สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ลองไปเล่นที่เว็บนี้ดูครับ https://nuclearsecrecy.com/nukemap/
เลือกเมือง ใส่ค่าความแรงของระเบิดเป็น กิโลตัน (KT) และคลิก Detonate
ก็จะทราบผล simulation ว่าจะมี Fireball , Airblast และ Radiation เท่าไหร่
อย่างในภาพนี้ผมลองเลือกที่กลาง กทม. แรงระเบิด 15KT (แรงเท่าที่ทิ้งที่เมืองฮีโรชิมะ)
การระบิดของระเบิดนิวเคลียร์ จะมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. Fireball มันคือลูกไฟที่เกิดจากการระเบิด ระเบิดขนาดใหญ่ ลูกไฟก็ใหญ่ตามไปด้วยครับ
อย่างระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 15 กิโลตัน จะมีขนาด fireball รัศมีใหญ่ประมาณ 180 เมตร
2. Air blast (20 PSI) มันคือคลื่นกระแทกจากแรงกดอากาศ โดยในอาณาบริเวณแรกนี้
จะเป็นค่าของคลื่นกระแทกที่มีความกดอากาศ 20 PSI ซึ่งสูงมากพอที่จะทำลายสิ่งปลูกสร้างคอนกรีต
ให้เสียหายได้มาก กรณีระเบิดขนาด 15KT จะมีรัศมีคลื่นกระแทกนี้ประมาณ 340 เมตร
3. Air blast (5 PSI) อันนี้คือคลื่นกระแทกอันดับ 2 ที่มีความกดดันอากาศ 5 PSI
สามารถทำลายสิ่งปลูกสร้างแบบทั่วไปได้ กรณีระเบิด 15KT จะมีบริเวณทำลายประมาณ 8 ตารางกิโลเมตร
4. Radiation มันคือรัศมีของการแผ่กัมมันตรังสีที่มีความเข้ม 5 Sv
โดยระบิดขนาด 15KT จะมีอาณาบริเวณผลกระทบ 4.5 ตารางกิโลเมตร
ความอันตรายของรังสีตามหน่วย Sv
10 Sv – มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในเวลาเป็นวันหรือสัปดาห์
1 Sv – มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในภายหลัง (ประมาณ 5%)
100 mSv – มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในภายหลัง (ประมาณ 0.5%)
50 mSv – ปริมาณรังสีที่ได้รับต่อปีของผู้ที่ปฏิบัติงานทางรังสีตามค่าจำกัดมาตรฐานโลก
20 mSv – ปริมาณรังสีที่ได้รับเฉลี่ยต่อปี หรือโดยเฉลี่ยในเวลา 5 ปี ตามตามค่าจำกัดมาตรฐานโลก
5. Thermal radiation มันคือการแผ่รังสีความร้อน โดยจะมีทั้ง Infrared - Ultraviolet ครับ
ค่ามาตรฐานนี้จะเป็นอาณาบริเวณที่ผิวหนังจะได้รับการบาดเจ็บไฟไหม้ในระดับ 3 (3rd degree burns)
อันนี้แหละครับที่สำคัญมาก เพราะการแผ่รังสีของระเบิดนิวเคลียร์จะมีค่าสูงมาก กรณีระเบิดขนาด 15KT
ก็จะมีอาณาบริเวณที่ร้อนแรงจากการแผ่รังสี มากถึง 11 ตารางกิโลเมตร หากทิ้งระเบิดที่กลางสนามหลวง
เราก็จะผิวไหม้เกรียมได้ยืนอยู่ในที่ต่อไปนี้ .....
- สะพานพระราม 8
- ตลาดพรานนก
- สะพานพุทธ
- ภูเขาทอง
ภาพการบาดแผลการไหม้ระดับ 3rd degree burns
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เลือกเมือง ใส่ค่าความแรงของระเบิดเป็น กิโลตัน (KT) และคลิก Detonate
ก็จะทราบผล simulation ว่าจะมี Fireball , Airblast และ Radiation เท่าไหร่
อย่างในภาพนี้ผมลองเลือกที่กลาง กทม. แรงระเบิด 15KT (แรงเท่าที่ทิ้งที่เมืองฮีโรชิมะ)
การระบิดของระเบิดนิวเคลียร์ จะมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. Fireball มันคือลูกไฟที่เกิดจากการระเบิด ระเบิดขนาดใหญ่ ลูกไฟก็ใหญ่ตามไปด้วยครับ
อย่างระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 15 กิโลตัน จะมีขนาด fireball รัศมีใหญ่ประมาณ 180 เมตร
2. Air blast (20 PSI) มันคือคลื่นกระแทกจากแรงกดอากาศ โดยในอาณาบริเวณแรกนี้
จะเป็นค่าของคลื่นกระแทกที่มีความกดอากาศ 20 PSI ซึ่งสูงมากพอที่จะทำลายสิ่งปลูกสร้างคอนกรีต
ให้เสียหายได้มาก กรณีระเบิดขนาด 15KT จะมีรัศมีคลื่นกระแทกนี้ประมาณ 340 เมตร
3. Air blast (5 PSI) อันนี้คือคลื่นกระแทกอันดับ 2 ที่มีความกดดันอากาศ 5 PSI
สามารถทำลายสิ่งปลูกสร้างแบบทั่วไปได้ กรณีระเบิด 15KT จะมีบริเวณทำลายประมาณ 8 ตารางกิโลเมตร
4. Radiation มันคือรัศมีของการแผ่กัมมันตรังสีที่มีความเข้ม 5 Sv
โดยระบิดขนาด 15KT จะมีอาณาบริเวณผลกระทบ 4.5 ตารางกิโลเมตร
ความอันตรายของรังสีตามหน่วย Sv
10 Sv – มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในเวลาเป็นวันหรือสัปดาห์
1 Sv – มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในภายหลัง (ประมาณ 5%)
100 mSv – มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในภายหลัง (ประมาณ 0.5%)
50 mSv – ปริมาณรังสีที่ได้รับต่อปีของผู้ที่ปฏิบัติงานทางรังสีตามค่าจำกัดมาตรฐานโลก
20 mSv – ปริมาณรังสีที่ได้รับเฉลี่ยต่อปี หรือโดยเฉลี่ยในเวลา 5 ปี ตามตามค่าจำกัดมาตรฐานโลก
5. Thermal radiation มันคือการแผ่รังสีความร้อน โดยจะมีทั้ง Infrared - Ultraviolet ครับ
ค่ามาตรฐานนี้จะเป็นอาณาบริเวณที่ผิวหนังจะได้รับการบาดเจ็บไฟไหม้ในระดับ 3 (3rd degree burns)
อันนี้แหละครับที่สำคัญมาก เพราะการแผ่รังสีของระเบิดนิวเคลียร์จะมีค่าสูงมาก กรณีระเบิดขนาด 15KT
ก็จะมีอาณาบริเวณที่ร้อนแรงจากการแผ่รังสี มากถึง 11 ตารางกิโลเมตร หากทิ้งระเบิดที่กลางสนามหลวง
เราก็จะผิวไหม้เกรียมได้ยืนอยู่ในที่ต่อไปนี้ .....
- สะพานพระราม 8
- ตลาดพรานนก
- สะพานพุทธ
- ภูเขาทอง
ภาพการบาดแผลการไหม้ระดับ 3rd degree burns
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
นิวเคลียจะสร้างความเสียหายให้ประมาณกี่กิโลครับ