การสร้างถนน ทางแยก ถูกกฎจราจร ทั้งทางกายภาพ และฟิสิกส์ อย่างไร ????

ขอเสนอความคิดเห็น

กฎ(หมาย)ทางกายภาพ    เช่น  การได้ยิน  การมองเห็น  การรับรู้  การเข้าใจ  การตัดสินใจ  เป็นต้น
กฎทางฟิสิกข์       เช่น  ความเร็ว  ความเร่ง ความเอียง  ความแรง  วิถีการเคลื่อนที่  มวลและพลังงาน  เป็นต้น
  
  กฎ ( LAW )  คือ ทฤษฎีที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ   มีเนื้อหาสารประโยชน์  ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง  
                          พิสูจน์และตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างชัดเจน  เป็นที่ยอมรับของทุกคนทุกฝ่าย  โดยไม่มีใครโต้แย้งได้
                          หรือ มีข้อโต้แย้งน้อยที่สุด

หลักของกฎ  
   1. กฎต้องมีที่มาที่ไป  มีเนื้อหาสารประโยชน์  ที่ถูกต้องเป็นจริง                                                
   2. กฎต้องพิสูจน์ และ ตรวจสอบความถูกต้อง  ได้อย่างชัดเจน                                    
   3. กฎต้องเป็นที่ยอมรับของทุกคน  และ  ทุกฝ่าย                              
   4. กฎต้องไม่มีใครโต้แย้งได้  หรือมีข้อโต้แย้งน้อยที่สุด

ในการใช้รถใช้ถนน  จำเป็นต้องมีกฎจราจรเป็นแนวทางในการปฏิบัติ  
เพื่อให้เกิด    1 ความสะดวก  
                 2 ความรวดเร็ว  (ใช้ความเร็วได้ตามกำหนด)
                 3 ความปลอดภัย
                 4 ความประหยัด (พลังงาน และค่าใช้จ่าย )

การออกแบบ  และสร้างถนนระดับจังหวัด (เช่นถนน เชื่อมต่อระหว่างจังหวัด กับ  จังหวัด  เป็นต้น)
การออกแบบ  และสร้างถนนระดับอำเภอ (เช่นถนน เชื่อมต่อระหว่างอำเภอ กับ  อำเภอ  เป็นต้น)
การออกแบบ  และสร้างถนนระดับตำบล  (เช่นถนน เชื่อมต่อระหว่างตำบล กับ  ตำบล  เป็นต้น)
การออกแบบ  และสร้างถนนระดับหมู่บ้าน (เช่นถนน เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน กับ  หมู่บ้าน  เป็นต้น)

                    รวมทั้ง ทางโค้ง ทางแยก    ป้ายจราจร   เส้นจราจร   สัญญานจราจร
                    จุดกลับรถที่เหมาะสม   ทางกว้างกี่เมตร    ทางเลี้ยวกว้างยาวกี่เมตร   รัศมีโค้งกี่เมตร  
                   ทางโค้งมีความชัน( SLOPE) กี่องศา   ตำแหน่งไฟส่องสว่าง   ตำแหน่งป้ายจราจร  
                    ตำแหน่งสัญญาณไฟจราจร   ขนาดของไฟจราจร   เวลาของไฟจราจร  
                   พิกัดความเผื่อ     การรองรับค่าวิกฤต  ของถนนเป็นต้น

                            ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่