลายเป็นคอนโดมีเนียมและ W District โดยเจ้าของเดิม
คือ ตระกูลพูลวรลักษณ์ ซึ่งมีโรงภาพยนตร์ชั้นสองมากที่สุดในประเทศไทย รวมเจ้าพระยาเธียร์เตอร์
เอดิสัน ร้านขายเครื่องไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีลานสเก็ตบนชั้นสอง
ค่อมาด้านหลังเปลี่ยนเป็นไปรษณีย์พระโขนงอยู่ช่วงหนึ่ง
และ ATM ห้างขายผ้า ปัจจุบันเลิกกิจการกลายเป็นอาคารให้เช่า
แม้แต่พาวเวอร์บายของเซ็นทรัล ยังเคยมาเปิดสาขา ที่ด้านหน้าของห้างเอดิสันเดิม
ย่านนี้ยังเป็นแหล่งรวมร้านค้าหลายประเภท ทั้งเครื่องไฟฟ้า ร้านขายผ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ชุดนักเรียน ชุดกีฬา รองเท้า เครื่องหนัง ร้านทอง โรงรับจำนำ เฟอร์นิเจอร์ คลีนิกทันตแพทย์ ร้านอาหาร
รวมถึงแผงขายผลไม้ ต้นตำรับติดป้ายราคาถูก แต่เขียน "ครึ่งกิโล" ตัวนิดเดียว ก่อนแพร่ไปปากซอยอ่อนนุช
พระโขนงยังมีตลาดสดสามตลาดติดกัน คือ ตลาดแสงทิพย์ (1 และ 2) และตลาดรุ่งอรุณ
ซึ่งคนนอกพื้นที่เรียกรวมกันว่า "ตลาดพระโขนง" แม้ว่าจะผ่านพ้นยุครุ่งเรืองไปแล้ว
เพราะการล่มสลายของกลุ่มทุนกำลังทรัพย์สูง ยกเว้น กลุ่มพูนวรลักษณ์
ที่เปลี่ยนเวลโก้และโรงภาพยนต์ฮอลิเดย์เป็น W Distric แต่กลุ่มการค้าท้องถิ่นล้อมรอบตลาดพระโขนง
ยังยืนหยัดอยู่เหมือนเดิม เพราะย่านนี้มีรถประจำทางผ่านหลายสาย ทั้งทางด้านถนนสุขุมวิท
และถนนปรีดีพนมยงค์ (สุขุมวิท 71) รวมถึงรถไฟฟ้าบีเอส แม้ว่าเดิมจะคึกคักด้วยแรงงานไทย
แต่ปัจจุบันมีแรงงานพม่าเข้ามาเช่าบ้านแทนที่ จึงมีร้านอาหารพม่า ร้านโชวห่วยพม่า เข้ามาเปิดกันหลายร้าน
รวมถึงมีแหล่งรวมตัว เพื่อประกอบพิธีทางศาสนาพุทธโดยพระสงฆ์พม่า จึงอาจเรียกย่านตลาดพระโขนง
ในอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "ลิทเติ้ลเมียนมาร์" แม้ว่าจะไม่ใหญ่โตหนาแน่น เหมือนที่จังหวัดสมุทรสาครก็ตาม
หมายเหตุ 1 : บทความนี้ใช้เวลาสำรวจ 7 ครั้ง รวมระยะเวลากว่า 10 เดือน
เพราะแบ่งเวลาส่วนหนึ่งไปสำรวจร้านก๋วยเตี๋ยวในย่านคลองตัน บทความไม่เรียงตามลำดับเวลา
แต่เรียงตามลำดับร้าน ตั้งแต่เริ่มเดินเข้าย่านตลาดพระโขนง จากทางด้านถนนสุขุมวิทไปจนถึงคลองพระโขนง
หมายเหตุ 2 : สำเนียงพม่าออกเสียงฟังยาก ถามคนพม่าแต่ละคน เรียกและออกเสียงไม่เหมือนกัน
จนยากที่จะออกเสียงเป็นภาษาไทย นอกจากบางคำที่สามารถค้นได้ว่าคืออะไร
คำเตือน : ภาพและบทความ มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง ผู้ละเมิด จะถูกดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา
ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด โดยไม่มีการยอมความ
