นอกจากวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี คือ “วันมหาสงกรานต์” ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าสู่ตำแหน่งที่เปลี่ยนราศี
จนเกิดเทศกาลปีใหม่ของประเทศไทยสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วนั้น ยังนับเป็นช่วงที่ดอกคูนหรือราชพฤกษ์
ดอกไม้ประจำชาติบานสะพรั่งไปทั่วประเทศ (ช่วงเวลาเดียวกับซากุระเบย) และเนื่องจากครบ 6 เดือนเต็ม
กับการจากไปของรัชสมัยรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีทรงครองราชย์นั้น
ทำให้เกิดความคิดอยากเขียนเรื่องราวและบันทึกเกี่ยวกับต้นไม้ประจำประเทศไทยในแบบฉบับของตัวเอง
ประวัติและที่มา
ราชพฤกษ์เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ พบในหลายประเทศได้แก่ ปากีสถาน อินเดีย พม่าและศรีลังกา
โดยมีการเสนอให้เป็นดอกไม้ประจำชาติไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัด
จนกระทั่งมีการลงนามให้เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2544 เป็นต้นมา
นอกจากนั้นยังเป็นสีที่ตรงกับ สีประจำวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 9 จึงมีการลงนามให้ราชพฤกษ์เป็นหนึ่งในสาม
ของสัญลักษณ์ประจำชาติไทย อันได้แก่ ช้าง ศาลาไทย และ ดอกราชพฤกษ์
อีกทั้งราชพฤกษ์เป็นพืชที่อายุยืนนานและทนทาน ทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
แต่ชื่อสามัญโดยปกติที่เข้าใจโดยทั่วกันคือ คูนหรือคูณ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้การเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่นและภูมิภาคของประเทศไทย
เช่น ต้นลมแล้ง กุเพยะ บือยู ปูโย เปอโซ แมะหล่าหยู่ ต้นลักเกลือหรือลักเคย
ราชพฤกษ์มีชื่อภาษาอังกฤษว่า
'Golden shower tree' หรือ ฝนทองคำ (Drop of water มันแปลได้ว่าฝนนี่นา 5555)
Pudding pipe tree, Purging cassia, Indian laburnum ชื่อวิทยาศาสตร์คือ
Cassia fistula L.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ถ้าแปลมั่วๆจากภาษาลาติน
Cassia = Always smiling / Nice and Caring, Fistula = New connection / Tube / Pipe
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชในตระกูล Fabaceae จัดอยู่ในวงศ์ Leguminosae-Caesalpinioideae พบได้ในเขตร้อน
เติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด สามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี
แต่ไม่ทนในอากาศหนาวเย็นและหิมะ เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 3-4 ปีจึงสามารถทนธรรมชาติได้
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ความสูง 10-20 ม. เป็นไม้ผลัดใบพุ่มกลม เปลือกเรียบเกลี้ยงสีเทาอ่อน
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับตรงข้ามกัน ใบรูปไข่ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 ซม.
ปลายใบแหลมแผ่นใบบางเกลี้ยงเป็นมัน ดอกเป็นช่อยาวตั้งแต่ 10-40 ซม. แต่ละดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-7 ซม.
กลีบดอกมีสีเหลือง ขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลหรือฝัก เป็นทรงกระบอกกลมสีดำยาวตั้งแต่ 20-60 ซม.
