ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่อง “หมุด”

หมุด “ ไม่ใช่ของที่มีรูปร่างแบบ “ฝา”
แบบที่บางคนเอาไปล้อเล่น ว่า “เป็นฝาท่อส้วม”

หมุด ไม่ใช่ฝาแบนๆ

เพราะ หมุด ที่ตรงกับภาษษอังกฤษ ว่า knot
นั้นหมายถึง สิ่งของจำพวก ตะปู, เดือย, น็อต

การเอาหมุดไปใช้งาน เขาต้องตอกส่วนที่เป็นแท่งยาวๆ ลงไป
โดยใช้ฆ้อน หรือ ท่อนอะไรใหญ่ๆ กระทุ้งตรงหัวหมุด ให้ตัวหมุดทั้งลำจมลงไป

หมุดที่หายไป ขนาดส่วนหัวหมุด ใหญ่ขนาดนั้น
แท่งหมุด น่าจะยาวมาก
สังเกตได้จาก รถวิ่งทับไปมา อยู่ได้นิ่งมาหลายปี เหมือนฝังเสาเข็มยาวๆ ที่อยู่ตัวแล้ว

ส่วน หมุด ที่หายไปนั้น เขาไม่ได้ใช้ฆ้อน หรือ สามเกลอ กระทุ้ง เพราะ ด้านบนที่เป็นหัวหมุดเป็นตัวหนังสือและลายเส้นแกะสลัก
จะใช้วิธีตอกหัวหมุดไม่ได้
ตัวหนังสือและลายเส้นแกะสลักจะยับเยินเสียหาย

จะต้องขุดเป็นหลุมลึกลงไป แล้วใช้ปูนเทล้อมทับโดบรอบ

ให้สังเกตว่า พื้นถนนตรงนั้นอยู่มาหลายปีดีดัก ไม่เคยชำรุด ไม่เคยซ่อมใหญ่ เพราะเป็นพื้นที่ที่วางรากฐานไว้แน่นสุดๆ
การขุดเจาะจะทำได้ยากมาก ต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ขุดเจาะ

พื้นที่ตรงนั้น อยู่ในการรับผิดชอบ ซ่อม บำรุง ของ สำนักโยธาธิการ กรุงเทพมหานคร
เรื่องนี้ สำนักงานเขตอาจปฏิเสธ ก็พอรับฟังได้
การที่นักข่าวไปถาม เขาจึงพออ้อมแอ้ม ตอบไปว่า ไม่รู้ ก้พอรับฟังได้

แต่  สำนักโยธาธิการ กรุงเทพมหานคร  ปฏิเสธ ไม่รู้ ไม่เห็นไม่ได้ เพราะเป็นเจ้าภาพในการ ซ่อม รื้อ ปรับปรุงพื้นที่ตรงนั้น
ถ้าอยากรู้ นักข่าวต้องจี้ไปถามที่ สำนักโยธาธิการ กรุงเทพมหานคร
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่