สรุป!! 5 เคล็ดลับเลือกกองทุนรวม

กระทู้สนทนา
สรุป 5 เคล็ดลับเลือกกองทุนรวม
อ่านจบสามารถนำไปเลือกกองทุนเองได้เลย
วิธีการนี้สามารถใช้ในการเลือกกองทุนรวมทั่วไป หรือกองทุน LTF หรือ RMF ก็ได้นะ

1. เลือกกองทุนรวมที่มีความเสี่ยง ตามที่สบายใจ


ถ้าดูให้ง่ายใน 8 ระดับนี้มันแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่
1. ระดับ 1-4 จะเป็นเรื่องของตราสารหนี้ ซึ่งเขาว่ากันว่าเสี่ยงน้อย
   ซึ่งที่ถูกซอยย่อยเป็น 4 ระดับตาม credit rating คือความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร และอายุของตราสารว่าเกิน 1 ปี เพราะอายุยิ่งสั้นโอกาสที่จะผันผวนจากอัตราดอกเบี้ยจะน้อย และโอกาสผิดชำระหนี้น้อย  
โดยระดับ 1-3 เป็นพันธบัตรรัฐบาล
ดังนั้นระดับ 1 พันธบัตรรัฐบาลที่อายุสั้น ในประเทศ
ระดับ 2 พันธบัตรรัฐบาลที่อายุสั้น ในประเทศ และต่างประเทศ
ระดับ 3 พันธบัตรรัฐบาล อายุไม่เกี่ยง
ส่วนระดับ 4 ตราสารแบบไหนก็ได้

2.ระดับ 5-7 เป็นกองทุนรวมหุ้น
ระดับ 5 เป็นครึ่งบกครึ่งน้ำ คือผสมระหว่างตราสารหนี้กับหุ้น
ถือว่าเสี่ยงกลางๆ
ระดับ 6  เป็นกองทุนรวมหุ้น กระจายในหลายๆ อุตสาหกรรม
ระดับ 7 เป็นหุ้นเหมือนกัน แต่ลงเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม
เช่น กลุ่มพลังงาน, ธนาคาร

3.ระดับ 8 ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ, น้ำมัน ที่มีความผันผวนของราคามาก

ดังนั้นก่อนลงทุนในกองทุนรวมก็ตัดสินใจก่อนว่าเราจะเลือกกองทุนแบบไหนนะ

2. มารู้จักต่อสักหน่อยว่ากองแบบ active และ passive fund คืออะไร
Passive fund ก็คือ Index fund นะ


ดูจากตรงไหนว่าเป็น active หรือ passive?
ง่ายสุด
กองที่ลงทุนตามดัชนี มักจะมีคำว่า set ตามหลัง เช่น set50, set 100
Sure สุด
อ่านใน fund fact sheet อ่านในส่วนสรุปข้อมูลสำคัญก็เจอ ดูตรง “กลยุทธการบริหารกองทุนรวม”


3. พอเลือกกองตามข้อ 1 และ 2 เสร็จ ก็มาดูค่าใช้จ่ายกองกัน
มี 3 ค่าใช้จ่ายหลัก
1. ค่าธรรมเนียมตอนเข้า คือ ค่าธรรมเนียมตอนที่ซื้อกองทุนแต่ละครั้ง มีตั้งแต่ไม่เก็บ ไปจนถึงเก็บ 2-3%
(บางครั้งใน fund fact sheet จะเขียนไว้สูง แต่เก็บจริงอาจน้อยกว่านั้น)
2. ค่าธรรมเนียมตอนออก เป็นค่าธรรมเนียมตอนที่ขายกองทุน หรือสับเปลี่ยนกองทุน ซึ่งบางกองทุนจะมีค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ด้วย
3. total expense ratio คือ เป็นค่าบริหารจัดการกองทุน ค่าใช้จ่ายในการตลาด ค่าโฆษณากองทุนค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ค่าตรวจสอบบัญชี
ค่าดูแลทรัพย์สิน   ค่า total expense ratio นี้จะหักจากมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนเลย

เลือกกองทุนที่ค่าธรรมเนียมถูก และถ้าเป็นกองแบบ passive ต้องเน้นข้อนี้

4. ดูผลงานกอง
โดยดูแบบนี้นะ ตัวอย่างนี้นี้เป็นกองแบบ passive แต่ถ้าเป็นกองแบบ active ผลงานต้องดีกว่าตัวเทียบนะถึงจะดี ลองดูตามรูปด้านล่างนะ


5. เทียบกองทุนรวม
หลังจากเลือกกองที่ชอบ ค่าธรรมเนียมถูก ผลงานโอเค ก็ควรดูกองลักษณะเดียวกันมาสัก 2-3 กองนะ แล้วเอามาเทียบกัน
เพราะเมื่อเทียบจะทำให้เราเห็นชัดขึ้น ที่เราคิดว่าถูกและดีแล้ว อาจมีที่ถูกและดีกว่า
เทียบกันโดยใช้ www.morningstarthailand.com


น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังมองหากองทุนรวมนะ
www.facebook.com/DoctorWantTime
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่