รถตู้โดยสารไม่ประจำทาง ป้าย 30 ถ้าวิ่งรับผู้โดยสารโดยเก็บค่าโดยสารเป็นรายบุคคล แล้วส่งทีล่ะจุดผิด พรบ.ขนส่งไหมครับ

คือผมสงสัยมานาน พอดีที่บ้านผมอยู่ต่างจังหวัด (สกลนคร)    ซึ่งแถวบ้านผมจะมีอาชีพวิ่งรถตู้จากสกลนคร โดยวิ่งรับลูกค้าเป็นรายบุคคลตามหมู่บ้านต่างๆ บางทีก้อมาคนเดียว บางทีก้อไปเป็นกลุ่ม โดยจุดหมายปลายทางคือ กทม. และปริมณฑล แล้วแต่ลูกค้าจะให้ไปส่ง โดยส่งถึงบ้านหรือในซอย (ยกตัวอย่างบางคนไปลงลาดพร้าว71, อีก 3 คนที่มาด้วยกันไปลงอุดมสุข 30, อีก 1คนไปลงเจริญนคร ..ฯลฯ ไปเรื่อยๆจนหมดรถ)  ..และแต่ล่ะคนจ่ายค่าโดยสารเป็นรายบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นที่นิยมในการเดินทางของคนสูงวัย คนที่เดินทางมาทำงานใน กทม. นักเรียนที่ปิดเทอมมาเยี่ยมพ่อแม่ เพราะสะดวกสบายไม่ต้องไปต่อรถเมล์ หรือแท็กซี่ เพราะบางคนไม่รู้จักเส้นทางในกรุงเทพ ทีนี้เรื่องมีอยู่ว่า บางทีไปเจอเจ้าหน้าที่ตำรวจ (รอจับและปรับ)   โดยท่านอ้างว่า รถโดยสารไม่ประจำทาง(ป้าย 30) เขาไม่ให้เก็บค่าโดยสารเป็นรายบุคคล ซึ่งผิด พรบ.ขนส่งทางบก   ผมก้อไปเสิร์ชหาใน พรบ.ขนส่งทางบก ก้อยังไม่ได้รายล่ะเอียดที่ชัดเจน (หาไม่เจอ) จึงไม่ทราบว่าตกลง รถโดยสารไม่ประจำทาง เขามีวิธีเก็บค่าโดยสารที่ถูกต้องยัง ที่เจ้าหน้าที่คอยอ้างนั่นเป็นความจริงหรือไม่ แล้วพวกรถผ้าป่าที่เขาเฉลี่ยเงินกันเวลาเดินทางกลับบ้านนั่น สามารถนำมาเทียบเคียงกับลักษณะนี้ได้หรือไม่ รบกวนเพื่อนๆ ท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะหน่อยครับ ขอบพระคุณมากครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่