การไปพระโขนง ถ้าเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส ลงที่สถานีพระโขนง ออกทางด้านทางออก 3
มองเห็น W District อดีตโรงภาพยนต์ฮอลิเดย์และห้างสรรพสินค้าเวลโก้
ถ้ามาด้วยรถประจำทาง สายที่ตรงไปลงหน้าปากซอยสุขุมวิท 71/1
ถ้ามาด้วยรถประจำทาง สายที่เลี้ยวซ้ายเข้าถนนปรีดีพนมยงค์ (สุขุมวิท 71) ลงรถที่ปากซอยปรีดีพนมยงค์ 5
[CR] เที่ยวไปกินไป by laser @ ลิตเติ้ลเมียนมาร์ ตลาดพระโขนง
ไม่เพียงเพราะมีเพื่อนหลายคนอยู่แถวนี้ แต่ยังมารับของที่สั่งจากต่างประเทศ ที่ไปรษณีย์พระโขนงบ่อย ๆ
เห็นความเปลี่ยนแปลงจากย่านที่เคยรุ่งเรืองคึกคัก เพราะเป็นย่านที่มีโรงภาพยนตร์ชั้นสองถึง 7 โรง
มากที่สุดในประเทศไทย หนึ่งในนั้น คือ พระโขนงเธียร์เตอร์ ยังเป็นโรงภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ด้วยจำนวนที่นั่งถึง 3,000 ที่นั่ง มีความทันสมัยถึงขนาดเคยจัดคอนเสิร์ตจากต่างประเทศ
เคยไปดูวงเชอร์เบท เจ้าของเพลงฮิตในยุค 70 เช่น Howzat และ Still In Love With You
วันที่ไปดู นั่งอยู่บนชั้นสอง คนดูไม่เต็มโรง แม้ว่าค่าตั๋วบนชั้นสอง จะแค่คนละ 50 บาท (หาฟิล์มไม่เจอ)
โรงภาพยนตร์ทั้ง 7 โรง เปิดในเวลาไล่เลี่ยกัน เริ่มจาก เฉลิมรัตน์ (พ.ศ.2507)
พระโขนงราม่า (พ.ศ.2510) เจ้าพระยาเธียเตอร์ (พ.ศ. 2513) พระโขนงเธียเตอร์ (พ.ศ.2514)
เอเซียราม่า (พ.ศ. 2517) ฮอลิเดย์ (พ.ศ. 2519) และลอนดอน (พ.ศ. 2523)
ปัจุจบันเหลือเพียงพระโขนงราม่า ที่ยังมีสภาพเป็นโรงภาพยนตร์อยู่ แต่เลิกกิจการแล้ว
ส่วนโรงภาพยนตร์ที่ยังมีป้ายชื่อให้เห็น คือ ลอนดอน ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับพระโขนงราม่า
เรียบเรียงจาก http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=2911
และ http://winbookclub.com/wormtalkdetail.php?topicid=2167
นอกจากโรงภาพยนตร์แล้ว ย่านนี้ยังเคยมีห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง
ทั้งไทยไดมารู อาเชี่ยน สองห้างที่อยู่ใกล้กันติดพระโขนงเธียร์เตอร์ อาเชี่ยนเปลี่ยนเป็นธนาคารกรุงเทพ
ส่วนไทยไดมารู ย้ายไปเสรีเซ็นเตอร์ (พาราไดส์ พาร์ค) ก่อนปิดตัวเปลี่ยนเป็นโตคิว
เวลโก้ ที่มีโรงหนังฮอลิเดย์ ปัจจุบันกลายเป็นคอนโดมีเนียมและ W District โดยเจ้าของเดิม
คือ ตระกูลพูลวรลักษณ์ ซึ่งมีโรงภาพยนตร์ชั้นสองมากที่สุดในประเทศไทย รวมเจ้าพระยาเธียร์เตอร์
เอดิสัน ร้านขายเครื่องไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีลานสเก็ตบนชั้นสอง
ค่อมาด้านหลังเปลี่ยนเป็นไปรษณีย์พระโขนงอยู่ช่วงหนึ่ง
และ ATM ห้างขายผ้า ปัจจุบันเลิกกิจการกลายเป็นอาคารให้เช่า
