จะสังเกตได้อย่างไร ว่า ดาวหมุนหรือไม่

กระทู้คำถาม
สมมุติว่า  เรานั่งเรือบรรทุกเครื่องบินคาร์ลวินสัน ไปผ่านสามเหลี่ยมเบอมิวด้า
ผ่านเข้าไปในหมอกหนาทึบ  แล้วก็เกิดแสงวาป
เรือของเราหลุดเข้าประตูมิติ  ไปโผล่ในดาวอีกดวง  ....ที่มีแต่น้ำ

หลังจากสำรวจอยู่หลายเดือน  เราพบว่า
ดาวดวงนี้ อยู่ในอวกาศที่เวิ้งว้าง  ไม่มีดาวอื่นอยู่เลย
สงสัยอยู่นอกเอกภพ หัวเราะ

เราจะทราบได้อย่างไร ว่า ดาวนี้ หมุนอยู่  หรือ  ลอยอยู่นิ่งๆในอวกาศ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ขอบคุณความคิดของทุกท่านครับ

ได้มาหลายวิธีเลย
รวมทั้ง ที่ผมคิดไว้ 2 วิธี  ก็พอรวบรวมได้ดังนี้

1)  พยายามสร้างจุดอ้างอิง ( คห 1 + 5 )  แล้ว ออกไปสังเกตดู
     [ น่าจะมีปัญหา ในการหาจุดหยุดนิ่งเพื่อทำการสังเกต ]
2)  สังเกตจาก 'Coriolis effect' (คห2)  เดินเรือออกไป ตรงๆ  แล้วสังเกตว่าเดินเหออกจากแนวไหม
     [ ผลจากความเฉื่อย เมื่อดาวหหมุน ]
3)  วัดสนามแม่เหล็กของดาว (คห 6  และ คห 9)  ถ้าดาวหมุน มีโอกาสที่จะเกิดสนามแม่เหล็ก
     [ แต่สรุปให้ชัดเจนไม่ได้  เพราะดาวที่หมุนแต่ไม่มีสนามแม่เหล็กก็ได้ ]
4)  สังเกต Centrifugal force (คห 6)  ชั่งน้ำหนักวัตถุ  ในตำแหน่งต่างๆของดาว
     [ ผลจากความเฉื่อย ]
5)  ใช้ Foucault pendulum  (คห 7 และ คห 10)  เปรียบผลการแกว่งจาก หลายตำแหน่งบนดาว
     [ ผลจากความเฉื่อย ]
6)  ใช้ Gyroscope  (*)  สังเกตการเปลี่ยนทิศของ Gyro เมื่อเวลาเปลี่ยนไป
     ถ้าเรือลอยตามการหมุน  จะเห็น Gyro  เปลี่ยนทิศ
     [ ผลจากความเฉื่อย ]
7)  สังเกต รูปทรงของดาว  ว่าเป็นทรงกลมสนิท หรือ กลมแป้น
      หากดาวหมุน  มันจะมีCentrifugal force ดันของเหลวให้ขยายออกในแนวเส้นศูนย์สูตร
      ต้องหาวิธีออกไปมองดูทรง จากอวกาศ
      [ ผลจากความเฉื่อย เช่นกัน]

โดยสรุป  เราใช้ผลจากความเฉื่อยของมวล ที่ได้รับผลจากการเคลื่อนที่แนวโค้งเป็นตัวบ่งชี้
             ในวิธีแทบทั้งหมด
             ข้อสงสัย คือ ในที่ห่างไกลออกไป นอกเอกภพ ยังมี Higgs Field ที่เป็นตัวที่ทำให้เกิดความเฉื่อย หรือไม่

ภายในอวกาศ ในเอกภพ เราใช้วิธีต่างๆข้างบนได้ (โดยไม่ต้อง มองหาดวงดาวอ้างอิงก็ได้)
เราแยกได้ว่าดาวหมุน หรือไม่หมุน
ก็ย่อมแสดงว่า  เราจะสามารถบอกได้ถึง ตำแหน่งอวกาศที่หยุดนิ่ง ( Inertial frame)

ตำแหน่งที่หยุดนิ่งนี้ กำหนดด้วยอะไร
สภาพของ Higgs Field    หรือ  ตำแหน่งของมวลต่างๆรวมกัน ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่