ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าผมยังไม่เคยสอบนะครับ เพิ่งจบเนติบัณฑิตไม่นาน
ซึ่งก็กำลังศึกษาแนวทางหรือเตรียมสอบเพื่อเป็นอัยการผู้ช่วยหรือผู้ช่วยต่อไป
อย่างเป็นทราบกันดีกว่า การสอบผู้ช่วยของเรามีแบบ 3 สนามหลักๆ
สนามใหญ่ (จบ ป.ตรี) สนามเล็ก (จบ ป.โท ในไทย) สนามจิ๋ว (จบโท ต่างประเทศ 2 ใบ เนื่องจาก หลักสูตร 1 ใบ 9เดือน จึงต้องใช้ 2 ใบเพื่อให้ครบหลักเกณฑ์)
ซึ่งอัตราของผู้สอบไล่ได้ในตำแหน่งทั้งสองได้น้อยมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมดซึ่งคนเหล่านั้นล้วนจบเนติบัณฑิตแล้วทั้งสิ้น
ที่นี้ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2560 เพิ่งมีประกาศผลสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา สนามจิ๋วมา อัตราสอบได้ มีถึง 33.33%
(รูปประกอบเอามาจากเฟสอาจารญ์นิติศาสตร์ท่านหนึ่งขอนำมาอ้างอิงข้อมูลนะครับ)
ซึ่งเทียบกันแล้วมันแตกต่างมาก ยิ่งสถิติสนามใหญ่ ปี 2555 ได้ 15 คน ปี2556 44 คน
ซึ่งเข้าใจว่าจำเป็นต้องให้มีผู้สอบได้จากบุคคลที่จบจากต่างประเทศเพื่อใช้พัฒนากฎหมายของสำนักงานศาล
แต่ปัจจุบันมันขาดแคลนมากหรอครับ ซึ่งเปิดทุกรรอบได้เยอะทุกรอบ สนามใหญ่ อัตราได้น้อยกว่ามาก
ถ้ามาตราฐานข้อสอบระดับเดียวกันก็คงดี แต่นี้ถ้าใครเรียนกฎหมายจะทราบแตกต่างกันอย่างมาก
แบบความยากง่าย ความซับซ้อนเท่าที่ศึกษาดูต่างกันมากจริงๆ
แม้ว่าข้อสอบสนามจิ๋วจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นฐานคะแนนเยอะมาก แต่ คนที่จบต่างประเทศ คงไม่ได้มีปัญหาในการเขียนตอบเหล่าเลย
เหมือนส่งเสริมให้คนไปเรียนต่างประเทศมากกว่า จบในประเทศ ก็ลำบากหน่อย
ทั้งๆที่กฎหมายบังคับต้องใช้ภาษาไทย เอกสารต่างประเทศต้องแปลมา พยานเป็นชาวต่างประเทศก็ต้องมีล่าม
ขนาดสื่อยังเคยทำไปลง ว่า เจตนาท่านดี แต่ผลออกมาก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ถ้าใครอยากให้ลูกเป็นผู้พิพากษา ก็กัดฟันส่งลูกไปเรียนเมืองนอกซัก 2 ปี ลงทุน 3-4 ล้านบาท กลับมาสอบสนามจิ๋ว ถึงจะต้องสอบข้อเขียน สอบปากเปล่า เหมือนสนามใหญ่ สนามเล็ก แต่ผลที่ออกมา ปรากฏว่าสอบ 100 ผ่านถึง 90 คน!