แม้แต่พาวเวอร์บายของเซ็นทรัล ยังเคยมาเปิดสาขา ที่ด้านหน้าของห้างเอดิสันเดิม
ย่านนี้ยังเป็นแหล่งรวมร้านค้าหลายประเภท ทั้งเครื่องไฟฟ้า ร้านขายผ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ชุดนักเรียน ชุดกีฬา รองเท้า เครื่องหนัง ร้านทอง โรงรับจำนำ เฟอร์นิเจอร์ คลีนิกทันตแพทย์ ร้านอาหาร
รวมถึงแผงขายผลไม้ ต้นตำรับติดป้ายราคาถูก แต่เขียน "ครึ่งกิโล" ตัวนิดเดียว ก่อนแพร่ไปปากซอยอ่อนนุช
พระโขนงยังมีตลาดสดสามตลาดติดกัน คือ ตลาดแสงทิพย์ (1 และ 2) และตลาดรุ่งอรุณ
ซึ่งคนนอกพื้นที่เรียกรวมกันว่า "ตลาดพระโขนง" แม้ว่าจะผ่านพ้นยุครุ่งเรืองไปแล้ว
เพราะการล่มสลายของกลุ่มทุนกำลังทรัพย์สูง ยกเว้น กลุ่มพูนวรลักษณ์
ที่เปลี่ยนเวลโก้และโรงภาพยนต์ฮอลิเดย์เป็น W Distric แต่กลุ่มการค้าท้องถิ่นล้อมรอบตลาดพระโขนง
ยังยืนหยัดอยู่เหมือนเดิม เพราะย่านนี้มีรถประจำทางผ่านหลายสาย ทั้งทางด้านถนนสุขุมวิท
และถนนปรีดีพนมยงค์ (สุขุมวิท 71) รวมถึงรถไฟฟ้าบีเอส แม้ว่าเดิมจะคึกคักด้วยแรงงานไทย
แต่ปัจจุบันมีแรงงานพม่าเข้ามาเช่าบ้านแทนที่ จึงมีร้านอาหารพม่า ร้านโชวห่วยพม่า เข้ามาเปิดกันหลายร้าน
รวมถึงมีแหล่งรวมตัว เพื่อประกอบพิธีทางศาสนาพุทธโดยพระสงฆ์พม่า จึงอาจเรียกย่านตลาดพระโขนง
ในอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "ลิทเติ้ลเมียนมาร์" แม้ว่าจะไม่ใหญ่โตหนาแน่น เหมือนที่จังหวัดสมุทรสาครก็ตาม
หมายเหตุ 1 : บทความนี้ใช้เวลาสำรวจ 7 ครั้ง รวมระยะเวลากว่า 10 เดือน
เพราะแบ่งเวลาส่วนหนึ่งไปสำรวจร้านก๋วยเตี๋ยวในย่านคลองตัน บทความไม่เรียงตามลำดับเวลา
แต่เรียงตามลำดับร้าน ตั้งแต่เริ่มเดินเข้าย่านตลาดพระโขนง จากทางด้านถนนสุขุมวิทไปจนถึงคลองพระโขนง
หมายเหตุ 2 : สำเนียงพม่าออกเสียงฟังยาก ถามคนพม่าแต่ละคน เรียกและออกเสียงไม่เหมือนกัน
จนยากที่จะออกเสียงเป็นภาษาไทย นอกจากบางคำที่สามารถค้นได้ว่าคืออะไร
คำเตือน : ภาพและบทความ มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง ผู้ละเมิด จะถูกดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา
ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด โดยไม่มีการยอมความ
การไปพระโขนง ถ้าเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส ลงที่สถานีพระโขนง ออกทางด้านทางออก 3
มองเห็น W District อดีตโรงภาพยนต์ฮอลิเดย์และห้างสรรพสินค้าเวลโก้
ถ้ามาด้วยรถประจำทาง สายที่ตรงไปลงหน้าปากซอยสุขุมวิท 71/1
ถ้ามาด้วยรถประจำทาง สายที่เลี้ยวซ้ายเข้าถนนปรีดีพนมยงค์ (สุขุมวิท 71) ลงรถที่ปากซอยปรีดีพนมยงค์ 5