มีกลิ่นฉุนและมีเมล็ดด้านในจำนวนมาก เมล็ดมีพิษ สามารถปลูกและเจริญเติบโตช้าในระยะเวลา 1-3 ปีแรก
และเมื่อราชพฤกษ์มีอายุ 4-5 ปี จึงออกดอกและเมล็ด นิยมปลูกด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
โรคและแมลงไม่ค่อยรบกวนพืชชนิดนี้ พบเพียงศัตรูหนอนเจาะลำต้น และเชื้อราทางใบทั่วๆไป เช่น โรคใบจุด
ความเชื่อ
ราชพฤกษ์ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นไม้มงคล ปลูกไว้แล้วจะเสริมให้คนในบ้านมีเกียรติยศ ชื่อเสียง และใช้ประกอบพิธีที่สำคัญ
เช่น พิธีเสาไม้หลักเมือง เป็นส่วนที่ใช้ทำคฑาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร คนไทยสมัยโบราณเชื่อว่า
ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย จะทำให้ผู้ที่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ
มีเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางไสยศาสตร์ โดยมีผู้ใช้ใบทำน้ำพระพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ต่างๆ
สรรพคุณ
สารที่พบในฝัก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ได้แก่ protein,carbohydrate,calcium,glucose,alkaloids,anthraquinone,gkutin,pectins,oxalates,flavonoid,
aloe emodin,galactomannan,kaempferol,luteolin,emodin,Phenylalanine,Tryptophan,Triacontyl alcohol (Triacontan-1-ol),
n-Triacontan-1,30-diol,n-Triacontyl lignocerate,สารในกลุ่ม proanthocyanidin,catechin,epicatechin,procyanidin,epiafzelechin,
สารกลุ่ม anthraquinone,rhein,hydroxymethyanthraquinone,sennoside A and B,aloin,barbaloin,amino acid,aspartic acid,
glutamic acid,n-Butyric acid,formic acid,fistulic acid,lysine
สารที่พบในเมล็ด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ได้แก่ protein,carbohydrate ในรูปของ galactomannan,fat,fiber,fixed oil,hydrocyanic acid,chrysophanol
phospholipids ของ cephalin และ lecithin,Arginine,Leucine,Methionine
สารที่พบในใบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ได้แก่ tannin,steroid,volatile oil,hydrocyanic acid,saponin,triterpenoid,rhein,rheinglucoside
sennoside A, B,anthraquinones,chrysophanol,physcion,phenolics หลักๆที่พบ คือ flavonoid และ proanthocyanidin
ได้แก่ epicatechin,procyanidin,epiafzelechin
สารที่พบในดอก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ได้แก่ ceryl alcohol,kaempferol,rhein,phenolics หลักๆที่พบ คือ flavonoid และ proanthocyanidin ได้แก่
epicatechin,procyanidin,epiafzelechin,alkaloids,triterpenes,bianthroquinone glycoside,fistulin,rhamnose
สารที่พบในเปลือกราก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ได้แก่ flovefin,tannin,phlobephenes,สารประกอบของ oxyanthraquinone ได้แก่ emodin,chrysophanic acid
fistuacacidin,barbaloin,rhein
สารที่พบในเปลือก แก่นไม้ และ กิ่ง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ได้แก่ tannin, lupeol, β – sitosterol และ hexacosanol rhamnetin และ สารในกลุ่ม leucoanthocyanidin
สารออกฤทธิ์ที่พบ
คาร์ทามีดีน (carthamidine)
แคโรทีนอยด์ (carotenoid)
สารในกลุ่มซาโปนิน (saponin)
สารแอนทราควิโนน (anthraquinone)
สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoid)
สารแทนนิน (tannin)
ประโยชน์โดยรวม
1. ใช้ปลูกเป็นไม้ต้นประดับ และดอกประดับ
2. ใช้ปลูกให้ร่มเงาตามบ้านเรือน สถานที่ต่างๆ
3. ลำต้น ใช้ทำไม้ก่อสร้าง ไม้เสา ไม้ค้ำยัน
4. เนื้อไม้สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ชนิดต่างๆ
5. ไม้และกิ่งแห้ง ใช้เป็นฟืน/เชื้อเพลิงอื่นๆ
6. ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกใช้เป็นส่วนผสมหรือใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะดอกใช้เป็นอาหารสัตว์สำหรับทำให้เนื้อมีสีเข้มมากขึ้น
สรรพคุณทางยา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ยังไม่มีการตรวจสอบ
1. ดอกมีสารที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีสารออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย
สารสกัดจากดอกมีฤทธิ์การต่อต้านเชื้อรา ดอกนำมาต้มรับประทานมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
สารสกัดจากดอกราชพฤกษ์ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น และความกระชับของผิว
