เพลิงพระนาง โขลกให้ระเอียดอีกรอบ ฉากนองเลือดรุนแรงผ่านสัญลักษณ์ต่างๆในคืนงานสมโภช

ผ่านไปแล้วสำหรับฉากพีคในตำนานของเพลิงพระนาง
"ฉากจัดงานเลี้ยงลวงสังหาร" กฎพิชัยสงครามที่จัดโดยปิ่นมณี

ทุกคนอาจคาดหวังว่าฉากนี้จะต้องโหดดิบ เลือดสาดแบบเวอร์ชั่นเดิม
แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางสังคมโซเชี่ยลออนไลท์ และบ้านเมืองเข้าสู่ยุคอาเซี่ยนแล้ว
การรีเมคเพลิงพระนางถือเป็นโจทย์ยาก และการตีความต่างๆต้องแปลกใหม่และไม่กระทบต่อความรู้สึกต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรงไป

"ฉากงานเลี้ยงลวงสังหาร" เมื่อคืนคือการสร้างฉากที่ตีความแบบใหม่ซึ่งดิฉันชื่นชมคนเขียนบทและการกำกับของผกกมาก
ทีมงานใช้ศิลปะในการใช้สัญลักษณ์มาสื่อความหมายแฝงแทนการใช้การตีความแบบตรงตัว
ทั้งนี้อาจลดความรุนแรง และเพื่อรักษาอรรถรสของผู้ชมไว้

เมื่อวานดิฉันตั้งกระทู้อธิบายสัญลักษณ์ในงานเลี้ยงไปหน่อยแล้วแต่อาจไม่ระเอียดดี
เลยขออธิบายอีกรอบนะคะ โดยเทียบกับเวอร์ชั่นก่อนไปด้วย

ผู้ชมสังเกตไหมว่าฉากกลุ่มผู้ตีกลองประโคมและกลุ่มนักเต้นล้วนเป็นผู้ชายทั้งหมด ซึ่งแตกต่างกับเวอร์ชั่นก่อนซึ่งมีทั้งชายและหญิง
ทำไมเวอร์ชั่นนี้ใช้ผู้ชายทั้งหมด ทำไมถึงไม่ใช้ผู้หญิงมาร่วมแสดงด้วย

ดิฉันเคยบอกว่า ไม้ตีกลองกับจำนวนการตีกลองอาจสื่อถึง "รูปแบบการประหารชีวิตเจ้านายสมัยโบราณ"
สมัยโบราณการประหารชีวิตเจ้านายคือการเอาผ้ามาคลุมและทุบด้วยท่อนไม้จันทร์ ซึ่งเพชรฆาตผู้ลงมือประหารต้องเป็น "ผู้ชาย"
จากฉากการแสดงกลองประโคมในเพลิงพระนาง ผู้ตีกลองอาจสื่อถึงเหล่า "เพชรฆาต" ที่ลงมือประหารเจ้านายในเมืองทิพย์ ผู้ถือไม้ตีกลองแทนการใช้ไม้ท่อนจันทร์ และการตีกลองที่ไม่หยุดคือแทนจำนวนการทุบตีนักโทษให้สิ้นใจไป

ต่อมาฉากนักแสดงรำก็เป็นการตีความต่างจากเวอร์ชั่นก่อน เวอร์ชั่นก่อนใช้ทั้งนักแสดงหญิงและชายมาร่ายรำต่อหน้าเจ้าหลวง
เวอร์ชั่นนี้ใช้ผู้ชายมาแสดงหมด สิ่งที่น่าสนใจคือนักแสดง "สวมหน้ากากทอง" ซึ่งทีมงานโฟกัสฉากสวมหน้าหลายครั้งมาก
"หน้ากากทอง" มีหน้าที่อะไรในฉากนี้
หากลองศึกษาประวัติศาสตร์วังเจ้านายแล้ว "หน้ากากทอง" คือสิ่งที่ใช้ในการปลงพระศพเจ้านายชั้นสูง เอาใช้ปิดหน้าเวลาประกอบพิธีก่อนบรรจุลงพระโกฐ
ดังนั้นในเพลิงพระนาง "นักแสดงสวมหน้ากาก" อาจสื่อถึงความตายของเจ้านายในนครทิพย์ในคืนงานสมโภช

เจ้านายที่ตายในนครทิพย์มีในคืนงานสมโภชมากเท่าไหร่? ตามที่เจ้าทิพย์กล่าวไว้มีหลายร้อยองค์
เวอร์ชั่นที่แล้วผู้ที่ตายในคืนงานสมโภชมีทั้งชาวบ้านและเจ้านาย (ชาวบ้านเยอะกว่า)
เวอร์ชั่นนี้แม้จะไม่เห็นฉากประหารเจ้านายแบบเห็นชัดแจ้ง (เราเห็นแค่ขุนเวียง ท้าววงศา ดึงตัวเจ้านายที่เมามายจากเหล้าที่ปิ่นมณีสั่งให้ปรุงเฉพาะออกจากงาน และพาหายไปในความมืด สังเกตว่าฉากวังตอนกลางคืนมืดสลัวและไม่ชัดเจน)
ดิฉันตีความว่า ทีมงานเลือกจะให้ฉากการหายตัวของเจ้านายเป็นเรื่องคลุมเครือ การพาหายตัวไปทำให้ผู้ชมตีความต่อไปว่าจะตายแบบไหน ตายหรือหายสาบสูญไป
ตัวละครสำคัญที่ตายไปในงานคืนสมโภชคือ เจ้านางยอดพุ่ม สังเกตว่าคืนนั้นยอดพุ่มไปซีนไปเยอะมาก ในฐานะตัวละครที่จะต้องตายไปอย่างน่าหดหู่ ดิฉันคิดว่าตัวยอดพุ่มมีฐานะพิเศษกว่าตัวละครเจ้านายอื่นๆ ทีมงานโฟกัสฉากยอดพุมถูกฉุดกระชากลากถูจากทหารและโดนตีจนตาย
ยอดพุ่มอาจเป็นสัญลักษณ์และตัวแทนของเจ้านายที่ต้องตายไปในคืนนั้น รูปแบบการถูกลากตัวและการตายก็เป็นไปตามลักษณะฉากความตายของยอดพุ่ม

สุดท้ายฉากที่มีในเฉพาะเวอร์ชั่นนี้คือฉากโคมลอยบนท้องฟ้าเหนือนครทิพย์ในคืนงานสมโภช ซึ่งในเวอร์ชั่นเดิมไม่มี
ดูเผินๆเป็นฉากที่สวยสดงดงามแบบล้านนา แต่โคมลอยก็มีหน้าที่ในฉากของมันอีกเช่นกัน

ทีมงานเลือกที่จะใส่ฉากโคมลอยในคืนสมโภช  โคมลอยหลายร้อยดวงอาจสื่อถึงดวงจิตและวิญญานของเจ้านายนครทิพย์ที่ต้องสิ้นไปด้วยความโหดเหี้ยมของเจ้านางปิ่นมณีนั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่