สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
พระมาลาห้อยลูกปัดแบบนี้เรียกว่า เหมี่ยนกวน (冕冠) ปกติจะใส่ร่วมกับฉลองพระองค์พิธีการสีดำของจักรพรรดิที่เรียกว่า เหมี่ยนฝู (冕服) คำว่า กวน (冠) หมายถึงเครื่องประดับศีรษะสำหรับครอบมวยผม ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
เหมี่ยนป่าน (冕板) : แผ่นไม้กระดานที่ติดอยู่ด้านบน ด้านหน้าโค้งสื่อถึงฟ้า ด้านหลังตรงสื่อถึงดิน ด้านหลังสูงกว่าด้านหน้าหนึ่งนิ้วเทลาดลงมาด้านหน้า สื่อว่ากษัตริย์ควรเอาพระทัยใส่ราษฎร
หลิว (旒) : แผงม่านระย้าลูกปัดหรือหยกห้าสีสื่อถึงธาตุทั้งห้าคือ ขาว (ธาตุทอง) เหลือง (ธาตุดิน) เขียว (ธาตุไม้) แดง (ธาตุไฟ) ดำ (ธาตุน้ำ) ในเอกสารสมัยราชวงศ์โจวแบ่งเหมี่ยนฝูและเหมี่ยนกวนเป็นหกระดับ สูงสุดคือจักรพรรดิมีห้อยระย้าสิบสองสาย ลดหลั่นมาเป็นเก้าสาย เจ็ดสาย ห้าสาย สี่สาย สามสาย ลดหลั่นลงมาตามฐานะของผู้ใส่
หลิวห้อยลงมาบังสายพระเนตรของกษัตริย์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะสื่อว่ากษัตริย์มีทั้งสิ่งที่ทรงมองเห็นและทรงมองไม่เห็น นอกจากนี้มีจุดประสงค์ให้ผู้สวมใส่วางตนอย่างสำรวม เพราะหากไม่สำรวมขยับมากเกินไปสายลูกปัดก็จะแกว่งไปแกว่งมาดูไม่สง่าสาม
เม่าจ่วน (帽卷) : ส่วนที่ครอบมวยผม ในฤดูร้อนทำจากหญ้าสาน ในฤดูหนาวทำจากหนังสัตว์ หุ้มด้วยผ้าสีดำ มีรูสำหรับเสียบปิ่นปักมวยผม
อู่ (武) : บริเวณวงขอบ ประดับทองคำ ในสมัยโบราณด้านหน้าประดับจักจั่นหยก
อิง (缨) : เชือกสีแดงที่ห้อยลงมาจากด้านซ้ายขวาสำหรับผูกใต้คาง
ค่วง (纊) : ระย้าห้อยบุษราคัมด้านซ้ายขวาที่ห้อยมาจากปิ่นลงมาถึงรูหู สื่อว่ากษัตริย์ทรงได้ยินและไม่ได้ยิน และไม่ทรงหลงเชื่อโดยง่าย
ต่าน (紞) : พู่สีที่ห้อยไว้ด้านข้าง
เทียนเหอไต้ (天河带) : แถบผ้าที่ห้อยจากพาดจากด้านบนของป่านลงไปถึงท่อนล่างของร่างกาย
เหมี่ยนกวนและเหมี่ยนฝูไม่ได้นิยมถึงแค่สมัยสามก๊กครับ ยังใช้ต่อเนื่องเรื่อยมาโดยในราชวงศ์ที่เป็นของชาวฮั่นทั้งสุย ถัง ซ่ง หมิง โดนใช้เป็นชุดพิธีการสำคัญ เช่น พิธีราชาภิเษกหรือพิธีบวงสรวงครับ แต่ถ้าว่าราชการทั่วไปจะทรงฉลองพระองค์แบบที่ลำลองกว่าดังที่พบในภาพวาดฮ่องเต้ยุคหลัง