2. รากนำมาต้มรับประทาน ใช้ลดไข้ รักษาโรคในถุงน้ำดี นำมาฝนทารักษากลาก เกลื้อน และโรคผิวหนังต่างๆ
ราก เปลือก และแก่น นำมาต้มใช้ล้างบาดแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาแผลติดเชื้อ แผลอักเสบ
ราก เปลือก และแก่น นำมาต้มใส่เหลือเล็กน้อยรับประทาน ใช้แก้ท้องผูก ท้องเสีย แก่น ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
เปลือกนำมาบดผสมน้ำใช้ทาหรือต้มน้ำอาบ สำหรับรักษาฝี รักษาโรคผิวหนัง ต้านเชื้อแบคทีเรีย
3. ใบ และดอก กินสดหรือต้มน้ำรับประทานเป็นยาระบาย
ใช้ต้านรักษาโรคเบาหวาน บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ ลดอัตราเสี่ยงของโรคระบบหัวใจ และหลอดเลือด
นำมาบด ใช้ทาผิวหนัง ใช้ทาแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย
4. นำฝักมาต้มรับประทานเป็นยาระบาย ออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของลำไส้ แก้บรรเทาอาหารจุกเสียดแน่นท้อง
5.นำมาฝักมาสกัดใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลงบางชนิดได้
6.นำฝักมาสกัดใช้เป็นส่วนผสมของสารฟอกหนัง ได้แก่ สารแทนนินที่ใช้สำหรับตกตะกอนโปรตีน
7.เมล็ดใช้สกัดเอายางเหนียวสำหรับเป็นส่วนผสมของกาวในอุตสาหกรรม
Ref.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://hilight.kapook.com/view/86940
https://en.wiktionary.org/wiki/fistula
hhttp://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/shower
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C
http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Trees/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C.html
http://puechkaset.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C/
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Ref ซ้อน Ref ได้แก่ สารานุกรมไทย / panmai.com / tonlarcha.blogspot.com / maipradabonline.com
สุนทรี 2535, ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร 2546, Bahorun et al. , India’s Health Portal, , World Agroforestry Center
นักรบ 2552, ภัสสร์พัณณ์, 2549
ราชพฤกษ์
จนเกิดเทศกาลปีใหม่ของประเทศไทยสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วนั้น ยังนับเป็นช่วงที่ดอกคูนหรือราชพฤกษ์
ดอกไม้ประจำชาติบานสะพรั่งไปทั่วประเทศ (ช่วงเวลาเดียวกับซากุระเบย) และเนื่องจากครบ 6 เดือนเต็ม
กับการจากไปของรัชสมัยรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีทรงครองราชย์นั้น
ทำให้เกิดความคิดอยากเขียนเรื่องราวและบันทึกเกี่ยวกับต้นไม้ประจำประเทศไทยในแบบฉบับของตัวเอง
ประวัติและที่มา
ราชพฤกษ์เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ พบในหลายประเทศได้แก่ ปากีสถาน อินเดีย พม่าและศรีลังกา
โดยมีการเสนอให้เป็นดอกไม้ประจำชาติไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัด
จนกระทั่งมีการลงนามให้เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2544 เป็นต้นมา
นอกจากนั้นยังเป็นสีที่ตรงกับ สีประจำวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 9 จึงมีการลงนามให้ราชพฤกษ์เป็นหนึ่งในสาม
ของสัญลักษณ์ประจำชาติไทย อันได้แก่ ช้าง ศาลาไทย และ ดอกราชพฤกษ์
อีกทั้งราชพฤกษ์เป็นพืชที่อายุยืนนานและทนทาน ทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
แต่ชื่อสามัญโดยปกติที่เข้าใจโดยทั่วกันคือ คูนหรือคูณ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ราชพฤกษ์มีชื่อภาษาอังกฤษว่า 'Golden shower tree' หรือ ฝนทองคำ (Drop of water มันแปลได้ว่าฝนนี่นา 5555)
Pudding pipe tree, Purging cassia, Indian laburnum ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cassia fistula L.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชในตระกูล Fabaceae จัดอยู่ในวงศ์ Leguminosae-Caesalpinioideae พบได้ในเขตร้อน
เติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด สามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี
แต่ไม่ทนในอากาศหนาวเย็นและหิมะ เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 3-4 ปีจึงสามารถทนธรรมชาติได้
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ความสูง 10-20 ม. เป็นไม้ผลัดใบพุ่มกลม เปลือกเรียบเกลี้ยงสีเทาอ่อน
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับตรงข้ามกัน ใบรูปไข่ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 ซม.