https://prachatai.com/journal/2012/08/41970
ที่กล่าวมาไม่ใช่ว่าผมไม่ไปเรียนต่างประเทศแล้วมาบ่นไรนะครับ ผมยังมีเวลาอีก 2ปี ค่อยๆอ่านสะสมไปได้ซึ่งมีเวลาอีกนานครับ เพียงแต่รู้สึกว่าระบบ
การสอบเข้าดูไม่ค่อยเป็นธรรมจริงๆ ทั้งๆที่เคยมีการผลักดันในรวมสอบพร้อมกัน 3 สนาม แต่ก็ทำได้เพียงครั้งเดียว ข่าวลือว่าทำให้ลูกผู้ใหญ่บางท่าน
เหมือนถูกตัดสิทธ์ที่จะสอบไป เลยกลับมาแยกสนามเหมือนเดิม
แต่หากมีข้อผิดพลาดหรือความเข้าใจผิดดังที่กล่าวมา ก็ขออภัยด้วยนะครับ
ระบบสอบเข้าผู้พิพากษาของศาลไทย
ซึ่งก็กำลังศึกษาแนวทางหรือเตรียมสอบเพื่อเป็นอัยการผู้ช่วยหรือผู้ช่วยต่อไป
อย่างเป็นทราบกันดีกว่า การสอบผู้ช่วยของเรามีแบบ 3 สนามหลักๆ
สนามใหญ่ (จบ ป.ตรี) สนามเล็ก (จบ ป.โท ในไทย) สนามจิ๋ว (จบโท ต่างประเทศ 2 ใบ เนื่องจาก หลักสูตร 1 ใบ 9เดือน จึงต้องใช้ 2 ใบเพื่อให้ครบหลักเกณฑ์)
ซึ่งอัตราของผู้สอบไล่ได้ในตำแหน่งทั้งสองได้น้อยมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมดซึ่งคนเหล่านั้นล้วนจบเนติบัณฑิตแล้วทั้งสิ้น
ที่นี้ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2560 เพิ่งมีประกาศผลสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา สนามจิ๋วมา อัตราสอบได้ มีถึง 33.33%
(รูปประกอบเอามาจากเฟสอาจารญ์นิติศาสตร์ท่านหนึ่งขอนำมาอ้างอิงข้อมูลนะครับ)
ซึ่งเทียบกันแล้วมันแตกต่างมาก ยิ่งสถิติสนามใหญ่ ปี 2555 ได้ 15 คน ปี2556 44 คน
ซึ่งเข้าใจว่าจำเป็นต้องให้มีผู้สอบได้จากบุคคลที่จบจากต่างประเทศเพื่อใช้พัฒนากฎหมายของสำนักงานศาล
แต่ปัจจุบันมันขาดแคลนมากหรอครับ ซึ่งเปิดทุกรรอบได้เยอะทุกรอบ สนามใหญ่ อัตราได้น้อยกว่ามาก
ถ้ามาตราฐานข้อสอบระดับเดียวกันก็คงดี แต่นี้ถ้าใครเรียนกฎหมายจะทราบแตกต่างกันอย่างมาก
แบบความยากง่าย ความซับซ้อนเท่าที่ศึกษาดูต่างกันมากจริงๆ
แม้ว่าข้อสอบสนามจิ๋วจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นฐานคะแนนเยอะมาก แต่ คนที่จบต่างประเทศ คงไม่ได้มีปัญหาในการเขียนตอบเหล่าเลย
เหมือนส่งเสริมให้คนไปเรียนต่างประเทศมากกว่า จบในประเทศ ก็ลำบากหน่อย
ทั้งๆที่กฎหมายบังคับต้องใช้ภาษาไทย เอกสารต่างประเทศต้องแปลมา พยานเป็นชาวต่างประเทศก็ต้องมีล่าม
ขนาดสื่อยังเคยทำไปลง ว่า เจตนาท่านดี แต่ผลออกมาก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ถ้าใครอยากให้ลูกเป็นผู้พิพากษา ก็กัดฟันส่งลูกไปเรียนเมืองนอกซัก 2 ปี ลงทุน 3-4 ล้านบาท กลับมาสอบสนามจิ๋ว ถึงจะต้องสอบข้อเขียน สอบปากเปล่า เหมือนสนามใหญ่ สนามเล็ก แต่ผลที่ออกมา ปรากฏว่าสอบ 100 ผ่านถึง 90 คน!
https://prachatai.com/journal/2012/08/41970
ที่กล่าวมาไม่ใช่ว่าผมไม่ไปเรียนต่างประเทศแล้วมาบ่นไรนะครับ ผมยังมีเวลาอีก 2ปี ค่อยๆอ่านสะสมไปได้ซึ่งมีเวลาอีกนานครับ เพียงแต่รู้สึกว่าระบบ
การสอบเข้าดูไม่ค่อยเป็นธรรมจริงๆ ทั้งๆที่เคยมีการผลักดันในรวมสอบพร้อมกัน 3 สนาม แต่ก็ทำได้เพียงครั้งเดียว ข่าวลือว่าทำให้ลูกผู้ใหญ่บางท่าน
เหมือนถูกตัดสิทธ์ที่จะสอบไป เลยกลับมาแยกสนามเหมือนเดิม
แต่หากมีข้อผิดพลาดหรือความเข้าใจผิดดังที่กล่าวมา ก็ขออภัยด้วยนะครับ