สำหรับเกาหลีราชวงศ์โชซอนหรือเวียดนามซึ่งเป็นประเทศราชของหมิงก็ใช้ฉลองพระองค์แบบนี้เหมือนกัน แต่มีเพียงเก้าสาย
จิตรกรรมฝาผนังในถ้ำที่ตุนหวงสมัยราชวงศ์ถังแสดงภาพบุคคลสวมเหมี่ยนกวนแต่งกายด้วยเหมี่ยนฝู สันนิษฐานว่าคือภาพถังไท่จง
ภาพจากตำราพระราชพิธี ซินติ้งซานลี่ถู (新定三禮圖) ซึ่งเรียบเรียงในสมัยราชวงศ์ซ่งโดยเนี่ยฉงอี้ (聶崇義) แสดงภาพฉลองพระองค์เหมี่ยนฝูสองแบบคือกุ่นเหมี่ยน (衮冕) คือเหมี่ยนฝูประดับสัญลักษณ์มงคลสิบสองอย่าง ใช้ในพระราชพิธีสำคัญ และต้าฉิวเหมี่ยน (大裘冕) คือเหมี่ยนฝูแบบที่ดูเรียบง่ายกว่า ไม่มีลวดลาย มาลาไม่ห้อยลูกปัด เป็นฉลองพระองค์พิธีการระดับสูงสุดสำหรับสักการะ เฮ่าเทียนซ่างตี้ (昊天上帝) เทพเจ้า
ภาพจำลองจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่หรือหย่งเล่อ ทรงฉลองพระองค์เหมี่ยนฝู
ภาพจักรพรรดิหมิงเสินจงหรือว่านลี่ ทรงฉลองพระองค์เหมี่ยนฝู
พระมาลาห้อยลูกปัดแบบนี้เรียกว่า เหมี่ยนกวน (冕冠) ปกติจะใส่ร่วมกับฉลองพระองค์พิธีการสีดำของจักรพรรดิที่เรียกว่า เหมี่ยนฝู (冕服) คำว่า กวน (冠) หมายถึงเครื่องประดับศีรษะสำหรับครอบมวยผม ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
เหมี่ยนป่าน (冕板) : แผ่นไม้กระดานที่ติดอยู่ด้านบน ด้านหน้าโค้งสื่อถึงฟ้า ด้านหลังตรงสื่อถึงดิน ด้านหลังสูงกว่าด้านหน้าหนึ่งนิ้วเทลาดลงมาด้านหน้า สื่อว่ากษัตริย์ควรเอาพระทัยใส่ราษฎร
หลิว (旒) : แผงม่านระย้าลูกปัดหรือหยกห้าสีสื่อถึงธาตุทั้งห้าคือ ขาว (ธาตุทอง) เหลือง (ธาตุดิน) เขียว (ธาตุไม้) แดง (ธาตุไฟ) ดำ (ธาตุน้ำ) ในเอกสารสมัยราชวงศ์โจวแบ่งเหมี่ยนฝูและเหมี่ยนกวนเป็นหกระดับ สูงสุดคือจักรพรรดิมีห้อยระย้าสิบสองสาย ลดหลั่นมาเป็นเก้าสาย เจ็ดสาย ห้าสาย สี่สาย สามสาย ลดหลั่นลงมาตามฐานะของผู้ใส่
หลิวห้อยลงมาบังสายพระเนตรของกษัตริย์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะสื่อว่ากษัตริย์มีทั้งสิ่งที่ทรงมองเห็นและทรงมองไม่เห็น นอกจากนี้มีจุดประสงค์ให้ผู้สวมใส่วางตนอย่างสำรวม เพราะหากไม่สำรวมขยับมากเกินไปสายลูกปัดก็จะแกว่งไปแกว่งมาดูไม่สง่าสาม