ปลายใบแหลมแผ่นใบบางเกลี้ยงเป็นมัน ดอกเป็นช่อยาวตั้งแต่ 10-40 ซม. แต่ละดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-7 ซม.
กลีบดอกมีสีเหลือง ขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลหรือฝัก เป็นทรงกระบอกกลมสีดำยาวตั้งแต่ 20-60 ซม.
มีกลิ่นฉุนและมีเมล็ดด้านในจำนวนมาก เมล็ดมีพิษ สามารถปลูกและเจริญเติบโตช้าในระยะเวลา 1-3 ปีแรก
และเมื่อราชพฤกษ์มีอายุ 4-5 ปี จึงออกดอกและเมล็ด นิยมปลูกด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
โรคและแมลงไม่ค่อยรบกวนพืชชนิดนี้ พบเพียงศัตรูหนอนเจาะลำต้น และเชื้อราทางใบทั่วๆไป เช่น โรคใบจุด
ความเชื่อ
ราชพฤกษ์ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นไม้มงคล ปลูกไว้แล้วจะเสริมให้คนในบ้านมีเกียรติยศ ชื่อเสียง และใช้ประกอบพิธีที่สำคัญ
เช่น พิธีเสาไม้หลักเมือง เป็นส่วนที่ใช้ทำคฑาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร คนไทยสมัยโบราณเชื่อว่า
ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย จะทำให้ผู้ที่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ
มีเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางไสยศาสตร์ โดยมีผู้ใช้ใบทำน้ำพระพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ต่างๆ
สรรพคุณ
สารที่พบในฝัก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สารที่พบในเมล็ด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สารที่พบในใบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สารที่พบในดอก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สารที่พบในเปลือกราก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สารที่พบในเปลือก แก่นไม้ และ กิ่ง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สารออกฤทธิ์ที่พบ
คาร์ทามีดีน (carthamidine)
แคโรทีนอยด์ (carotenoid)
สารในกลุ่มซาโปนิน (saponin)
สารแอนทราควิโนน (anthraquinone)
สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoid)
สารแทนนิน (tannin)
ประโยชน์โดยรวม
1. ใช้ปลูกเป็นไม้ต้นประดับ และดอกประดับ
2. ใช้ปลูกให้ร่มเงาตามบ้านเรือน สถานที่ต่างๆ
3. ลำต้น ใช้ทำไม้ก่อสร้าง ไม้เสา ไม้ค้ำยัน
4. เนื้อไม้สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ชนิดต่างๆ
5. ไม้และกิ่งแห้ง ใช้เป็นฟืน/เชื้อเพลิงอื่นๆ
6. ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกใช้เป็นส่วนผสมหรือใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะดอกใช้เป็นอาหารสัตว์สำหรับทำให้เนื้อมีสีเข้มมากขึ้น
สรรพคุณทางยา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Ref.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้