เม่าจ่วน (帽卷) : ส่วนที่ครอบมวยผม ในฤดูร้อนทำจากหญ้าสาน ในฤดูหนาวทำจากหนังสัตว์ หุ้มด้วยผ้าสีดำ มีรูสำหรับเสียบปิ่นปักมวยผม
อู่ (武) : บริเวณวงขอบ ประดับทองคำ ในสมัยโบราณด้านหน้าประดับจักจั่นหยก
อิง (缨) : เชือกสีแดงที่ห้อยลงมาจากด้านซ้ายขวาสำหรับผูกใต้คาง
ค่วง (纊) : ระย้าห้อยบุษราคัมด้านซ้ายขวาที่ห้อยมาจากปิ่นลงมาถึงรูหู สื่อว่ากษัตริย์ทรงได้ยินและไม่ได้ยิน และไม่ทรงหลงเชื่อโดยง่าย
ต่าน (紞) : พู่สีที่ห้อยไว้ด้านข้าง
เทียนเหอไต้ (天河带) : แถบผ้าที่ห้อยจากพาดจากด้านบนของป่านลงไปถึงท่อนล่างของร่างกาย
เหมี่ยนกวนและเหมี่ยนฝูไม่ได้นิยมถึงแค่สมัยสามก๊กครับ ยังใช้ต่อเนื่องเรื่อยมาโดยในราชวงศ์ที่เป็นของชาวฮั่นทั้งสุย ถัง ซ่ง หมิง โดนใช้เป็นชุดพิธีการสำคัญ เช่น พิธีราชาภิเษกหรือพิธีบวงสรวงครับ แต่ถ้าว่าราชการทั่วไปจะทรงฉลองพระองค์แบบที่ลำลองกว่าดังที่พบในภาพวาดฮ่องเต้ยุคหลัง
สำหรับเกาหลีราชวงศ์โชซอนหรือเวียดนามซึ่งเป็นประเทศราชของหมิงก็ใช้ฉลองพระองค์แบบนี้เหมือนกัน แต่มีเพียงเก้าสาย
จิตรกรรมฝาผนังในถ้ำที่ตุนหวงสมัยราชวงศ์ถังแสดงภาพบุคคลสวมเหมี่ยนกวนแต่งกายด้วยเหมี่ยนฝู สันนิษฐานว่าคือภาพถังไท่จง
ภาพจากตำราพระราชพิธี ซินติ้งซานลี่ถู (新定三禮圖) ซึ่งเรียบเรียงในสมัยราชวงศ์ซ่งโดยเนี่ยฉงอี้ (聶崇義) แสดงภาพฉลองพระองค์เหมี่ยนฝูสองแบบคือกุ่นเหมี่ยน (衮冕) คือเหมี่ยนฝูประดับสัญลักษณ์มงคลสิบสองอย่าง ใช้ในพระราชพิธีสำคัญ และต้าฉิวเหมี่ยน (大裘冕) คือเหมี่ยนฝูแบบที่ดูเรียบง่ายกว่า ไม่มีลวดลาย มาลาไม่ห้อยลูกปัด เป็นฉลองพระองค์พิธีการระดับสูงสุดสำหรับสักการะ เฮ่าเทียนซ่างตี้ (昊天上帝) เทพเจ้า
ภาพจำลองจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่หรือหย่งเล่อ ทรงฉลองพระองค์เหมี่ยนฝู
ภาพจักรพรรดิหมิงเสินจงหรือว่านลี่ ทรงฉลองพระองค์เหมี่ยนฝู
แสดงความคิดเห็น
ทำไมจักรพรรดิจีนโบราณชอบใส่หมวกมีไข่มุกห้อยระย้าแบบนี้ครับ
ไอ้หมวกห้อยๆนี้ใส่ได้แต่จักรพรรดิหรอครับ แล้วสมัยชุนชิวบรรดาอ๋องใส่หมวกแบบนี้รึเปล่าครับ แล้วทำไมหลังจากยุคสามก็กหมวกแบบนี้ถึงหมดความนิยมครับ